Skip to main content

ผมเริ่มต้นเขียน blog นี้ด้วยความสนใจต่อประเด็นองค์ความรู้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ภูมิภาคนิยม และภูมิภาคศึกษา จึงอยากเริ่มเขียนและสนทนากับผู้สนใจในประเด็นที่คล้ายๆกัน ผมใช้เวลาคิดอยู่หลายวันว่าจะเริ่มต้นเขียนหัวข้ออะไรเป็นหัวข้อเปิด ซึ่งจะได้เชื่อมโยงต่อไปยังหัวข้อต่างๆที่จะตามมา และทำให้คิดถึงงานวิชาการชิ้นหนึ่งที่ผมเคยอ่าน และติดใจในหลายๆประเด็น จึงขอนำมาเริ่มเล่าสู่กันฟัง ก่อนจะพัฒนาต่อไปในครั้งหน้า

ในหลักสูตรปริญญาเอกด้านเอเชียตะวันออกศึกษาที่ผมกำลังศึกษาอยู่ มีกิจกรรมของการนั่งคุยเรื่องราวทางวิชาการกันทุกวันพุธ สองอาทิตย์สลับกันไป อาจารย์หรือนักศึกษาปริญญาเอกจะได้รับมอบหมายให้มานำสนทนาในกลุ่ม ครั้งหนึ่งของการสนทนาเป็นประเด็นเรื่องของการจัดการเรียนการสอนด้าน "ภูมิภาคศึกษา" ว่ายังเป็นที่ต้องการหรือไม่ และมีความทับซ้อนกับการเรียนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในคณะรัฐศาสตร์หรือไม่ (หลักสูตรเอเชียตะวันออกศึกษาที่ผมเรียนอยู่นี้ อยู่ภายใต้คณะอักษรศาสตร์ ​ไม่ได้อยู่กับคณะรัฐศาสตร์แต่อย่างใด)

ประเด็นที่หลายๆคนในวงสนทนาเห็นตรงกันก็คือ การศึกษาภูมิภาคศึกษายังมีความสำคัญ และน่าจะเป็นประโยชน์ต่อ "ผู้กำหนดนโยบาย" ในอนาคตได้มาก เพราะการศึกษาสายนี้พยายามทำให้ตนเองเป็น "สหวิทยาการ" และมองว่าตนเองเข้าใจและอธิบายสังคมหรือภูมิภาคหนึ่งๆได้ดี และลึกกว่าการศึกษารัฐศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เน้นเพียงแต่ทฤษฎี

ผมจำได้ว่าผมเคยอ่านบทความเรื่อง What do policy makers want from acadmic? ซึ่งเขียนโดย Eric Voeten ผู้ซึ่งเป็นรองศาสตราจารย์ที่ Georgetown University สหรัฐฯ บทความดังกล่าวเขียนเมื่อปี 2013 โดยพยายามตอบคำถามว่า สิ่งที่ผู้ที่อยู่ในสายปฏิบัติงาน หรือผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจ ต้องการอะไรจากนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 

 

Voeten ได้ร่วมมือกับ The Teaching and Research in International Politics (TRIP) ซึ่งเป็นโครงการของ College of William and Mary ในการทำแบบสอบถาม policymakers ที่เคยทำงานอยู่ในสายนี้และที่ทำงานอยู่ในปัจจุบันจำนวน 1,000 คน โดยสอบถามว่าสิ่งที่ policymaker ต้องการจากนักวิชาการด้านความสัมพันธ์ระว่างประเทศคืออะไร (อย่างไรก็ดี ต้องชี้ให้ชัดว่ามีเพียงร้อยละ 25 ของแบบสอบถามเท่านั้นที่ถูกตอบกลับมา)

แบบสอบถามแบ่งกลุ่มหัวข้อของการศึกษาสายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศออกเป็น 8 กลุ่มหลักคือ 

  1. การวิเคราะห์ทางทฤษฎี (Theoretical Analysis)
  2. การวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) 
  3. การวิเคราะห์นโยบาย (Policy Analysis)
  4. ภูมิภาคศึกษา (Area Studies)
  5. กรณีศึกษาในประวัติศาสตร์ (Historical Case Studies)
  6. กรณีศึกษาร่วมสมัย (Contemporary Case Studies) 
  7. แบบจำลองรูปนัย (Formal Model) 
  8. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Operational Research) 

จากผลการสำรวจพบว่า ผู้ที่ตอบแบบสอบถามมองว่า การศึกษาแบบภูมิภาคศึกษานั้นมีความสำคัญที่สุด รองลงมาด้วยการศึกษากรณีศึกษาร่วมสมัย กรณีศึกษาในประวัติศาสตร์ และการวิเคราะห์นโยบาย ตามลำดับ ผู้ตอบแบบสอบถามรายหนึ่งได้แสดงความเห็นเพิ่มเติมต่อแบบสอบถามอีกว่า "งานเขียนที่มีประโยชน์มักจะถูกเขียนโดยผู้ที่ปฏิบัติงาน (practitioners) หรือผู้สื่อข่าว (journalists) การศึกษาภูมิภาคศึกษามีประโยชน์ในแง่ที่ช่วยให้มีเอกสารที่บอกถึงความเป็นมาหรือบริบท" กล่าวคือ เขามองว่าการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ร่วมสมัย การเข้าใจบริบททางประวัติศาสตร์ ในภูมิภาคหน่ึงๆช่วยให้เราเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันที่จะนำไปสู่การช่วยการออกนโยบายได้ ในขณะที่การศึกษาแบบจำลองรูปนัย หรือการวิจัยเชิงปฏิบัติการ หรือการวิเคราะห์ทางทฤษฎีนั้นกลับถูกมองว่าไม่มีประโยชน์มากนัก หรือ ไม่มีประโยชน์เลย 

ผมพยายามนั่งคิดว่า ผลของการศึกษานี้สะท้อนให้เราเห็นอะไรได้บ้าง แม้ว่าจะคิดได้แต่เรื่องว่าการศึกษาภูมิภาคศึกษายังมีความสำคัญอยู่ และเป็นที่ต้องการของตลาด โดยดูได้จากการที่ประเทศไทยก็เริ่มมีแนวโน้มที่มหาวิทยาลัยต่างๆเริ่มเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนภูมิภาคศึกษามากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา รัสเซียศึกษา อินเดียศึกษา อังกฤษและสหรัฐอเมริกาศึกษา เกาหลีศึกษา ญี่ปุ่นศึกษา จีนศึกษา ยุโรปศึกษา อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงศึกษา อาเซียนศึกษา เป็นต้น แนวโน้มเหล่านี้ ส่วนหนึ่ง ได้สะท้อนให้เราเห็นว่ามันมีความต้องการของตลาดของผู้ที่ต้องการทำความเข้าใจภูมิภาคศึกษาอยู่พอสมควร แต่นอกเหนือไปจากนี้ และตอนนี้ ผมก็ยังคิดๆไม่ออก หากผู้ใดคิดว่ามีประเด็นใดที่น่าสนใจจากการศึกษานี้อยากร่วมสนทนาก็ขอได้โปรดติดต่อมาเพื่อแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมต่อไป

จากการพูดคุยกับเพื่อนๆที่เรียนด้วยกันพบว่า หลายคนเปลี่ยนแปลงเบนเข็มทางวิชาการของตนเองจากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาสู่การศึกษาภูมิภาคศึกษา เพราะมองว่าการศึกษาภูมิภาคศึกษานั้น "ลึกกว่า" และไม่เน้นเพียงแต่ทฤษฎีแบบการศีกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการศึกษาภูมิภาคศึกษาก็พยายามสร้างทฤษฎีหรือคิดการอธิบายภูมิภาคจากมุมมองของผู้ที่ศึกษาภูมิภาคนั้นจริงๆ พยายามสร้างคำอธิบายจากข้อมูลที่เป็น "สหวิทยาการ" มากกว่า เพราะมองรอบด้านมากกว่า แต่จากมุมมองนี้ก็แสดงให้เห็นว่า ตัวการศึกษาภูมิภาคศึกษาเองก็ไม่ได้เพียงแต่พยายามจะ "เล่าเรื่อง" ไปเรื่อยๆ หากแต่ก็พยายามที่จะ "สร้าง" ทฤษฎีขึ้นมาอธิบายภูมิภาคที่ตนเองศึกษาอยู่ คำถามก็คือ การคิดทฤษฎีขึ้นมาอธิบายภูมิภาคตนเองนั้นส่งผลอย่างไรต่อแนวทางการสร้างองค์ความรู้ที่ว่าด้วยการศึกษาภูมิภาคนั้นๆ ซึ่งจะเป็นหัวข้อในการเขียนครั้งต่อไป

____________________________________

อ้างอิง

Eric Voeten. 2013. What do Policy Makers Want from Academic?

บล็อกของ นรุตม์ เจริญศรี

นรุตม์ เจริญศรี
ไม่ได้เข้ามาเขียนบล็อกมานาน จนลืมไปแล้วว่าเคยมีบล็อกเป็นของตัวเอง แต่เมื่อต้องหาที่เขียนอะไรสักอย่างก็กลับทำมาให้คิดได้ว่าน่าจะมาเขียนที่ตรงนี้ เพราะหลายๆ ครั้งอยากเขียนอะไรสักอย่างที่ไม่เป็นวิชาการและไม่ยาวเกินไป เลยวนกลับมาหาบล็อกนี้ใหม่ดีกว่า
นรุตม์ เจริญศรี
หากใครติดตามวรรณกรรมญี่ปุ่นสมัยใหม่ เนื้อเรื่องภายในก็จะมีเรื่องเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งกัน (bully) กันในสังคมเยอะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของนักเรียนในโรงเรียน การกลั่นแกล้งกันมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งทางตรง ทางอ้อม แล้วก็ส่งผลต่อจิตใจของเด็กวัยรุ่นอย่างมาก วรรณกรรมที่ออกมาก็สะท้อนภาพการ
นรุตม์ เจริญศรี
ภายใต้เป้าหมายในการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันของภูมิภาค (regional connectivity) ในอาเซียนภายใต้ “แผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน (Master plan on ASEAN connectivity 2025: MPAC) เป้าหมายและเครื่องมือรวมไปถึงแนวคิดพื้นฐานนั้นตั้งอยู่บนวิธีคิดแบบเน้นตลาดเป็นหลัก (market-oriented app
นรุตม์ เจริญศรี
One of the main issues of 
นรุตม์ เจริญศรี
ผู้เขียนได้มีโอกาสนำเสนอความคิดทางวิชาการในการประชุมร่วมกับหน่วยงานด้านความมั่นคงเมื่อวันอังคารที่ 3 มีนาคม 2563 และอยากนำเอาประเด็นที่ได้นำเสนอไว้มาเขียนบอกเล่าให้ฟังต่อกัน
นรุตม์ เจริญศรี
การเมืองระหว่างประเทศยังคงเป็นเรื่องของการต่อสู้กันของประเทศมหาอำนาจในการพยายามเข้าไปมีบทบาทและอิทธิพลในมิติต่างๆ ที่ผ่านมา นักวิชาการจำนวนมากได้เห็นปรากฏการณ์ของการที่ประเทศมหาอำนาจอย่างจีนและญี่ปุ่นแข่งขันกันในเอเชีย โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จะให้ความช่วยเหลือเพื่อพัฒนาระบบการเชื่อมโ
นรุตม์ เจริญศรี
(ไม่เปิดเผยเนื้อหาสาระสำคัญของหนังสือ)
นรุตม์ เจริญศรี
นรุตม์ เจริญศรี
นรุตม์ เจริญศรี
ประเทศสมาชิกของ CPTPP (ที่มา:
นรุตม์ เจริญศรี
นรุตม์ เจริญศรีคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่