ว่าด้วยตัวเลขปริศนา 1-10 ในหนังสือ

เวลาอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ บ่อยครั้ง หน้าด้านซ้ายถัดจากหน้ารองปก หรือที่เรียกว่าหน้า Copyright Page ซึ่งจะอยู่ด้านซ้าย (หน้าด้านซ้ายของหนังสือมีศัพท์เฉพาะเรียกว่า verso ดังนั้น สำนักพิมพ์ Verso ของอังกฤษเลยเป็นหนังสือฝ่ายซ้าย! --- ส่วนหน้าด้านขวาเรียกว่า recto) จะมีข้อมูลต่างๆมากมาย ทั้งลิขสิทธิ์ผู้แต่ง ข้อมูลสำนักพิมพ์ อีเมล์ รายละเอียดหนังสือ ISBN แต่บ่อยครั้งเราจะเห็นตัวเลข 1-10 เรียงกันอยู่ บางทีก็ไม่ใช่ 1-10 แต่จะเริ่มจาก 2 หรือ 3 หรืออะไรก็ตามแต่ บางทีก็สลับหน้าหลังกันงงๆ มันคืออะไร?

---------
ตัวเลขเรียงๆกันเหล่านี้เรียกว่า Printing Number หรือ Printer's Key มันจะเรียงลำดับตัวเลข เช่น

 

(ตัวอย่างที่ 1) 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

 

 

(ตัวอย่างที่ 2) 10 9 8 7 6 5 4 3 2 1

 

 

หรือ

(ตัวอย่างที่ 3) 1 2 3 4 5 19 18 17 16 15

(กรณีนี้หาภาพมาเป็นตัวอย่างไม่เจอในคลังหนังสือตัวเอง)

 

ตัวเลขเหล่านี้มีหน้าที่บอก "impression" หรือ "การพิมพ์ซ้ำ" ในภาษาไทยนั่นเอง ถ้ามีตัวเลข 1-10 ตามปกติ ก็แปลว่าพิมพ์ครั้งที่ 1 แต่ถ้ามีเลขหนึ่งหายไป แล้วเริ่มด้วย 2 เลย หรือหรือลงท้ายด้วย 2 ก็แปลว่านี่เป็นการพิมพ์ครั้งที่ 2 แล้ว เพราะตัวเลข 1 หายไป (อันนี้เนื่องจากระบบการพิมพ์สมัยเก่าที่ลบเลขออกไป)

ส่วนตัวอย่างที่ 3 คือจะบอกปีด้วย เช่น ครั้งที่ 1 ปี 2015 และถ้ามีครั้งที่ 2 อาจจะเขียนว่า 2 3 4 5 19 18 17 16 เป็นต้น คือตัด 1 กับ 15 ออกไป

หรืออย่างในรูปภาพตัวอย่างในหนังสือเรื่อง Rules for the World (ตัวอย่างที่ 1) มีการแบ่งตัวเลขของปกแข็งกับปกอ่อนออกจากกัน (ดูภาพประกอบ) จะเห็นว่า ปกแข็งพิมพ์ครั้งที่ 1 ส่วนปกอ่อนพิมพ์ครั้งที่ 2 แล้ว เพราะเริ่มที่เลข 2 แล้ว เป็นต้น

แต่ปัจจุบันเนื่องจากระบบการพิมพ์เปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว ตัวเลขเหล่านี้ก็แทบไม่ปรากฏอยู่ในหนังสือแล้ว แต่ก็ยังพอมีให้เห็นอยู่บ้าง ต่อไปถ้าอ่านเจอเลข 1-10 จะได้ไม่งงว่า เขามาเขียนตัวเลขให้เราดูทำไม!

 

หลีกหนีไปจากโลกแห่งความเป็นจริง: หมาป่า ปราสาท และเด็กทั้ง 7 คน

หากใครติดตามวรรณกรรมญี่ปุ่นสมัยใหม่ เนื้อเรื่องภายในก็จะมีเรื่องเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งกัน (bully) กันในสังคมเยอะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของนักเรียนในโรงเรียน การกลั่นแกล้งกันมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งทางตรง ทางอ้อม แล้วก็ส่งผลต่อจิตใจของเด็กวัยรุ่นอย่างมาก วรรณกรรมที่ออกมาก็สะท้อนภาพการ

“ความเชื่อมโยงของอาเซียน” เรียนรู้อะไรจาก COVID-19

ภายใต้เป้าหมายในการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันของภูมิภาค (regional connectivity) ในอาเซียนภายใต้ “แผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน (Master plan on ASEAN connectivity 2025: MPAC) เป้าหมายและเครื่องมือรวมไปถึงแนวคิดพื้นฐานนั้นตั้งอยู่บนวิธีคิดแบบเน้นตลาดเป็นหลัก (market-oriented app

อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงในช่วงเปลี่ยนผ่านของการสร้างระเบียบภูมิภาค

ผู้เขียนได้มีโอกาสนำเสนอความคิดทางวิชาการในการประชุมร่วมกับหน่วยงานด้านความมั่นคงเมื่อวันอังคารที่ 3 มีนาคม 2563 และอยากนำเอาประเด็นที่ได้นำเสนอไว้มาเขียนบอกเล่าให้ฟังต่อกัน

เชื่อมไทย เชื่อมโลก: ประเด็นและปัญหา

การเมืองระหว่างประเทศยังคงเป็นเรื่องของการต่อสู้กันของประเทศมหาอำนาจในการพยายามเข้าไปมีบทบาทและอิทธิพลในมิติต่างๆ ที่ผ่านมา นักวิชาการจำนวนมากได้เห็นปรากฏการณ์ของการที่ประเทศมหาอำนาจอย่างจีนและญี่ปุ่นแข่งขันกันในเอเชีย โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จะให้ความช่วยเหลือเพื่อพัฒนาระบบการเชื่อมโ