Skip to main content
ปี 59 กับปี 60 ผมได้มีโอกาสเผยแพร่ความคิดเรื่องการขนส่งระหว่างประเทศกับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในจุลสารความมั่นคงศึกษา จำนวน 2 ฉบับ
 
 
 
ทั้งสองฉบับเกิดจากความสนใจส่วนตัวในเรื่องการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แรกเริ่มที่ผมสนใจเกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะสมัยเรียนที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตอนนั้นที่คณะมีวิชาโทด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา แต่ผมก็ไม่ได้เก็บวิชาให้ครบ แต่เลือกลงวิชาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาหลายตัว มีครั้งหนึ่งที่ลงวิชาเรียนกับ ผศ. ดร.กิตติ ประเสริฐสุข มีรุ่นน้องในห้องเรียนเคยถามว่าผมคิดว่าญี่ปุ่นมีผลประโยชน์ยังไงกับโครงการระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก ตอนนั้นผมไม่ได้สนใจมิติเศรษฐกิจเท่าไหร่ เพราะสนใจประเด็นความมั่นคงเป็นหลัก เลยไม่ได้คิดอะไร จนกระทั่งที่เริ่มเรียนปริญญาโท ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ แล้วต้องหาหัวข้อทำวิทยานิพนธ์ ผมได้ลงทะเบียนเรียนวิชาหนึ่งกับ รศ. ดร.กุลลดา เกษบุญชู-มี้ด และได้อ่านงานเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย ผมเริ่มฉุกใจกับประเด็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจ กับการเพิ่มพัฒนาโครงการ Eastern Seaboard และเห็นว่าญี่ปุ่นมีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาเศรษฐกิจไทย ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาด้านการขนส่งระหว่างประเทศ ผมจึงเริ่มสนใจประเด็นเรื่องกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง ในครั้งนั้นเลยทำให้ได้มีโอกาสทำวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ GMS ของ ADB
 
 
จากงานปริญญาโท ผมได้ข้อสรุปทางวิชาการกับตัวเองในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และการพัฒนาของกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง และด้วยการที่อยู่ภายใต้การดูแลวิทยานิพนธ์ของ อาจารย์กุลลดา ผมก็ได้รับอิทธิพลการวิเคราะห์จากอาจารย์กุลลดามามิใช่น้อย (ท่านสามารถอ่านงานสรุปย่อส่วนหนึ่งได้ ที่นี่)
 
จนเริ่มมาเป็นอาจารย์ที่คณะรัฐศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผมก็ยังสอนในวิชาที่เกี่ยวกับ GMS Studies และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับ Subregionalism ในแถบเอเชียแปซิฟิก อีกทั้งวิจัยและงานวิชาการก็ยังเกี่ยวข้องกับบทบาทของญี่ปุ่นอยู่ แต่ในระหว่างที่สอนและทำวิจัยนั้น ผมเริ่มตั้งข้อสังเกตว่างานวิชาการที่ตนเองอ่านส่วนมาก เป็นงานที่เขียนโดยนักวิชาการชาวญี่ปุ่น ผมเลยเริ่มสนใจว่า อะไรที่ทำให้นักวิชาการชาวญี่ปุ่นสนใจในกรอบ GMS และงานวิชาการส่วนมาเป็นงานแนวไหน งานเหล่านั้นพยายามเสนอประเด็นอะไร หรืออาจกล่าวว่า ผมเปลี่ยนความสนใจจากปัญหาเทคนิคของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ไปหาประเด็นเรื่องการสร้างองค์ความรู้ หรือการศึกษาด้านการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
 
จนตอนที่ต้องไปเรียนต่อปริญญาเอก ผมเร่ิมเขียน proposal งานวิจัยที่พยายามศึกษาว่า ญี่ปุ่นมีนโยบายและแนวทางอย่างไรในการใช้คลังสมอง (think tank) ของญี่ปุ่น ในการสร้างองค์ความรู้ หรือสร้างเครือข่ายในแถบเอเชียตะวันออก เพื่อผลิตองค์ความรู้เกี่ยวกับการขนส่งระหว่างประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ เพื่อที่จะเข้าใจว่ากระบวนการเกิดขึ้นของชุดความรู้ที่ถูกผลิตหรือได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นนั้นเป็นอย่างไร กระบวนการเกิดนั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
 
ระหว่างที่เขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก (ซึ่งก็ยังคงเขียนถึงปัจจุบัน) ผมก็เริ่มเห็นว่า Economic Research Institute for ASEAN and East Asian (ERIA), IDE-JETRO และ ADBI ในฐานะที่เป็นสามคลังสมองที่สำคัญที่ผลิตผลงานเกี่ยวกับการเชื่อมโยงอาเซียน และการขนส่งระหว่างประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีบทบาทอย่างไรต่อกระบวนการดังกล่าว เพราะทั้งสามหน่วยงานได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่น และการดำเนินงานก็ถูกบริหารจากบุคลากรชาวญี่ปุ่น
 
จุลสารสองเล่มนี้เป็นเหมือนผลผลิตที่งอกออกมาจากเส้นทางระหว่างการเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก เนื้อหาภายในเป็นการต่อยอดความสนใจที่แตกยอดมาจากวิทยานิพนธ์ ซึ่งจริงๆแล้วก็ยังมีประเด็นอีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้เขียน และยังสามารถต่อยอด แตกหน่อ เพื่ออธิบายลงรายละเอียดต่อไป
 
จุลสารสองเล่มนี้น่าจะมีประโยชน์ต่อผู้สนใจในประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การพัฒนาระบบการขนส่งระหว่างประเทศในภูมิภาค และประเด็นด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงที่เกี่ยวข้อง
 
หากผู้อ่านได้อ่านแล้ว และมีความคิดเห็นใด หรือคิดว่าผมควรศึกษาประเด็นอื่นๆใดเพิ่มเติม ขอให้เขียนอีเมล์มาพูดคุยกันได้ที่ narut.c[at]cmu.ac.th นะครับ

 

บล็อกของ นรุตม์ เจริญศรี

นรุตม์ เจริญศรี
ไม่ได้เข้ามาเขียนบล็อกมานาน จนลืมไปแล้วว่าเคยมีบล็อกเป็นของตัวเอง แต่เมื่อต้องหาที่เขียนอะไรสักอย่างก็กลับทำมาให้คิดได้ว่าน่าจะมาเขียนที่ตรงนี้ เพราะหลายๆ ครั้งอยากเขียนอะไรสักอย่างที่ไม่เป็นวิชาการและไม่ยาวเกินไป เลยวนกลับมาหาบล็อกนี้ใหม่ดีกว่า
นรุตม์ เจริญศรี
หากใครติดตามวรรณกรรมญี่ปุ่นสมัยใหม่ เนื้อเรื่องภายในก็จะมีเรื่องเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งกัน (bully) กันในสังคมเยอะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของนักเรียนในโรงเรียน การกลั่นแกล้งกันมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งทางตรง ทางอ้อม แล้วก็ส่งผลต่อจิตใจของเด็กวัยรุ่นอย่างมาก วรรณกรรมที่ออกมาก็สะท้อนภาพการ
นรุตม์ เจริญศรี
ภายใต้เป้าหมายในการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันของภูมิภาค (regional connectivity) ในอาเซียนภายใต้ “แผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน (Master plan on ASEAN connectivity 2025: MPAC) เป้าหมายและเครื่องมือรวมไปถึงแนวคิดพื้นฐานนั้นตั้งอยู่บนวิธีคิดแบบเน้นตลาดเป็นหลัก (market-oriented app
นรุตม์ เจริญศรี
One of the main issues of 
นรุตม์ เจริญศรี
ผู้เขียนได้มีโอกาสนำเสนอความคิดทางวิชาการในการประชุมร่วมกับหน่วยงานด้านความมั่นคงเมื่อวันอังคารที่ 3 มีนาคม 2563 และอยากนำเอาประเด็นที่ได้นำเสนอไว้มาเขียนบอกเล่าให้ฟังต่อกัน
นรุตม์ เจริญศรี
การเมืองระหว่างประเทศยังคงเป็นเรื่องของการต่อสู้กันของประเทศมหาอำนาจในการพยายามเข้าไปมีบทบาทและอิทธิพลในมิติต่างๆ ที่ผ่านมา นักวิชาการจำนวนมากได้เห็นปรากฏการณ์ของการที่ประเทศมหาอำนาจอย่างจีนและญี่ปุ่นแข่งขันกันในเอเชีย โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จะให้ความช่วยเหลือเพื่อพัฒนาระบบการเชื่อมโ
นรุตม์ เจริญศรี
(ไม่เปิดเผยเนื้อหาสาระสำคัญของหนังสือ)
นรุตม์ เจริญศรี
นรุตม์ เจริญศรี
นรุตม์ เจริญศรี
ประเทศสมาชิกของ CPTPP (ที่มา:
นรุตม์ เจริญศรี
นรุตม์ เจริญศรีคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่