Skip to main content

สาระหลักที่น่าสนใจของเรื่องแม่นั้นอยู่ที่จิตสำนึกของปัจเจกชนที่ต่างจากปัจเจกชนในวรรณกรรมรัสเซียเล่มดังๆที่ส่วนใหญ่มุ่งเสนอการดิ้นรนเอาชีวิตของตัวเองให้รอดไปวันๆ เป็นปัจเจกชนที่กำหนดชะตาชีวิตของตัวเองเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง

 “ท่านผู้เป็นที่รักใคร่นับถือทั้งหลาย ขอจงอย่าได้หวาดกลัวที่จะมองดูสิ่งที่เกิดขึ้นนี้... สิ่งที่พวกเขาต้องการนั้นคือชีวิตใหม่ ชีวิตแห่งสัจจะและความยุติธรรม สิ่งที่พวกเขาต้องการนั้นคือความดี ความดีงามสำหรับมวลประชาชน”

Tee Sarana Khajorndetkul

“แม่” เป็นวรรณกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่งของวรรณกรรมรัสเซีย ประพันธ์ขึ้นโดยแมกซิม กอร์กี้ เทียบกับงานเขียนของนักเขียนที่จัดว่าเป็นยักษ์ใหญ่แห่งวรรณกรรมรัสเซียอย่าง ตอลสตอย, ดอสโตเยฟสกี้ที่มักจะนำเสนอภาพของปัจเจกชนที่มีชีวิตอยู่ท่ามกลางความรันทดเศร้าหมองของสังคมรัสเซียแล้ว งานเขียนเล่มนี้ของกอร์กี้ได้นำเสนอภาพของเหล่าคนงานรัสเซีย ที่มีชีวิตอยู่ท่ามกลางความอยุติธรรมในสังคม การกดขี่ขูดรีดจากระบบของโรงงานอุตสาหกรรม เหล่าคนงานที่เรียกร้องสิทธิและเสรีภาพกับชนชั้นนายทุน นอกจากเหล่าชนชั้นนายทุนแล้ว ยังต้องต่อสู้กับเหล่าทหารของพระเจ้าซาร์ที่พยายามตามฆ่าเหล่าผู้นำกรรมกร กอร์กี้เขียนงานชิ้นนี้ขึ้นจากเหตุการณ์จริงจากการเดินขบวนของเหล่าคนงานรัสเซียในซอร์โมโวเนื่องในวันเมย์เดย์ ค.ศ.1902 การเคลื่อนไหวต่อสู้ขององค์กรจัดตั้งของพรรคสังคมประชาธิปไตย การต่อสู้ของเหล่าคนงานรัสเซียที่นำไปสู่การปฏิวัติรัสเซียที่ได้รับชัยชนะในปี ค.ศ.1917

สาระหลักที่น่าสนใจของเรื่องแม่นั้นอยู่ที่จิตสำนึกของปัจเจกชนที่ต่างจากปัจเจกชนในวรรณกรรมรัสเซียเล่มดังๆที่ส่วนใหญ่มุ่งเสนอการดิ้นรนเอาชีวิตของตัวเองให้รอดไปวันๆ เป็นปัจเจกชนที่กำหนดชะตาชีวิตของตัวเองเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง การต่อสู้และวีรกรรมอันอาจหาญของประชาชน เป็นเรื่องราวของ “แม่” ผู้มีชีวิตในสังคมเก่า โลกเก่า มีชีวิตอยู่ท่ามกลางภาวะแห่งความคิดที่เต็มไปด้วยความประหวั่นพรั่นพรึงต่ออำนาจที่ครอบงำสังคมอยู่ในห้วงเวลานั้น ด้วยแรงบีบคั้นจากสังคมที่อยู่รอบด้านได้กลายเป็นเสมือนแรงขับไปสู่ความต้องการมีชีวิตที่ดีกว่า เธอได้นำตนเข้าสู่การสนับสนุนขบวนการปฏิวัติ เหตุการณ์นี้ได้ทำให้ชีวิตและทัศนะการมองโลกของเธอเปลี่ยนไป และยังได้สนับสนุนส่งเสริมอุดมการณ์อันกล้าแกร่งให้ “ปาเวล” ลูกชายของเธอด้วย และเธอผู้เป็น “แม่” ผู้มีส่วนช่วยเหลือลูกๆชายหญิงที่เป็นเหล่ากรรมกรของเธออย่างเต็มที่

“แม่” เป็นนวนิยายแนวอัตถนิยมสังคมนิยมที่เลนินยกย่องว่าดีเยี่ยมที่สุด และตลอดทั้งเล่มจะได้พบกับประโยคที่แสดงให้เห็นภาพของการถูกกดขี่ที่ได้แปรเปลี่ยนเป็นพลังแห่งการต่อสู้ เช่น “เราคือประชาชนผู้สร้างโบสถ์และโรงงาน ผู้สร้างโซ่ตรวนและเงินตรา พวกเราคือพลังชีวิตที่มวลมนุษย์ได้ใช้หล่อเลี้ยงร่างกายและดำรงชีวิต” “วันนี้เราจะประกาศตัวอย่างเปิดเผยว่า เราเป็นใคร และชูธงชัยของเราขึ้น ธงแห่งเหตุผล ความยุติธรรมและเสรีภาพ” “วันหนึ่งจะต้องมาถึง วันที่พญาเหยี่ยวจะบินได้อย่างเสรี วันที่ประชาชนจะลุกขึ้นทลายโซ่ตรวนที่ร้อยรัดตน”

“แม่” ได้สะท้อนภาพของผู้ที่ต้องการมีชีวิตที่ดีกว่า ชีวิตที่ต้องก้าวไปข้างหน้าเพื่อประกาศสัจธรรมและความยุติธรรมของมวลประชาชน

อ่านเพิ่มเติมจากแม่ฉบับเต็ม : เฟสบุ๊ค เพจ คลังหนังสือ : คลังความรู้

บล็อกของ ประกายไฟ

ประกายไฟ
  ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี กลุ่มประกายไฟ            "รัฐสวัสดิการ เป็นระบบที่อยู่ตรงข้ามกับระบบทุนนิยมทั้งทางปฏิบัติและตรรกะ แต่ระบบทุนนิยมจะดำรงอยู่ไม่ได้หากปราศจากรัฐสวัสดิการ"วอลเตอร์ คอร์ปี ทำไมต้องสังคมนิยมประชาธิปไตย? สำหรับฝ่ายซ้ายทั่วไปอาจตั้งข้อสงสัยกับหัวข้อ ว่าสังคมนิยมมันต้องเป็นประชาธิปไตยในตัวอยู่แล้วมิใช่หรือ  แล้วทำไมต้องมีประชาธิปไตยต่อท้าย มันมีด้วยหรือ สังคมนิยมที่ไม่เป็นประชาธิปไตย....เพื่อความเข้าใจตรงกัน...การใช้คำว่าสังคมนิยมประชาธิปไตย(Socialism Democracy)…
ประกายไฟ
“นักปฏิวัติท้ายที่สุดแล้วจะเป็นนักปฏิรูปที่ขยันที่สุด ก้าวหน้าที่สุด ในทางตรงข้ามนักปฏิรูปหากทำการปฏิรูปเพียงลำพังโดยปราศจากเป้าในการปฏิวัติ ก็จะเป็นผู้รักษาระบบแห่งการกดขี่ที่ขยันที่สุดอย่างขันแข็งที่สุดเช่นกัน” โรซา ลัคเซมเบิร์ก บทนำ ท่ามกลางกระแสความขัดแย้งในสังคมที่ทุกฝ่ายอยากเบือนหน้าหนี ภาคประชาชนถึงคราวตีบตัน เมื่อหันไปดูรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็พบว่าเป็นรัฐบาลทุนนิยมสามานย์ที่สร้างบาดแผลลึกแก่สังคมไทย ตั้งแต่ตัวนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมรัฐสมัย6ตุลาคม2519 ยังไม่นับรวมการเป็นรัฐบาลที่สืบทอดอำนาจจากรัฐบาลทักษิณซึ่งอื้อฉาวในกรณี ฆ่าตัดตอนยาเสพติด…