Skip to main content

ผมท้าเลยครับ หลังจากเผาอากง อากงจะถูกลืม..เว้นแต่เรียก กม. "ม.112" ว่า "อากง" เราจะไม่มีทางลืมอากง เพราะมันก็จะอยู่อย่างนี้อีกนานเท่านาน - ด้านเกษียร ตอบ ความทรงจำของสังคมไม่ได้เป็นเรื่องอัตโนมัติ หากต้องสร้างและผลิตซ้ำขึ้น แม้แต่การเอาชื่อไปวางไว้เป็นสมญาของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็ไม่ใช่หลักประกันว่าจะได้รับการจดจำจากสังคมหรือจำอย่างถูกต้องครบถ้วนแม่นยำ  

โดย Bus Tewarit 

พรุ่งนี้(26 ส.ค.55)เวลา 17.00 น. ที่วัดลาดพร้าว จะมีการฌาปนกิจศพ อากง SMS หรือ นายอำพล ตั้งนพคุณ ซึ่งเสียชีวิตในเรือนจำเมื่อวันที่ 8 พ.ค.55 ที่ผ่านมา ซึ่งก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่ 23 พ.ย.54 ได้ถูกศาลพิพากษา จำคุก 20 ปี ฐานส่ง SMS หมิ่นฯ 4 ครั้ง ผิดตาม ปอ.มาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (2) และ (3) และไม่ได้รับแม้เพียงแค่สิทธิในการประกันตัว ทั้งระหว่างสู้คดีและหลังคำตัดสิน ถึงจะอ้างเรื่องอาการเจ็บป่วยใดๆ โดยเฉพาะจากโรคมะเร็ง สุดท้ายได้รับการปล่อยตัว แต่เป็นเพียงร่างที่ไม่มีชิวิต

แน่นอนในวันพรุ่งนี้จะมีการเผาศพอากง ซึ่งผมได้เขียนในสถานะบนเฟสบุ๊คของผมเองไว้ว่า

ผมท้าเลยครับ หลังจากเผาอากง อากงจะถูกลืมครับ ใครไม่เห็นด้วยก็ช่วยพิสูจน์ด้วยครับ อีก 10 ปีค่อยมาคิดบัญชีกับผม เว้นแต่เรียก กม. "ม.112" (ความรักอันมืดบอด ความอยุติธรรมหรือสวัสดิภาพในเรือนจำ เป็นต้น) ว่า "อากง" เราจะไม่มีทางลืมอากง เพราะมันก็จะอยู่อย่างนี้อีกนานเท่านาน

หลังจากนั้น อ.เกษียร เตชะพีระ ซึ่งใช้ชื่อในเฟสบุ๊คว่า "Kasian Tejapira" ก็ให้เกียรติมาตอบคำถามและท้าของผมอย่างน่าสนใจรวมถึงได้มีการตอบในเฟสบุ๊คของตัวอาจารย์เองในชื่อว่า สานเสวนาว่าด้วยการจำ "อากง" เลยขออนุญาตินำมาเผยแพร่ในพื้นที่ตรงนี้อีกครั้งครับ ในประเด็น "ความทรงจำของสังคมไม่ได้เป็นเรื่องอัตโนมัติ หากต้องสร้างและผลิตซ้ำขึ้น"

Kasian Tejapira ความทรงจำของสังคมไม่ได้เป็นเรื่องอัตโนมัติ หากต้องสร้างและผลิตซ้ำขึ้น แม้แต่การเอาชื่อไปวางไว้เป็นสมญาของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็ไม่ใช่หลักประกันว่าจะได้รับการจดจำจากสังคมหรือจำอย่างถูกต้องครบถ้วนแม่นยำ คือเหลือแต่ชื่อกลวง ๆ เช่น ซอยกำนันแม้นแถวบางแค ผมถามชาวบ้านแถวนั้นหลายคนแล้วว่า เคยเห็นกำนันแม้นไหม? รู้หรือเปล่าว่าแกเป็นใคร? ใบ้กินทั้งนั้นแหละครับ

การสร้างและผลิตซ้ำความทรงจำของสังคม อาจทำผ่านบุคคลหรือสถาบัน ในแง่บุคคลคือสิ่งประดิษฐ์ทางปัญญาและวัฒนธรรม ไม่ว่าชีวประวัติ อัตชีวประวัติ ประวัติศาสตร์ บทกวี หนัง หนังสือ เพลง ฯลฯ แต่ในแง่สถาบัน คือการนำเอาแก่นที่คิดว่าบุคคลผู้นั้นเป็นตัวแทน เช่น ความเสมอภาค ความยุติธรรม เสรีภาพ ฯลฯ ไปก่อตั้งเป็นแบบแผนในการปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างสิ่งนั้นขึ้น อาทิ ท่านพุทธทาส - สวนโมกขพลาราม, อ.ปรีดี พนมยงค์ - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สถาบันปรีดี พนมยงค์ เป็นต้น คุณต้องสามารถผูกความทรงจำเกี่ยวกับตัวเขา เข้ากับอะไรบางอย่างที่ใหญ่กว่า ทั่วไปกว่า และผู้คนมีเหตุผลที่อยากจะจำ อยากจะดำเนิน project ของเขาที่คั่งค้างต่อจากเขามากกว่า เมื่อนั้นแหละเขาก็จะยังไม่ถูกลืม หรือกระทั่งยังไม่ "ตาย" แม้ว่าตัวเขาเองอาจจะไม่รับรู้รับเห็น ไม่แคร์ หรือกระทั่งอยากจะจากไปอย่างสงบแล้วก็ตาม

การจำควบคู่กับการลืม การจำบางอย่างเกี่ยวกับบุคคลย่อมเลี่ยงไม่พ้นที่จะมาควบคู่กับการลืมบางอย่างเกี่ยวกับคน ๆ นั้นด้วย ในความหมายนี้เรากำลังเลือกบางชิ้นส่วนเชื้อมูลของชีวิตเขา และให้ความสำคัญกับมันมากกว่าชิ้นส่วนเชื้อมูลอื่น ๆ ของชีวิตเขาเช่นกัน play up บางอย่างของเขา และ play down บางอย่างของเขา การทำให้บุคคลถูกจำโดยสังคม ให้เขาเป็นหลักหมายอ้างอิงที่คนอื่น ๆ รุ่นหลังจะนับญาติ หาพวก สำเหนียกสำนึกหมาย และ identify ด้วยได้ดังหนึ่งสังกัดชุมชนแห่งความทรงจำเดียวกันร่วมกัน จึงเป็น "การเลือก/การไม่ถูกเลือก" "การเก็บรักษา/การทิ้ง" "การอนุรักษ์/การข้ามพ้น" กระทั่ง "การซื่อตรง/ทรยศต่อ" ชีวิตของเขา มากบ้างน้อยบ้างอย่างเลี่ยงไม่ได้ ความข้อนี้มีเพื่อเตือนใจตัวเองสำหรับผู้กระทำการจำว่า "การจำ" ที่เราทำนั้นเอาเข้าจริงคืออะไร?

บล็อกของ ประกายไฟ

ประกายไฟ
  ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี กลุ่มประกายไฟ            "รัฐสวัสดิการ เป็นระบบที่อยู่ตรงข้ามกับระบบทุนนิยมทั้งทางปฏิบัติและตรรกะ แต่ระบบทุนนิยมจะดำรงอยู่ไม่ได้หากปราศจากรัฐสวัสดิการ"วอลเตอร์ คอร์ปี ทำไมต้องสังคมนิยมประชาธิปไตย? สำหรับฝ่ายซ้ายทั่วไปอาจตั้งข้อสงสัยกับหัวข้อ ว่าสังคมนิยมมันต้องเป็นประชาธิปไตยในตัวอยู่แล้วมิใช่หรือ  แล้วทำไมต้องมีประชาธิปไตยต่อท้าย มันมีด้วยหรือ สังคมนิยมที่ไม่เป็นประชาธิปไตย....เพื่อความเข้าใจตรงกัน...การใช้คำว่าสังคมนิยมประชาธิปไตย(Socialism Democracy)…
ประกายไฟ
“นักปฏิวัติท้ายที่สุดแล้วจะเป็นนักปฏิรูปที่ขยันที่สุด ก้าวหน้าที่สุด ในทางตรงข้ามนักปฏิรูปหากทำการปฏิรูปเพียงลำพังโดยปราศจากเป้าในการปฏิวัติ ก็จะเป็นผู้รักษาระบบแห่งการกดขี่ที่ขยันที่สุดอย่างขันแข็งที่สุดเช่นกัน” โรซา ลัคเซมเบิร์ก บทนำ ท่ามกลางกระแสความขัดแย้งในสังคมที่ทุกฝ่ายอยากเบือนหน้าหนี ภาคประชาชนถึงคราวตีบตัน เมื่อหันไปดูรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็พบว่าเป็นรัฐบาลทุนนิยมสามานย์ที่สร้างบาดแผลลึกแก่สังคมไทย ตั้งแต่ตัวนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมรัฐสมัย6ตุลาคม2519 ยังไม่นับรวมการเป็นรัฐบาลที่สืบทอดอำนาจจากรัฐบาลทักษิณซึ่งอื้อฉาวในกรณี ฆ่าตัดตอนยาเสพติด…