Skip to main content

...การที่รัฐบาลหลายชุดที่ผ่านมา รวมถึงรัฐบาลชุดนี้กำลังจะขึ้นภาษีทางอ้อมจาก 7 เป็น 10% นั้นถือว่าเป็นการเปิดศึกทางชนชั้นกับชนชั้นกรรมกรและคนระดับล่างของสังคมโดยตรง คือ โยนภาระก้อนโตให้คนระดับล่างเป็นผู้จ่าย โดยที่คนร่่ำรวยลอยตัว...

 

โดย เก่งกิจ กิติเรียงลาภ

กลุ่มประกายไฟ

ล่าสุดรัฐบาลพรรคเพื่อไทยกาลังจะออกกฎหมายขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT จาก 7% เป็น 10 % ซึ่งเป็นนโยบายที่สืบทอดมาจากข้อเสนอของรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ซึ่งเป็นรัฐบาลที่มาจากการทารัฐประหารในปี 2549 – คำถามที่ผู้ใช้แรงงานควรสนใจคือ การขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มส่งผลดีหรือเสียอย่างไรต่อชนชั้นผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ และระบบภาษีที่เป็นธรรมต่อผู้ใช้แรงงานควรจะเป็นอย่างไร

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า ภาษี คืออะไร – กล่าวอย่างรวบยอดภาษีเป็นเครื่องมือในการแสวงหารายได้หลักของรัฐ นอกจากนี้ ภาษียังเป็นเครื่องมือของรัฐในการเพิ่ม/ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และการบริหารจัดการเศรษฐกิจด้วย – ระบบภาษีที่มีอยู่ในโลกนี้มีหลายประเภท บางประเภทส่งผลเสียต่อคนระดับล่างของสังคม บางประเภทมีส่วนช่วยลดความเหลื่อมล้ำและนำมาซึ่งชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของคนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นคนระดับล่างของสังคมได้ด้วย

โดยทั่วไป เราสามารถจำแนกระบบการเก็บภาษีออกได้เป็น 2 ประเภท หนึ่ง ระบบภาษีอัตราก้าวหน้า (progressive) คือ เก็บจากคนรวยในอัตราที่สูงกว่าคนจน ในบางประเทศอัตราภาษีที่เก็บจากคนรวยอาจสูงถึง 40% ของรายได้ ส่วนที่เก็บจากคนจนหรือมีรายได้น้อยจะลดต่ำลงไปหรือไม่เสียภาษีเลยในกรณีที่มีรายได้น้อยมาก และสอง ระบบภาษีอัตราถอยหลัง (regressive) คือ การที่รัฐอาจตั้งเกณฑ์อัตราภาษีที่เท่ากันของทุกคนในสังคม ไม่ว่าคนรวยหรือคนจนต้องจ่ายภาษีเท่าๆกัน หรือในบางแห่งซึ่งมีน้อยแล้ว คนรวยอาจจ่ายอัตราภาษีน้อยกว่าคนจนหรือคนระดับกลางๆ

เป้าหมายของระบบภาษี 2 ประเภทนี้แตกต่างกัน ในขณะที่ระบบภาษีอัตราก้าวหน้ามุ่งเน้นในการลดความเหลื่อมล้ำทางชนชั้นในสังคม คือรัฐทาหน้าที่เก็บภาษีจากคนรวย นายทุน คนที่มีรายได้เยอะเพื่อนาเงินดังกล่าวมากาหนดเป็นนโยบายสวัสดิการในทุกๆด้านให้ประชาชนในสังคม เช่น การรักษาพยาบาลฟรี การศึกษาฟรี ระบบขนส่งมวลชนมีคุณภาพและราคาถูก เป็นต้น แต่ระบบภาษีอัตราถอยหลังนั้นมีเป้าหมายเพื่อผลักภาระให้แก่คนที่มีรายได้น้อย โดยรัฐจะทาหน้าที่ช่วยเหลือให้กลุ่มคนรวย นักธุรกิจ บรรษัทขนาดใหญ่สามารถสะสมทุนและความมั่งคั่งได้ ผ่านการทาให้กลุ่มธุรกิจหรือบุคคลร่ารวยจ่ายภาษีให้น้อยที่สุด – รัฐบาลที่เอาใจนายทุนมากๆมักจะสนับสนุนภาษีอัตราถอยหลัง ส่วนรัฐบาลที่มีแนวโน้มเข้าข้างชนชั้นกรรมกร หรือในประเทศที่ขบวนการกรรมกรเข้มแข็ง รัฐมักจะถูกกดดันให้ต้องมีมาตรการภาษีที่ก้าวหน้าคือเก็บจากคนรวยมากกว่าคนจน และนาเงินดังกล่าวมาจัดสวัสดิการ

มากไปกว่านั้น ภาษียังสามารถแบ่งออกได้อีกเป็น 2 ประเภท คือ

หนึ่ง ภาษีทางตรง (direct tax) ที่เก็บโดยตรงจาก “เงินรายได้” ที่แต่ละคนได้รับ คือ ยิ่งมีรายได้มาก ก็จะจ่ายมาก หากมีรายได้น้อย ก็จะจ่ายน้อยหรือไม่จ่ายเลย – การมุ่งเน้นการเก็บภาษีทางตรงแบบนี้จึงสอดคล้องกับการใช้ระบบภาษีอัตราก้าวหน้าที่มีเป้าหมายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม

ส่วนประเภทที่สอง คือ ภาษีทางอ้อม (indirect tax) ภาษีประเภทนี้จะเก็บในอัตราที่เท่าๆกันทุกคนทุกชนชั้น โดยไม่สนใจสถานะทางเศรษฐกิจของผู้จ่ายภาษี เช่น ภาษี VAT ซึ่งหมายถึงภาษีมูลค่าเพิ่มที่ “คนทุกคน” ต้องจ่ายทุกๆครั้งที่บริโภคสินค้าในตลาด เช่น เราไปซื้อขนมที่เซเว่นอีเลเว่นทุกครั้ง ร้านค้าจะบวกภาษีลงไปอีก 7% จากราคาขายจริง นั่นหมายความว่า ราคาของสินค้าที่เราซื้อในทุกๆครั้งจะถูกบวกเพิ่มอีกร้อยละ 7 – ภาษีประเภทนี้มีสอดคล้องกับระบบภาษีแบบอัตราถอยหลัง คือ โยนภาระให้กับคนจนที่ต้องจ่ายภาษีเท่ากับคนรวย คือ 7-10% ทุกครั้งที่เราจับจ่ายซื้อของ – และนี่คือสิ่งที่รัฐและชนชั้นนาของไทยรวมหัวกันโยนภาระให้คนระดับล่างตลอดมา และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น เมื่อรัฐบาลแทบทุกชุดพยายามเพิ่มอัตราจาก 7 เป็น 10 %

มองในแง่ประวัติศาสตร์ ภาษีทางตรงระบบอัตราก้าวหน้า ได้กลายมาเป็นบรรทัดฐานของรัฐอุตสาหกรรมในยุโรปและในหลายประเทศทั่วโลกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง หรือที่เรียกกันว่า “รัฐสวัสดิการ” ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางชนชั้น และเพื่อดูแลด้านสวัสดิการให้แก่ประชาชนทุกระดับชั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ฐานเสียงสนับสนุนของนโยบายด้านภาษีและรูปแบบของรัฐประเภทนี้ก็คือ สหภาพแรงงาน และพรรคการเมืองแนวสังคมนิยม โดยที่ชนชั้นนายทุนจานวนมากต่อต้าน เพราะเท่ากับพวกเขาต้องจ่ายภาษีเพิ่มขึ้น เมื่อเขาได้กาไรจากการขูดรีดคนงานมากขึ้น

ในช่วงสามสิบปีที่ผ่านมา ชนชั้นนายทุนในโลกรวมหัวกันทำลายรัฐสวัสดิการที่มุ่งเน้นการเก็บภาษีทางตรงอัตราก้าวหน้า โดยหันมาใช้แนวคิดเสรีนิยมใหม่ หรือนีโอลิเบอรัล ที่เชื่อว่า รัฐไม่ควรเข้ามาจัดสวัสดิการให้คนระดับล่างอีกต่อไป รัฐควรลดภาษีทางตรง และเพิ่มภาษีทางอ้อมให้มากขึ้น พูดง่ายๆก็คือ รัฐจะไม่ทำหน้าที่ลดความเหลื่อมล้ำทางชนชั้นอีกต่อไป แต่รัฐจะทาหน้าที่ในการปกป้องชนชั้นนายทุนให้พวกเขาสามารถหากำไรได้มากขึ้น ผ่านการจ่ายภาษีที่ลดลง และโยนภาระภาษีไปให้คนระดับล่างจ่ายแทน

การขยายตัวของแนวคิดเสรีนิยมใหม่กลายเป็นหัวใจของการรื้อฟื้นอัตรากำไรของชนชั้นนายทุนที่เผชิญหน้ากับความเข้มแข็งและเติบโตของสหภาพแรงงานทั่วโลกในทศวรรษ 1970 หนึ่งในมาตรการรื้อฟื้นกำไรของนายทุนคือการลดสวัสดิการของแรงงาน ซึ่งหมายถึงการลดรายจ่ายของนายทุนที่จะต้องเสียภาษีราคาแพงให้แก่รัฐ เพื่อให้รัฐเอาไปช่วยคนจน มาตรการสาคัญของลัทธิเสรีนิยมใหม่คือ การปรับระบบภาษีแบบทางตรงอัตราก้าวหน้า ให้เป็นภาษีทางอ้อมและมีระบบอัตราถอยหลัง

โครงสร้างภาษีในประเทศไทยที่ผ่านมาผสมผสาน มีการเก็บภาษีทางตรงอัตราก้าวหน้า แต่ไม่มีประสิทธิภาพ เพราะอัตราภาษีที่เก็บจากคนรวยอยู่ในระดับที่ไม่สูง กับทั้งคนรวย/นายทุนยังมีวิธีการหลีกเลี่ยงภาษี ส่งผลให้รายได้รัฐที่มาจากภาษีส่วนใหญ่เป็นการขูดรีดเอาจากคนที่มีรายได้ประจา โดยเฉพาะคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมและคนงานคอปกขาวทั่วไปที่ทางานในออฟฟิศ ยิ่งไปกว่านั้น รายได้รัฐกว่า 30% มาจากการเก็บภาษีทางอ้อม ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่รับภาระในการจ่ายภาษีพวกนี้ก็คือ คนจนที่ซื้อของกินของใช้ประทังชีพอยู่ในทุกวัน

การที่รัฐบาลหลายชุดที่ผ่านมา รวมถึงรัฐบาลชุดนี้กำลังจะขึ้นภาษีทางอ้อมจาก 7 เป็น 10% นั้นถือว่าเป็นการเปิดศึกทางชนชั้นกับชนชั้นกรรมกรและคนระดับล่างของสังคมโดยตรง คือ โยนภาระก้อนโตให้คนระดับล่างเป็นผู้จ่าย โดยที่คนร่่ำรวยลอยตัว

การต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมและประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจของชนชั้นกรรมกรและคนระดับล่างจะเป็นไปไม่ได้เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “รัฐสวัสดิการ” ซึ่งหมายถึง รัฐที่ทาหน้าที่ลดความเหลื่อมล้ำและเข้ามาจัดสวัสดิการให้แก่คนทุกระดับอย่างเท่าเทียมกัน ผ่านการเก็บภาษีจากคนรวยมาอุดช่องโหว่ของความเหลื่อมล้ำทางชนชั้นในสังคมจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากเรายอมรับให้มีการขึ้นและขยายฐานของภาษีทางอ้อม ดังเช่นนโยบายภาษี VAT ที่กาลังผลักดันกันอยู่ในปัจจุบัน

ปล.ฉบับหน้าพบกับความรู้เรื่อง “อาเซียน” กับผลกระทบที่มีต่อผู้ใช้แรงงาน

(หมายเหตุ : บทความนี้ถูกเผยแพร่ครั้งแรกใน “วารสารสหายแรงงาน” ประจำเดือนกันยายน วารสารดังกล่าวถูกจัดทำขึ้นโดยการร่วมมือกันระหว่าง กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง กลุ่มนักศึกษาสภากาแฟ(มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต) และกลุ่มประกายไฟ )

บล็อกของ ประกายไฟ

ประกายไฟ
แถลงการณ์ กลุ่มประกายไฟ 
ประกายไฟ
...ข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดการสังคมหลังทุนนิยมข้างต้นนี้ถือเป็นเป้าหมายหลัก และเป็นผลผลิตโดยตรงของการเติบโตของขบวนการโลกาภิวัตน์จากรากฐาน ที่พยายามเสนอทางเลือกใหม่ในการพัฒนาท่ามกลางซากปรักหักพังของโลกสังคมนิยม ในทศวรรษ 1990 ที่นักคิดฝ่ายอนุรักษ์นิยมและฝ่ายเสรีนิยมต่างประกาศว่า “เราไม่มีทางเลือกอื่นใดเหลือแล้วนอกจากระบบทุนนิยมกลไกตลาดและระบอบ ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม” แม้ว่าเป้าหมายดังกล่าวจะยังไม่บรรลุ แต่คุณูปการที่สำคัญที่สุดที่ขบวนการโลกาภิวัตน์จากรากฐานได้สร้างไว้ก็คือ ความหวังที่ว่า “โลกใบใหม่เป็นไปได้” ซึ่งเป็นคำขวัญของขบวนการสมัชชาสังคมโลกนับตั้งแต่ ค.ศ.2001 เป็นต้นมา
ประกายไฟ
“..รู้สึกว่าธรายอาร์มไม่ใช่แค่กางเกงใน แต่มันแสดงถึงสัญญะบางอย่างของการต่อสู้ ซึ่งเห็นไหมคะ แค่สงสัยว่าทำไมต้องเป็นกางเกงในของธรายอาร์ม คนที่สงสัยเขาก็ต้องหาเรื่องราวของมันบ้างล่ะค่ะ อย่างน้อยเราก็ได้สื่อเรื่องความไม่เป็นธรรมนอกจากแคมเปญหลักของงานนี้..” - ลูกปัด 1 สวาผู้ร่วมรณรงค์ 
ประกายไฟ
 “...พวกนายทุนจึงต้องหาทางให้ปัญหาเหล่านี้ทุเลาเบาบางลง ไม่อย่างนั้นการผลิตในระบบทุนนิยมอาจต้องล่มสลาย จึงต้องสร้างกติกากลางขึ้นมาเพื่อให้การขูดรีดยังดำรงตนต่อไปได้...”
ประกายไฟ
...ผมไม่คิดว่าการมีวันพ่อวันแม่มันจะสร้างประโยชน์อะไรให้กับคนที่ "มีพ่อมีแม่" (หรือแม้แต่ตัวคนเป็นพ่อเป็นแม่) แต่ขณะเดียวกันมันกลับเป็นวันที่ "ซ้ำเติม" คนที่ "ขาดพ่อขาดแม่" ซึ่งโดยปกติก็อาจจะมีชีวิตที่รันทดเจ็บปวดกับเรื่องนี้อยู่แล้ว..
ประกายไฟ
...แต่เชื่อไหม (เหมือนถาพในหนัง) ใบหน้าคนเหล่านั้นลอยออกมาปะทะสายตาเรา เรามองไม่เห็นความกลัวในใบหน้าของคนเหล่านั้น บางคนด่าไปอมยิ่มไป บางคนด่าไปก็แสดงอาการท้าทายไป มันต่างกันมาก ต่างกันจริงๆ เราเคยเห็นคนในม็อบเสื้อแดงช่วงที่มีการสลาย ทั้งวันที่ 10 เมษา และ 19 พฤษภา เราเห็นแววตาคนที่กลัวตาย เห็นแววตาคนที่มีห่วงเห็นแววตาคนที่พร้อมจะยอมตาย แต่คนเหล่านั้นไม่กร่างเท่านี้นะ
ประกายไฟ
...ที่มาที่ไปของ "เสื้อแดง" มันไม่เกี่ยวกับเรื่อง "รักเจ้า" หรือ "รักทักษิณ" ..