Skip to main content

..ทำไมคนส่วนใหญ่มักชอบพูดว่าประเทศสหรัฐอเมริกาทีระบบสวัสดิการที่ดีเยี่ยม จนเป็นประเทศในฝันของทุกคน เมื่อได้อ่านความเป็นจริงจากบทความชิ้นนี้แล้วคงทำให้เรามองสหรัฐอเมริกาในแง่ความเป็นจริงมากขึ้น และเลิกพูดมั่วๆซะที ว่าอเมริกามีสวัสดิการดีกว่าไทย

 

 การดูแลด้านสาธารณสุขแบบครบวงจร(BBC)

โดย ภัส บ๊อก

กลุ่มนักศึกษาสภากาแฟ(มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต)

ใน วารสารสหายแรงงาน

ประเทศไทยมีระบบหลักประกันสุขภาพอยู่ 3 ระบบใหญ่ด้วยกัน คือ 1. ระบบประกันสังคม 2.สวัสดิการข้าราชการ และ 3.ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า(หรือที่เรียกว่า 30 บาทรักษาทุกโรค) ซึ่งระบบทั้งสามนั้นจะทำหน้าที่คอยหนุนกันและกันเพื่อให้เกิดความครอบคลุมต่อประชาชนมากที่สุด ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการถือเป็นสวัสดิการที่รัฐจัดให้แก่ข้าราชการ ระบบประกันสังคมถือเป็นความมั่นคงของลูกจ้าง ที่รัฐ นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันออกเงินสมทบ ส่วนกลุ่มที่เหลือระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะดูแล ซึ่งเป็นการที่รัฐดูแลประชาชนแบบถ้วนหน้า

ส่วนสหรัฐฯระบบจะเป็นแบบไม่ถ้วนหน้าประชาชนพึ่งพิงตนเอง คือประชาชนจะซื้อประกันสุขภาพจากบริษัทเอกชนตามกำลังและรายได้ของตนเอง ส่วนระบบประกันสังคมจะเข้ามาดูแลก็ต่อเมื่อบุคคลเกษียณหรืออีกนัยหนึ่งเขาไม่สามารถทำงานได้อีกต่อไป โดยนายจ้างกับลูกจ้างช่วยกันสมทบจ่าย และรัฐเข้าช่วยดูแล คือโครงการ Medicare จะคุ้มครองผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไป ในเงื่อนไขที่เคยทางานและจ่ายเงินสมทบ ซึ่งจะได้รับการคุ้มครองครอบคลุมทั้งหมด ทั้งค่ารักษา ค่ายา และอื่นๆ ก็ต่อเมื่อ เคยทางานและจ่ายเงินสมทบ 10 ปีขึ้นไป ส่วนที่เคยทางานและจ่ายสมทบไม่ถึง 10 ปี ก็ต้องออกค่าใช้จ่ายอย่างอื่นเพิ่มถึงจะครอบคลุมการรักษาทั้งหมด อีกโครงการหนึ่งคือ Medicade ซึ่งรัฐบาลกลางร่วมมือกับมลรัฐเพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้ต่ำ แล้วต้องพิสูจน์ว่าจนจริงๆ ถึงจะได้รับความช่วยเหลือ นั่นแปลว่าถ้าคุณจนแต่ไม่มากเท่าที่เกณฑ์กำหนดไว้คุณจะไม่ได้รับการช่วยเหลือจากสวัสดิการนี้

สังเกตได้ว่าระบบการประกันสุขภาพในอเมริกาที่ผู้มีรายได้นั้นต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อประกันเอง และขึ้นอยู่กับรายได้ของบุคคลและกาลังในการซื้อประกันสุขภาพ ถ้ารายได้น้อยก็ซื้อประกันได้ไม่ครอบคลุม คือต้องจ่ายเพิ่มเองบางส่วน ส่วนผู้ที่มีรายได้สูงก็สามารถซื้อประกันที่มีความครอบคลุมมากๆได้ ส่วนประเทศไทยก็จ่ายแค่ 30 บาทในการได้รับสิทธิในการรักษาพยาบาล

ประกันสุขภาพในอเมริกาสำคัญมาก ถ้าพูดกันจริงๆแล้วคนไทยอาจจะถือว่าโชคดีอยู่ไม่น้อย คิดดูว่าถ้าเกิดเจ็บป่วยขึ้นมาวันไหน ต่อให้ไม่มีประกันสุขภาพ ประกันสังคม ก็สามารถจ่ายค่ารักษาพยาบาลแบบพอไหว แต่ในสหรัฐฯว่ากันว่า ถ้าใครไม่มีประกันสุขภาพ ล้มป่วยขึ้นมาถึงขั้นล้มละลายไปกับค่ารักษาพยาบาล ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น ก็เพราะบุคลากรทางการแพทย์ หรือยาต่างๆ เป็นผลผลิตของภาคเอกชนหรือพูดง่ายๆว่าไม่มีโรงพยาบาลของรัฐเปิดให้บริการกับประชาชนทั่วไป (โรงพยาบาลรัฐจะมีไว้ให้ทหารใช้บริการเท่านั้นไม่เปิดให้คนทั่วไปใช้) บริษัทประกันสุขภาพส่วนใหญ่ก็เป็นของเอกชนซึ่งแน่นอนต้องคำนึงถึงธุรกิจเป็นอันดับหนึ่ง แต่ว่าสหรัฐก็มีส่วนที่ช่วยเหลือคนจนในรูปแบบของการประชาสงเคราะห์มาทดแทน คือ จะได้รับความช่วยเหลือต่อเมื่อพิสูจน์ความจนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต้องทำตัวให้คนสัมภาษณ์เห็นว่าคุณขาดแคลน นั่นทาให้ความรู้สึกของผู้ขอความช่วยเหลือรู้สึกด้อยศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ส่วนไทยโรงพยาบาลส่วนใหญ่ยังเป็นของรัฐบาล ค่าใช้จ่ายต่างๆ ก็ยังถือว่าไม่สูง แล้วยังมีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ครอบคลุมประชากรเกือบทั้งประเทศอีกด้วย

มาถึงตรงนี้ ภาพของระบบประกันสุขภาพของสหรัฐฯกับบ้านเราต่างกันสุดขั้ว

คนไทยหวังมากกับระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า และรัฐก็เดินหน้าเต็มที่เพื่อสร้างให้เกิดมีขึ้น โดยความหวังที่จะสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้น เป็นการเฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข ของคนในสังคม และรัฐก็เข้าไปแบกภาระในส่วนเงินตรงนั้น โดยนำเงินภาษีประชาชนเข้ามาใช้จัดการรักษา ความเท่าเทียมที่เกิดขึ้นจากการที่คนทุกคนมีสิทธิในการประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรคนั้น มันคือความเท่าเทียมที่แม้หลายคนจะบ่นเรื่องประสิทธิภาพแต่ถ้าเทียบกับสหรัฐอเมริกาก็ต้องบอกว่าเราโชคดีกว่าเขามาก ในส่วนของสหรัฐฯนั้นภาษีที่ประชาชนจ่ายนั้นจะถูกหักเพื่อเข้าประกันสังคมและรัฐจะให้ความดูแลเมื่อเกษียณอายุหรือทุพพลภาพเท่านั้น ซึ่งตราบใดที่ยังทางานได้อยู่ประชาชนสหรัฐฯต้องรับผิดชอบสุขภาพของตนเอง และเงินส่วนที่หักไว้จะได้ใช้ยามที่ไม่สามารถทางานได้แล้ว นั่นแปลว่าคุณไม่ได้รับอนุญาตให้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังในช่วงก่อนเกษียณ ซึ่งความเป็นจริงก็รู้อยู่ว่าเราห้ามไม่ได้ และถ้าคุณป่วยหนักบางครั้งการเลือกที่จะตายอาจคุ้มค่ากว่าการมีชีวิตอยู่แล้วต้องจ่ายค่ารักษาที่แพงมาก(จนไม่มีปัญญาจ่าย)

คนสหรัฐฯจึงต้องพึ่งพาตนเอง ต้องรับผิดชอบชีวิตของตน ทาเองจ่ายเองเพราะเงินที่หาได้จากการทางานนั้นก็นามาดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง ไม่พึ่งพึงรัฐ ซึ่งต่างกันสุดขั้วกับคนไทย ที่ต้องการพึ่งพิงรัฐและรัฐก็ให้ประชาชนพึ่งด้วย ซึ่งประเทศเสรีนิยมอย่างสหรัฐฯ ปฏิเสธการประกันสุขภาพแบบถ้วนหน้า เพราะแนวคิดในเรื่องของความอิสระ และเสรีภาพ คนอเมริกันมีความเชื่อในเรื่อง ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน รัฐบาลไม่ควรก้าวก่ายในเรื่องชีวิตส่วนตัวของประชาชน ในเรื่องทุกเรื่อง รวมถึงปากท้อง เพราะเหตุที่ว่าเมื่อรัฐเอามือมายุ่มย่ามเมื่อไร ก็เท่ากับว่าประชาชนสูญเสีย "Freedom"(อิสรภาพ) ในการใช้ชีวิตไป

แน่นอนไม่มีใครอยากเจ็บป่วย แต่ระบบประกันสุขภาพ การช่วยเหลือต่างๆ มันจะส่งผลอย่างไรบ้างกับความคิดของคน กับคนสหรัฐฯวัยทำงานที่ต้องดูแลสุขภาพตนเองให้ดีเพราะค่ารักษาพยาบาลแพงสูงลิบและต้องซื้อประกันตามรายได้ของตนโดยรัฐไม่ช่วยเหลือ กับคนไทยซึ่งเจ็บป่วยยังไงรัฐก็ให้ความดูแล ประกันสุขภาพ 30 บาท ถึงจะยังไม่ครอบคลุมทุกโรคก็ตาม แต่ทำไมคนส่วนใหญ่มักชอบพูดว่าประเทศสหรัฐอเมริกาทีระบบสวัสดิการที่ดีเยี่ยม จนเป็นประเทศในฝันของทุกคน เมื่อได้อ่านความเป็นจริงจากบทความชิ้นนี้แล้วคงทาให้เรามองสหรัฐอเมริกาในแง่ความเป็นจริงมากขึ้น และเลิกพูดมั่วๆซะที ว่าอเมริกามีสวัสดิการดีกว่าไทย

(หมายเหตุ : บทความนี้ถูกเผยแพร่ครั้งแรกใน “วารสารสหายแรงงาน” ฉบับที่ 1 ประจำเดือนกันยายน วารสารดังกล่าวถูกจัดทำขึ้นโดยการร่วมมือกันระหว่าง กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง กลุ่มนักศึกษาสภากาแฟ(มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต) และกลุ่มประกายไฟ )

บล็อกของ ประกายไฟ

ประกายไฟ
แถลงการณ์ กลุ่มประกายไฟ 
ประกายไฟ
...ข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดการสังคมหลังทุนนิยมข้างต้นนี้ถือเป็นเป้าหมายหลัก และเป็นผลผลิตโดยตรงของการเติบโตของขบวนการโลกาภิวัตน์จากรากฐาน ที่พยายามเสนอทางเลือกใหม่ในการพัฒนาท่ามกลางซากปรักหักพังของโลกสังคมนิยม ในทศวรรษ 1990 ที่นักคิดฝ่ายอนุรักษ์นิยมและฝ่ายเสรีนิยมต่างประกาศว่า “เราไม่มีทางเลือกอื่นใดเหลือแล้วนอกจากระบบทุนนิยมกลไกตลาดและระบอบ ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม” แม้ว่าเป้าหมายดังกล่าวจะยังไม่บรรลุ แต่คุณูปการที่สำคัญที่สุดที่ขบวนการโลกาภิวัตน์จากรากฐานได้สร้างไว้ก็คือ ความหวังที่ว่า “โลกใบใหม่เป็นไปได้” ซึ่งเป็นคำขวัญของขบวนการสมัชชาสังคมโลกนับตั้งแต่ ค.ศ.2001 เป็นต้นมา
ประกายไฟ
“..รู้สึกว่าธรายอาร์มไม่ใช่แค่กางเกงใน แต่มันแสดงถึงสัญญะบางอย่างของการต่อสู้ ซึ่งเห็นไหมคะ แค่สงสัยว่าทำไมต้องเป็นกางเกงในของธรายอาร์ม คนที่สงสัยเขาก็ต้องหาเรื่องราวของมันบ้างล่ะค่ะ อย่างน้อยเราก็ได้สื่อเรื่องความไม่เป็นธรรมนอกจากแคมเปญหลักของงานนี้..” - ลูกปัด 1 สวาผู้ร่วมรณรงค์ 
ประกายไฟ
 “...พวกนายทุนจึงต้องหาทางให้ปัญหาเหล่านี้ทุเลาเบาบางลง ไม่อย่างนั้นการผลิตในระบบทุนนิยมอาจต้องล่มสลาย จึงต้องสร้างกติกากลางขึ้นมาเพื่อให้การขูดรีดยังดำรงตนต่อไปได้...”
ประกายไฟ
...ผมไม่คิดว่าการมีวันพ่อวันแม่มันจะสร้างประโยชน์อะไรให้กับคนที่ "มีพ่อมีแม่" (หรือแม้แต่ตัวคนเป็นพ่อเป็นแม่) แต่ขณะเดียวกันมันกลับเป็นวันที่ "ซ้ำเติม" คนที่ "ขาดพ่อขาดแม่" ซึ่งโดยปกติก็อาจจะมีชีวิตที่รันทดเจ็บปวดกับเรื่องนี้อยู่แล้ว..
ประกายไฟ
...แต่เชื่อไหม (เหมือนถาพในหนัง) ใบหน้าคนเหล่านั้นลอยออกมาปะทะสายตาเรา เรามองไม่เห็นความกลัวในใบหน้าของคนเหล่านั้น บางคนด่าไปอมยิ่มไป บางคนด่าไปก็แสดงอาการท้าทายไป มันต่างกันมาก ต่างกันจริงๆ เราเคยเห็นคนในม็อบเสื้อแดงช่วงที่มีการสลาย ทั้งวันที่ 10 เมษา และ 19 พฤษภา เราเห็นแววตาคนที่กลัวตาย เห็นแววตาคนที่มีห่วงเห็นแววตาคนที่พร้อมจะยอมตาย แต่คนเหล่านั้นไม่กร่างเท่านี้นะ
ประกายไฟ
...ที่มาที่ไปของ "เสื้อแดง" มันไม่เกี่ยวกับเรื่อง "รักเจ้า" หรือ "รักทักษิณ" ..