..นักสหภาพหลายๆคนมักมาสอบถามกับผู้เขียนบ่อยๆว่า ทำไมฝ่ายบุคคลมักมีทัศนะคติที่เลวร้ายกับสหภาพหรือที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะมหาวิทยาลัยสั่งสอนให้มองสหภาพในแง่ไม่ดีรึเปล่า แล้วถ้าไม่ใช่พวกนักศึกษาที่จบไปเป็นฝ่ายบุคคลในโรงงานนั้น เขามองสหภาพแรงงานอย่างไร เราจึงจัดทำบทสัมภาษณ์สั้นๆชิ้นนี้ขึ้นมาเพื่อให้รู้ว่าเขา (ว่าที่ฝ่ายบุคคล) คิดยังไงกับเรา(สหภาพแรงงาน)..
วารสารสหายแรงงาน* สัมภาษณ์นางสาวสุวิมล สะอิ้งแก้ว นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ สาขาบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เมื่อพูดถึงเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล เหล่าบรรดานักสหภาพแรงงานทั้งหลายคงรู้จักกันดี หลายสถานประกอบการ ฝ่ายบุคคลกับสหภาพแรงงานก็ทางานร่วมกันได้เป็นอย่างดี ในขณะที่หลายสถานประกอบการ(ส่วนใหญ่)ฝ่ายบุคคลมักจะเป็นศัตรูอันดับต้นๆของสหภาพแรงงานเลยก็ว่าได้ เพราะมักใช้อำนาจหน้าที่กลั่นแกล้งโดยถูกกฏระเบียบ เพื่อทำให้สหภาพแรงงานในสถานประกอบการณ์นั้นปิดตัวลงไปให้ได้ ผู้จัดการฝ่ายบุคคลบางท่านเปลี่ยนสถานประกอบการณ์มาแล้วนับไม่ถ้วน เพราะมีหน้าที่หลักคือรับจ้างปิดสหภาพแรงงานอย่างเดียว พอปิดได้ก็หมดหน้าที่ต้องย้ายสถานประกอบการณ์เพราะบริหารงานบุคคลไม่เป็น
นักสหภาพหลายๆคนมักมาสอบถามกับผู้เขียนบ่อยๆว่า ทำไมฝ่ายบุคคลมักมีทัศนะคติที่เลวร้ายกับสหภาพหรือที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะมหาวิทยาลัยสั่งสอนให้มองสหภาพในแง่ไม่ดีรึเปล่า แล้วถ้าไม่ใช่พวกนักศึกษาที่จบไปเป็นฝ่ายบุคคลในโรงงานนั้น เขามองสหภาพแรงงานอย่างไร เราจึงจัดทำบทสัมภาษณ์สั้นๆชิ้นนี้ขึ้นมาเพื่อให้รู้ว่าเขา (ว่าที่ฝ่ายบุคคล) คิดยังไงกับเรา(สหภาพแรงงาน)
ในฐานะที่เป็นนักศึกษาที่มีเป้าหมายในการประกอบอาชีพเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์(HR) อยากถามคุณว่า รู้จักสหภาพแรงานหรือไม่และคิดว่ามันเกี่ยวข้องกับอาชีพในอนาคตของคุณอย่างไร?
สาหรับคนที่เรียนทางด้านบริหารทรัพยากรมนุษย์ แน่นอนว่าต้องรู้จักสหภาพแรงงาน เพราะสหภาพแรงงานคือการรวมตัวกันของพนักงานในองค์กร เพื่อเรียกร้อง ปกป้อง คุ้มครอง ความเป็นธรรมให้กับพนักงาน ไม่ให้ถูกนายจ้างเอาเปรียบ ทั้งนี้ในมุมมองของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (ฝ่ายบุคคล) บางส่วนทั้งจากที่ได้เรียนหรือได้อ่านบทความ สหภาพแรงงานไม่ใช่สิ่งที่นายจ้างต้องการนักเพราะการมีสหภาพแรงงาหมายถึงอำนาจ ผลประโยชน์ของนายจ้างที่ลดลง และ HR (ฝ่ายบุคคล) เองก็ไม่แน่ใจว่าเหตุที่ตั้งสหภาพแรงงานขึ้นมานั้น มีเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของพนักงานทั้งหมดหรือเพียงแค่ปกป้องกลุ่มผู้นำของสหภาพแรงงานกันแน่ บางครั้งการเรียกร้องของสหภาพแรงงานต่อนายจ้างในเรื่องต่างๆ ก็ทำให้นายจ้างมองว่าสหภาพแรงงานคือตัวปัญหาขององค์กร เพราะหากพูดกันตามจริง ปัจจุบันก็มีหลายกรณีที่พนักงานถูกเลิกจ้างเพียงเพราะเขาเข้าร่วมกับสหภาพแรงงาน แต่ก็อย่างที่กล่าวไปแล้วว่ามันเป็นเพียงมุมมองส่วนหนึ่งของคนที่ทางานทางด้านนี้ยังมีอีกหลายมุมมองของคนที่ทำงาน HR(ฝ่ายบุคคล) ที่มองสหภาพแรงงานต่างกันไป
แต่ถ้าถามในมุมมองของดิฉัน ซึ่งยังไม่ได้เผชิญสภาพการทำงานจริง หากแต่เป็นเพียงผู้ที่กำลังศึกษาด้านบริหารทรัพยากรมนุษย์ (HR) ดิฉันมองว่า สหภาพแรงงาน ถือเป็นสีสันขององค์กร และเป็นเครื่องพิสูจน์ความสามารถของฝ่ายบุคคล(HR) และผู้บริหารของแต่ละองค์กร ทั้งนี้เพราะเราต้องไม่ลืมว่าแนวโน้มขององค์กรในปัจจุบัน เขาไม่ได้มองคนทางานเป็นเครื่องจักรอีกแล้ว แต่เขามองว่าคนเป็นสินทรัพย์ที่สาคัญ และจะช่วยให้องค์กรพัฒนาขับเคลื่อนต่อไปได้ ดังนั้นการประสานผลประโยชน์ระหว่างพนักงาน หรือในที่นี้อาจหมายถึงสหภาพแรงงาน กับ องค์กรให้ดี ปัญหาที่องค์กรกลัวว่าจะเกิด มันก็จะไม่เกิดขึ้น และพนักงานหรือสหภาพแรงงานเอง หากร่วมมือกับองค์กร ทำงานอย่างเต็มที่ภายใต้ข้อตกลงที่ทากันไว้ ไม่นัดหยุดงาน ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่ ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล(HR) กับ สหภาพแรงงานจะอยู่ร่วมกันไม่ได้ แต่ทั้งนี้ความรู้สึกส่วนตัวของดิฉันนั้นเห็นว่าบริษัทจะต้องเป็นผู้เดินเข้าหาสหภาพแรงงานก่อนเพื่อแสดงให้เห็นถึงความจริงใจขององค์กร ปัญหาหรือมุมมองแง่ลบที่เกิดกับสหภาพแรงงานในปัจจุบันเกิดเพราะ องค์กรละเลยปัญหาในเรื่องนี้ และเห็นว่ามันไม่ใช่สิ่งสาคัญ จนทำให้ปัญหาที่ควรจะแก้ได้ง่ายๆเพียงแค่การพูดคุยกัน กลายเป็นปัญหาที่ใหญ่ และแก้ไขยาก เพราะการที่องค์กรหรือฝ่ายบุคคล ละเลยปัญหาเล็กๆไป มันจะกลายเป็นการสะสมปัญหาให้ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆเปรียบเหมือนกับระเบิดเวลาที่ค่อยๆขยายความรุนแรงมากขึ้นๆ
ความรุนแรงที่มาพร้อมกับความคิดในแง่ลบที่เกิดกับองค์กร และพอมาถึงจุดๆหนึ่ง มันก็ระเบิดออกมา กลายเป็นการนัดหยุดงานก็ดี การประท้วง ฯลฯ ทาให้องค์กรเกิดความเสียหาย ทั้งในแง่ของผลประโยชน์และภาพลักษณ์ ทั้งนี้สหภาพแรงงานเองก็ควรเปิดใจต่อนายจ้างเช่นกัน เพราะแน่นอนว่าหากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากแรงปะทุของระเบิดเวลานั้นรุนแรงถึงขั้นที่ทาให้บริษัทล้ม พนักงานก็ต้องล้มตามอย่างไม่ต้องสงสัย ดังนั้นวิธีแก้ไขปัญหาที่ง่ายที่สุดระหว่างในการอยู่ร่วมกันของนายจ้างกับสหภาพแรงงานคือ การพูดคุยกัน ประสานผลประโยชน์ระหว่างกันให้ได้ พนักงานทำงานเต็มศักยภาพภายใต้สวัสดิการค่าจ้างที่เป็นธรรม ประสิทธิภาพทางการผลิต ของบริษัทก็ออกมาดี บริษัทเองก็อยู่ได้ แต่คาว่าอยู่ได้ ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงอยู่ได้เพราะกำไรมหาศาล แต่หมายถึงการอยู่รอดต่อไปได้ขององค์กรอย่างยั่งยืน ทั้งนี้เพราะบริษัทต้องไม่ลืมว่าผู้บริโภค ลูกค้าในปัจจุบันไม่ได้ต้องการ สินค้าและบริการที่มีราคาถูกอีกแล้ว หากแต่ต้องการสินค้าและบริการที่ผ่านการผลิตที่ให้ความสนใจต่อ Stakeholders(หุ้นส่วนทางการผลิต) ทุกภาคส่วน และ Stakeholders(หุ้นส่วนทางการผลิต) ที่สาคัญในปัจจุบันนอกเหนือจากผู้ถือหุ้นก็คือ พนักงาน ชุมชนรอบข้าง และสิ่งแวดล้อม
ถ้าหากองค์การไม่ให้ความสาคัญกับสหภาพแรงงาน ซึ่งถือเป็น Stakeholders(หุ้นส่วนทางการผลิต) ที่สาคัญลาดับต้นๆแล้ว เกิดมีพนักงานออกมาประท้วง ภาพลักษณ์ของบริษัทต่อลูกค้าหรือผู้บริโภคก็จะเสียไป นำไปซึ่งความไม่ไว้วางใจในตัวสินค้าและบริการของบริษัทในที่สุด
(*หมายเหตุ : บทความนี้ถูกเผยแพร่ครั้งแรกใน “วารสารสหายแรงงาน” ฉบับที่ 1 ประจำเดือนกันยายน วารสารดังกล่าวถูกจัดทำขึ้นโดยการร่วมมือกันระหว่าง กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง กลุ่มนักศึกษาสภากาแฟ(มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต) และกลุ่มประกายไฟ )