Skip to main content

31สิงหาคม2550
22.40 น.

ฉันลุกขึ้นเปิดดวงไฟจากแบตเตอรี่อีกครั้ง หลังจากที่ลุกขึ้นมาโทรศัพท์สนทนากับเพื่อนที่เชียงใหม่ ระบายความกลัดกลุ้มด้วยคำพูดแต่ดูเหมือนเมื่อปิดไฟลง ดวงตาก็เบิกโพลงไปกับความคิดฉันจึงปล่อยความคิดโลดแล่นไปกับปลายปากกา

นับถอยหลังไปอีกสิบวัน หมู่บ้านที่ฉันอาศัยอยู่นี้ก็จะถูกย้ายไปที่แห่งใหม่ ตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยให้ไปรวมกับหมู่บ้านอีกแห่งหนึ่งที่อยู่ไกลออกไปติดชายแดนไทย-พม่าทางฝั่งทิศตะวันตก

 

PICTURE1

 

เนื่องจากชาวบ้านที่นี่อาศัยอยู่กับนายทุนมานานกว่า 12 ปี ด้วยสัญลักษณ์ที่พิเศษแตกต่างกว่าชนเผ่าอื่น “กะยัน” หรือที่เรียกกันทั่วไปว่ากะเหรี่ยงคอยาว จึงมักถูกโยกย้ายถ่ายเทไปหลายหนแห่งหลายครั้งคราวอย่างไม่มีทางเลือก ด้วยเหตุผลเดียวกันคือเพื่อธุรกิจการท่องเที่ยว

ทว่าครั้งนี้ เมื่อชาวบ้านเงี่ยหูฟังรัฐที่ได้ยื่นมือลงมาปลดห่วงที่มองไม่เห็น ต้องการจัดตั้งหมู่บ้านถาวร โดยจะยกที่ดินที่ทำกินให้ดำเนินชีวิตอย่างชาวเขาเผ่าต่างๆ แต่ขณะที่เดียวกันก็ยังเปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวได้เช่นเดิม

จากการบังคับข่มขู่ให้ย้าย ก็กลายเป็นการขอร้องให้ย้ายด้วยความสมัครใจ ทำให้ 8 ครอบครัวจาก 26 ครอบครัว (รวม “กะยอ” หรือกะเหรี่ยงหูกว้าง 4 ครอบครัว) ตัดสินใจโยกย้ายตามคำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน

ยิ่งใกล้วันย้ายปัญหาก็ยิ่งคุกรุ่น ชาวบ้านเริ่มแสดงตัวเป็นฝักฝ่ายชัดเจน ระหว่างกลุ่มผู้สมัครใจย้ายจากหมู่บ้านห้วยเสือเฒ่าและหมู่บ้านในสอย ไปอยู่ที่หมู่บ้านห้วยปูแกง (น้ำเพียงดิน) ตามคำขอร้องของผู้ว่าฯ กับกลุ่มผู้สมัครใจอยู่ที่เดิม

ส่วนอีกกลุ่ม ที่แยกตัวกลับไปอยู่ในศูนย์พักพิงผู้อพยพในสอยนั้น ก็จะได้รับการดูแลเช่นเดียวกับคนอื่นๆที่อาศัยอยู่ก่อนแล้ว

 

PICTURE2

 

ด้วยความหวาดหวั่นพรั่นใจของทั้งสองฝ่ายที่ไม่รู้ชะตาตัวเองว่า ไปแล้วจะเป็นอย่างไร ส่วนที่เหลืออยู่จะอยู่อย่างไร ยิ่งข่าวลือที่กระพือมาเป็นระลอกเช่นว่า หมู่บ้านเดิมอาจถูกกดดันให้ปิดลงด้วยเหตุผล “ความมั่นคงแห่งรัฐ, ขัดต่อสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่นำคนมาเปิดแสดงดังสวนสัตว์ (Human Zoos)”

หรือไม่ก็ฝ่ายที่ย้ายจะถูกจำกัดสิทธิ์การเข้าออกหมู่บ้าน ล้วนเป็นหัวข้อโต้เถียงกันอยู่ตลอดเวลา

สำหรับฉันซึ่งตัดสินใจหอบลูกชายวัยหกเดือนเศษย้ายติดตามสามีกะยันไปด้วย แม้จะไม่มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง แต่เหล่าบรรดาพี่น้องของฝ่ายสามีส่วนใหญ่ตัดสินใจย้ายไปเกือบหมด ก็ทำให้นึกเป็นห่วงและไม่อาจดูดายได้

ด้วยความที่ฉันเป็นคนไทยคนเดียวที่มีบัตรประชาชน มีความรู้และยังสามารถสื่อสารกับหน่วยงานราชการได้ดีกว่าชาวบ้านที่ยังใหม่ต่อการประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ

เพราะที่ผ่านมามีนายทุนคอยจัดการทุกอย่าง ทำให้ฉันต้องตกที่นั่งกลายมาเป็นที่ปรึกษาให้กับฝ่ายที่จะย้ายไปโดยปริยาย

และนี่ก็เป็นที่มาแห่งความกลัดกลุ้มของค่ำคืนนี้ หมู่บ้านที่เคยสงบสุขเริ่มแตกแยก พี่น้องที่เคยรักใคร่มาเป็นอริกัน หากมีใครที่ผ่าเหล่าเลือกในสิ่งที่ข้างมากไม่เลือก ทั้งๆ ที่ครั้งนี้เป็นครั้งที่สองที่พวกเขาได้มีโอกาสเลือก นับตั้งแต่ครั้งแรกที่เขาเลือกที่จะเดินทางข้ามแม่น้ำสาละวินมาขึ้นฝั่งไทยเมื่อ ปี 2527

เมื่อวานเจอปัญหาโลกแตก ที่ทำให้เกิดความขัดแย้งได้ในทุกที่ก็คือเรื่องเงิน เงินกองทุนชาวบ้านที่แบ่งไม่ลงตัว แม้กะยันฝั่งที่ไม่ย้ายจะมีน้อยกว่าฝั่งที่ย้าย แต่คนที่ดูแลเงินคือมีทั้งผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยฯ (ที่ตั้งกันเอง) มีอำนาจการต่อรองมากกว่า จึงสร้างรอยแค้นให้กับชาวพี่น้องที่ย้ายไปอยู่ไม่น้อย

พอเมื่อวานผ่านไปวันนี้ เงินกองทุนหมู่บ้านเหลือ 2,000 บาท ซื้อเนื้อซื้อเบียร์มาร่วมวงกินกันทั้งหมู่บ้าน ทุกคนเฮฮาปาร์ตี้เหมือนไม่เคยมีเรื่องบาดหมางใจ นี่แหละหนาชาวบ้านไม่มีเล่ห์เหลี่ยมเพทุบาย ทะเลาะกันก็ฉะกันตรงๆ พอจบเรื่องแล้วก็แล้วกันไป

แม้ฉันจะยังไม่ค่อยเข้าใจในภาษาและวัฒนธรรมของพวกเขาอย่างละเอียดลออ แต่ก็พอจะเข้าใจในวิถีชีวิตและลักษณะนิสัยของชาวกะยันอยู่บ้าง

จุดอ่อนของหมู่บ้านนี้(ที่ฉันอาศัยอยู่คือบ้านห้วยเสือเฒ่า) คือขาดผู้นำที่แท้จริง ชาวบ้านจึงไม่ค่อยเชื่อผู้นำ การประชุมหมู่บ้านแต่ละครั้งจึงไม่ค่อยมีความหมาย เพราะต่างคนต่างคิดกันคนละอย่าง แต่ไม่เคยมาถกเถียงกันในกลุ่ม แต่ซุบซิบกันเอง แต่พอถกเถียงกันในกลุ่มจริงๆ ก็ไม่สามารถหาตกลงได้ เพราะพวกเขาใช้ระบบเครือญาติตกลงกัน ญาติใครเยอะกว่ากัน บางคนจึงต้องยอมรับข้อตกลงแบบจำยอม

ฉันจึงไม่แปลกใจที่ชาวบ้านบางส่วนเลือกที่จะย้ายไปที่แห่งใหม่ทั้งๆที่ไม่รู้ว่าที่นั่นจะกินอิ่มนอนอุ่นเหมือนที่เดิมที่มีนายทุนดูแลอยู่หรือไม่

แต่ที่รู้ๆก็คือ ที่นั่นไม่จำเป็นต้องจำยอมก้มหัวรับคำสั่งของใคร และการลงชื่อย้ายของชาวบ้านบางส่วนก็นับเป็นการแสดงออกของการต่อต้านนายทุนที่มีมานานกว่า12 ปี.

บล็อกของ เจนจิรา สุ

เจนจิรา สุ
12 ตุลาคม 2550 ยามสายของวันที่ 28 กันยายนที่ผ่านมา ผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวที่สนามบินแตกตื่นไปกับผู้คนที่เดินทางไปรับผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอนคนใหม่ โดยเฉพาะเมื่อเห็นหญิงกระยันสวมห่วงทองเหลืองที่ขัดจนแวววาว เดินอย่างเป็นระเบียบมาเข้าแถวต้อนรับผู้ว่าฯ คนใหม่อย่างพร้อมเพียงบางคนที่มารอขึ้นเครื่องเข้ามากดชัตเตอร์ขอถ่ายรูปพวกเธอที่แต่งชุดกระยันเต็มยศ ด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส มะลิ เด็กสาวกระยันคนหนึ่งถูกเลือกให้กล่าวคำต้อนรับท่านผู้ว่าฯ ด้วยเหตุผลที่เธอสามารถอ่านหนังสือภาษาไทยได้ชัดเจนที่สุด แม้ว่าเธอจะประหม่าบ้างกับกล้องถ่ายรูป ผู้คน และภารกิจที่เธอจะต้องทำ แต่ทุกอย่างก็ผ่านพ้นไปด้วยดี…
เจนจิรา สุ
25 กันยายน 2550 หมู่บ้านใหม่ค่อนข้างจะคึกคักตกเย็นมีเสียงดีดสีตีเป่าร้องรำทำเพลงเป็นเพลงพื้นบ้าน  เสียงซึงประสานเสียงโม่งสอดรับกับท่วงทำนองเนื้อร้องของแม่เฒ่า เอื้อนไต่บันไดเสียงคลอปี่ไม้ไผ่ผิวหวิวไหวขึ้นลง ไล่เลียงไปไม่ทันสุดบันไดเสียงก็โยนกลับไป-มาเหมือนไม่มีที่สิ้นสุด ทำให้ฉันรู้สึกราวกับว่าตกอยู่ในหมู่บ้านลี้ลับกลางป่าเปลี่ยวดึกดำบรรพ์ที่ไหนสักแห่งที่เคยอยู่อาศัยเมื่อนานมาแล้ว ต่างจากหมู่บ้านเดิมลิบลับ ที่นี่ไม่มีแบตเตอรี่พอเพียงสำหรับเปิดเพลงจากซีดี ไม่มีทีวีให้รุมดู แต่มีกาน้ำชาอุ่นบนกองไฟที่ล้อมวงไปด้วยเด็กๆ หนุ่มสาว จนถึงคนเฒ่าคนแก่ ปรึกษาหารือถึงวิถีชีวิตของวันพรุ่งนี้…
เจนจิรา สุ
20 กันยายน 2550 เจ้าเขียวสะอื้น (มอเตอร์ไซค์คู่ชีพ) ส่งเสียงครางกระหึ่มอุ่นเครื่องอยู่ใต้ถุนบ้าน ก่อนที่มันจะต้องเดินทางไกลในเส้นทางที่ฟ้าสวยแต่พื้นดินแสนขรุขระตรงกันข้าม สามีฉันจึงจัดแจงเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง เช็คเครื่อง และเพิ่มตะกร้าหลังให้มันเพื่อบรรทุกสัมภาระที่ขนย้ายไปไม่หมด  ชาวบ้านหลายครอบครัวได้ย้ายไปดำเนินชีวิตที่หมู่บ้านใหม่ก่อนหน้าฉันหลายวันแล้ว แต่ฉันติดตรงที่ต้องพาลูกไปฉีดวัคซีนตามที่หมอนัด จึงยังอาศัยอยู่ที่บ้านแม่สามีไปพลางก่อนเช้านี้เราจึงตัดสินใจจะเดินทางไปหมูบ้านใหม่กัน สำหรับฉันค่อนข้างจะตื่นเต้นเพราะยังไม่เคยเห็นบ้านใหม่ของตัวเองสักที …
เจนจิรา สุ
12 กันยายน 2550 และแล้วก็มาถึงวันที่ทุกคนรอคอย เมื่อวันที่ย้ายต้องเลื่อนออกมาจากกำหนดเดิมอีกสองวัน แสงแดดดูเหมือนจะเป็นใจสาดส่องให้ถนนเส้นทางสายห้วยเดื่อ- ห้วยปูแกงที่เคยชื้นแฉะและเป็นหลุมบ่อจากน้ำฝนแห้งสนิท
เจนจิรา สุ
5 กันยายน 2550 ยามเช้า,ตื่นขึ้นด้วยเสียงเลื่อยไม้, เสียงค้อนตอกตะปู,เสียงสังกะสีกระทบพื้นดังโครมคราม ไก่หลายตัวที่เคยขันปลุกทุกเช้า ถูกเชือดเป็นอาหารสำหรับเลี้ยงคนที่มาช่วยลงแขกรื้อบ้านตั้งแต่เมื่อวานและเช้านี้ บ้านหลายหลังพังพาบเป็นกองไม้ รอวันขนย้ายไปที่แห่งใหม่ เด็กๆ วิ่งตึงตังในห้องกลางเพราะต้องมานอนรวมแออัดกันที่บ้านย่า ก็คือบ้านสามีของฉัน แม่บ้านและเด็กสาววุ่นวายอยู่ในครัว เหตุการณ์ชุลมนเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อหลายวันก่อน ชาวบ้านมาขอคำปรึกษาเรื่องบ้าน ฉันจึงตัดสินใจกดหมายเลขโทรศัพท์ต่อสายพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการกับปลัดหนุ่มที่ดูแลพื้นที่“ปลัดฯหรือคะ คือฉันมีเรื่องรบกวนจะเรียนถาม…
เจนจิรา สุ
31สิงหาคม2550 22.40 น.ฉันลุกขึ้นเปิดดวงไฟจากแบตเตอรี่อีกครั้ง หลังจากที่ลุกขึ้นมาโทรศัพท์สนทนากับเพื่อนที่เชียงใหม่ ระบายความกลัดกลุ้มด้วยคำพูดแต่ดูเหมือนเมื่อปิดไฟลง ดวงตาก็เบิกโพลงไปกับความคิดฉันจึงปล่อยความคิดโลดแล่นไปกับปลายปากกานับถอยหลังไปอีกสิบวัน หมู่บ้านที่ฉันอาศัยอยู่นี้ก็จะถูกย้ายไปที่แห่งใหม่ ตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยให้ไปรวมกับหมู่บ้านอีกแห่งหนึ่งที่อยู่ไกลออกไปติดชายแดนไทย-พม่าทางฝั่งทิศตะวันตก    เนื่องจากชาวบ้านที่นี่อาศัยอยู่กับนายทุนมานานกว่า 12 ปี ด้วยสัญลักษณ์ที่พิเศษแตกต่างกว่าชนเผ่าอื่น “กะยัน” หรือที่เรียกกันทั่วไปว่ากะเหรี่ยงคอยาว…