Skip to main content
นักท่องเที่ยวต่างชาติยอมจ่ายค่าตั๋วอย่างต่ำหนึ่งร้อยถึงสองร้อยห้าสิบบาทเป็นค่าเข้าชม วิถีชีวิตที่จำลองขึ้นของชาวกระยันที่ถูกเรียกขานเสียใหม่เพื่อดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวว่า "กะเหรี่ยงคอยาว"


และนับเป็นความสำเร็จของกลุ่มนายทุนและการโปรโมทการท่องเที่ยวของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ทำให้คนทั่วประเทศหลั่งไหลเข้ามาชมกระเหรี่ยงคอยาว จนเป็นที่รับรู้กันว่าหากจะมาดูชนเผ่าที่มหัศจรรย์ที่สุดต้องมาที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนแห่งนี้


หากให้แม่คำนวณจำนวนนักท่องเที่ยวด้วยสายตา ในฤดูไฮท์ซีซั่นซึ่งจะในช่วงเดือน ตุลาคมถึงกุมภาพันธ์ของทุกปี จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาที่หมู่บ้านของเราไม่ต่ำกว่าหนึ่งร้อยคนต่อวัน ลูกคิดเอาเถอะว่าจะนำรายได้เข้าสู่นายทุนสักเท่าไร


แม่คิดว่านักท่องเที่ยวที่เสียเงินเข้ามาชมกะเหรี่ยงคอยาวในหมู่บ้าน อาจจะนึกไม่ถึงว่าเงินเหล่านี้ปันส่วนให้กับชาวบ้านเพียงแค่น้อยนิดเท่านั้น แม้เวลาจะผ่านมาสิบปีแล้ว ชาวกระยันก็ยังคงได้รับค่าแรงเท่าเดิม ยังดีอยู่บ้างที่บางคนลงทุนซื้อของที่ระลึกมาขายให้กับนักท่องเที่ยว แม้จะไม่มากมายแต่ก็สามารถจุนเจือครอบครัวทั้งครอบครัวได้


เมื่อย่ามาอยู่เมืองไทยไม่นานก็ส่งข่าวให้ปู่พาลูกๆ ที่เหลืออพยพตามมายังฝั่งไทย


พ่อของลูกได้เดินมากับปู่ในเที่ยวหลังนี้ ตอนนั้นพ่อของลูกอายุได้เพียง 7-8 ปี จึงไม่รู้สึกว่ามันเป็นการเดินทางที่ยากลำบาก เพราะมัวแต่เพลิดเพลินกับทัศนียภาพรอบตัวเนื่องจากเป็นการเดินทางไกลครั้งแรกในชีวิต


หากวันนั้นย่าไม่ตัดสินใจข้ามแม่น้ำสาละวินมาขึ้นฝั่งที่ไทย แม่จะมีโอกาสได้พบพ่อของลูกไหม ? และลูกสาละวิน จะได้ถือกำเนิดขึ้นจากสองสายเลือดหรือเปล่า


ย่าที่เป็นหญิงกระยันกลุ่มแรกๆ ที่ได้เข้ามาอยู่ในไทย โดยทางไทยก็อนุโลมให้อยู่นอกศูนย์อพยพ โดยจัดตั้งเป็นหมู่บ้าน "กะเหรี่ยงคอยาว" ตามการเรียกขานของคนไทย เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดแม่ฮ่องสอน


และไม่นานนักหมู่บ้านลักษณะดังกล่าวก็เกิดขึ้นกระจัดกระจายไปอยู่ในหลายอำเภอของภาคเหนือ (ไม่จำเพาะแค่แม่ฮ่องสอนเท่านั้น)


แม่ไม่รู้ว่าการนำเอาคนเป็นๆ มาเก็บบัตรเข้าชม เพียงเพราะเขามีวัฒนธรรมที่แตกต่าง จนกลายเป็นลักษณะพิเศษ ถูกนำไปเรียกขานให้ผิดเพี้ยนจากความจริงว่า "คอยาว" ผิดปกตินั้น ถูกสร้างขึ้นจากน้ำมือการท่องเที่ยวหรือเป็นลักษณะนิสัยดั้งเดิมของคนไทยที่ชอบดูสิ่งแปลกประหลาด


เพราะแม่สังเกตเห็นพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนใหญ่จะคล้ายๆ กัน พวกเขาจะรีบๆ เดินดูและมองหาคนแก่ที่สวมห่วงไว้ยาวที่สุด บ้างซื้อของที่ระลึกด้วยการต่อราคาแล้วต่อราคาอีก


ซ้ำร้ายนักท่องเที่ยวบางคนยังถามคำถามที่หยาบคาย อย่างเช่น ในเวลาหลับนอนกับสามี ปลอกคอที่สวมนั้นเกะกะไหม อะไรทำนองนี้ โดยไม่นึกถึงจิตใจของผู้ที่ถูกถามว่าจะรู้สึกเช่นเดียวกันไหม เพียงเพราะว่ากระยันหรือกะเหรี่ยงคอยาวที่เขาเรียกขานมีวัฒนธรรมที่แตกต่างเท่านั้น ไม่ใช่ความเป็น "คน" ที่แตกต่าง หญิงสาวรุ่นหลายคนต้องอับอายกับคำสบประมาท ในขณะที่แม่เฒ่าชินชากับคำหยาบคายจนเฉยชา


ในขณะที่ชาวต่างชาติจากประเทศที่เจริญแล้วทางอารยธรรม เขาแวะเข้ามาชมหมู่บ้านเพื่อการศึกษาเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาวัฒธรรมหรือสรีระวิทยา บางคนใช้เวลาศึกษาอาศัยอยู่กับชาวบ้านเป็นปี เพื่อสรุปข้อวิจัยของตัวเอง


สำหรับลูกของแม่เองก็มักมีคำถามจากนักท่องเที่ยวว่าโตขึ้นจะใส่ห่วงหรือเปล่า ซึ่งแม่ก็ตอบไปว่าลูกเป็นลูกชายคงจะไม่ใส่


เมื่อนักท่องเที่ยวถามต่อไปว่าแต่ถ้าหากลูกเป็นผู้หญิงล่ะ แม่จะให้ลูกใส่ห่วงคอเหมือนเช่นคนอื่นในชุมชนหรือไม่


แม่เองก็เคยนึกถามคำถามนี้กับตัวเองเช่นกัน แม่จะตัดสินใจอย่างไร ซึ่งคำตอบมันก็อยู่ที่ตัวของลูกเอง เพราะหากลูกอยู่ในหมู่บ้านที่มีใครๆ ก็ใส่กันหมด แม่ว่าลูกก็คงอยากจะใส่ให้เหมือนเพื่อนและคนที่นี่


แต่แล้วพอลูกโตขึ้นมา เห็นโลกใบกว้างขึ้นจากจอโทรทัศน์ ก็คงจะเห็นว่าการสวมห่วงไว้ที่คอเป็นสิ่งที่ไม่เท่เอาเสียเลย ความเชื่อแบบโบราณที่แม่เฒ่ารุ่นราวคราวเดียวกับย่ามองว่าความสวยเกิดจากการสวมห่วงทองเหลืองไว้ที่คอให้มากที่สุดนั้น กำลังจะหมดไปในรุ่นของลูก


แม้ในขณะที่แม่บันทึกอยู่นี้ เด็กสาวหลายคนก็กำลังทอนความยาวของห่วงทองเหลืองให้สั้นลงกว่าแต่ก่อน เพื่อที่จะไม่ให้คอยาวผิดปกติ และเริ่มเชื่อตามสายตาของผู้คนที่ทะลักล้นมาดูพวกเขา มองพวกเขาเป็นตัวประหลาด เด็กสาวรุ่นใหม่ที่ไม่อยากเป็นตัวประหลาดของคนในสังคมภายนอก จึงหันมานิยมความสวยแบบกบ สุวนันท์ ดาราในจอตู้แทนความเชื่อแบบเดิมๆ ของคนรุ่นย่านั่นเอง


รักลูก

แม่

 

 

บล็อกของ เจนจิรา สุ

เจนจิรา สุ
  สาละวิน,ลูกรัก เมื่อครั้งที่แม่มาจังหวัดเชียงใหม่ครั้งแรกนั้น แม่อายุได้ 18 ปี เชียงใหม่ในความรู้สึกของแม่มันช่างกว้างใหญ่สวยงาม  แม่เป็นเพียงเด็กบ้านนอกจนๆ ที่มีเพียงเงินค่ารถติดตัวไม่กี่บาท ที่เหลือก็เป็นค่าลงทะเบียนสอบเอ็นทรานซ์ แม่มองเห็นพระธาตุดอยสุเทพจากวิวนอกเมืองยามรถแล่นผ่าน  แม่อธิษฐานในใจว่า หากมีบุญที่จะได้มาอยู่เชียงใหม่  ก็จะขึ้นไปนมัสการพระธาตุฯ ให้ได้
เจนจิรา สุ
สาละวิน,ลูกรัก แม่ได้เล่าถึงพิธีกรรมในการเรียกขวัญลูกในบทบันทึกที่ผ่านมา แม่ก็นึกขึ้นมาได้ว่ายังมีพิธีกรรมเกี่ยวกับแม่ ซึ่งเป็นประสบการณ์ใหม่ของแม่เช่นกัน
เจนจิรา สุ
สาละวิน,ลูกรัก พ่อกับแม่ต่างเกิดขึ้นมาในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันอย่างริบลับ แม่นั้นแม้จะเกิดที่ภาคอีสานของประเทศ แต่ก็ซึมซับวัฒนธรรมอีสานได้เพียงน้อยนิด ก็ต้องมาใช้ชีวิตและเติบโตที่ภาคเหนือจนกระทั่งเมื่อเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัย ก็ดูเหมือนจะตัดขาดกับฐานวัฒนธรรมของตัวเอง เพราะอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ที่สังคมชั้นกลางเป็นกระแสหลักอยู่รายล้อม
เจนจิรา สุ
สาละวิน,ลูกรัก เช้าวันที่สองของการไปคลอด ในมือของแม่ยังคงว่างเปล่า ทั้งที่ทุกคนในห้องหลังคลอดต่างมีห่อของขวัญอยู่ในมือกันคนละห่อ พ่อของลูกเทียวไปมาระหว่างห้องหลังคลอด ซึ่งอยู่ชั้นบนของห้องรอคลอด กับห้องพักเด็กอ่อน ที่อยู่ไกลออกไปอีกหนึ่งช่วงตึก ที่นั่นมีห่อของขวัญของแม่นอนอยู่ในตู้อบเล็กๆ ขนาดเท่ากับตัวลูก
เจนจิรา สุ
สาละวิน,ลูกรัก ในเช้าที่แม่ต้องเดินทางไปคลอดลูกที่โรงพยาบาลในเมือง เป็นเช้าสุดท้ายที่แม่ได้นอนตื่นสายเช่นที่แม่เคยเป็นมาตั้งแต่ไหนแต่ไร หลังจากมีสาละวินแล้ว แม่ก็ไม่ได้ตื่นสายอีกเลย มันเป็นเช้าปกติที่แม่ตื่นขึ้นมาพบว่าอุ้มท้องลูกได้เก้าเดือนแล้ว และวันนี้หมอนัดให้แม่ไปคลอดลูกที่โรงพยาบาล
เจนจิรา สุ
 สาละวิน,ลูกรัก  ลูกมักตื่นแต่เช้า เช้าที่เรียกว่าไก่โห่เลยที่เดียว  มีคนเคยพูดไว้ว่า มีเด็กทารก กับคนแก่ที่มีพฤติกรรมคล้ายกัน คือตื่นเช้ามากๆ  แต่จุดประสงค์ของการตื่นเช้าของคนต่างวัยกลับต่างกัน เด็กทารกนั้น ตื่นเต้นกับโลกใหม่ที่ไม่คุ้นเคย และหลับมานานในท้องแม่จนกระตือรือร้นที่จะตื่นมาเรียนรู้โลกใบกว้าง  ในขณะที่คนแก่ซึ่งอยู่บนโลกมานานรู้ว่าจะเหลือเวลาอยู่ดูโลกนี้ได้อีกไม่นาน  จึงไม่อยากจะเสียเวลาไปกับการนอน
เจนจิรา สุ
แม่มองย้อนกลับไปในวัยเด็ก อุปนิสัยก้าวร้าวรุนแรง ที่เคยแสดงออกทางกายภาพนั้นมันยังคงซ่อนอยู่ในจิตใจและแสดงออกมาในรูปแบบอื่นเมื่อเราโตขึ้น เช่น เมื่อก่อนที่แม่จะมีลูก แม่เป็นนักดื่มตัวยงคนหนึ่ง เมื่อเมาจนได้ที่ ความก้าวร้าวรุนแรงก็จะปรากฏให้เห็นอยู่เป็นระยะ จนบางครั้งเพื่อนฝูงต่างก็เอือมระอา 
คนที่ขาดพื้นฐานความรักความอบอุ่นจากครอบครัวเช่นแม่นั้น ย่อมมีผลต่อพฤติกรรมจากเด็กจนถึงผู้ใหญ่และอาจติดตัวไปตลอดชีวิตเลยก็เป็นได้ หากแม่ไม่มองย้อนกลับไปสู่จุดเริ่มต้นและไล่เรียงสิ่งผิดพลาดในชีวิตที่ผ่านมา เพื่อเป็นอุทาหรณ์และปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น เพราะหากแม่มัวแต่โทษว่าสิ่งที่ตัวเองทำผิดต่างๆ…
เจนจิรา สุ
สาละวิน, ลูกรัก ในวันที่แม่เริ่มจับปากกาเขียนถึงลูก สาละวินอายุได้หนึ่งเดือนกับสิบแปดวัน แม่นั่งอยู่ข้างๆ เบาะเล็กๆสีชมพู ซึ่งลูกอาจจะแปลกใจที่แม่เลือกซื้อข้าวของเครื่องใช้เป็นสีชมพูนั้น แม่ยอมรับว่าในใจตอนแรกของแม่ก็หวังจะให้ลูกคนแรกเป็นผู้หญิง
เจนจิรา สุ
นักท่องเที่ยวต่างชาติยอมจ่ายค่าตั๋วอย่างต่ำหนึ่งร้อยถึงสองร้อยห้าสิบบาทเป็นค่าเข้าชม วิถีชีวิตที่จำลองขึ้นของชาวกระยันที่ถูกเรียกขานเสียใหม่เพื่อดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวว่า "กะเหรี่ยงคอยาว" และนับเป็นความสำเร็จของกลุ่มนายทุนและการโปรโมทการท่องเที่ยวของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ทำให้คนทั่วประเทศหลั่งไหลเข้ามาชมกระเหรี่ยงคอยาว จนเป็นที่รับรู้กันว่าหากจะมาดูชนเผ่าที่มหัศจรรย์ที่สุดต้องมาที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนแห่งนี้
เจนจิรา สุ
สาละวิน, ลูกรัก ลูกลืมตาดูโลกในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ.2550 ในตอนค่ำเวลา 19.21 น. ตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำเดือน 4 ปีกุน แม่ให้ชื่อลูกไว้ตั้งแต่ยังไม่เกิดว่า "สาละวิน" ชึ่งหมายถึงชื่อของแม่น้ำพรมแดนกั้นระหว่างไทยกับพม่า สาละวินของแม่ถือกำเนิดมาจากแม่ซึ่งเป็นคนไทยและพ่อที่อพยพมาจากพม่า ชื่อของลูกที่เปรียบเทียบได้กับแม่น้ำพรมแดนเชื่อมสายสัมพันธ์ให้เราสองคนอยู่เคียงข้างกันตลอดไปดังเช่นไทยและพม่า
เจนจิรา สุ
มะโนตัดสินใจอยู่นานกว่าสองวันหลังจากที่หญิงกระยันร่างกายผอมบางอายุ 52 ปี สะดุดล้มในห้องน้ำจนทำให้ให้เกิดอาการบวมที่ท้องด้านขวา เมื่อทนการรบเร้าจากคนรอบข้างไม่ไหวให้ไปหาหมอ เธอจึงเปิดหีบใบใหญ่ที่ใส่ข้าวของเงินทองที่มีอยู่รวมไปถึงเอกสารประจำตัวต่างๆ เพื่อค้นใบเล็กๆ สีเขียว มันเป็นบัตรเข้ารับการบริการที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด แต่จนแล้วจนรอดก็หาไม่พบ
เจนจิรา สุ
จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นอีกจังหวัดหนึ่งในประเทศไทยที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาตินึกถึงเมื่อเดินทางมาเยือนภาคเหนือของไทยแม้หนทางที่มุ่งสู่จังหวัดแม่ฮ่องสอนจากจังหวัดเชียงใหม่   จะคดโค้งลาดชันน่าหวาดเสียวจนขึ้นชื่อว่า   หากใครเดินทางมาถึงแม่ฮ่องสอนจะเป็นดั่งผู้พิชิตจำนวนโค้งมากที่สุดถึง 1,864 โค้งเลยทีเดียว