Skip to main content
นักท่องเที่ยวต่างชาติยอมจ่ายค่าตั๋วอย่างต่ำหนึ่งร้อยถึงสองร้อยห้าสิบบาทเป็นค่าเข้าชม วิถีชีวิตที่จำลองขึ้นของชาวกระยันที่ถูกเรียกขานเสียใหม่เพื่อดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวว่า "กะเหรี่ยงคอยาว"


และนับเป็นความสำเร็จของกลุ่มนายทุนและการโปรโมทการท่องเที่ยวของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ทำให้คนทั่วประเทศหลั่งไหลเข้ามาชมกระเหรี่ยงคอยาว จนเป็นที่รับรู้กันว่าหากจะมาดูชนเผ่าที่มหัศจรรย์ที่สุดต้องมาที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนแห่งนี้


หากให้แม่คำนวณจำนวนนักท่องเที่ยวด้วยสายตา ในฤดูไฮท์ซีซั่นซึ่งจะในช่วงเดือน ตุลาคมถึงกุมภาพันธ์ของทุกปี จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาที่หมู่บ้านของเราไม่ต่ำกว่าหนึ่งร้อยคนต่อวัน ลูกคิดเอาเถอะว่าจะนำรายได้เข้าสู่นายทุนสักเท่าไร


แม่คิดว่านักท่องเที่ยวที่เสียเงินเข้ามาชมกะเหรี่ยงคอยาวในหมู่บ้าน อาจจะนึกไม่ถึงว่าเงินเหล่านี้ปันส่วนให้กับชาวบ้านเพียงแค่น้อยนิดเท่านั้น แม้เวลาจะผ่านมาสิบปีแล้ว ชาวกระยันก็ยังคงได้รับค่าแรงเท่าเดิม ยังดีอยู่บ้างที่บางคนลงทุนซื้อของที่ระลึกมาขายให้กับนักท่องเที่ยว แม้จะไม่มากมายแต่ก็สามารถจุนเจือครอบครัวทั้งครอบครัวได้


เมื่อย่ามาอยู่เมืองไทยไม่นานก็ส่งข่าวให้ปู่พาลูกๆ ที่เหลืออพยพตามมายังฝั่งไทย


พ่อของลูกได้เดินมากับปู่ในเที่ยวหลังนี้ ตอนนั้นพ่อของลูกอายุได้เพียง 7-8 ปี จึงไม่รู้สึกว่ามันเป็นการเดินทางที่ยากลำบาก เพราะมัวแต่เพลิดเพลินกับทัศนียภาพรอบตัวเนื่องจากเป็นการเดินทางไกลครั้งแรกในชีวิต


หากวันนั้นย่าไม่ตัดสินใจข้ามแม่น้ำสาละวินมาขึ้นฝั่งที่ไทย แม่จะมีโอกาสได้พบพ่อของลูกไหม ? และลูกสาละวิน จะได้ถือกำเนิดขึ้นจากสองสายเลือดหรือเปล่า


ย่าที่เป็นหญิงกระยันกลุ่มแรกๆ ที่ได้เข้ามาอยู่ในไทย โดยทางไทยก็อนุโลมให้อยู่นอกศูนย์อพยพ โดยจัดตั้งเป็นหมู่บ้าน "กะเหรี่ยงคอยาว" ตามการเรียกขานของคนไทย เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดแม่ฮ่องสอน


และไม่นานนักหมู่บ้านลักษณะดังกล่าวก็เกิดขึ้นกระจัดกระจายไปอยู่ในหลายอำเภอของภาคเหนือ (ไม่จำเพาะแค่แม่ฮ่องสอนเท่านั้น)


แม่ไม่รู้ว่าการนำเอาคนเป็นๆ มาเก็บบัตรเข้าชม เพียงเพราะเขามีวัฒนธรรมที่แตกต่าง จนกลายเป็นลักษณะพิเศษ ถูกนำไปเรียกขานให้ผิดเพี้ยนจากความจริงว่า "คอยาว" ผิดปกตินั้น ถูกสร้างขึ้นจากน้ำมือการท่องเที่ยวหรือเป็นลักษณะนิสัยดั้งเดิมของคนไทยที่ชอบดูสิ่งแปลกประหลาด


เพราะแม่สังเกตเห็นพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนใหญ่จะคล้ายๆ กัน พวกเขาจะรีบๆ เดินดูและมองหาคนแก่ที่สวมห่วงไว้ยาวที่สุด บ้างซื้อของที่ระลึกด้วยการต่อราคาแล้วต่อราคาอีก


ซ้ำร้ายนักท่องเที่ยวบางคนยังถามคำถามที่หยาบคาย อย่างเช่น ในเวลาหลับนอนกับสามี ปลอกคอที่สวมนั้นเกะกะไหม อะไรทำนองนี้ โดยไม่นึกถึงจิตใจของผู้ที่ถูกถามว่าจะรู้สึกเช่นเดียวกันไหม เพียงเพราะว่ากระยันหรือกะเหรี่ยงคอยาวที่เขาเรียกขานมีวัฒนธรรมที่แตกต่างเท่านั้น ไม่ใช่ความเป็น "คน" ที่แตกต่าง หญิงสาวรุ่นหลายคนต้องอับอายกับคำสบประมาท ในขณะที่แม่เฒ่าชินชากับคำหยาบคายจนเฉยชา


ในขณะที่ชาวต่างชาติจากประเทศที่เจริญแล้วทางอารยธรรม เขาแวะเข้ามาชมหมู่บ้านเพื่อการศึกษาเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาวัฒธรรมหรือสรีระวิทยา บางคนใช้เวลาศึกษาอาศัยอยู่กับชาวบ้านเป็นปี เพื่อสรุปข้อวิจัยของตัวเอง


สำหรับลูกของแม่เองก็มักมีคำถามจากนักท่องเที่ยวว่าโตขึ้นจะใส่ห่วงหรือเปล่า ซึ่งแม่ก็ตอบไปว่าลูกเป็นลูกชายคงจะไม่ใส่


เมื่อนักท่องเที่ยวถามต่อไปว่าแต่ถ้าหากลูกเป็นผู้หญิงล่ะ แม่จะให้ลูกใส่ห่วงคอเหมือนเช่นคนอื่นในชุมชนหรือไม่


แม่เองก็เคยนึกถามคำถามนี้กับตัวเองเช่นกัน แม่จะตัดสินใจอย่างไร ซึ่งคำตอบมันก็อยู่ที่ตัวของลูกเอง เพราะหากลูกอยู่ในหมู่บ้านที่มีใครๆ ก็ใส่กันหมด แม่ว่าลูกก็คงอยากจะใส่ให้เหมือนเพื่อนและคนที่นี่


แต่แล้วพอลูกโตขึ้นมา เห็นโลกใบกว้างขึ้นจากจอโทรทัศน์ ก็คงจะเห็นว่าการสวมห่วงไว้ที่คอเป็นสิ่งที่ไม่เท่เอาเสียเลย ความเชื่อแบบโบราณที่แม่เฒ่ารุ่นราวคราวเดียวกับย่ามองว่าความสวยเกิดจากการสวมห่วงทองเหลืองไว้ที่คอให้มากที่สุดนั้น กำลังจะหมดไปในรุ่นของลูก


แม้ในขณะที่แม่บันทึกอยู่นี้ เด็กสาวหลายคนก็กำลังทอนความยาวของห่วงทองเหลืองให้สั้นลงกว่าแต่ก่อน เพื่อที่จะไม่ให้คอยาวผิดปกติ และเริ่มเชื่อตามสายตาของผู้คนที่ทะลักล้นมาดูพวกเขา มองพวกเขาเป็นตัวประหลาด เด็กสาวรุ่นใหม่ที่ไม่อยากเป็นตัวประหลาดของคนในสังคมภายนอก จึงหันมานิยมความสวยแบบกบ สุวนันท์ ดาราในจอตู้แทนความเชื่อแบบเดิมๆ ของคนรุ่นย่านั่นเอง


รักลูก

แม่

 

 

บล็อกของ เจนจิรา สุ

เจนจิรา สุ
ฉันเป็นคนหนึ่งที่ติดตามชมละครเรื่องเมียหลวง ที่ถ่ายทอดทุกวันจันทร์-อังคารทางช่องเจ็ด เป็นละครไม่กี่เรื่องที่ฉันชอบดู ด้วยพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน รับสัญญาณโทรทัศน์ได้เพียงไม่กี่ช่อง  และอีกเหตุผลหนึ่งคือละครดีๆ มีไม่กี่เรื่อง  แม้หลายคนจะเหมารวมละครทีวีของไทยว่าเป็นละครน้ำเน่าเสียส่วนใหญ่ แต่ฉันก็เชื่อว่าละครที่สร้างมาจาก นวนิยาย ก็น่าจะมีเนื้อหาสาระบางอย่างสอนใจคนดูได้บ้าง ไม่ใช่จะดูแต่เพียงฉากตบกันของบรรดาเมียน้อยของคุณอนิรุจเท่านั้น
เจนจิรา สุ
เรานั่งพูดคุยบนชานหน้าบ้านอย่างออกรส ส่วนใหญ่ก็จะถามไถ่ทุกข์สุขกันและกัน เลยไปถึงญาติคนอื่นๆ ที่ไม่ได้เห็นหน้ากันนาน พี่เขยขึ้นเรือนมาสมทบเมื่อสิ้นเสียงออดของโรงเรียนได้พักใหญ่ “ไปเป็นการ์ดยามมา เขาให้เดือนละสี่ร้อย” พี่สาวแจง เป็นรายได้เดียวที่เหลืออยู่ของครอบครัว
เจนจิรา สุ
 "ไตรบานา" แม่เฒ่ากล่าวขอบคุณเป็นภาษากระยัน เมื่อเราบอกลาเป็นภาษาเดียวกัน ยังมีครอบครัวพี่สาวของสามีที่อยู่ถัดไปอีกสามป็อก เราตั้งใจว่าจะเยี่ยมก่อนที่จะไม่ได้พบหน้ากันอีก เพราะทางยูเอ็นฯ ได้แจ้งว่า ครอบครัวของเธอจะได้ไปประเทศที่สามในอีกไม่ช้า เราเดินเท้าไปตามทางเดินอันแสนพลุกพล่าน ราวกับว่าผู้คนเร่งรีบเดินทางสู่งานเลี้ยงสังสรรค์ที่ไหนสักแห่ง ความแออัดของผู้คนซึ่งมีอยู่ราวๆ สองหมื่นคน ทำให้บนทางเท้าและที่สาธารณะต่างๆ ดูครึกครื้น กลบบังความทุกข์ของคนพลัดบ้าน
เจนจิรา สุ
บนถนนที่ทอดยาวสู่หุบเขาทางทิศตะวันตกของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เส้นทางที่ห่างออกมาเพียงสามสิบกิโลเมตรเศษ ลัดเลาะไปตามภูเขาบนถนนสายรพช. ซึ่งค่อยๆ แปรสภาพเป็นดินและหินลูกรังก่อนจะถึงสุดสายปลายทาง อันเป็นสถานที่คล้ายด่านกักกันมนุษย์กลุ่มหนึ่งที่ไร้ประเทศและเสรีภาพ หมู่บ้านกลางป่าที่ปลูกเบียดเสียดเรียงรายทุกซอกหลีบของพื้นที่จัดสรร คนนับหมื่นอัดแน่นในที่อาศัยกว้างกว่าเท้าและหัวจะพาดวางเพียงไม่กี่วา ที่นี่คือศูนย์ผู้พักพิงบ้านในสอย
เจนจิรา สุ
 มีใครเคยใช้ชีวิตในบ้านนอกโดยเฉพาะทางภาคอีสาน เมื่อประมาณสัก 20 ปีก่อน อาจจะมีความทรงจำเกี่ยวกับวัดที่แตกต่างจากปัจจุบัน ฉันจำได้ว่าเมื่อครั้งยังเด็ก เราแทบจะก้มลงกราบที่เท้าพระ เมื่อท่านเดินผ่านด้วยความศรัทธาอย่างแท้จริง ซึ่งปัจจุบันเป็นไปได้ยาก ฉันเป็นชาวพุทธมาแต่อ้อนแต่ออก ด้วยหมู่บ้านที่มีวัดป่า พระเณรเพียงไม่กี่รูปหนึ่งในนั้นเป็นลูกพี่ลูกน้องฉันเอง เราจึงเที่ยวเล่นแวะเวียนมาที่วัดทุกครั้งที่มีโอกาส ฉันยังจำไม่ลืมที่พระหลวงพี่ จับเราพี่น้องนั่งเรียงแถวทำสมาธิ เทศน์สอนประวัติความเป็นมาของพุทธเจ้าให้ฟัง ความที่ท่านบวชตั้งแต่อายุยังน้อย ตอนนี้ท่านจึงกลายเป็นเจ้าอาวาสไปแล้ว
เจนจิรา สุ
เราทยอยออกจากบ้านร้างด้วยดวงใจที่ปวดร้าว ตรอกเล็กๆ ยาวเกือบหนึ่งกิโลเมตร เป็นเส้นทางสัญจรของผู้คนจากหมู่บ้านกลางป่าไปสู่บ้านห้วยปูแกงเก่า บัดนี้ถูกย่ำไปด้วยรอยของสัตว์สี่เท้า “เชื่อไหมว่าครั้งหนึ่ง เราเคยช่วยกันขนทรายจากแม่น้ำข้างล่างมาถมตรอกแห่งนี้ กระสอบทรายนับร้อยจากจำนวนคนเพียงหยิบมือเพื่อ....” ฉันหยุดคำพูดเพียงบางแค่นั้น ทิ้งบางส่วนค้างไว้ในความทรงจำ “เพื่ออะไรล่ะ” ใครคนหนึ่งยังคงตั้งคำถามต่อสิ่งที่ค้างคา “เพื่อให้นักท่องเที่ยวจากหมู่บ้านข้างนอกเขามาเห็นวิถีชีวิตเรา มาเห็นหมู่บ้านที่เป็นหมู่บ้านจริงๆ ไม่ใช่มีแต่ร้านขายของ แต่มันคงไกลเกินไป…
เจนจิรา สุ
สมรภูมิแห่งนี้เรารบกับอะไร ที่ผ่านมาเราถูกจองจำไว้ในกรงที่มองไม่เห็น เรามีอาหาร มีที่อยู่หลับนอน แต่เราไม่สามารถเป็นคนเต็มคนได้ เพราะเราไม่มีสิทธิ์คิดหรือแสดงความคิดเห็น ไม่สามารถรู้สึกเจ็บแค้นร้อนหนาว เราต้องทำหน้าที่อันถูกกำหนดมาจากผู้คุม ต้องทำงานหนักเพื่อสร้างความร่ำรวยให้กับนาย เพียงเพื่อส่วนแบ่งที่ถูกเจียดให้พอประทังชีวิต แล้ววันหนึ่งเราต้องการปลดแอก เราต้องการตั้งอาจักรของตนเอง มีบ้านและที่ดินที่เป็นของเราจริงๆ ได้รับค่าแรงที่เป็นธรรมจากสมองและแรงกายของตนเอง
เจนจิรา สุ
ตุลาคม 2551"พร้อมหรือยัง"ใครคนหนึ่งตะโกนประโยคซ้ำเมื่อห้านาทีที่แล้ว เมื่อขบวนหนุ่มสาวต่างถิ่นยังคงง่วนอยู่กับการกดชัตเตอร์เก็บภาพแสงแดดยามเก้าโมงเช้า ช่างยวนใจให้ไม่อาจละสายตาจากหญิงกระยันที่ปะแป้งแต่งตัวกันจนเป็นที่เรียบร้อย หลายคนจึงยังเสียดายที่จะละกล้องแล้วออกเดินทาง "หากไปสายกว่านี้เราจะร้อนมากเมื่ออยู่กลางป่า" ฉันเตือนเพื่อนที่ไม่มีประสบการณ์ในการเดินเท้าสู่หมู่บ้านกลางป่าที่อยู่ห่างออกไปจากที่นี่ราวๆ สามกิโลดอย
เจนจิรา สุ
เสียงโหม่งขนาดใหญ่ประสานกับเสียงกลอง ฆ้อง ฉาบ แม้ฟังดูอึกทึกครึกโครม แต่ก็พลิ้วไหวไปตามทำนองขุล่ยมั้งที่เป็นขลุ่ยเฉพาะของชาวกระยัน ได้เริ่มขับประโคมหมู่บ้านราวป่า ส่งสัญญาณการเริ่มต้นของงานประเพณีต้นที “กะควาง” ในภาษากระยันถูกแปรออกมาเป็นภาษาเรียกอีกอย่างว่า “ต้นที” ซึ่งหมายถึงเสาไม้สีขาวแกะสลักปลายเสาให้เป็นรูปร่างคล้ายกับศิวลึงค์ ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ในหมู่บ้านชนเผ่ากระยัน(กระเหรี่ยงคอยาว) และชนเผ่ากระยา(กระเหรี่ยงแดง) ชาวกระยันเชื่อว่า ต้นทีเป็นต้นไม้ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งแรกบนโลกมนุษย์ การบูชาต้นทีก็เพื่อให้บรรพบุรุษของกระยัน…
เจนจิรา สุ
มีนาคม 2551 ฉันตอบจดหมายแฟนนักอ่านคอลัมน์ของฉันคนหนึ่ง เธอเป็นคนปักษ์ใต้ นานเป็นเดือนที่จดหมายมาถึงพร้อมเสื้อผ้าและข้าวของกล่องใหญ่ ด้วยเจตนาทดแทนความขาดแคลนตามความรู้สึกของเธอ ที่สัมผัสจากการอ่านในบันทึกของฉันอยู่สองสามฉบับ เธอบอกว่าอิจฉานิดๆ ในชีวิตที่เรียบง่ายที่ฉันเลือกเดิน ฉันจึงตอบเธอไปว่าฉันเป็นเพียงนกที่บินหลงทางมา ก่อนหน้านี้ฉันก็ได้รับจดหมาย เสียงโทรศัพท์ และหนังสือดีๆ ที่ถูกส่งมาจากคนเมืองไกลจากเพื่อนที่ห่างหายการติดต่อมานานแสนนาน และจากมิตรร่วมความรู้สึกที่ไม่เคยเห็นหน้า อาจดูเป็นเรื่องแปลกหรือมีเปอร์เซ็นต์น้อยเหลือเกิน ที่คนปกติธรรมดา เกิด และเติบโตในสังคมเมือง…
เจนจิรา สุ
20 พฤศจิกายน 2550 คืนนี้แสงจันทร์กำลังโผล่พ้นเหลี่ยมเขาทิศเหนือ ดาวพราวแต้มเต็มฟ้า เหล้าดีกรีแรงทิ้งก้นจอกตั้งวางเคียงดวงเทียนที่ถูกจุดขึ้นโดยแม่เฒ่า ฉันกระชับเสื้อกันหนาวอีกนิด เมื่อลมหนาวพรูมาทางหน้าต่างบานกว้าง แม่เฒ่าบอกให้ยกดื่มอีกสักจอกแล้วจะอุ่นขึ้น ฉันรินคืนให้แม่เฒ่าพลางถามถึงความหลังเมื่อครั้งที่ยังอยู่ที่เมืองดอยก่อ รัฐคะยา ประเทศพม่า “ตอนนั้นแม่ทำนามาได้ก็ต้องแบ่งให้กับเจ้าของนา ที่เหลือก็แทบไม่พอกิน ทหารพม่าก็ยังมาขูดรีดเอาอีก บางทีถ้าไม่ให้ก็ทุบตี พวกผู้ชายต้องพากันไปหลบซ่อนตัว  ไม่อย่างนั้นมันจะเกณฑ์ให้ไปขนระเบิดที่ชายแดน” “…
เจนจิรา สุ
10 พฤศจิกายน 2550 ฉันว่างเว้นจากการเขียนบันทึกไปนานด้วยทั้งภารกิจส่วนตัวที่ต้องยุ่งวุ่นวายกับเจ้าตัวน้อยที่อยู่ในวัยที่ต้องการการเอาใจใส่อย่างสูง และภารกิจของชุมชนที่ต้องเขียนโครงการเพื่อของบประมาณจากหน่วยงานราชการ ทั้งงานประสานงาน งานประชุม ส่วนเวลาที่เหลือฉันก็ยกให้กับการคิดในเรื่องต่างๆ ฉัน สามี และลูกต้องเดินทางทุกๆ 3-5 วัน จากบ้านของตนเองที่สร้างไว้ใกล้เมืองไปบ้านห้วยเสือเฒ่าและบ้านใหม่ห้วยปูแกง การพักอาศัยที่บ้านของตัวเองที่สร้างไว้ใกล้เมืองนั้นก็ด้วยเหตุผลเดียวคือความสะดวกสบาย ไม่ว่าจะการเดินทาง อยู่ใกล้โรงพยาบาล มีไฟฟ้าใช้สำหรับทำงาน หรือพักผ่อนด้วยการดูทีวี ติดตามข่าวสารโลกภายนอก…