Skip to main content

การที่เราจะพูดถึงการ์ตูนนั้น เราต้องเข้าใจต่อสิ่งที่เรียกว่าสารัตถะ ของประเด็นที่เราจะพูดเสียก่อน สารัตถะในที่นี้มีความหมายอิงไปในทางว่า "คุณลักษณะอันเป็นแก่นแท้"

 

บริบทในที่นี้ คือความเฉพาะเจาะจงและสิ่งที่บอกให้ทราบด้านความแตกต่างของสถานที่ เวลา และสภาพสังคม ซึ่งแน่นอนว่ากาลเวลาที่ผ่านไปนั้นย่อมทำให้ 'บริบท' แตกต่างออกไป

 

แน่นอนว่า 'สารัตถะ' ของการ์ตูนก็เช่นกันที่เปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสังคมและกาลเวลาที่มันได้เดินทางผ่าน

 

การ์ตูนนั้นมีจุดเริ่มต้นทางประวัติศาสตร์และความพัวพันกับสังคมการเมืองอย่างไม่น่าเชื่อ การ์ตูนนั้นพบเห็นครั้งแรกในยุโรปช่วงศตวรรษที่ 13(รากศัพท์มาจากคำว่า Catone ในภาษาอิตาลีแปลว่าผืนกระดาษใหญ่ และยังเป็นศิลปะแบบสีน้ำมัน) โดยจิตรกรอันฟูเฟื่องคือลีโอนาร์โด ดาวินชี และ ราฟาเอล ซึ่งทำให้การ์ตูนในสมัยนั้นมีราคาสูงเป็นอย่างมาก

 

หลังจากนั้นจึงทำให้เกิดพลวัตร (Dynamic) ของการก่อตัวในความเป็นการ์ตูนให้เกิดขึ้น

 

การ์ตูนในช่วงหลังจากศตวรรษที่ 13 นั้น ยังอยู่ในความเป็นรูปแบบของงานทัศนศิลป์ที่ได้รับการยอมรับอยู่โดยวงการของจิตรกร โดยเป็นการต่อสู้ทางจิตวิญญาณ เป็นลัทธิทางปรัชญาในศิลปะสำนักกึ่งสัจนิยม หรือซับเซทของอสัจนิยม ซึ่งเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าสัจนิยมนั้นคืออะไร

 

สัจนิยม (Realism) คือศิลปะว่าด้วยการไม่ใช้ความรู้สึกส่วนตัวในการบิดเบือนทำให้ศิลปินสัจนิยมมีความเชื่อในปรัชญาของความเป็นจริง และ ต่อต้านการแสดงออกทางอารมณ์อย่างเกินเลย โดยให้ความสำคัญกับสัจจะและความเที่ยงตรงคือปัจจัยสำคัญของชิ้นงานศิลปะ ซึ่งเป็นการแตกแขนงมาจากลัทธิอภิปรัชญาคือ ธรรมชาตินิยม ซึ่งเน้นคุณค่าของความสภาวะความเป็นไปไว้มากกว่าการปลดปล่อยสัญชาตญาน ทำให้เกิดกลุ่มลัทธิทางปรัชญาที่ชื่อว่า ลัทธิสัญลักษณ์นิยม(Symbolism) เป็นแนวความคิดทางอุดมการณ์ที่ต่อต้านขบวนการสัจนิยมที่ไม่ให้คุณค่าต่อการตีความหมายโดยเจตจำนงเสรี (Freewill) ของมนุษย์ โดยที่พยายามจับความเป็นจริงอย่างละเอียดละออและพยายามยกระดับความธรรมดาขึ้นมาสนับสนุนความคิดทางเจตภาพ (spirituality), ทางจินตนาการ ผ่านความละเอียดอ่อนของโครงสร้างความคิดมนุษย์ และทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า 'อสัจนิยม' ขึ้น

 

ซึ่งต่อมาในอเมริกายุคกลางๆของศตรวรรษที่ 18 การ์ตูนได้ดำเนินไปสู่ขบวนการต่อสู้ทางการเมือง จากที่จะเห็นได้จากหน้าหนังสือพิมพ์สมัยนั้น แต่ถึงอย่างไรก็ดีการ์ตูนก็กลายเปนสิ่งที่เป็นได้เพียงภาพประกอบ และยังไม่มีคุณค่าในเชิงวรรณกรรม แต่อย่างไรก็ดีในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีนโยบายในการสร้างความคิดว่าด้วยความเป็น ชาตินิยม(Nationalism) ขึ้นมา ทำให้กลายเป็นสิ่งที่เริ่มมีความสามารถในการสร้างเรื่องราวขึ้นมาจนกลายเป็น "Comic"1

 

หลังจากนั้นเป็นต้นมาเองหลังจากการจบสงครามโลกครั้งที่ 2 ลง ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่อ่อนล้า และไร้กำลัง ด้วยสภาวะการเป็นผู้แพ้สงครามอย่างการที่ตกอยู่ใต้อาณัติของอเมริกาทำให้อิทธิพลทางศิลปะ หรือทัศนศิลป์ที่สอนในระบบการศึกษาจึงได้รับอิทธิพลจากตะวันตกเสียมาก และทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "มังงะ" (Manga) ขึ้น เนื่องจากรัฐบาลของทั้งสองประเทศนั้นมีความจำยอมของฝ่ายญี่ปุ่นที่จะต้องทำการค้าขายอย่างเต็มขั้นกับสหรัฐฯ จึงเป็นการเริ่มพัฒนาวงการศิลปะให้ทันสมัยและเป็นที่รู้จักมากขึ้น ซึ่ง มังงะนั้น ก็เป็นการนำ อุกิโยเอะ (ภาพเขียนแบบญี่ปุ่น ซึ่งจะเน้นความคิดและอารมณ์มากกว่าลายเส้นและรูปร่าง) กับการเขียนภาพแบบตะวันตกมารวมกัน ซึ่งคำว่ามังงะ นั้นก็แปลตรงๆว่า ความไม่แน่นอน ซึ่งเริ่มต้นจากหนังสือโฮคุไซ มังงะ ส่วนอีกเล่มหนึ่งก็คือ งิงะ ซึ่งเป็นภาพล้อเลียนจากศิลปิน12ท่าน ซึ่งดูแล้วจะใกล้เคียงกับมังงะมากที่สุด

 

และในที่สุด เท็ตซึกะ โอซามุ หรือบิดาแห่งวงการมังงะ ได้สร้างนวัตกรรมที่ยกระดับความเป็นเอกเทศของมังงะ และคอมมิคออกจากกันด้วย เส้นสปีด ในช่วงที่รัฐบาลญี่ปุ่นสั่งยกเลิกการคว่ำบาตรสื่อต่างๆ เพื่อเพิ่มอัตราการฟื้นตัวในทางเศรษฐกิจ มังงะ จึงเป็นอีกตลาดที่ประการความเป็นเอกเทศของญี่ปุ่นออกมา ทำให้คุณค่าของการ์ตูนเป็นการต่อสู้ที่ยืนนานและได้รับการเชิดชูในฐานะความเป็นวรรณกรรมอีกอย่างหนึ่ง

 

หรือว่ากันตามจริงแล้ว การ์ตูนเป็นสิ่งที่พัฒนาคุณค่าทางศิลปะอีกแขนง และเปิดโลกของจิตรกรให้กว้างขึ้นกว่าที่เป็น เช่นเดียวกับการที่เท็ตซึกะ โอซามุ ได้เขียนการ์ตูนเรื่อง 'เจ้าหนูปรมาณู' (Astro boy) ขึ้นมา เพื่อเป็นการประโลมหัวใจอันบอบช้ำของชาวญี่ปุ่นให้กลับมาเข้มแข็งสร้างรากฐานแห่งความแข็งแกร่งในสังคม และสร้างฐานทางเศรษฐกิจจนมาถึงปัจจุบันนี้

 

จากการเขียนเทียนมโนมาทั้งหมด เราจึงถือว่าการ์ตูนจึงเป็นหนึ่งในอารยธรรมที่สำคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่งของมนุษยชาติ

 

1: เช่นการเกิดขึ้นของคอมมิกค่ายมาร์เวลที่ชื่อว่า 'กัปตันอเมริกา'

บล็อกของ ภูมิวัฒน์ แรงกสิวิทย์

ภูมิวัฒน์ แรงกสิวิทย์
การที่เราจะพูดถึงการ์ตูนนั้น เราต้องเข้าใจต่อสิ่งที่เรียกว่าสารัตถะ ของประเด็นที่เราจะพูดเสียก่อน สารัตถะในที่นี้มีความหมายอิงไปในทางว่า "คุณลักษณะอันเป็นแก่นแท้"
ภูมิวัฒน์ แรงกสิวิทย์
 เราเคยดูละครน้ำเน่ามาสมัยเด็กๆ เพราะแม่เลี้ยงของเราชอบที่จะเปิดดู จนกระทั้งมัธยมต้นถึงได้เลิกดูละครพรรค์นั้นและหันมาดูหนังต่างชาติแทน ในละครไทยสิ่งที่ขาดไม่ได้คงเป็นตัวอิจฉา และจุดจบของตัวอิจฉานั้นมีอยู่สามอย่าง ตาย ติดคุก และเป็นบ้า 
ภูมิวัฒน์ แรงกสิวิทย์
ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวนั้นเป็นปัญหาที่เกิดขึ้น