Skip to main content

ใครที่ได้อ่านบทความ “นายกฯ ของวิกฤตการเมือง” [1] ของนิธิ เอียวศรีวงศ์ ที่เพิ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน คงรู้สึกงุนงงไม่น้อยว่า อาจารย์นิธิ “กำลังคิดอะไรอยู่”

เพราะไม่เพียงในเนื้อหาของบทความดังกล่าว อาจารย์นิธิได้ประกาศไว้ชัดเจนว่า คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ “เหมาะจะเป็นนายกรัฐมนตรีในยามนี้ที่สุด” แต่เหตุผลของความ “เหมาะสมที่สุด” คือ

“นายกรัฐมนตรีคนใหม่ต้องกล้าเผชิญกับแรงกดดันจากกองทัพ รวมทั้งแรงกดดันจากองค์กรอิสระอีกมากที่คณะรัฐประหารตั้งขึ้น อย่างอาจหาญและมีศักดิ์ศรีด้วย ดังที่คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้แสดงให้เห็นอย่างนุ่มนวล แต่สง่างามในครั้งนี้”

ซึ่งทำให้เกิดปฏิกิริยาแบบทันทีทันควันจากสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล [2] ในหน้าเวบบอร์ดของสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ตั้งแต่วันแรกที่บทความดังกล่าวเผยแพร่สู่สาธารณะ

แม้หลายคนอาจอคติว่า สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล คือ “ขาประจำ” ที่ติดตามวิพากษ์วิจารณ์ “นิธิและมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน” มาโดยตลอด แต่ผมกลับเห็นว่า หากตัดอคติดังกล่าว และสำนวนที่เป็นอารมณ์ออกไป ประเด็นในข้อวิจารณ์ของอาจารย์สมศักดิ์เป็นสิ่งที่ต้องรับฟังและพิจารณา

 

โดยไม่จำเป็นต้องมีจุดยืนข้างประชาธิปไตยและรังเกียจรัฐประหาร,
ผู้ที่สนใจติดตามการเมืองไทยอย่างจริงจัง และไม่ความจำสั้นเกินไป ก็น่าจะมองเห็นไม่ต่างจากสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

เพราะปัญหาสำคัญไม่ได้อยู่ที่การเห็นว่าคุณอภิสิทธิ์เหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป
แต่อยู่ที่เหตุผล ที่อาจารย์นิธิให้ไว้ในบทความดังกล่าวต่างหาก

ยิ่งเมื่อพิจารณาถึงข้อเท็จจริงที่ว่า

อาจารย์นิธิเป็นศาสตราจารย์ทาง “ประวัติศาสตร์”

อาจารย์นิธิเป็น “นักวิชาการสาธารณะ” ผู้ยืนอยู่แถวหน้าสุดของ “มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน” ซึ่งประกาศ “ไม่เห็นด้วย” กับ “รัฐประหาร 19 กันยายน” (แม้ว่าท่าทีและถ้อยคำที่ใช้แสดงความ “ไม่เห็นด้วย” จะชวนให้หลายคนตั้งข้อสงสัยและวิพากษ์วิจารณ์อยู่มาก)

และล่าสุด อาจารย์นิธิเป็นผู้ที่ถูกชูขึ้นเป็น “ผู้นำ” ในการรณรงค์ “ไม่รับ” รัฐธรรมนูญ 2550 (ตอนหนึ่งในบทความนี้ อาจารย์นิธิได้อ้างถึง การ “ปกป้องสิทธิเสรีภาพขึ้นพื้นฐานซึ่งให้หลักประกันไว้แล้วในรัฐธรรมนูญ” ซึ่งผมอ่านแล้วก็ไม่แน่ใจว่าอาจารย์หมายถึงรัฐธรรมนูญฉบับใด ระหว่างฉบับที่ถูกฉีกทิ้งไปเมื่อปีที่แล้ว กับฉบับที่อาจารย์เพิ่งรณรงค์ให้ “ไม่รับ”?)

ก็ยิ่งชวนให้งุนงงต่อสิ่งที่ปรากฏในบทความ และชวนให้ตั้งคำถามว่า
คนอย่างอาจารย์นิธิ “ลืม” ไปได้อย่างไรว่า

คุณอภิสิทธิ์ “ยืน” อยู่ที่ใดในห้วงเวลาแห่งการชู “มาตรา 7” ?

ตลอดปีกว่าๆ ที่ผ่านมา คุณอภิสิทธิ์มีปฏิกิริยาอย่างไรต่อรัฐประหาร และการดำเนินการต่างๆ ของคมช., กองทัพ และ “องค์กรอิสระอีกมากที่คณะรัฐประหารตั้งขึ้น” ?

หรือล่าสุด, คุณอภิสิทธิ์แสดงท่าทีอย่างไรต่อ “รัฐธรรมนูญ 2550” ที่อาจารย์บอกให้ประชาชน “ไม่รับ” ?

 

“กล้าเผชิญ…อย่างอาจหาญและมีศักดิ์ศรี” ?!?!?

 

---------

[1] นิธิ เอียวศรีวงศ์, “นายกฯ ของวิกฤตการเมือง”, มติชนรายวัน, 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550, ปีที่ 30 ฉบับที่ 10852
[2] โปรดดูหลายกระทู้เกี่ยวกับบทความนี้ ของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ใน http://www.sameskybooks.org/board

บล็อกของ กานต์ ณ กานท์

กานต์ ณ กานท์
ใครที่ได้อ่านบทความ “นายกฯ ของวิกฤตการเมือง” [1] ของนิธิ เอียวศรีวงศ์ ที่เพิ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน คงรู้สึกงุนงงไม่น้อยว่า อาจารย์นิธิ “กำลังคิดอะไรอยู่”เพราะไม่เพียงในเนื้อหาของบทความดังกล่าว อาจารย์นิธิได้ประกาศไว้ชัดเจนว่า คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ “เหมาะจะเป็นนายกรัฐมนตรีในยามนี้ที่สุด” แต่เหตุผลของความ “เหมาะสมที่สุด” คือ “นายกรัฐมนตรีคนใหม่ต้องกล้าเผชิญกับแรงกดดันจากกองทัพ รวมทั้งแรงกดดันจากองค์กรอิสระอีกมากที่คณะรัฐประหารตั้งขึ้น อย่างอาจหาญและมีศักดิ์ศรีด้วย ดังที่คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้แสดงให้เห็นอย่างนุ่มนวล แต่สง่างามในครั้งนี้”…
กานต์ ณ กานท์
  โธ่เอ๋ย…ประเทศใด?เหมือนคนจับไข้นั่งไม่ติดหลอนตนว่าอยู่เมืองนิรมิตย้ำจำ ย้ำคิด กำกวมโธ่เอ๋ย… “ประชาธิปไตย”หลักการวางไว้ (หลวมๆ)ครึ่งใบ – ค่อนใบ (บวมๆ)รัฐธรรมนูญกองท่วมพานแล้ว!โธ่เอ๋ย… “ประชาชน”กี่ครั้ง กี่หน ทนแห้วแหงนคอรอฟ้าล้าแววมืดแล้ว ดึกแล้ว …ทนคอยอนิจจา… อนิจจัง…ความเอยความหวังอย่าถดถอยแม้กี่ผีซ้ำด้ามพลอยฝากรูปฝังรอยเกลื่อนเมือง โธ่เอ๋ย…ประเทศใด?หลอนตนว่าใครต่างลือเลื่องงามหรูตรูตรามลังเมลืองเฮ้ย! เมืองทั้งเมืองจะจมแล้ว!!
กานต์ ณ กานท์
  การอ้างว่าต้องเร่งผลักดันให้ "ร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร"i ผ่านออกมาเป็นกฎหมายบังคับใช้ เพื่อจะได้ยกเลิก "กฎอัยการศึก"ii ทั่วประเทศนั้น ฟังแล้วชวนให้รู้สึกทั้งขบขันและเศร้าใจ ผู้ที่ได้อ่านเนื้อหาของร่างพ.ร.บ.ความมั่นคงฯ นี้ ย่อมซาบซึ้งดีถึงนัยยะที่นำไปสู่ความว่างเปล่าของข้ออ้างนั้น แต่ที่น่าเศร้าใจไม่แพ้กันก็คือ การที่ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ตอบข้อท้วงติงในประเด็นความชอบธรรมของรัฐบาลและสนช.ที่มาจากการรัฐประหาร ในการร่างและพิจารณาออกกฎหมาย ด้วยการย้อนว่า "...ที่ผ่านมาสนช.ได้ผ่านกฎหมายมาเป็น 100 ฉบับ ขนาดรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายแม่ ยังออกจากสนช..."iii…
กานต์ ณ กานท์
  ฤาอีกกี่รำลึกคร่ำ- ครวญฝากคำผ่านแผ่นดิน กู่ร้องฟ้องแผ่นหิน …ก็เงียบสิ้นอยู่ฉะนี้?
กานต์ ณ กานท์