Skip to main content

ใครที่ได้อ่านบทความ “นายกฯ ของวิกฤตการเมือง” [1] ของนิธิ เอียวศรีวงศ์ ที่เพิ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน คงรู้สึกงุนงงไม่น้อยว่า อาจารย์นิธิ “กำลังคิดอะไรอยู่”

เพราะไม่เพียงในเนื้อหาของบทความดังกล่าว อาจารย์นิธิได้ประกาศไว้ชัดเจนว่า คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ “เหมาะจะเป็นนายกรัฐมนตรีในยามนี้ที่สุด” แต่เหตุผลของความ “เหมาะสมที่สุด” คือ

“นายกรัฐมนตรีคนใหม่ต้องกล้าเผชิญกับแรงกดดันจากกองทัพ รวมทั้งแรงกดดันจากองค์กรอิสระอีกมากที่คณะรัฐประหารตั้งขึ้น อย่างอาจหาญและมีศักดิ์ศรีด้วย ดังที่คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้แสดงให้เห็นอย่างนุ่มนวล แต่สง่างามในครั้งนี้”

ซึ่งทำให้เกิดปฏิกิริยาแบบทันทีทันควันจากสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล [2] ในหน้าเวบบอร์ดของสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ตั้งแต่วันแรกที่บทความดังกล่าวเผยแพร่สู่สาธารณะ

แม้หลายคนอาจอคติว่า สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล คือ “ขาประจำ” ที่ติดตามวิพากษ์วิจารณ์ “นิธิและมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน” มาโดยตลอด แต่ผมกลับเห็นว่า หากตัดอคติดังกล่าว และสำนวนที่เป็นอารมณ์ออกไป ประเด็นในข้อวิจารณ์ของอาจารย์สมศักดิ์เป็นสิ่งที่ต้องรับฟังและพิจารณา

 

โดยไม่จำเป็นต้องมีจุดยืนข้างประชาธิปไตยและรังเกียจรัฐประหาร,
ผู้ที่สนใจติดตามการเมืองไทยอย่างจริงจัง และไม่ความจำสั้นเกินไป ก็น่าจะมองเห็นไม่ต่างจากสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

เพราะปัญหาสำคัญไม่ได้อยู่ที่การเห็นว่าคุณอภิสิทธิ์เหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป
แต่อยู่ที่เหตุผล ที่อาจารย์นิธิให้ไว้ในบทความดังกล่าวต่างหาก

ยิ่งเมื่อพิจารณาถึงข้อเท็จจริงที่ว่า

อาจารย์นิธิเป็นศาสตราจารย์ทาง “ประวัติศาสตร์”

อาจารย์นิธิเป็น “นักวิชาการสาธารณะ” ผู้ยืนอยู่แถวหน้าสุดของ “มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน” ซึ่งประกาศ “ไม่เห็นด้วย” กับ “รัฐประหาร 19 กันยายน” (แม้ว่าท่าทีและถ้อยคำที่ใช้แสดงความ “ไม่เห็นด้วย” จะชวนให้หลายคนตั้งข้อสงสัยและวิพากษ์วิจารณ์อยู่มาก)

และล่าสุด อาจารย์นิธิเป็นผู้ที่ถูกชูขึ้นเป็น “ผู้นำ” ในการรณรงค์ “ไม่รับ” รัฐธรรมนูญ 2550 (ตอนหนึ่งในบทความนี้ อาจารย์นิธิได้อ้างถึง การ “ปกป้องสิทธิเสรีภาพขึ้นพื้นฐานซึ่งให้หลักประกันไว้แล้วในรัฐธรรมนูญ” ซึ่งผมอ่านแล้วก็ไม่แน่ใจว่าอาจารย์หมายถึงรัฐธรรมนูญฉบับใด ระหว่างฉบับที่ถูกฉีกทิ้งไปเมื่อปีที่แล้ว กับฉบับที่อาจารย์เพิ่งรณรงค์ให้ “ไม่รับ”?)

ก็ยิ่งชวนให้งุนงงต่อสิ่งที่ปรากฏในบทความ และชวนให้ตั้งคำถามว่า
คนอย่างอาจารย์นิธิ “ลืม” ไปได้อย่างไรว่า

คุณอภิสิทธิ์ “ยืน” อยู่ที่ใดในห้วงเวลาแห่งการชู “มาตรา 7” ?

ตลอดปีกว่าๆ ที่ผ่านมา คุณอภิสิทธิ์มีปฏิกิริยาอย่างไรต่อรัฐประหาร และการดำเนินการต่างๆ ของคมช., กองทัพ และ “องค์กรอิสระอีกมากที่คณะรัฐประหารตั้งขึ้น” ?

หรือล่าสุด, คุณอภิสิทธิ์แสดงท่าทีอย่างไรต่อ “รัฐธรรมนูญ 2550” ที่อาจารย์บอกให้ประชาชน “ไม่รับ” ?

 

“กล้าเผชิญ…อย่างอาจหาญและมีศักดิ์ศรี” ?!?!?

 

---------

[1] นิธิ เอียวศรีวงศ์, “นายกฯ ของวิกฤตการเมือง”, มติชนรายวัน, 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550, ปีที่ 30 ฉบับที่ 10852
[2] โปรดดูหลายกระทู้เกี่ยวกับบทความนี้ ของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ใน http://www.sameskybooks.org/board

บล็อกของ กานต์ ณ กานท์

กานต์ ณ กานท์
(ภาพ theme คือภาพขาของคุณ "สมย
กานต์ ณ กานท์
(ภาพ theme คือภาพขอ
กานต์ ณ กานท์
กานต์ ทัศนภักดิ์: ศิลปะโฟโต้โมเสคเพื่อเหยื่อ112 ท่ามกลาง “ความเงียบงัน” ที่เราทุกคนในสังคมต่างต้องเผชิญอยู่นี้  (โดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม)   ไม่ได้มีแต่ความว่างเปล่า และยิ่งไม่ใช่ความ “นิ่งงัน” อย่างที่บางคนอาจหมิ่นแคลน ลำพอง หรือแม้แต่ลอบทอดถอนใจ  -- หากแต่ยังมีความเคลื่อนไหว และมีคนจำนวนมากที่ยังคงพยายามจะ “ก้าวฝ่า” มันไป    
กานต์ ณ กานท์
หมายเหตุ: บันทึกนี้เป็นเพียงความทรงจำของคนคนหนึ่งที่เข้าไปอยู่ในเหตุการณ์วันนั้น-คืนนั้น ในบางจุดและบางช่วงเวลา - ในแง่หนึ่งจึงอาจไม่มีเนื้อหาที่สำคัญ และไม่มี "ข้อมูลใหม่" เป็นเพียงการบันทึกเอาไว้เตือนความจำตัวเองว่า เคยอยู่ "ที่นั่น"
กานต์ ณ กานท์
   
กานต์ ณ กานท์
เรายังคงต่อสู้กันด้วยอาวุธโบราณ ซึ่งสร้างความเหนือกว่าให้กับผู้ที่กล้าใช้
กานต์ ณ กานท์
 ก่อนอื่นผมต้องขอขอบพระคุณ "3 องค์กรวิชาชีพสื่อฯ" 1 อันประกอบไปด้วย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยเป็นอย่างสูง ในความห่วงใยที่มีต่อเสรีภาพและสวัสดิภาพของสื่อมวลชน ที่ท่านได้กรุณาแสดงออกผ่าน "แถลงการณ์ร่วมองค์กรวิชาชีพ" 2 เนื่องในวันสื่อมวลชนโลก เมื่อวันที่ 3 พ.ค.2551 ที่ผ่านมาอนึ่ง ผมเขียนบทความนี้ จากการทึกทักเอาเองว่า นอกจากห่วงใยต่อ ‘สื่อมวลชน’ ด้วยกันเองแล้ว องค์กรอันทรงเกียรติทั้ง 3 นั้น มีความห่วงใยต่อเสรีภาพและสวัสดิภาพของประชาชน ด้วยเช่นกัน (อันเนื่องมาจากคำขวัญที่ผมยังประทับใจไม่รู้ลืม คือ "…
กานต์ ณ กานท์
  
กานต์ ณ กานท์
ประเทศไทย 2551 - "สองอนุรักษ์นิยมชนกัน" ?
กานต์ ณ กานท์
แม้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังการเลือกตั้งครั้งล่าสุดจนถึงปัจจุบัน อาจจะมีทั้งที่ถูกใจ-สะใจ และชวนให้ผิดหวัง-ระอา คละเคล้าปะปนกันไป (ส่วนจะหนักไปข้างใดนั้น คงขึ้นอยู่กับจุดยืนและความคาดหวังของแต่ละท่าน) แต่ถึงที่สุดแล้วก็ต้องยอมรับว่า หลากหลายปรากฏการณ์เหล่านั้นไม่ได้เหนือความคาดหมาย หรือพลิกผันไปจากการประเมินของบรรดาคอการเมืองหลายๆ ท่านแต่อย่างใด
กานต์ ณ กานท์
ผมไม่มีปัญหาอันใดกับ ‘ข้อเสนอ’ ของกลุ่ม ‘ปีกซ้ายพฤษภาฯ’ ในบทความ ‘12 เหตุผลที่ต้องเลือกเบอร์ 12 (และอย่าลืมเบอร์ ส.ส.เขตของ พปช.)’ [1] ซึ่งเขียนโดยคุณหมอกิติภูมิ จุฑาสมิต [2]