Skip to main content

"ประชานิยม" "คนชั้นกลางนิยม" "คนรวยนิยม" "อำมาตย์นิยม" "ประชาธิปัตย์นิยม" "ม.๑๑๒ นิยม" "ราชบัณฑิตนิยม" "ยิ่งลักษณ์นิยม" "ทักษิณนิยม" "พันธมิตรนิยม" "นิติราษฎร์นิยม" "นิด้านิยม"

 

Kasian Tejapira

(3 ต.ค.55) 

นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ ๓๐๐ บาทและแจกแทเบล็ตให้เด็กนักเรียนใช้ทั่วประเทศ = "ประชานิยม"

นโยบายคืนภาษีรถคันแรกและสร้างรถไฟฟ้าหลายสายทั่วกทม.และปริมณฑล = "คนชั้นกลางนิยม"

นโยบายหัวเด็ดตีนขาดยังไงก็ไม่ปฏิรูปที่ดินให้การถือครองกระจายกว้างด้วยการเก็บภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า = "คนรวยนิยม"

นโยบายไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ฉบับคมช.อำนวยการร ่าง = "อำมาตย์นิยม"

นโยบายขัดขวางการประชุมรัฐสภาทุกวิถีทางในญัตติที่ไม่เห็นด้วยแต่ไม่มีกำลังพอจะทัดทานคัดค้าน = "ประชาธิปัตย์นิยม"

นโยบายไม่ปฏิรูปกฎหมายอาญาข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ = "ม.๑๑๒ นิยม" (ไม่ควรเรียกว่ากษัตริย์นิยม เพราะการปฏิรูปกฎหมายจะช่วยให้สถาบันกษัตริย์ปลอดจากความขัดแย้งและการถูกฉวยใช้ทางการเมือง)

นโยบายหน่วยงานเดียวรวมศูนย์สั่งการให้คนเขียนและพูดตามเป็นพิมพ์เดียวเสียงเดียวทั่วประเทศ = "ราชบัณฑิตนิยม"

นโยบายลอยตัวเหนือความขัดแย้งทางการเมือง ไม่วิวาทะตอบโต้กับใคร ทำงานงุด ๆ ไป เรื่องแรงเรื่องร้ายให้รองนายกฯรับ = "ยิ่งลักษณ์นิยม"

นโยบาย remote-control democracy = "ทักษิณนิยม"

นโยบายคนดีฟ้าคุ้มครอง = "พันธมิตรนิยม"

นโยบายร่างรัฐธรรมนูญฉบับเพื่อราษฎรไปพลาง ๆ ก่อนในระหว่างคอยท่าราษฎร = "นิติราษฎร์นิยม"

นโยบายตุลาการธิปไตยสารพัดนึกโอสถ = "นิด้านิยม"

ฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯ

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
เหนืออำนาจรัฐ ยังมีอำนาจทุน: อองซานซูจี วีรสตรีผู้ยืนหยัดต้านอำนาจรัฐเผด็จการทหารพม่า อ่อนข้อให้อำนาจทุนจีน
เกษียร เตชะพีระ
...ในทุก trust มี risk แฝงฝังอยู่อย่างมิอาจปัดป่ายบ่ายเบี่ยงเป็นอื่นได้ ก็เพราะ trust มันทำงานอย่างนี้ คือไม่เป็นทางการ ไม่มีกฎหมายครอบงำกำกับ มันหลวม ๆ สบตาเอ่ยปากขอรู้ไจวางใจกัน และความหลวมนี่แหละทำให้ทุกอย่างดำเนินการไปได้อย่างสะดวกราบรื่น ด้วยความไว้วางใจที่มีต่อกัน และฉะนั้นมันจึงเปิดช่องให้ trust ถูก abused ได้..
เกษียร เตชะพีระ
ความขัดแย้งชายแดนภาคใต้ กองทัพแก้ไม่ได้ เพราะโดยเนื้อแท้มันไม่ใช่ปัญหาการทหาร แต่เป็นปัญหาการเมือง ในที่สุดการแก้ปัญหาความขัดแย้งชายแดนภาคใต้นี้ต้องทำโดยรัฐบาล
เกษียร เตชะพีระ
...ก้าวต่อไปที่น่าจะเป็นของงานการเมืองฝ่ายรัฐบาลคือการรุกด้วยข้อเสนอรูปธรรมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ใช้สิทธิอำนาจตามกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในการบริหารท้องถิ่นตนเองมากขึ้น ข้อเสนอนี้จะเป็นตัวช่วงชิงชนะใจมวลชน และกดดันปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบให้ยอมรับทางออกทางการเมืองในที่สุด... 
เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
ฝ่ายซ้ายมองสฤษดิ์เห็นเป็น "นัสเซอร์" ส่วนฝ่ายขวามองสฤษดิ์เห็นเป็น "เดอโกล" ส่วนสฤษดิ์นั้นเอาเข้าจริงเห็นตัวเองเป็น "พ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ" ผู้ฉีกรัฐธรรมนูญ ล้มประชาธิปไตย "แบบตะวันตก" กวาดล้างขุดรากถอนโคนมรดกการปฏิวัติ 2475 ทั้งทางสัญลักษณ์และโครงสร้างกฎหมาย เพื่อสร้าง "ประชาธิปไตยแบบไทย " โดยอิงอาศัยความชอบธรรมจากสถาบันกษัตริย์
เกษียร เตชะพีระ
เรื่องให้ฝ่ายรัฐควักเงินหลวงมาจ่ายส่วนต่างค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับเพิ่มจากเดิมนั้น เป็นไปไม่ได้ ฝันลม ๆ แล้ง ๆ ไม่มีเยี่ยงอย่างที่ไหนในโลกทำกันครับ
เกษียร เตชะพีระ
มาตรา ๑๗๑ วรรคสี่ ของ รัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันคนอย่างทักษิณ สะท้อนความหวาดระแวง - ไม่ไว้วางใจที่คณะผู้ร่าง รธน.ที่มีต่อตัวอดีตนายกฯทักษิณ และ เสียงข้างมากในสภาและเสียงสนับสนุนของประชาชนอีกชั้นหนึ่งเช่นกัน
เกษียร เตชะพีระ
ถึงปี ๒๐๓๐ สหรัฐฯจะไม่ได้เป็นอภิมหาอำนาจแบบที่เห็นอยู่ปัจจุบันอีกต่อไป, เศรษฐกิจจีนจะใหญ่ที่สุดในโลกและจะเติบโตไปแบบนั้นได้ต้องแก้ปัญหาใหญ่ ๒ อย่างใหญ่ ๆ จีนพึ่งพาทรัพยากรเข้มข้นในการเติบโต และทรัพยากรที่ว่ากำลังร่อยหรอ สังคมจีนกำลังชราภาพลงโดยเฉลี่ยอย่างรวดเร็ว, บทบาทของสหรัฐฯจะปรับเปลี่ยนเพราะโลกและนานาชาติคาดหวังให้สหรัฐฯทำตัวเป็นผู้บริหารจัดการจัดตั้งไกล่เกลี่ยหาทางออกข้อตกลงยุติความขัดแย้งรุนแรง
เกษียร เตชะพีระ
ความยุติธรรมที่ผู้มาทีหลังควรได้ร่วมบริโภคและยกระดับมาตรฐานการครองชีพดีขึ้นอย่างเท่าเทียม, กโลบายกระตุ้นเศรษฐกิจและอุ้มอุตสาหกรรมรถยนต์, ขีดจำกัดทางสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและชีวิตเมืองของการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล