Skip to main content

Kasian Tejapira(17/10/2012)

 

ที่มา Quote ไมเคิล ฮาร์ท(Michael Hardt) จากเพจ วิวาทะ 

ในฐานะผู้เคยทำการปฏิวัติด้วยความรุนแรง ผมใคร่บอกว่าเราต้องหาทางเจือผสมการปฏิวัติด้วยความไม่รุนแรงให้มากที่สุด เพราะเหตุใดน่ะหรือ? ก็เพราะว่าบรรดาไพร่ทาสราษฎรสามัญชนโดยทั่วไปนั้นหาได้มีอาวุธสงครามในมือเหมือนกลไกรัฐภายใต้การบังคับควบคุมของชนชั้นปกครองไม่ เมื่อใดการปฏิวัติตัดสินชี้ขาดกันด้วยอาวุธ เมื่อนั้นคุณจะพบว่าชนชั้นปกครองได้เปรียบเสมอและราษฎรก็สูญเสียมากเสมอ ไม่เชื่อก็ลองดูประสบการณ์ปี ๒๕๕๓ ในเมืองไทย เทียบกับชัยชนะโดยไม่มีอาวุธจากการเลือกตั้งในปีถัดมาเถิด

คุณทราบหรือไม่ว่ารายจ่ายงบประมาณเพื่อรักษาความสงบภายในของจีนนั้นบัดนี้พอ ๆ กับรายจ่ายงบประมาณเพื่อป้องกันประเทศภายนอกของจีนแล้ว นั่นแปลว่าในสายตารัฐทุนนิยมอำนาจนิยมของจีนนั้น ภัยคุกคามจากประชาชนภายในประเทศร้ายแรงพอ ๆ กับภัยคุกคามจากต่างประเทศ

หากคุณคิดว่าการปฏิวัติต้องทำด้วยความรุนแรงหรือนัยหนึ่ง "อำนาจรัฐเกิดจากปากกระบอกปืน" แบบประธานเหมาเจ๋อตงแล้วละก็ คิดดูสิว่าประเทศจีนจะมีอนาคตอย่างไร?

ถ้ายึดตาม Max Weber ปรมาจารย์สังคมวิทยาเยอรมันว่าอำนาจรัฐคือการผูกขาดอำนาจการใช้ความรุนแรงโดยชอบธรรมเหนืออาณาดินแดนหนึ่ง ๆ แล้ว ก็มีองค์ประกอบ ๓ อย่างในแก่นของอำนาจรัฐ

๑) อำนาจผูกขาดความรุนแรง

๒) ความชอบธรรมที่จะใช้อำนาจรุนแรงนั้น

๓) เหนืออาณาดินแดนหนึ่ง ๆ

หากวิเคราะห์ให้ดี แนวทางปฏิวัติแบบต่าง ๆ ก็คือการเข้าโจมตีกร่อนทำลายองค์ประกอบเหล่านี้นี้เอง

-ทำลาย ๑) ด้วยแนวทางปฏิวัติแบบรัสเซีย คือสร้างกองกำลังติดอาวุธของกรรมกรขึ้นมาใต้การนำของพรรคบอลเชวิค

-ทำลาย ๒) ด้วยแนวทางปฏิวัติแบบอิหร่าน คือบ่อนทำลายความชอบธรรมของรัฐพระเจ้าชาห์ลงในด้านต่าง ๆ จนในที่สุดแม้มีกองกำลังอาวุธ แต่ก็ไม่สามารถสั่งการให้ใช้ปราบปรามประชาชนที่ต่อสู้ประท้วงอย่างมีประสิทธิผลได้ คือมีปืนก็ยิงไม่ออก เพราะทหารตำรวจไม่ยอมทำให้

-ทำลาย ๓) ด้วยแนวทางปฏิวัติแบบเหมา สร้างเขตปลดปล่อยภายใต้อำนาจรัฐสีแดงขึ้นในอาณาดินแดนของประเทศ

คิดตรองดูเถิดว่าวิธีการไหนต้องใช้ความรุนแรงและวิธีการไหนสามารถใช้ความไม่รุนแรงได้?

 

ฮูโก ชาเวซ

 

บทเรียนจากการปฏิวัติโบลิวาเรียนของเวเนซุเอลา: Bullets or Ballots? Coup-makers or Voters?

ฮูโก ชาเวซเริ่มชีวิตการเมืองจากฐานะนายทหารชั้นผู้น้อย รวมแก๊งเพื่อนนายทหารชั้นผู้น้อยที่สนใจตื่นตัวทางการเมืองพยายามก่อรัฐประหารยึดอำนาจโค่นระบอบเลือกตั้งฉ้อฉลผูกขาดของพรรคการเมืองชนชั้นปกครอง แต่ล้มเหลว ตัวเขาเองถูกจับติดคุก

ก่อนมอบตัวยอมจำนน เขาขอเงื่อนไขออกทีวีอ่านแถลงการณ์ ทำให้เขาเป็นที่รู้จักทั่วประเทศ ประชาชนนิยมนับถือ

ออกจากคุก เขาลงสมัครรับเลือกตั้ง และได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี ๓ รอบถึงปัจจุบัน และเพิ่งชนะเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีวาระ ๔ ทำให้เขาอยู่ในตำแหน่งตั้งแต่ ๑๙๙๙ ไปจนถึง ๒๐๑๙ รวม ๒๐ ปีถ้าไม่มีอันเป็นไปเพราะโรคมะเร็งเสียก่อน

ในยุคสมัยของเขา มีความพยายามก่อรัฐประหารโค่นเข้าด้วยกำลังรุนแรง แต่ล้มเหลว เพราะแรงนิยมของประชามหาชนกดดันจนกองกำลังอาวุธกลับใจ

ตกลงการปฏิวัติโบลิวาเรียนและการรักษาอำนาจรัฐปฏิวัติของชาเวซ อาศัย bullets หรือ ballots กัน?

คิดดูให้ดี

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
เหนืออำนาจรัฐ ยังมีอำนาจทุน: อองซานซูจี วีรสตรีผู้ยืนหยัดต้านอำนาจรัฐเผด็จการทหารพม่า อ่อนข้อให้อำนาจทุนจีน
เกษียร เตชะพีระ
...ในทุก trust มี risk แฝงฝังอยู่อย่างมิอาจปัดป่ายบ่ายเบี่ยงเป็นอื่นได้ ก็เพราะ trust มันทำงานอย่างนี้ คือไม่เป็นทางการ ไม่มีกฎหมายครอบงำกำกับ มันหลวม ๆ สบตาเอ่ยปากขอรู้ไจวางใจกัน และความหลวมนี่แหละทำให้ทุกอย่างดำเนินการไปได้อย่างสะดวกราบรื่น ด้วยความไว้วางใจที่มีต่อกัน และฉะนั้นมันจึงเปิดช่องให้ trust ถูก abused ได้..
เกษียร เตชะพีระ
ความขัดแย้งชายแดนภาคใต้ กองทัพแก้ไม่ได้ เพราะโดยเนื้อแท้มันไม่ใช่ปัญหาการทหาร แต่เป็นปัญหาการเมือง ในที่สุดการแก้ปัญหาความขัดแย้งชายแดนภาคใต้นี้ต้องทำโดยรัฐบาล
เกษียร เตชะพีระ
...ก้าวต่อไปที่น่าจะเป็นของงานการเมืองฝ่ายรัฐบาลคือการรุกด้วยข้อเสนอรูปธรรมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ใช้สิทธิอำนาจตามกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในการบริหารท้องถิ่นตนเองมากขึ้น ข้อเสนอนี้จะเป็นตัวช่วงชิงชนะใจมวลชน และกดดันปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบให้ยอมรับทางออกทางการเมืองในที่สุด... 
เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
ฝ่ายซ้ายมองสฤษดิ์เห็นเป็น "นัสเซอร์" ส่วนฝ่ายขวามองสฤษดิ์เห็นเป็น "เดอโกล" ส่วนสฤษดิ์นั้นเอาเข้าจริงเห็นตัวเองเป็น "พ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ" ผู้ฉีกรัฐธรรมนูญ ล้มประชาธิปไตย "แบบตะวันตก" กวาดล้างขุดรากถอนโคนมรดกการปฏิวัติ 2475 ทั้งทางสัญลักษณ์และโครงสร้างกฎหมาย เพื่อสร้าง "ประชาธิปไตยแบบไทย " โดยอิงอาศัยความชอบธรรมจากสถาบันกษัตริย์
เกษียร เตชะพีระ
เรื่องให้ฝ่ายรัฐควักเงินหลวงมาจ่ายส่วนต่างค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับเพิ่มจากเดิมนั้น เป็นไปไม่ได้ ฝันลม ๆ แล้ง ๆ ไม่มีเยี่ยงอย่างที่ไหนในโลกทำกันครับ
เกษียร เตชะพีระ
มาตรา ๑๗๑ วรรคสี่ ของ รัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันคนอย่างทักษิณ สะท้อนความหวาดระแวง - ไม่ไว้วางใจที่คณะผู้ร่าง รธน.ที่มีต่อตัวอดีตนายกฯทักษิณ และ เสียงข้างมากในสภาและเสียงสนับสนุนของประชาชนอีกชั้นหนึ่งเช่นกัน
เกษียร เตชะพีระ
ถึงปี ๒๐๓๐ สหรัฐฯจะไม่ได้เป็นอภิมหาอำนาจแบบที่เห็นอยู่ปัจจุบันอีกต่อไป, เศรษฐกิจจีนจะใหญ่ที่สุดในโลกและจะเติบโตไปแบบนั้นได้ต้องแก้ปัญหาใหญ่ ๒ อย่างใหญ่ ๆ จีนพึ่งพาทรัพยากรเข้มข้นในการเติบโต และทรัพยากรที่ว่ากำลังร่อยหรอ สังคมจีนกำลังชราภาพลงโดยเฉลี่ยอย่างรวดเร็ว, บทบาทของสหรัฐฯจะปรับเปลี่ยนเพราะโลกและนานาชาติคาดหวังให้สหรัฐฯทำตัวเป็นผู้บริหารจัดการจัดตั้งไกล่เกลี่ยหาทางออกข้อตกลงยุติความขัดแย้งรุนแรง
เกษียร เตชะพีระ
ความยุติธรรมที่ผู้มาทีหลังควรได้ร่วมบริโภคและยกระดับมาตรฐานการครองชีพดีขึ้นอย่างเท่าเทียม, กโลบายกระตุ้นเศรษฐกิจและอุ้มอุตสาหกรรมรถยนต์, ขีดจำกัดทางสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและชีวิตเมืองของการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล