Skip to main content

Kasian Tejapira(27/3/56)

ออสเตรเลียเป็นหนึ่งในน้อยประเทศของโลกที่ดูเหมือนไม่ประสบวิกฤตเศรษฐกิจหนักหน่วงนักในช่วงวิกฤตซับไพรม์และเศรษฐกิจโลกถดถอยใหญ่หลายปีที่ผ่านมา (ค.ศ. 2008 - ปัจจุบัน) ค่าที่รัฐบาลออสเตรเลียดำเนินชุดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจทันท่วงที ประจวบกับแนวโน้มมูลค่าสินค้าบูมทั่วโลก (commodities boom นับแต่ ค.ศ. 2000 - 2009 แล้วสะดุดวิกฤตซับไพรม์) พลิกฟื้นกลับขึ้นมาหนุนส่ง โดยเฉพาะอุปสงค์ด้านแร่ธาตุวัตถุดิบที่อุตสาหกรรมมหึมาของจีนต้องการจากออสเตรเลีย ไม่ว่าแร่เหล็ก, ถ่านหิน, บ็อกไซต์ ฯลฯ ทำให้ออสเตรเลียหลุดรอดจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยมาได้

 

ทว่าเอาเข้าจริงในโครงสร้างเชื่อมโยงแบบทุนนิยมโลกาภิวัตน์ จะมีประเทศไหนไม่โดนผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกบ้าง? ออสเตรเลียก็เถอะ เพียงแค่ขูดผิวไปสักพัก เฝ้าสังเกตดูสักหน่อย ก็จะพบปัญหาเกี่ยวพันกับวิกฤตเศรษฐกิจกลัดหนองอยู่

 

ปัญหาพื้นฐานคือออสเตรเลียกำลังประสบสภาวะ two-speed economy หรือเศรษฐกิจสองอัตราเร่งต่างกัน กล่าวคือ

 

อัตราเร่งที่ 1) ภาคอุตสาหกรรมเหมืองแร่ อันนี้กำลังส่งออกไปจีนอย่างเร่งเร็วมาก ที่ท่าเรืออ่าวซิดนีย์ มีขบวนเรือขนส่งสินค้าต่อคิวรอบรรทุกแร่ธาตุวัตถุดิบจากเหมืองแร่ในออสเตรเลียเพื่อส่งออกไปจีนยาวเหยียดร่วม 50 ไมล์ทะเล อานิสงส์จากการลงทุนขนานใหญ่ของบริษัทเหมืองแร่เพื่อต้อนรับกระแสมูลค่าสินค้าบูมและอุปสงค์แร่ธาตุวัตถุดิบจากจีน (เฉพาะปี 2010 ปีเดียว มีการลงทุนในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ออสเตรเลียถึง 1700,000 ล้านดอลล่าร์ออสเตรเลีย) ทำให้ชาวออสเตรเลียที่ประกอบอาชีพเกี่ยวข้องเชื่อมโยงโดยตรงกับภาคอุตสาหกรรมเหมืองแร่ที่กำลังบูม พากันยกระดับรายได้สูงลิ่ว จู่ ๆ ก็รวยไม่รู้เรื่อง พากันถอยเบนซ์มาขับเล่นกันใหญ่

 

อัตราเร่งที่ 2 ) ไม่ว่าอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ หรือค้าปลีกหรือบริการ หากไม่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงโดยตรงกับเหมืองแร่แล้ว ก็ไม่ได้ประโยชน์โภคผลนัก (ปัญหาหนึ่งของอุตสาหกรรมเหมืองแร่คือใช้แรงงานน้อยกว่า ใช้เครื่องจักรหนักมากกว่า โดยเปรียบเทียบ ดังนั้นถึงบูมก็จ้างแรงงานเพิ่มไม่มาก อีกทั้งงานเหมืองแร่ คนออสเตรเลียพื้นถิ่นไม่ค่อยชอบทำ ส่วนมากจะเป็นคนอพยพ) ซ้ำร้ายยังถูกกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ ที่ข้าวของแพงขึ้นจากผลกระทบของอุตสาหกรรมเหมืองแร่และส่งออกแร่ธาตุบูม คนจำนวนมากในภาคเศรษฐกิจที่เหลือเหล่านี้จึงถูกเบียดจากภาวะราคาเฟ้อจนหลุดออกจากตลาดบ้าน, ตลาดภัตตาคารหรือแม้แต่ตลาดซูเปอร์มาร์เก็ตไป (คือของแพงจนเงินรายได้ไม่พอซื้อ สู้ราคาไม่ไหว)

 

ภาวะเศรษฐกิจสองอัตราเร่งต่างกันทำให้สังคมเศรษฐกิจออสเตรเลียเกิดความเครียดและแตกหักแยกส่วนกันมากขึ้น คนรู้สึกถึงความไม่เป็นธรรมเพิ่มสูงขึ้น อึดอัดไม่สบายใจกับภาวะที่เป็นอยู่ แม้แต่พวกที่โชคดีรวยจากเหมืองแร่บูมก็เล็งการณ์ร้าย หวาดวิตกในใจลึก ๆ ไม่แน่ใจว่าบูมจะยาวนานเท่าไหร่ ฟองสบู่จะแตกวันแตกพรุ่งไม่รู้ที หากกระแสมูลค่าสินค้าบูมของโลกเริ่มตกหรือเศรษฐกิจจีนพลิกกลับ ต่างมีอาการไม่มั่นคงในใจราวกับกำลังรวยอยู่ในช่วงเวลาที่ยืมมาก็มิปาน

กล่าวสำหรับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของออสเตรเลียนั้น ที่ผ่านมารัฐบาลก็พยายามเข้าไปอุ้มชูช่วยเหลือ เพื่อหยุดยั้งภาวะตกต่ำเสื่อมถอย และพัฒนาด้านอุตสาหกรรมไฮเทคขึ้นมา ไม่ว่าวิศวกรรม หรือวิทยาศาสตร์ ซึ่งก็ประสบความสำเร็จพอควร เช่น สาขาชีวประดิษฐศาสตร์ (bionics) หรือ wi-fi ก็จดทะเบียนสิทธิบัตรในออสเตรเลียเป็นต้น ทว่าอุตสาหกรรมทั้งหลายเหล่านี้กลับรับผลกระทบด้านลบจากการที่อุตสาหกรรมเหมืองแร่และส่งออกแร่ธาตุไปจีนบูม เพราะมันทำให้ดอลล่าร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้น จนมูลค่าสูงกว่าดอลล่าร์อเมริกันต่อเนื่องกันมาในช่วงระยะหลัง อุตสาหกรรมด้านอื่นก็เลยเคราะห์ร้าย ส่งออกยากขึ้น เพราะคิดอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินสกุลอื่นแล้วแพงขึ้น (สูญเสียสมรรถนะในการแข่งขันเพราะค่าเงินสกุลชาติตนแข็งขึ้น) ในตลาดสากล จนกระทั่งรัฐบาลออสเตรเลียต้องออกนโยบายให้เงินอุดหนุนอุตสาหกรรมต่าง ๆ ให้มาเปิดการผลิตในออสเตรเลียสืบต่อไป เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ไม่ว่า โตโยต้า, ฟอร์ด, จีเอ็ม ฯลฯ ต่างก็ได้รับอานิสงส์ส่วนนี้ ประมาณว่ารัฐบาลออสเตรเลียเอาเงินภาษีชาวบ้านมาติดสินบนบริษัทเหล่านี้ให้อยู่ต่อนั่นเอง ซึ่งนโยบายแบบนี้ไม่น่าจะคงทนยั่งยืนได้ในระยะยาว

ในภาวะที่แรงส่งด้านบวกจากการลงทุนอุตสาหกรรมเหมืองแร่กำลังจะงวดตัวหมดพลังลงกลางปีนี้ (2013) อีกทั้งผู้บริโภคชาวออสเตรเลียก็ติดหนี้สูงไม่แพ้ผู้บริโภคอเมริกันและพยายามรัดเข็มขัดลดค่าใช้จ่ายลงมาอยู่ เครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจออสเตรเลียตัวต่าง ๆ จึงทำท่าจะหมดน้ำมันลง หากรัฐบาลออสเตรเลียดันไปตัดลดงบประมาณรัดเข็มขัดเข้า เศรษฐกิจออสเตรเลียก็จะสะดุดแน่นอน

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ปม ‘พล.ท.นันทเดช’ นำเสนอเกรดของ 7 นักศึกษา 'ดาวดิน' ระบุเกรดไม่ดี จวกไม่เคยคิดเรียน ‘เกษียร’ สวนชกเด็กใต้เข็มขัด ชี้ไม่ควรลืมว่า ‘Steve Jobs’ ก็เรียนไม่จบ ระบุสำหรับนักศึกษาที่ทำกิจกรรม การเรียนย่อมได้รับผลกระทบบ้างเป็นธรรมดา
เกษียร เตชะพีระ
ตอบกระทู้พันทิป หลังมีผู้เรียกร้องให้ประเทศไทยยกเลิกการให้ทุนการศึกษาต่างประเทศสำหรับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ โดยยกตัวอย่าง ‘สมศักดิ์-วรเจตน์’
เกษียร เตชะพีระ
รายงานของ Freedom House ชี้ ปี 2014 เป็น “ปีที่หม่นหมองเป็นพิเศษ” เกิดการปะทุของการก่อการร้ายรุนแรงและยุทธวิธีที่ก้าวร้าวทั่วโลก ระบุตะวันออกกลางสูญเสียเสรีภาพชัดเจนสุด พร้อมฟันธงว่าความผิดพลาดใหญ่ที่สุดที่ระบอบประชาธิปไตยจะทำลงไปคือการยอมรับความคิดว่าไม่มีปัญญาจะทำอะไรได้เมื่อเผชิญกับจอมเผด็จการที่ใช้กำลังหรือข่มขู่คุกคาม กลับเป็นปุถุชนพลเมืองสามัญต่างหากผู้พร้อมจะลุกขึ้นมาท้าทายผู้ปกครองเหล่านี้
เกษียร เตชะพีระ
"มาตรา 10 ของ ร่าง พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ขยายอำนาจการดักจับ แฮ็กบัญชี ยึดคอมพิวเตอร์ แฮ็กระบบ อันนี้คือขยายอำนาจของเจ้าหน้าที่ จากที่เคยต้องขอหมายศาล พรบ. แก้ใหม่ ไม่ต้องขอหมายศาล ทำได้เลย แล้วคนพวกนี้เป็นใคร ไม่รู้" จอห์น วิญญู กล่าวในรายงานเจาะข่าวตื้น ผมเห็นด้วยกับคุณจอห์น วิญญู และชอสนับสนุนด้วยข้อถกเถียงจากมุมมองหลักนิติธรรม (the rule of law) 
เกษียร เตชะพีระ
พม่าเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างในไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผ่อนคลายการจำกัดปิดกั้นสื่อมวลชนลง และปล่อยตัวนักโทษการเมือง การลงทุนต่างชาติเพิ่มพูนขึ้น แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในกองทัพพม่า ปัจจุบันพม่ากำลังเตรียมการเลือกตั้งในปีใหม่นี้ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ทว่าน่าวิตกว่ากระบวนการปฏิรูปกำลังตกอยู่ในสภาพล่อแหลมต่ออันตราย
เกษียร เตชะพีระ
วิพากษ์ข้อเสนอหลักของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยนายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส.หรือสังกัดพรรคการเมือง, ส.ส. มาจากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม และส.ว.ไม่เกิน ๒๐๐ คนมาจากการแต่งตั้งและคัดสรร ไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ฯลฯ
เกษียร เตชะพีระ
รายงานล่าสุด ILO ชี้ค่าแรงยังต่ำ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในโลกยิ่งเพิ่ม, ค่าจ้างประเทศรวยสูงกว่าประเทศจน 3 เท่า, การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ทำให้คนตกงานเว้ยเฮ้ย! 
เกษียร เตชะพีระ
ความคิดเห็นต่อเนื่องจากกรณีที่เกิดกระเเสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ ถึงกรณีที่มีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเขียนโน้ตถึงอาจารย์ที่ปรึกษาให้ติดต่อกลับ  โดยระบุถึงสิ่งที่สำคัญมากกว่าในความเป็นจริงที่เกิดขึ้น คือ ...
เกษียร เตชะพีระ
ในฐานะที่ "รัฐ" ตามคำนิยามของเวเบอร์ 1. สิทธิผูกขาดเหนือการใช้กำลังทางกายภาพหรือนัยหนึ่งการใช้ความรุนแรง 2. โดยชอบธรรม และ 3 ภายในอาณาเขตหนึ่งๆ
เกษียร เตชะพีระ
ข้อแนะนำถึงคสช.และรัฐบาล. คืนความปกติให้สังคมเศรษฐกิจไทยมากที่สุด ลดมาตรการใช้อำนาจผิดปกติให้เหลือต่ำสุด ความแตกต่างขัดแย้งทางความคิดเห็นและผลประโยชน์ในสังคมพหุนิยมที่มีความแตกต่างหลากหลายเป็นเรื่องปกติ
เกษียร เตชะพีระ
สำหรับผมและเพื่อนพ้อง “คนเดือนตุลา” จำนวนหนึ่ง รัฐประหาร ๒๒ พ.ค. ที่ผ่านมาเป็นเรื่องน่าเศร้าเสียใจยิ่ง