Skip to main content

จงใจและมีจังหวะบอกกล่าวผู้ชมถึงการเปลี่ยนยุคภาษา, ตลกของเรื่องนี้ไม่ใช่ตลกไทยแบบเก่า, หนังเปลี่ยนขนบการเล่าเรื่อง “แม่นาค พระโขนง”, ไม่ได้รับการเล่าบรรยายแบบเคร่งครัดตามขนบการเล่าเรื่องของความเป็นไทยทางการเลย, ผีแม่นาคแม้น่ากลัว แต่ก็สวยชิบเป๋ง แม้จะทำหน้าดุดัน เหี้ยมเกรียม หลอกเอาบ้าง ขู่บ้าง แต่พูดให้ถึงที่สุด เป็นผี non-violence นะครับ แม่นาคเวอร์ชั่นนี้จึงคล้ายไอ้ฟักในคำพิพากษาที่ตกเป็นจำเลยของชาวบ้านอย่างไม่มีทางแก้ตัว

Kasian Tejapira(31/6/56)

 

บ่ายนี้ไปทำธุระด่วนกับครอบครัว เลยถือโอกาสไปเข้าคิวยาวเหยียดตีตั๋วดู “พี่มาก พระโขนง” ที่โรงหนังในศูนย์การค้าใกล้บ้านรอบสี่โมงเย็น ดูเสร็จก็ตลกดี ไม่เสียดายเงินเลย (ค่อนข้างต่างจากความรู้สึกเวลาเดินออกจากโรงเมื่อดูหนังไทยเรื่องอื่น ๆ และมีแง่คิดบางอย่างน่าเล่าต่อ.....
 
1.) คำสนทนาแทบจะประโยคแรกของหนัง สำนวนภาษาไทยสมัย ร.5 “....เพลา....” ทำเอาผมเตรียมเบื่อโดยอัตโนมัติ แต่แล้วตัวละครก็ขัดคอกันเองว่า “โบราณ” และเปลี่ยนเป็นภาษาจิ๊กโก๋ปัจจุบันไปตลอดเรื่อง นับว่าจงใจและมีจังหวะบอกกล่าวผู้ชมถึงการเปลี่ยนยุคภาษา นึกถึงหนังการ์ตูนของ Walt Disney/Dreamworks ที่หลัง ๆ นี้ไม่ว่ากี่เรื่องต่อกี่เรื่อง ตัวละครพูดสำเนียงเมกันด้วยแสลงนิวยอร์คเหมือนกันหมด
 
2.) ตลกของเรื่องนี้ไม่ใช่ตลกไทยแบบเก่า (ล้อต๊อก, สีเทา, สมพงษ์ พงษ์มิตร, จำรูญ หนวดจิ๋ม ฯลฯ) และก็ไม่ใช่ตลกเชิญยิ้มแบบที่รู้จักกันดี, แต่เป็นตลกวัยรุ่นร่วมสมัย ชนิดที่เพื่อนนักเรียนร่วมชั้น ม.ปลาย กับลูกสาวผมแซวและฮากันเล่นนั่นแหละ ส่วนใหญ่เป็นตลกแบบ silly ทื่อ ๆ (“พี่มากขา ๆ ๆ” แล้วก็ฉายภาพแมงป่อง ตะขาบ กิ้งกือขามากมายออกมา “นาคจ๋า” แล้วก็ฉายภาพตัวนากเป็น ๆ ออกมามั่ง)
 
3.) หนังเปลี่ยนขนบการเล่าเรื่อง “แม่นาค พระโขนง” ของหนังไทยอย่างที่คณะผู้สร้างผู้กำกับมาคุยแนะนำทางทีวี คือเปลี่ยนจากการเล่าด้วยมุมมองของแม่นาค, มาเป็นการเล่าด้วยมุมมองของพี่มากมั่ง แต่ร้ายกว่านั้น หนัง revise โครงเรื่องโดยเฉพาะตอนจบแบบไม่เกรงใจธรรมเนียมประเพณีเรื่องเล่าแม่นาคของไทยกันเลย ทำไมไม่จบแบบนี้ล่ะ? ก็จะให้จบแบบนี้อ่ะ? ไม่สมเหตุสมผลกว่าหรือ? ไม่กินใจกว่าหรือ? ต่อให้ไม่ธรรมชาติ (unnatural) และไม่ตรงตามธรรมเนียมคิดแบบไทย (ความเชื่อเรื่องผีและเรื่องพุทธ) (unThai) ก็ตาม 
 
ในแง่มุมนี้ นี่เป็นการริเริ่มลัทธิแก้ (revisionism) การเล่าเรื่องนิทาน/นิยายไทย ๆ ที่ radical, subversive ลึก ๆ มาก แต่ก็ “ปลอดภัย” ตามสมควร เพราะเป็นเรื่องเล่าของสามัญชนกับผี ไม่ใช่ของอำมาตย์หรือเจ้านาย การเสพรับเรื่องเล่าลัทธิแก้ (revisionist narrative) นี้จึงไม่ระคายคอ ราบรื่น กลมกล่อม คล่องคอพอควร อย่าว่าแต่มี humor เป็นผงชูรสซดลื่น ๆ คออย่างดี
4.) คล้ายจงใจคล้ายไร้เจตนา แต่ “สงคราม” ก็ดี (กำกวมพอสบายใจ เพราะคุณไม่เคยเห็นข้าศึกศัตรูเลย), “ชาติ/ชาตินิยม” ก็ดี, “พระ/วัด” ก็ดี ไม่ได้รับการเล่าบรรยายแบบเคร่งครัดตามขนบการเล่าเรื่องของความเป็นไทยทางการเลย ไม่มีนักรบที่วีระอาจหาญ, ไม่มีชัยชนะในสงคราม, ไม่มีข้าศึกตายเกลื่อนสนามรบ, มีแต่เรื่องปลุกใจที่ถูกล้อกลางคัน, บาดแผลของฝ่ายเรา, ทหารผ่านศึกที่สารภาพว่าตลอดการรบไม่คิดถึงชาติประเทศเลย คิดถึงแต่เมีย (แม่นาคได้ยินดังนั้นก็ดุพี่มากว่าไม่ควร - ซึ่งทำให้เบาลงและปลอดภัยต่อหูพนักงานเซ็นเซ่อร์ผู้รักชาติดี), วัดที่ไม่อาจเป็นที่พึ่งกันผีได้ (ไม่ใช่เขตอภัยทานอันศักดิ์สิทธิ์นะ), และพระที่กระโดดกำแพงก่อนญาติโยมเสียอีก 555, ยังไม่ต้องพูดถึงไฟที่ลุกลามล้อมพระพุทธรูปในอุโบสถ ฯลฯ
5.) ผีแม่นาคแม้น่ากลัว แต่ก็สวยชิบเป๋ง (สงสัยว่าสวยที่สุดในบรรดานางเอกที่เล่นเป็นแม่นาคที่เคยแสดงมาหรือเปล่า?) แม้จะทำหน้าดุดัน เหี้ยมเกรียม หลอกเอาบ้าง ขู่บ้าง แต่พูดให้ถึงที่สุด เป็นผี non-violence นะครับ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเธอฆ่าฟันหรือหลอกใครจนตาย, แม่ค้ายาดองขี้เมาที่จมน้ำตายขึ้นอืด ผีแม่นาคก็อธิบายว่าเมาตกน้ำเอง เธอไม่ได้ฆ่า, ชาวบ้านหวาดระแวงปั้นเรื่องกล่าวหาผีแม่นาคกันไปเองต่างหาก แม่นาคเวอร์ชั่นนี้จึงคล้ายไอ้ฟักในคำพิพากษาที่ตกเป็นจำเลยของชาวบ้านอย่างไม่มีทางแก้ตัว
แต่คำอธิบายอย่างมีเหตุผลของผีแม่นาคได้รับการสดับตรับฟังและโต้ตอบแลกเปลี่ยนที่ผิดขนบวัฒนธรรมแบบไทย ๆ ที่เคยปฏิบัติต่อผีมาในอดีต นำไปสู่จุดจบของเรื่องที่แปลกต่างออกไป ในระหว่างเสียงหัวเราะร่ากับตลก silly ของสี่สหาย, และน้ำตาที่เอ่อซึมออกมาเพราะซาบซึ้งใจในความรักข้ามโลกของคนกับผี (โดยเฉพาะของคนที่มีต่อผี ย้ำ - ความรักของคนที่มีต่อผี) ผมอดนึกถึงชะตากรรมของผีคอมมิวนิสต์สมัย 6 ตุลาฯ, ผีเสื้อแดงเผาบ้านเผาเมืองที่ราชประสงค์, และผี BRN ที่ชายแดนภาคใต้ไม่ได้
 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
เหนืออำนาจรัฐ ยังมีอำนาจทุน: อองซานซูจี วีรสตรีผู้ยืนหยัดต้านอำนาจรัฐเผด็จการทหารพม่า อ่อนข้อให้อำนาจทุนจีน
เกษียร เตชะพีระ
...ในทุก trust มี risk แฝงฝังอยู่อย่างมิอาจปัดป่ายบ่ายเบี่ยงเป็นอื่นได้ ก็เพราะ trust มันทำงานอย่างนี้ คือไม่เป็นทางการ ไม่มีกฎหมายครอบงำกำกับ มันหลวม ๆ สบตาเอ่ยปากขอรู้ไจวางใจกัน และความหลวมนี่แหละทำให้ทุกอย่างดำเนินการไปได้อย่างสะดวกราบรื่น ด้วยความไว้วางใจที่มีต่อกัน และฉะนั้นมันจึงเปิดช่องให้ trust ถูก abused ได้..
เกษียร เตชะพีระ
ความขัดแย้งชายแดนภาคใต้ กองทัพแก้ไม่ได้ เพราะโดยเนื้อแท้มันไม่ใช่ปัญหาการทหาร แต่เป็นปัญหาการเมือง ในที่สุดการแก้ปัญหาความขัดแย้งชายแดนภาคใต้นี้ต้องทำโดยรัฐบาล
เกษียร เตชะพีระ
...ก้าวต่อไปที่น่าจะเป็นของงานการเมืองฝ่ายรัฐบาลคือการรุกด้วยข้อเสนอรูปธรรมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ใช้สิทธิอำนาจตามกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในการบริหารท้องถิ่นตนเองมากขึ้น ข้อเสนอนี้จะเป็นตัวช่วงชิงชนะใจมวลชน และกดดันปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบให้ยอมรับทางออกทางการเมืองในที่สุด... 
เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
ฝ่ายซ้ายมองสฤษดิ์เห็นเป็น "นัสเซอร์" ส่วนฝ่ายขวามองสฤษดิ์เห็นเป็น "เดอโกล" ส่วนสฤษดิ์นั้นเอาเข้าจริงเห็นตัวเองเป็น "พ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ" ผู้ฉีกรัฐธรรมนูญ ล้มประชาธิปไตย "แบบตะวันตก" กวาดล้างขุดรากถอนโคนมรดกการปฏิวัติ 2475 ทั้งทางสัญลักษณ์และโครงสร้างกฎหมาย เพื่อสร้าง "ประชาธิปไตยแบบไทย " โดยอิงอาศัยความชอบธรรมจากสถาบันกษัตริย์
เกษียร เตชะพีระ
เรื่องให้ฝ่ายรัฐควักเงินหลวงมาจ่ายส่วนต่างค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับเพิ่มจากเดิมนั้น เป็นไปไม่ได้ ฝันลม ๆ แล้ง ๆ ไม่มีเยี่ยงอย่างที่ไหนในโลกทำกันครับ
เกษียร เตชะพีระ
มาตรา ๑๗๑ วรรคสี่ ของ รัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันคนอย่างทักษิณ สะท้อนความหวาดระแวง - ไม่ไว้วางใจที่คณะผู้ร่าง รธน.ที่มีต่อตัวอดีตนายกฯทักษิณ และ เสียงข้างมากในสภาและเสียงสนับสนุนของประชาชนอีกชั้นหนึ่งเช่นกัน
เกษียร เตชะพีระ
ถึงปี ๒๐๓๐ สหรัฐฯจะไม่ได้เป็นอภิมหาอำนาจแบบที่เห็นอยู่ปัจจุบันอีกต่อไป, เศรษฐกิจจีนจะใหญ่ที่สุดในโลกและจะเติบโตไปแบบนั้นได้ต้องแก้ปัญหาใหญ่ ๒ อย่างใหญ่ ๆ จีนพึ่งพาทรัพยากรเข้มข้นในการเติบโต และทรัพยากรที่ว่ากำลังร่อยหรอ สังคมจีนกำลังชราภาพลงโดยเฉลี่ยอย่างรวดเร็ว, บทบาทของสหรัฐฯจะปรับเปลี่ยนเพราะโลกและนานาชาติคาดหวังให้สหรัฐฯทำตัวเป็นผู้บริหารจัดการจัดตั้งไกล่เกลี่ยหาทางออกข้อตกลงยุติความขัดแย้งรุนแรง
เกษียร เตชะพีระ
ความยุติธรรมที่ผู้มาทีหลังควรได้ร่วมบริโภคและยกระดับมาตรฐานการครองชีพดีขึ้นอย่างเท่าเทียม, กโลบายกระตุ้นเศรษฐกิจและอุ้มอุตสาหกรรมรถยนต์, ขีดจำกัดทางสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและชีวิตเมืองของการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล