อีกด้านของจอห์น สจ๊วต มิลล์ นักปรัชญาเสรีนิยม-ประโยชน์นิยม "เผด็จการยังจำเป็นสำหรับสังคมด้อยพัฒนาที่ประชาชนยังไม่พร้อม” และ ความแย้งย้อนของเสรีนิยมบนฐานประโยชน์นิยม: ทำไมเสรีภาพจึงไปได้กับเผด็จการในความคิดของจอห์น สจ๊วต มิลล์?
ทีมา : วาทะจุดประกาย
อีกด้านของจอห์น สจ๊วต มิลล์ นักปรัชญาเสรีนิยม-ประโยชน์นิยม
"เผด็จการยังจำเป็นสำหรับสังคมด้อยพัฒนาที่ประชาชนยังไม่พร้อม”
พี่ป้อม Nithinand Yorsaengrat ปุจฉามาว่า:
"แล้วมันไปกันได้ยังไงคะ เสรีนิยมกับเผด็จการ หรือเขามองในแง่ประโยชน์นิยม?"
ผมทดลองตอบว่า:
เขามองในแง่ประโยชน์นิยมเป็นฐานครับ นักเสรีนิยมก่อนหน้า JSM เช่น John Locke วางหลักเสรีนิยมบนสิทธิธรรมชาติ (natural rights) ของมนุษย์ อันพระเจ้าให้มาและล่วงละเมิดมิได้
จอห์น สจ๊วต มิลล์
แต่นักประโยชน์นิยม (utilitarians) ไม่เชื่อสิทธิธรรมชาติ ว่าเป็น "เรื่องเหลวไหลบนไม้ต่อขา" ปั้นแต่งขึ้นมาทั้งเพ พิสูจน์ไม่ได้ (ซึ่งก็จริง แต่เขาไม่ได้มีไว้ให้พิสูจน์โว้ย มีไว้ให้ถือเป็นฐานคติ ติ๊งต่างว่าจริง ผลทางปฏิบัติจะเป็นไง มันดีไหม ฯลฯ) จึงย้ายเสรีภาพไปวางบนฐานอื่นแทน ได้แก่ อรรถประโยชน์สูงสุดของส่วนรวม (Maximum Utility: the greatest happiness of the greatest number)
ในยุคล่าอาณานิคม พวกนักล่าอาณานิคมประโยชน์นิยมจึงสรุปว่า พวกต่างเผ่าผิวเหลืองผิวดำเหล่านี้ยังเป็นเสมือน "เด็กของมนุษยชาติ" ไม่บรรลุวุฒิภาวะ ไม่พร้อมจะมีเสรีภาพหรือปกครองตนเอง เพื่อประโยชน์ของพวกมึงเอง พวกมึงควรอยู่ใต้ระบอบเผด็จการไปก่อน รอบรรลุวุฒิภาวะเหมือน I เมื่อไหร่ ค่อยว่ากันเรื่องเสรีภาพ OK
เสรีนิยมบนฐานประโยชน์นิยมของ JSM จึงมีจุดบอดบางอย่างอยู่ และส่งผลให้มีข้อยกเว้น ปฏิเสธเสรีภาพได้ เพื่อประโยชน์ของ "พวกมึง"
Alexis de Tocqueville
เรื่อง "อาณานิคม" กลายเป็นจุดบอดในทฤษฎีของนักคิดเสรีประชาธิปไตยตะวันตกนี้มีหลายกรณีไม่เฉพาะ JSM, Alexis de Tocqueville ก็เหมือนกันครับ เชียร์การฆ่าหมู่ของเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสในแอฟริกาหน้าตาเฉยเลย