Skip to main content

Kasian Tejapira(18/4/56)

มกุฎราชกุมารวิลเลม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์พระราชทานสัมภาษณ์ทางทีวีก่อนพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสืบต่อจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถบีอาทริกซ์ พระราชมารดา ซึ่งทรงประกาศจะสละราชสมบัติไปเมื่อปีก่อน หลังครองราชย์มากว่า ๓๐ ปี มกุฎราชกุมารวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ตรัสว่าคนอยากเรียกหาพระองค์อย่างไรก็ได้ตามใจ และตัวพระองค์เองก็จะไม่เฉลิมพระนามว่า “พระเจ้าวิลเลมที่สี่”

 

“ก่อนอื่น ชื่อของฉันคือวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ ฉันใช้เวลาตลอดชีวิต ๔๖ ปีเป็นวิลเลม-อเล็กซานเดอร์หรืออเล็กซานเดอร์ ฉันว่ามันแปลกที่จะต้องเลิกใช้ชื่อนั้นเพราะฉันเป็นกษัตริย์ ในอีกแง่หนึ่งคนเราก็ไม่ใช่ตัวเลขนี่นะ”

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกจะจัดขึ้น ๓๐ เม.ย. ศกนี้ี ท่ามกลางเสียงเรียกร้องให้กษัตริย์ปฏิบัติเฉพาะหน้าที่เชิงพิธีการเท่านั้น และมกุฎราชกุมารวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ก็ทรงบ่งชี้ว่าพระองค์ทรงอนุโลมตามข้อเรียกร้องนั้น

 

“ถ้าหากกระบวนการนิติบัญญัติเป็นประชาธิปไตยและเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแล้ว ฉันก็จะยอมรับทุกสิ่งทุกอย่าง ฉันไม่มีปัญหาอะไรกับสิ่งนั้น นั่นคือเหตุผลที่ทำไมฉันเป็นกษัตริย์ และหากจำเป็นต้องใช้ลายเซ็นชื่อของฉัน ฉันก็จะเซ็นชื่อให้”

ว่าที่พระราชินีแม็กซีมา พระชายาชาวอาร์เจนตินา ทรงสิริโฉมเพริศพริ้งและตรัสภาษาดัตช์ได้คล่อง เป็นเชื้อพระวงศ์ที่มหาชนชาวเนเธอร์แลนด์นิยมที่สุด ปัญหาอยู่ตรงบิดาของพระนางมีสัมพันธ์โยงใยกับเผด็จการทหารอาร์เจนตินาสมัยปลายคริสตทศวรรษที่ ๑๙๗๐ ต่อต้นคริสตทศวรรษ ๑๙๘๐ ในฐานะรมว.เกษตรของรัฐบาลทหาร ทำให้ในงานพระราชพิธีอภิเษกสมรสปี ค.ศ.๒๐๐๒ บิดาของพระนางไม่ได้รับเชิญมาร่วมงานในเนเธอร์แลนด์ และก็คงไม่ได้รับเชิญมาร่วมงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งนี้อีกเช่นกัน ทรงให้สัมภาษณ์ในโอกาสเดียวกันนั้นว่า:

 

“การกลายเป็นราชินีจะไม่เปลี่ยนฉันหรอก ฉันจะไม่ทำตัวต่างออกไป และแน่นอน ภูมิหลังของฉันเป็นชาวอาร์เจนตินา ฉันชอบเต้นรำ ฉันชอบดนตรี แล้วฉันก็จะทำอย่างนั้นต่อไป แต่ฉันจะเหมือนเดิม”

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
เหนืออำนาจรัฐ ยังมีอำนาจทุน: อองซานซูจี วีรสตรีผู้ยืนหยัดต้านอำนาจรัฐเผด็จการทหารพม่า อ่อนข้อให้อำนาจทุนจีน
เกษียร เตชะพีระ
...ในทุก trust มี risk แฝงฝังอยู่อย่างมิอาจปัดป่ายบ่ายเบี่ยงเป็นอื่นได้ ก็เพราะ trust มันทำงานอย่างนี้ คือไม่เป็นทางการ ไม่มีกฎหมายครอบงำกำกับ มันหลวม ๆ สบตาเอ่ยปากขอรู้ไจวางใจกัน และความหลวมนี่แหละทำให้ทุกอย่างดำเนินการไปได้อย่างสะดวกราบรื่น ด้วยความไว้วางใจที่มีต่อกัน และฉะนั้นมันจึงเปิดช่องให้ trust ถูก abused ได้..
เกษียร เตชะพีระ
ความขัดแย้งชายแดนภาคใต้ กองทัพแก้ไม่ได้ เพราะโดยเนื้อแท้มันไม่ใช่ปัญหาการทหาร แต่เป็นปัญหาการเมือง ในที่สุดการแก้ปัญหาความขัดแย้งชายแดนภาคใต้นี้ต้องทำโดยรัฐบาล
เกษียร เตชะพีระ
...ก้าวต่อไปที่น่าจะเป็นของงานการเมืองฝ่ายรัฐบาลคือการรุกด้วยข้อเสนอรูปธรรมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ใช้สิทธิอำนาจตามกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในการบริหารท้องถิ่นตนเองมากขึ้น ข้อเสนอนี้จะเป็นตัวช่วงชิงชนะใจมวลชน และกดดันปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบให้ยอมรับทางออกทางการเมืองในที่สุด... 
เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
ฝ่ายซ้ายมองสฤษดิ์เห็นเป็น "นัสเซอร์" ส่วนฝ่ายขวามองสฤษดิ์เห็นเป็น "เดอโกล" ส่วนสฤษดิ์นั้นเอาเข้าจริงเห็นตัวเองเป็น "พ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ" ผู้ฉีกรัฐธรรมนูญ ล้มประชาธิปไตย "แบบตะวันตก" กวาดล้างขุดรากถอนโคนมรดกการปฏิวัติ 2475 ทั้งทางสัญลักษณ์และโครงสร้างกฎหมาย เพื่อสร้าง "ประชาธิปไตยแบบไทย " โดยอิงอาศัยความชอบธรรมจากสถาบันกษัตริย์
เกษียร เตชะพีระ
เรื่องให้ฝ่ายรัฐควักเงินหลวงมาจ่ายส่วนต่างค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับเพิ่มจากเดิมนั้น เป็นไปไม่ได้ ฝันลม ๆ แล้ง ๆ ไม่มีเยี่ยงอย่างที่ไหนในโลกทำกันครับ
เกษียร เตชะพีระ
มาตรา ๑๗๑ วรรคสี่ ของ รัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันคนอย่างทักษิณ สะท้อนความหวาดระแวง - ไม่ไว้วางใจที่คณะผู้ร่าง รธน.ที่มีต่อตัวอดีตนายกฯทักษิณ และ เสียงข้างมากในสภาและเสียงสนับสนุนของประชาชนอีกชั้นหนึ่งเช่นกัน
เกษียร เตชะพีระ
ถึงปี ๒๐๓๐ สหรัฐฯจะไม่ได้เป็นอภิมหาอำนาจแบบที่เห็นอยู่ปัจจุบันอีกต่อไป, เศรษฐกิจจีนจะใหญ่ที่สุดในโลกและจะเติบโตไปแบบนั้นได้ต้องแก้ปัญหาใหญ่ ๒ อย่างใหญ่ ๆ จีนพึ่งพาทรัพยากรเข้มข้นในการเติบโต และทรัพยากรที่ว่ากำลังร่อยหรอ สังคมจีนกำลังชราภาพลงโดยเฉลี่ยอย่างรวดเร็ว, บทบาทของสหรัฐฯจะปรับเปลี่ยนเพราะโลกและนานาชาติคาดหวังให้สหรัฐฯทำตัวเป็นผู้บริหารจัดการจัดตั้งไกล่เกลี่ยหาทางออกข้อตกลงยุติความขัดแย้งรุนแรง
เกษียร เตชะพีระ
ความยุติธรรมที่ผู้มาทีหลังควรได้ร่วมบริโภคและยกระดับมาตรฐานการครองชีพดีขึ้นอย่างเท่าเทียม, กโลบายกระตุ้นเศรษฐกิจและอุ้มอุตสาหกรรมรถยนต์, ขีดจำกัดทางสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและชีวิตเมืองของการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล