Skip to main content

นิธิอ่านสถานการณ์ปัจจุบัน: การลงร่องของกระฎุมพีไทย → ขีดจำกัดของการเคลื่อนไหวมวลชนภายใต้กระฎุมพีเสรีนิยมปัจจุบัน

Kasian Tejapira (20/5/56)

1) จับประเด็นเก็บความสังเขปจาก: “การลงร่องของกระฎุมพีไทย”, มติชนสุดสัปดาห์, ๓ – ๙ พ.ค. ๒๕๕๖, น.๓๐.


- อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ อ้างอิงใช้งานประวัติศาสตร์ลือชื่อของ Eric Hobsbawm เรื่อง The Age of Revolution, 1789-1848 (1962) เป็นหลักเพื่อเปรียบเทียบวิเคราะห์การเคลื่อนไหว “ปฏิวัติ” ครั้งต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ไทยถึงปัจจุบัน


- เรื่องแรกที่สนใจคือ พลวัตของการแตกแยกทางการเมืองในหมู่นักปฏิวัติกระฎุมพีหลังชนะยึดอำนาจรัฐได้ (งานแนวนี้อีก เรื่องที่น่าสนใจนำมาศึกษาเปรียบเทียบคือ Crane Brinton, The Anatomy of Revolution, 1938) กระบวนการคร่าว ๆ มักเป็นดังนี้คือ: -


- แรงขับเคลื่อนเรียกร้องผลักดันของมวลชน → ปีกซ้ายของการปฏิวัติ → นำการปฏิวัติสังคม (รื้อระเบียบ เศรษฐกิจสังคมมูลฐาน)
- พวกเดินสายกลางปฏิรูปรับไม่ได้กับการเอียงซ้าย-ปฏิวัติสังคม → พยายามจำกัดการปฏิวัติไว้แค่ปริมณฑล การเมือง (โครงสร้างอำนาจการเมืองการปกครองเท่านั้น) → หันไปร่วมมือกับพวกจารีตนิยม/กลุ่มอำนาจเดิมกลายเป็น ฝ่ายขวา


- อ.นิธิเห็นว่า “การปฏิวัติ” ครั้งต่าง ๆ ที่มีมาในไทย (ใช้ในความหมายหลวมกว้างที่รวมเอา ๒๔๗๕, ๒๕๑๖, ๒๕๓๕, และปัจจุบันได้ด้วย) เหมือนประสบการณ์การปฏิวัติกระฎุมพีฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๗๘๙ แต่ต่างจากการปฏิวัติสังคมนิยม-คอมมิวนิสต์ในรัสเซีย ค.ศ. ๑๙๑๗ และจีน ค.ศ. ๑๙๔๙


- กล่าวคือ ลักษณะเด่นของการปฏิวัติไทย ได้แก่ no core leadership, no organization, no program, no concerted systemic efforts at ideological propaganda or mass mobilization, มีแต่การสร้างอารมณ์ร่วม


- “การปฏิวัติ” ของไทยแต่ละครั้งอาจไม่ขาดหมดเสียทุกอย่าง แต่มีบางอย่าง เช่น ปฏิวัติ ๒๔๗๕ มีคณะราษฎรเป็นแกนนำ หลวม ๆ อยู่, ปฏิวัติ ๒๕๑๖ มีฐานมวลชนกว้างขวาง, เป็นต้น แต่กล่าวโดยรวมแล้ว ค่อนข้างขาดสิ่งเหล่านี้ทำให้การปฏิวัติ มีขีดจำกัด (อ.นิธิเอ่ยผ่าน ๆ ว่า การเคลื่อนไหวปฏิวัติของ พคท. มีแกนนำ การจัดตั้ง หลักนโยบายและการปลุกระดมมวลชน ทว่าปฏิวัติแพ้…..)


- ข้อน่าสนใจคือการประเมินรัฐธรรมนูญปฏิรูปการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๐ และการเคลื่อนไหวมวลชนในปัจจุบัน


- นิธิเสนอว่า ภายใต้การนำของเครือข่ายนักปฏิรูปสังคม “รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ทำให้เกิดการเมืองมวลชนขึ้นเป็นครั้งแรก” นี่นับเป็นการประเมินที่กว้างขวางต่างไปจากข้อประเมินของ อุเชนทร์ เชียงแสน ในวิทยานิพนธ์ปริญญาโทของเขา อุเชนทร์ เสนอการวิเคราะห์ตีความที่น่าสนใจว่า รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ทำให้การเมืองภาคประชาชนกลายเป็นสถาบัน (คือกลายเป็น แบบแผนปฏิบัติและมีพื้นที่อำนาจทางการในระบบการเมืองการปกครองขึ้นมา) ดูเหมือนข้อเสนอนี้ใกล้เคียงล้อกันกับ ของ อ.นิธิ จุดต่างน่าจะอยู่ตรงอุเชนทร์จำกัดว่าเฉพาะ “การเมืองภาคประชาชน” เท่านั้นที่กลายเป็นสถาบัน ขณะที่นิธิเห็นว่า “การเมืองมวลชน” โดยรวมเลย กล่าวคือ มวลชนระดับล่างได้อาศัยช่องทางในรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ เข้าร่วมกระบวนการวาง และกำหนดนโยบายผ่านการเลือกตั้งและเคลื่อนไหวกดดันอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก (ในคุณภาพและระดับที่ต่างจาก ลำพังการเคลื่อนไหวมวลชนในอดีตที่ผ่านมา เช่น ช่วง ๑๔ - ๖ ตุลาฯ, ช่วงหลังพฤษภาฯ ๒๕๓๕ เป็นต้น)


- นิธิยังวิเคราะห์ต่อว่า เครือข่ายนักปฏิรูปสังคมและอำนาจนำตามประเพณี เสียอำนาจการนำและอิทธิพลลงไปจาก การเมืองมวลชนที่เกิดขึ้นโดยรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ทั้งสองฝ่ายจึงร่วมมือกันทำรัฐประหาร ๒๕๔๙ เพื่อโค่นล้มการเมืองมวล ชนลงเสีย สรุปคือ

[เครือข่ายนักปฏิรูปสังคม + อำนาจนำตามประเพณี = รัฐประหาร ๒๕๔๙ vs. การเมืองมวลชน]


-อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการเมืองมวลชนปัจจุบันมีลักษณะจุดอ่อนเป็นข้อจำกัดร่วมกันกับการปฏิวัติไทยครั้งอื่น ๆ ที่ผ่านมา ในอดีต กล่าวคือ:

- ไม่มีหลักนโยบายชัดเจนว่าจะนำพาสังคมไทยทางไหน ไม่ว่าในระดับปฏิวัติสังคมหรือปฏิรูปสังคม
- ประเด็นการเรียกร้องจึงเริ่มแตกฉานซ่านกระจายเป็นกรณีเฉพาะราย single issues
- นำไปสู่สภาพที่แกนนำกระฎุมพีเสรีนิยมแตกแยกแย่งอำนาจกันเอง
- และหันไปร่วมมือกับกลุ่มอำนาจเดิมตามลำดับ
→ จะนำไปสู่การเมืองกระฎุมพีปกติ/การเมืองอย่างที่มันเคยเป็น ๆ มาในที่สุด

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ปม ‘พล.ท.นันทเดช’ นำเสนอเกรดของ 7 นักศึกษา 'ดาวดิน' ระบุเกรดไม่ดี จวกไม่เคยคิดเรียน ‘เกษียร’ สวนชกเด็กใต้เข็มขัด ชี้ไม่ควรลืมว่า ‘Steve Jobs’ ก็เรียนไม่จบ ระบุสำหรับนักศึกษาที่ทำกิจกรรม การเรียนย่อมได้รับผลกระทบบ้างเป็นธรรมดา
เกษียร เตชะพีระ
ตอบกระทู้พันทิป หลังมีผู้เรียกร้องให้ประเทศไทยยกเลิกการให้ทุนการศึกษาต่างประเทศสำหรับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ โดยยกตัวอย่าง ‘สมศักดิ์-วรเจตน์’
เกษียร เตชะพีระ
รายงานของ Freedom House ชี้ ปี 2014 เป็น “ปีที่หม่นหมองเป็นพิเศษ” เกิดการปะทุของการก่อการร้ายรุนแรงและยุทธวิธีที่ก้าวร้าวทั่วโลก ระบุตะวันออกกลางสูญเสียเสรีภาพชัดเจนสุด พร้อมฟันธงว่าความผิดพลาดใหญ่ที่สุดที่ระบอบประชาธิปไตยจะทำลงไปคือการยอมรับความคิดว่าไม่มีปัญญาจะทำอะไรได้เมื่อเผชิญกับจอมเผด็จการที่ใช้กำลังหรือข่มขู่คุกคาม กลับเป็นปุถุชนพลเมืองสามัญต่างหากผู้พร้อมจะลุกขึ้นมาท้าทายผู้ปกครองเหล่านี้
เกษียร เตชะพีระ
"มาตรา 10 ของ ร่าง พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ขยายอำนาจการดักจับ แฮ็กบัญชี ยึดคอมพิวเตอร์ แฮ็กระบบ อันนี้คือขยายอำนาจของเจ้าหน้าที่ จากที่เคยต้องขอหมายศาล พรบ. แก้ใหม่ ไม่ต้องขอหมายศาล ทำได้เลย แล้วคนพวกนี้เป็นใคร ไม่รู้" จอห์น วิญญู กล่าวในรายงานเจาะข่าวตื้น ผมเห็นด้วยกับคุณจอห์น วิญญู และชอสนับสนุนด้วยข้อถกเถียงจากมุมมองหลักนิติธรรม (the rule of law) 
เกษียร เตชะพีระ
พม่าเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างในไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผ่อนคลายการจำกัดปิดกั้นสื่อมวลชนลง และปล่อยตัวนักโทษการเมือง การลงทุนต่างชาติเพิ่มพูนขึ้น แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในกองทัพพม่า ปัจจุบันพม่ากำลังเตรียมการเลือกตั้งในปีใหม่นี้ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ทว่าน่าวิตกว่ากระบวนการปฏิรูปกำลังตกอยู่ในสภาพล่อแหลมต่ออันตราย
เกษียร เตชะพีระ
วิพากษ์ข้อเสนอหลักของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยนายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส.หรือสังกัดพรรคการเมือง, ส.ส. มาจากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม และส.ว.ไม่เกิน ๒๐๐ คนมาจากการแต่งตั้งและคัดสรร ไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ฯลฯ
เกษียร เตชะพีระ
รายงานล่าสุด ILO ชี้ค่าแรงยังต่ำ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในโลกยิ่งเพิ่ม, ค่าจ้างประเทศรวยสูงกว่าประเทศจน 3 เท่า, การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ทำให้คนตกงานเว้ยเฮ้ย! 
เกษียร เตชะพีระ
ความคิดเห็นต่อเนื่องจากกรณีที่เกิดกระเเสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ ถึงกรณีที่มีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเขียนโน้ตถึงอาจารย์ที่ปรึกษาให้ติดต่อกลับ  โดยระบุถึงสิ่งที่สำคัญมากกว่าในความเป็นจริงที่เกิดขึ้น คือ ...
เกษียร เตชะพีระ
ในฐานะที่ "รัฐ" ตามคำนิยามของเวเบอร์ 1. สิทธิผูกขาดเหนือการใช้กำลังทางกายภาพหรือนัยหนึ่งการใช้ความรุนแรง 2. โดยชอบธรรม และ 3 ภายในอาณาเขตหนึ่งๆ
เกษียร เตชะพีระ
ข้อแนะนำถึงคสช.และรัฐบาล. คืนความปกติให้สังคมเศรษฐกิจไทยมากที่สุด ลดมาตรการใช้อำนาจผิดปกติให้เหลือต่ำสุด ความแตกต่างขัดแย้งทางความคิดเห็นและผลประโยชน์ในสังคมพหุนิยมที่มีความแตกต่างหลากหลายเป็นเรื่องปกติ
เกษียร เตชะพีระ
สำหรับผมและเพื่อนพ้อง “คนเดือนตุลา” จำนวนหนึ่ง รัฐประหาร ๒๒ พ.ค. ที่ผ่านมาเป็นเรื่องน่าเศร้าเสียใจยิ่ง