Skip to main content

 

Kasian Tejapira(7/7/56)

๑) เป็นเวลาหลายสิบปีหลังการปฏิวัติโค่นระบอบกษัตรย์ของนายพลนัสเซอร์ ต่อมายุคประธานาธิบดีซาดัตและมูบารัค กองทัพอียิปต์ได้รับอภิสิทธิ์ทางเศรษฐกิจ สวัสดิการ ธุรกิจ งบประมาณและเงินช่วยเหลือจากอเมริกามหาศาล เรากำลังพูดถึง "กงสียักษ์" ที่มีธุรกิจท่องเที่ยวโรงแรมรีสอร์ตของตัวเอง, มีอพาร์ตเมนท์ที่พักอย่างดีและร้านค้าพิเศษราคาย่อมเยาสำหรับนายทหารและครอบครัว, มีโรงงานผลิตสินค้าต่าง ๆ ของตัวเอง ดังนั้นรากทางผลประโยชน์และค่าเช่าเศรษฐกิจของกองทัพอียิปต์หยั่งรากลึกมากและแผ่กว้างมหาศาล (เป็นสาเหตุหนึ่งของความขัดแย้งระหว่างกงสีกองทัพกับลูกชายมูบารัคที่หันไปผลักดันแนวทางเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่/privatization)


๒) ในการลุกฮือปฏิวัติของมวลชน+รัฐประหารของสภากลาโหมอียิปต์เพื่อโค่นประธานาธิบดีมูบารัคจอมเผด็จการเมื่อสองปีก่อน กองทัพอียิปต์ฉวยโอกาสถือหางทั้งสองข้างและฆ่าคนทั้งสองฝ่ายอย่างถึงที่สุด แม้ตอนจบ พวกนายทหารจะออกมาประกาศหนุนมวลชน บีบมูบารัคให้ลาออก และยืนดูเฉยขณะมวลชนบุกเผาที่ทำการใหญ่ของพรรคมูบารัค แต่ขณะเดียวกัน มวลชนฝ่ายต่อต้านมูบารัคเกือบพันที่ล้มตาย ถูกอุ้มหาย โผล่อีกทีกลายเป็นศพ ก็เป็นฝีมือทหารทำเหมือนกัน ทั้งนี้เป็นไปตามรายงานของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงที่ประธานาธิบดีมอร์ซีตั้งขึ้นมาเอง (http://www.dignityinstitute.org/servicenavigation/news-and-activities/international-news/2013/04/egypt%27s-army-took-part-in-torture-and-killings-during-revolution-the-guardian.aspx)

๓) แต่ทหารไม่ต้องกลัวว่าจะโดนดำเนินคดี เพราะ(อดีต)ประธานาธิบดีมอร์ซีได้ deal กับทหารไว้เรียบร้อยแล้ว ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หลังปฏิวัติโค่นมูบารัคที่มอร์ซีตั้งคณะกรรมการ (ส่วนใหญ่เป็นคนของ Muslim Brotherhood) ร่างเองแล้วโหวตผ่านประชามติมาแล้วนั้น มีมาตราที่ยกทหารไว้ว่าจะดำเนินคดีต่อพวกเขาได้ก็แต่โดยศาลทหารเท่านั้น ไม่ต้องมาขึ้นศาลพลเรือนปกติ ดังนั้นเมื่อรายงานอื้อฉาวดังกล่าวแพลมออกมา มอร์ซีก็เหยียบมันไว้เฉย ๆ ไม่ทำอะไร ไม่ดำเนินคดีกับบรรดานายทหารเก่าทีรับผิดชอบปราบฆ่าประชาชนตอนปฏิวัติโค่นมูบารัคดังกล่าว หรือต่อให้ดำเนินคดี คงยากมาก ๆ ที่ศาลทหารจะตัดสินเอาผิดกับบรรดานายทหารด้วยกันเอง

๔) ดังนั้นหลังปฏิวัติโค่นมูบารัคสองปีที่ผ่านมา ทหารยังคงบิดเบือนฉวยใช้อำนาจ เล่นรังแกสิทธิมนุษยชนของผู้ชุมนุมและประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ไม่หยุดหย่อน ไม่ว่าบังคับตรวจพรหมจรรย์ผู้ชุมนุมหญิงในเวลาค่ำคืน, ฆ่าหมู่ผู้ชุมนุมชาวคริสเตียนคอพติคยี่สิบกว่าคน ฯลฯ โดยไม่ต้องห่วงว่าใครจะทำอะไรกับตนทางกฎหมายได้

๕) ในการลุกฮือของมวลชน+รัฐประหารโดยทหารโค่นประธานาธิบดีมอร์ซีล่าสุด ฝ่ายเศษเดนสมุนมูบารัคก็ออกมาเอาคืนเช่นกัน โดยรุมกระทืบรัฐบาลมอร์ซีอย่างสมแค้น แต่มีแนวทางชัดเจนว่า เรียกร้องให้ทหารออกมารัฐประหารโค่นมอร์ซีเสีย โดยเป็นกระบอกเสียงป่าวร้องทางสื่อมวลชนสารพัดขอให้ทหารเข้ามากุมกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย อย่าปล่อยให้มอร์ซี Muslim Brotherhood หรือคนอื่นทำ ซึ่งในที่สุดคำเรียกร้องของพวกสมุนมูบารัคเก่าก็ปรากฏเป็นจริง

สรุป กองทัพอียิปต์เป็นสิ่งมีชีวิตทางการเมืองที่น่าสนใจมาก แปลงสีได้ตามสภาพแวดล้อมเหมือนกิ้งก่า, ไม่ซื่อกับใครเหมือนงูในอ้อมอกชาวนา, และแว้งกัดทุกฝ่ายรวมทั้งประชาชนด้วย

นี่คือสถาบันที่กำลังดูแลการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยของอียิปต์ปัจจุบันจ้า.....

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ปม ‘พล.ท.นันทเดช’ นำเสนอเกรดของ 7 นักศึกษา 'ดาวดิน' ระบุเกรดไม่ดี จวกไม่เคยคิดเรียน ‘เกษียร’ สวนชกเด็กใต้เข็มขัด ชี้ไม่ควรลืมว่า ‘Steve Jobs’ ก็เรียนไม่จบ ระบุสำหรับนักศึกษาที่ทำกิจกรรม การเรียนย่อมได้รับผลกระทบบ้างเป็นธรรมดา
เกษียร เตชะพีระ
ตอบกระทู้พันทิป หลังมีผู้เรียกร้องให้ประเทศไทยยกเลิกการให้ทุนการศึกษาต่างประเทศสำหรับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ โดยยกตัวอย่าง ‘สมศักดิ์-วรเจตน์’
เกษียร เตชะพีระ
รายงานของ Freedom House ชี้ ปี 2014 เป็น “ปีที่หม่นหมองเป็นพิเศษ” เกิดการปะทุของการก่อการร้ายรุนแรงและยุทธวิธีที่ก้าวร้าวทั่วโลก ระบุตะวันออกกลางสูญเสียเสรีภาพชัดเจนสุด พร้อมฟันธงว่าความผิดพลาดใหญ่ที่สุดที่ระบอบประชาธิปไตยจะทำลงไปคือการยอมรับความคิดว่าไม่มีปัญญาจะทำอะไรได้เมื่อเผชิญกับจอมเผด็จการที่ใช้กำลังหรือข่มขู่คุกคาม กลับเป็นปุถุชนพลเมืองสามัญต่างหากผู้พร้อมจะลุกขึ้นมาท้าทายผู้ปกครองเหล่านี้
เกษียร เตชะพีระ
"มาตรา 10 ของ ร่าง พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ขยายอำนาจการดักจับ แฮ็กบัญชี ยึดคอมพิวเตอร์ แฮ็กระบบ อันนี้คือขยายอำนาจของเจ้าหน้าที่ จากที่เคยต้องขอหมายศาล พรบ. แก้ใหม่ ไม่ต้องขอหมายศาล ทำได้เลย แล้วคนพวกนี้เป็นใคร ไม่รู้" จอห์น วิญญู กล่าวในรายงานเจาะข่าวตื้น ผมเห็นด้วยกับคุณจอห์น วิญญู และชอสนับสนุนด้วยข้อถกเถียงจากมุมมองหลักนิติธรรม (the rule of law) 
เกษียร เตชะพีระ
พม่าเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างในไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผ่อนคลายการจำกัดปิดกั้นสื่อมวลชนลง และปล่อยตัวนักโทษการเมือง การลงทุนต่างชาติเพิ่มพูนขึ้น แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในกองทัพพม่า ปัจจุบันพม่ากำลังเตรียมการเลือกตั้งในปีใหม่นี้ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ทว่าน่าวิตกว่ากระบวนการปฏิรูปกำลังตกอยู่ในสภาพล่อแหลมต่ออันตราย
เกษียร เตชะพีระ
วิพากษ์ข้อเสนอหลักของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยนายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส.หรือสังกัดพรรคการเมือง, ส.ส. มาจากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม และส.ว.ไม่เกิน ๒๐๐ คนมาจากการแต่งตั้งและคัดสรร ไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ฯลฯ
เกษียร เตชะพีระ
รายงานล่าสุด ILO ชี้ค่าแรงยังต่ำ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในโลกยิ่งเพิ่ม, ค่าจ้างประเทศรวยสูงกว่าประเทศจน 3 เท่า, การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ทำให้คนตกงานเว้ยเฮ้ย! 
เกษียร เตชะพีระ
ความคิดเห็นต่อเนื่องจากกรณีที่เกิดกระเเสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ ถึงกรณีที่มีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเขียนโน้ตถึงอาจารย์ที่ปรึกษาให้ติดต่อกลับ  โดยระบุถึงสิ่งที่สำคัญมากกว่าในความเป็นจริงที่เกิดขึ้น คือ ...
เกษียร เตชะพีระ
ในฐานะที่ "รัฐ" ตามคำนิยามของเวเบอร์ 1. สิทธิผูกขาดเหนือการใช้กำลังทางกายภาพหรือนัยหนึ่งการใช้ความรุนแรง 2. โดยชอบธรรม และ 3 ภายในอาณาเขตหนึ่งๆ
เกษียร เตชะพีระ
ข้อแนะนำถึงคสช.และรัฐบาล. คืนความปกติให้สังคมเศรษฐกิจไทยมากที่สุด ลดมาตรการใช้อำนาจผิดปกติให้เหลือต่ำสุด ความแตกต่างขัดแย้งทางความคิดเห็นและผลประโยชน์ในสังคมพหุนิยมที่มีความแตกต่างหลากหลายเป็นเรื่องปกติ
เกษียร เตชะพีระ
สำหรับผมและเพื่อนพ้อง “คนเดือนตุลา” จำนวนหนึ่ง รัฐประหาร ๒๒ พ.ค. ที่ผ่านมาเป็นเรื่องน่าเศร้าเสียใจยิ่ง