เราได้ยินได้เห็นมานานแล้วว่า "ทุนนิยมคือการทำทุกอย่างให้เป็นสินค้า" (Capitalism is the commodification of everything. - Immanuel Wallerstein)
ทุกอย่าง ไม่ยกเว้น รวมทั้งซอกหลืบทุกส่วนของอวัยวะร่างกายคน
ส่วนของผู้หญิงที่เพิ่งโดนทำให้เป็นสินค้าไปสด ๆ ร้อน ๆ ไม่เกินสิบปีที่ผ่านมาคือ "วงแขน"
วิธีการซับซ้อนหลากหลายขั้นตอน เช่น
- เปลี่ยนคำเรียกอวัยวะซอกหลืบส่วนนั้นของผู้หญิงจาก "จั๊กกะแร้" หรือ "รักแร้" หรือ "ซอกแขน" มาเป็นคำบัญญัติใหม่ที่ไม่มีมาก่อนในพจนานุกรมแต่ฟังละมุนหูกว่าเยอะเบย คือ "วงแขน"
- พา "วงแขน" ออกมาสู่ที่สาธารณะ ทำให้มันเห็นได้ visible ไม่อยู่ใต้ร่มผ้า --> ปรากฏต่อสาธารณะได้ publicized --> และโชว์แสดงเป็นที่ดึงดูดความสนใจของเพศตรงข้ามได้ showy --> โดยสถาปนาคุณสมบัติต่อเติมพิเศษผิดปกติวิสัยธรรมชาติให้จั๊กกะแร้ ได้แก่ แห้ง, ขาว, หอม (dry, whitish, perfumed) --> จนมันกลายเป็นสัญญาะแห่งปมเด่น/ปมด้อยข่มทับกันของความเป็นหญิง signifier of superiority/inferiority complex of womanhood or female sexuality
- จากนี้ก็ง่ายแล้วล่ะครับ แค่จัดการ commodify วงแขนผ่านครีมทานานาชนิดที่จะเปลี่ยนจั๊กกะแร้แฉะ-ดำ-เหม็น ธรรมชาติธรรมดาของคุณให้กลายเป็นวงแขนแห้ง-ขาว-หอมในอุดมคติ (ที่ถูกบัญญัติให้เป็นปกติธรรมดาของวงแขนทั่วไป) ในราคาเท่านั้นเท่านี้บาทเท่านั้นเอง
การที่กองบรรณาธิการนสพ.รายสัปดาห์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยซิดนีย์ Honi Soit ลงพิมพ์ปกรูปอวัยวะเพศของหญิง ๑๘ คนเพื่อแสดงให้เห็นว่ามันมีความหลากหลายแตกต่างเป็นปกติธรรมดา ไม่ได้เป็นและไม่จำต้องเป็น "วงขา" อุดมคติอย่างในหนังโป๊เปลือยทั้งหลาย จึงเป็นย่างก้าวสำคัญในการเตะสกัดกระบวนการทำอวัยวะผู้หญิงให้เป็นสินค้าในตลาดทุนนิยม ก่อนมันจะรุกคืบหน้าจากวงแขนลงไปข้างล่าง....
ภาพจาก www.theguardian.com
แต่น่าเสียดาย มันโดยแบนเสียก่อนเพราะถูกหาว่า "อนาจาร" ในทางกลับกัน เพราะโดนแบน ปกดังกล่าวจึงดังระเบิดและหวังว่า "สาส์น" ที่กองบก. Honi Soit อยากสื่อจะตามไปถึงด้วย
บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
เหนืออำนาจรัฐ ยังมีอำนาจทุน: อองซานซูจี วีรสตรีผู้ยืนหยัดต้านอำนาจรัฐเผด็จการทหารพม่า อ่อนข้อให้อำนาจทุนจีน
เกษียร เตชะพีระ
...ในทุก trust มี risk แฝงฝังอยู่อย่างมิอาจปัดป่ายบ่ายเบี่ยงเป็นอื่นได้ ก็เพราะ trust มันทำงานอย่างนี้ คือไม่เป็นทางการ ไม่มีกฎหมายครอบงำกำกับ มันหลวม ๆ สบตาเอ่ยปากขอรู้ไจวางใจกัน และความหลวมนี่แหละทำให้ทุกอย่างดำเนินการไปได้อย่างสะดวกราบรื่น ด้วยความไว้วางใจที่มีต่อกัน และฉะนั้นมันจึงเปิดช่องให้ trust ถูก abused ได้..
เกษียร เตชะพีระ
ความขัดแย้งชายแดนภาคใต้ กองทัพแก้ไม่ได้ เพราะโดยเนื้อแท้มันไม่ใช่ปัญหาการทหาร แต่เป็นปัญหาการเมือง ในที่สุดการแก้ปัญหาความขัดแย้งชายแดนภาคใต้นี้ต้องทำโดยรัฐบาล
เกษียร เตชะพีระ
...ก้าวต่อไปที่น่าจะเป็นของงานการเมืองฝ่ายรัฐบาลคือการรุกด้วยข้อเสนอรูปธรรมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ใช้สิทธิอำนาจตามกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในการบริหารท้องถิ่นตนเองมากขึ้น ข้อเสนอนี้จะเป็นตัวช่วงชิงชนะใจมวลชน และกดดันปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบให้ยอมรับทางออกทางการเมืองในที่สุด...
เกษียร เตชะพีระ
ฝ่ายซ้ายมองสฤษดิ์เห็นเป็น "นัสเซอร์" ส่วนฝ่ายขวามองสฤษดิ์เห็นเป็น "เดอโกล" ส่วนสฤษดิ์นั้นเอาเข้าจริงเห็นตัวเองเป็น "พ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ" ผู้ฉีกรัฐธรรมนูญ ล้มประชาธิปไตย "แบบตะวันตก" กวาดล้างขุดรากถอนโคนมรดกการปฏิวัติ 2475 ทั้งทางสัญลักษณ์และโครงสร้างกฎหมาย เพื่อสร้าง "ประชาธิปไตยแบบไทย " โดยอิงอาศัยความชอบธรรมจากสถาบันกษัตริย์
เกษียร เตชะพีระ
เรื่องให้ฝ่ายรัฐควักเงินหลวงมาจ่ายส่วนต่างค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับเพิ่มจากเดิมนั้น เป็นไปไม่ได้ ฝันลม ๆ แล้ง ๆ ไม่มีเยี่ยงอย่างที่ไหนในโลกทำกันครับ
เกษียร เตชะพีระ
มาตรา ๑๗๑ วรรคสี่ ของ รัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันคนอย่างทักษิณ สะท้อนความหวาดระแวง - ไม่ไว้วางใจที่คณะผู้ร่าง รธน.ที่มีต่อตัวอดีตนายกฯทักษิณ และ เสียงข้างมากในสภาและเสียงสนับสนุนของประชาชนอีกชั้นหนึ่งเช่นกัน
เกษียร เตชะพีระ
ถึงปี ๒๐๓๐ สหรัฐฯจะไม่ได้เป็นอภิมหาอำนาจแบบที่เห็นอยู่ปัจจุบันอีกต่อไป, เศรษฐกิจจีนจะใหญ่ที่สุดในโลกและจะเติบโตไปแบบนั้นได้ต้องแก้ปัญหาใหญ่ ๒ อย่างใหญ่ ๆ จีนพึ่งพาทรัพยากรเข้มข้นในการเติบโต และทรัพยากรที่ว่ากำลังร่อยหรอ สังคมจีนกำลังชราภาพลงโดยเฉลี่ยอย่างรวดเร็ว, บทบาทของสหรัฐฯจะปรับเปลี่ยนเพราะโลกและนานาชาติคาดหวังให้สหรัฐฯทำตัวเป็นผู้บริหารจัดการจัดตั้งไกล่เกลี่ยหาทางออกข้อตกลงยุติความขัดแย้งรุนแรง
เกษียร เตชะพีระ
ความยุติธรรมที่ผู้มาทีหลังควรได้ร่วมบริโภคและยกระดับมาตรฐานการครองชีพดีขึ้นอย่างเท่าเทียม, กโลบายกระตุ้นเศรษฐกิจและอุ้มอุตสาหกรรมรถยนต์, ขีดจำกัดทางสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและชีวิตเมืองของการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล