Skip to main content

Kasian Tejapira(29 ก.ย.56)

เรื่องของเรื่องคือเราอยู่ในสังคมการเมืองที่มากไปด้วยมรดกของการใช้อำนาจรัฐปิดปากฝ่ายค้านและผู้มีความเห็นต่างไม่ให้ออกสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นปกติธรรมดามานานปี
 
ดังนั้นเมื่อมีการระงับออกรายการ ไม่ว่าด้วยเหตุผลกลใด (เหนือเมฆ, คนค้นคนตอนศศิน, ฯลฯ) เราจึงคิดแบบแทบจะอัตโนมัติ/เป็นสัญชาตญาณเลยว่า "รัฐบาล", "หน่วยราชการ", "นักการเมือง" แทรกแซงให้แบนอีกแล้ว
 
ในดงความเชื่อที่หนาแน่นเพราะอยู่บนฐานประสบการณ์จริงนานปีอย่างนี้ ไม่ว่าความจริงจะเป็นเช่นไร? ก็อาจไม่สามารถฝ่าดงความเชื่อทะลุลอดมาได้
 
นอกจากนี้ วัฒนธรรมการเมืองกระแสหลักของไทยมี 4 ไม่คุ้น คือ 
 
1) ไม่คุ้นกับความขัดแย้งทางความคิด ยึดติดกับความเชื่อธรรมชาติแบบอำนาจนิยมไทยที่ว่า "รู้รักสามัคคี" = "ว่าอะไรว่าตามกัน" และ "ตามผู้นำ" รู้สึกว่าการทะเลาะวิวาทะผิดธรรมชาติ ผิดวัฒนธรรม ผิดธรรมเนียมความเป็นไทย ไม่ควรทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทะเลาะกับผู้กุมอำนาจหรือกระแสหลักหรือเสียงส่วนใหญ่ของสังคม 
 
2) ไม่คุ้นกับสถานการณ์แยกขั้วทางการเมืองรุนแรงสุดโต่งนานปี ดังที่ได้เกิดขึ้นในหลายปีหลังนี้ ดังนั้น reaction แทบว่าจะอัตโนมัติ/โดยสัญชาตญาณของผู้คุมสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลายคือกดเหยียบความขัดแย้งที่ระเบิดอยู่ในทางเป็นจริงข้างนอกไม่ให้มาปะทุออกหน้าจอ รักษาความสงบ ความไม่ขัดแย้ง ไม่มีเรื่อง เอาไว้ปลอดภัยดีกว่า ทำไมจะต้องเสี่ยงกับกรณีอื้อฉาวยุ่งยากวุ่นวายด้วย
 
3) แม้ในยามที่ตัดสินใจเปิดให้ความขัดแย้งมาแสดงออกหน้าจอสื่อด้วยเหตุผลข้อเท็จจริง ก็ไม่คุ้นกับความจริงที่ว่าดุลอำนาจในสังคมภายนอกไม่ได้เท่าเทียมกัน มีฝ่ายกุมอำนาจเหนือกว่าโดยเฉพาะอำนาจรัฐ/อำนาจทุน/อำนาจสื่อ/อำนาจปืน กับฝ่ายผู้ด้อยอำนาจกว่า ในภาวะความจริงข้างนอกไม่เท่าเทียมแบบนี้ การสร้างความเท่าเทียม (ให้มีความเห็นทั้งสองฝ่ายเท่า ๆ กัน) "เทียม" หรือ "จอมปลอม" ขึ้นบนหน้าจอ ก็เท่ากับตอกย้ำ ผดุงรักษาค้ำจุน ไม่เปลี่ยนแปลง ความไม่เท่าเทียมที่เป็นจริงข้างนอกนั่นเอง แทนที่จะ "เอียง" ไปทางเสียงของผู้ด้อยอำนาจ (รายการด้านเดียวของเสียงฝ่ายผู้ด้อยอำนาจก็ไม่เห็นจะเป็นไร หากคิดถึงเสียงดังท่วมท้นล้นสองหูของผู้กุมอำนาจภายนอกสื่อ) เพื่อถ่วงดุลปรับดุลชดเชยให้ความไม่เท่าเทียมทางอำนาจข้างนอกนั้น
 
4) ไม่คุ้นกับการใช้อำนาจทุนภาคเอกชนครอบงำสื่อผ่านการเป็นเจ้าของหรือผู้ควบคุมรายการ (สื่อเลือกข้างทุกสีทุกพรรคทุกเจ้าไม่ว่า ASTV, Bluesky, VoiceTV, TNN, ฯลฯ) ซื้อโฆษณาและโฆษณาแฝงอย่างด้านเดียวและแนบเนียน (ตกลงมันข่าวหรือความเห็น, โฆษณาชวนเชื่อหรือสารคดี?) ให้สารของทุนเอกชนท่วมท้นล้นหลามจนเสียงเห็นต่างแทบจะถูกกลบจมมิดหายไปในเวลาสื่อ และบรรดาเจ้าของและผู้ควบคุมสถานีและรายการทั้งหลายต่างก็พากันทึกทักว่าความไม่คุ้น = ไม่มีการครอบงำของอำนาจทุนเหนือสื่อใด ๆ ในทางเป็นจริง (อ้วก) ดังกรณีท่อส่งน้ำมันปตท.รั่วในอ่าวไทย, กรณีมลภาวะโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ เป็นตัวอย่าง
 
จะเปลี่ยนความไม่คุ้นเหล่านี้ได้ต้องใช้เวลา เป็นงานความคิดและวัฒนธรรมใหญ่และลึก ปมเงื่อนสำคัญคือต้องทำให้ราคาความชอบธรรมที่ต้องจ่ายเมื่อครอบงำ/เซ็นเซ่อร์สื่อแพงจนไม่มีใครอยากเซ็นเซ่อร์ เซ็นเซ่อร์แล้วไม่คุ้ม โดนด่าเสียหาย โดนระแวงมากกว่า นั่นอาจเป็นก้าวแรกแก่การค่อย ๆ รุล้างเลิก 3 ไม่คุ้นข้างต้น
 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ปม ‘พล.ท.นันทเดช’ นำเสนอเกรดของ 7 นักศึกษา 'ดาวดิน' ระบุเกรดไม่ดี จวกไม่เคยคิดเรียน ‘เกษียร’ สวนชกเด็กใต้เข็มขัด ชี้ไม่ควรลืมว่า ‘Steve Jobs’ ก็เรียนไม่จบ ระบุสำหรับนักศึกษาที่ทำกิจกรรม การเรียนย่อมได้รับผลกระทบบ้างเป็นธรรมดา
เกษียร เตชะพีระ
ตอบกระทู้พันทิป หลังมีผู้เรียกร้องให้ประเทศไทยยกเลิกการให้ทุนการศึกษาต่างประเทศสำหรับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ โดยยกตัวอย่าง ‘สมศักดิ์-วรเจตน์’
เกษียร เตชะพีระ
รายงานของ Freedom House ชี้ ปี 2014 เป็น “ปีที่หม่นหมองเป็นพิเศษ” เกิดการปะทุของการก่อการร้ายรุนแรงและยุทธวิธีที่ก้าวร้าวทั่วโลก ระบุตะวันออกกลางสูญเสียเสรีภาพชัดเจนสุด พร้อมฟันธงว่าความผิดพลาดใหญ่ที่สุดที่ระบอบประชาธิปไตยจะทำลงไปคือการยอมรับความคิดว่าไม่มีปัญญาจะทำอะไรได้เมื่อเผชิญกับจอมเผด็จการที่ใช้กำลังหรือข่มขู่คุกคาม กลับเป็นปุถุชนพลเมืองสามัญต่างหากผู้พร้อมจะลุกขึ้นมาท้าทายผู้ปกครองเหล่านี้
เกษียร เตชะพีระ
"มาตรา 10 ของ ร่าง พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ขยายอำนาจการดักจับ แฮ็กบัญชี ยึดคอมพิวเตอร์ แฮ็กระบบ อันนี้คือขยายอำนาจของเจ้าหน้าที่ จากที่เคยต้องขอหมายศาล พรบ. แก้ใหม่ ไม่ต้องขอหมายศาล ทำได้เลย แล้วคนพวกนี้เป็นใคร ไม่รู้" จอห์น วิญญู กล่าวในรายงานเจาะข่าวตื้น ผมเห็นด้วยกับคุณจอห์น วิญญู และชอสนับสนุนด้วยข้อถกเถียงจากมุมมองหลักนิติธรรม (the rule of law) 
เกษียร เตชะพีระ
พม่าเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างในไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผ่อนคลายการจำกัดปิดกั้นสื่อมวลชนลง และปล่อยตัวนักโทษการเมือง การลงทุนต่างชาติเพิ่มพูนขึ้น แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในกองทัพพม่า ปัจจุบันพม่ากำลังเตรียมการเลือกตั้งในปีใหม่นี้ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ทว่าน่าวิตกว่ากระบวนการปฏิรูปกำลังตกอยู่ในสภาพล่อแหลมต่ออันตราย
เกษียร เตชะพีระ
วิพากษ์ข้อเสนอหลักของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยนายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส.หรือสังกัดพรรคการเมือง, ส.ส. มาจากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม และส.ว.ไม่เกิน ๒๐๐ คนมาจากการแต่งตั้งและคัดสรร ไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ฯลฯ
เกษียร เตชะพีระ
รายงานล่าสุด ILO ชี้ค่าแรงยังต่ำ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในโลกยิ่งเพิ่ม, ค่าจ้างประเทศรวยสูงกว่าประเทศจน 3 เท่า, การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ทำให้คนตกงานเว้ยเฮ้ย! 
เกษียร เตชะพีระ
ความคิดเห็นต่อเนื่องจากกรณีที่เกิดกระเเสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ ถึงกรณีที่มีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเขียนโน้ตถึงอาจารย์ที่ปรึกษาให้ติดต่อกลับ  โดยระบุถึงสิ่งที่สำคัญมากกว่าในความเป็นจริงที่เกิดขึ้น คือ ...
เกษียร เตชะพีระ
ในฐานะที่ "รัฐ" ตามคำนิยามของเวเบอร์ 1. สิทธิผูกขาดเหนือการใช้กำลังทางกายภาพหรือนัยหนึ่งการใช้ความรุนแรง 2. โดยชอบธรรม และ 3 ภายในอาณาเขตหนึ่งๆ
เกษียร เตชะพีระ
ข้อแนะนำถึงคสช.และรัฐบาล. คืนความปกติให้สังคมเศรษฐกิจไทยมากที่สุด ลดมาตรการใช้อำนาจผิดปกติให้เหลือต่ำสุด ความแตกต่างขัดแย้งทางความคิดเห็นและผลประโยชน์ในสังคมพหุนิยมที่มีความแตกต่างหลากหลายเป็นเรื่องปกติ
เกษียร เตชะพีระ
สำหรับผมและเพื่อนพ้อง “คนเดือนตุลา” จำนวนหนึ่ง รัฐประหาร ๒๒ พ.ค. ที่ผ่านมาเป็นเรื่องน่าเศร้าเสียใจยิ่ง