บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
-ซุนหลินปิง นักสังคมวิทยาชาวจีน ประเมินว่าจำนวน “กรณีมวลชน” ทั่วประเทศจีนได้ทะลุเลย ๑๘๐,๐๐๐ ครั้งไปแล้วเฉพาะในปี ค.ศ. ๒๐๑๐ มากกว่าสองเท่าของเมื่อปี ค.ศ. ๒๐๐๖ เสียอีก
-ขณะเดียวกัน งบประมาณแผ่นดินจีนที่จัดสรรให้งานรักษาความมั่นคงภายในในปี ๒๐๑๓ ก็ขึ้นถึง ๑๒๔,๐๐๐ ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ สูงกว่างบประมาณทหารเพื่อป้องกันประเทศจากภัยภายนอกด้วยซ้ำไป
-เหตุแห่งความทุกข์ยากเดือดร้อนขัดแย้งจนนำไปสู่การเคลื่อนไหวลุกฮือของมวลชนจีนมีหลายประการ เรียงตามลำดับจากหนักไปเบาได้ดังนี้:
๑) การรื้อไล่บ้านช่องที่อยู่อาศัยของชาวบ้านอย่างผิดกฎหมายเนื่องจากการพัฒนาและสร้างเมืองอย่างรวดเร็ว เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นทุจริตฉ้อฉลหากำไรจากโครงการพัฒนาผิดกฎหมายและปราบปรามชาวบ้านที่ต่อต้านอย่างโหดร้าย คุมขังชาวบ้านโดยพลการ ล่วงล้ำความเป็นส่วนตัวของประชาชน
๒) การรุกล้ำยึดครองที่ดินและเอาเปรียบแรงงาน เนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่ต้องรับผิด, แรงจูงใจให้ได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว, สหภาพแรงงานถูกพรรคคุม ไม่เป็นอิสระ, คนงานอพยพจากชนบทกว่า ๒๕๐ ล้านคนมีสิทธิจำกัดเนื่องจากระบบหูโข่ว (ระบบจดทะเบียนภูมิลำเนาท้องถิ่น), ศาลตุลาการไม่เป็นอิสระ
เกี่ยวกับเหตุ ๒ ข้อแรกนี้ ขอขยายข้อมูลการวิเคราะห์ว่ารัฐบาลท้องถิ่นทั่วประเทศจีนริบยึดที่ดินจากชาวบ้านชนบทโดยมิชอบราว ๓ – ๔ ล้านคนทุกปี, ทั่วประเทศมีชาวนาพลัดถิ่นด้วยเหตุนี้ราว ๕๐ ล้านคน, ๖๕% ของการประท้วงแต่ละปีก็เกิดจากเหตุนี้ สาเหตุเบื้องลึกเกิดจากรัฐบาลกลางยกเลิกภาษีเกษตรกรรมในปี ๒๐๐๖ รัฐบาลท้องถิ่นจึงหันไปหารายได้จากการขายที่ดินในท้องที่ให้นักพัฒนาอสังหาฯแทน จนรายได้จากการขายที่ดินอยู่ระหว่าง ๔๐ – ๗๔% ของรายได้รัฐบาลท้องถิ่นจีนทั้งหมด เมื่อประจวบกับรัฐบาลกลางเดินนโยบายลดความร้อนแรงของตลาดอสังหาฯลงด้วยมาตรการการเงิน/ดอกเบี้ย ส่งผลกระทบให้รายได้รัฐบาลท้องถิ่นลดลง แต่ในขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นกลับถูกประเมินผลงานจากการที่ตนกระตุ้น GDP ให้โตขึ้นได้เท่าไหร่ พวกเขาจึงหาทางออกโดยริบยึดที่ดินชาวบ้านไปขายให้นักพัฒนาฯโดยไม่จ่ายชดเชยชาวบ้านอย่างคุ้มค่าเป็นธรรมแทน
๓) การบอยคอตสินค้าแบบชาตินิยม มักพุ่งเป้าใส่ญี่ปุ่นเป็นหลัก
๔) ขาดเสรีภาพในการแสดงออก โดยเฉพาะทางสื่อมวลชนและการเซ็นเซ่อร์ชุมชนพลเมืองเน็ตออนไลน์ ทำให้คนชั้นกลางจำนวนมากที่ไม่สนใจการเมืองมาก่อนได้รับผลกระทบแรงกระแทกจากรัฐอำนาจนิยมลิดรอนสิทธิเสรีภาพจนกลับตื่นตัวเป็นนักเคลื่อนไหวไป เช่น เฉพาะเดือนส.ค. – ก.ย. ศกนี้ ทางการก็ได้ระดมจับกุมและกักบริเวณพลเมืองเน็ตจีนไปแล้วกว่า ๔๐๐ คน
๕) ปัญหาสิ่งแวดล้อมและสาธารณสุขซึ่งกระทบคนวงกว้างและเป็นช่องให้เกิดการเคลื่อนไหวรณรงค์ได้ยั่งยืน
ยุทธวิธีเคลื่อนไหวรณรงค์ของมวลชน มีอาทิ:
-ทำหนังสือร้องทุกข์ต่อทางการ
-แขวนป้ายผ้าในที่สาธารณะ
-ออกคำแถลงและจดหมายเปิดผนึกลงชื่อเป็นบัญชีหางว่าว
-ปฏิบัติการรวมหมู่นานารูปแบบเช่น นัดหยุดงาน, นั่งประท้วง, ปิดถนน, เดินขบวน, เปิดโรงเรียนการเมือง ฯลฯ
-ไว้อาลัยหรือไปคำนับหลุมศพบุคคลมีชื่อเพื่อแสดงออกทางการเมือง, อดข้าวประท้วง, แต่งชุดแฟนซีการเมือง, แสดงละครการเมือง
-นักกฎหมาย/นักกิจกรรมปกป้องสิทธิ์ ซึ่งคอยปกป้องสิทธิของนักเคลื่อนไหวที่ถูกรัฐข่มเหงคุกคามรังแกควบคุมตัว โดยวางบทบาทการเคลื่อนไหวของตัวเองอยู่ในระบบสถาบันของทางการ ด้วยภาษาวาทกรรมของรัฐ/พรรคผู้ละเมิดสิทธินั้นเอง
ตัวอย่างการเคลื่อนไหวครั้งเด่น ๆ:
-๒๐๐๔ คนงานหญิง ๖,๐๐๐ คนประท้วงการแปรรูปโรงงานสิ่งทอที่มณฑลกวางตุ้งเป็นของเอกชน
-๒๐๐๔ ชาวบ้านหลายร้อยที่เป็นตัวแทนชาวบ้านทั้งหมดถึง ๑๕๐,๐๐๐ คนในพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำฮันหยวน มณฑลเสฉวน รวมตัวกันประท้วงการบังคับขับไล่อพยพชาวบ้านและปิดถนนเข้าหลายหมู่บ้าน ตำรวจเข้าสลายการประท้วงยิงชาวบ้านตายไป ๑๗ คน บาดเจ็บ ๔๐ คน
-๖ มี.ค. ๒๐๐๖ คนงานโรงงานสิ่งทอที่ยูนนานหลายพันนัดหยุดงานเรียกร้องขอมีส่วนร่วมในการปรับโครงสร้างบริษัท
-๒๐๐๖ นักเคลื่อนไหวประสานนัดอดข้าวประท้วงใน ๑๐ มณฑลทั่วจีนเพื่อท้าทายการปราบปรามของรัฐบาลและหนุนช่วยเพื่อนผู้เห็นต่าง
-๒๐๑๑ ชาวบ้านหมู่บ้านหวู่กัน มณฑลกวางตุ้ง ๕,๐๐๐ คนเดินขบวนไปเมืองหลูเฟิงเพื่อนั่งประท้วงการยึดที่ดินเอาไปขายนายทุนนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โดยมิชอบและโดยไม่จ่ายค่าชดเชยให้ชาวบ้านของเจ้าหน้าที่รัฐท้องถิ่น นำไปสู่การประท้วง ลักพาตัวผู้แทนชาวบ้าน จนคนหนึ่งถูกซ้อมเสียชีวิตในที่คุมขัง ตำรวจปิดล้อมหมู่บ้าน ในที่สุดชาวบ้านเหลืออดลุกฮือปะทะกับตำรวจและอันธพาล ปลดปล่อยหมู่บ้านดำเนินการปกครองกันเองแรมเดือน ในที่สุดก่อนจะบานปลายไปกว่านี้ ฝ่ายนำพรรคระดับมณฑลเข้ามาแทรกแซงเจรจาเองจนต่อรองไกล่เกลี่ยตกลงกับตัวแทนประชาชนในหมู่บ้านได้ มีการปลดเจ้าหน้าที่พรรคท้องถิ่น เปิดเลือกตั้งอิสระแบบลับจริง ๆ ขึ้นในหมู่บ้านเป็นครั้งแรก เรื่องจึงคลี่คลายไป
-๒๐๑๒ ตำรวจจีนกระจายจับผู้คนกว่า ๒,๐๐๐ ที่นัดกันเดินทางไปชุมนุมไว้อาลัยทีหลุมศพจ้าวจื่อหยาง อดีตเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนที่เห็นต่างจากการปราบปรามเทียนอันเหมินปี ๑๙๘๙ จนถูกปลดและคุมตัว
-มี.ค. ๒๐๑๓ นักเคลื่อนไหวพากันอดข้าวประท้วงโรงเรียนแห่งหนึ่งที่เมืองเหอเฝ่ยที่ไม่ยอมรับลูกสาววัย ๑๐ ขวบของนักโทษการเมืองเข้าเรียน
-ก.ค. ๒๐๑๓ ผู้ประท้วงกว่า ๒๐๐ คนนั่งประท้วงที่กระทรวงต่างประเทศในปักกิ่งนาน ๒ สัปดาห์เพื่อเรียกร้องขอมีส่วนร่วมและจัดทำการรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในจีนต่อสหประชาชาติให้โปร่งใสขึ้น
รัฐ/พรรคจีนตอบโต้โดยมุ่งสกัดขัดขวางการก่อตัวของการเคลื่อนไหวมวลชนด้วยระบบเฝ้าระวังติดตามไฮเทคและกลไกเซ็นเซ่อร์ พยายามจำกัดวงการประท้วงต่อต้านให้อยู่ในท้องที่หนึ่ง ๆ หรือประเด็นเฉพาะหนึ่ง ๆ ไม่ขยายตัวกว้างและไม่ผูกปมเป็นประเด็นระดับชาติ
บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
ปม ‘พล.ท.นันทเดช’ นำเสนอเกรดของ 7 นักศึกษา 'ดาวดิน' ระบุเกรดไม่ดี จวกไม่เคยคิดเรียน ‘เกษียร’ สวนชกเด็กใต้เข็มขัด ชี้ไม่ควรลืมว่า ‘Steve Jobs’ ก็เรียนไม่จบ ระบุสำหรับนักศึกษาที่ทำกิจกรรม การเรียนย่อมได้รับผลกระทบบ้างเป็นธรรมดา
เกษียร เตชะพีระ
ตอบกระทู้พันทิป หลังมีผู้เรียกร้องให้ประเทศไทยยกเลิกการให้ทุนการศึกษาต่างประเทศสำหรับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ โดยยกตัวอย่าง ‘สมศักดิ์-วรเจตน์’
เกษียร เตชะพีระ
รายงานของ Freedom House ชี้ ปี 2014 เป็น “ปีที่หม่นหมองเป็นพิเศษ” เกิดการปะทุของการก่อการร้ายรุนแรงและยุทธวิธีที่ก้าวร้าวทั่วโลก ระบุตะวันออกกลางสูญเสียเสรีภาพชัดเจนสุด พร้อมฟันธงว่าความผิดพลาดใหญ่ที่สุดที่ระบอบประชาธิปไตยจะทำลงไปคือการยอมรับความคิดว่าไม่มีปัญญาจะทำอะไรได้เมื่อเผชิญกับจอมเผด็จการที่ใช้กำลังหรือข่มขู่คุกคาม กลับเป็นปุถุชนพลเมืองสามัญต่างหากผู้พร้อมจะลุกขึ้นมาท้าทายผู้ปกครองเหล่านี้
เกษียร เตชะพีระ
"มาตรา 10 ของ ร่าง พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ขยายอำนาจการดักจับ แฮ็กบัญชี ยึดคอมพิวเตอร์ แฮ็กระบบ อันนี้คือขยายอำนาจของเจ้าหน้าที่ จากที่เคยต้องขอหมายศาล พรบ. แก้ใหม่ ไม่ต้องขอหมายศาล ทำได้เลย แล้วคนพวกนี้เป็นใคร ไม่รู้" จอห์น วิญญู กล่าวในรายงานเจาะข่าวตื้น ผมเห็นด้วยกับคุณจอห์น วิญญู และชอสนับสนุนด้วยข้อถกเถียงจากมุมมองหลักนิติธรรม (the rule of law)
เกษียร เตชะพีระ
พม่าเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างในไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผ่อนคลายการจำกัดปิดกั้นสื่อมวลชนลง และปล่อยตัวนักโทษการเมือง การลงทุนต่างชาติเพิ่มพูนขึ้น แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในกองทัพพม่า ปัจจุบันพม่ากำลังเตรียมการเลือกตั้งในปีใหม่นี้ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ทว่าน่าวิตกว่ากระบวนการปฏิรูปกำลังตกอยู่ในสภาพล่อแหลมต่ออันตราย
เกษียร เตชะพีระ
วิพากษ์ข้อเสนอหลักของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยนายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส.หรือสังกัดพรรคการเมือง, ส.ส. มาจากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม และส.ว.ไม่เกิน ๒๐๐ คนมาจากการแต่งตั้งและคัดสรร ไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ฯลฯ
เกษียร เตชะพีระ
รายงานล่าสุด ILO ชี้ค่าแรงยังต่ำ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในโลกยิ่งเพิ่ม, ค่าจ้างประเทศรวยสูงกว่าประเทศจน 3 เท่า, การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ทำให้คนตกงานเว้ยเฮ้ย!
เกษียร เตชะพีระ
ความคิดเห็นต่อเนื่องจากกรณีที่เกิดกระเเสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ ถึงกรณีที่มีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเขียนโน้ตถึงอาจารย์ที่ปรึกษาให้ติดต่อกลับ โดยระบุถึงสิ่งที่สำคัญมากกว่าในความเป็นจริงที่เกิดขึ้น คือ ...
เกษียร เตชะพีระ
ในฐานะที่ "รัฐ" ตามคำนิยามของเวเบอร์ 1. สิทธิผูกขาดเหนือการใช้กำลังทางกายภาพหรือนัยหนึ่งการใช้ความรุนแรง 2. โดยชอบธรรม และ 3 ภายในอาณาเขตหนึ่งๆ
เกษียร เตชะพีระ
ข้อแนะนำถึงคสช.และรัฐบาล. คืนความปกติให้สังคมเศรษฐกิจไทยมากที่สุด ลดมาตรการใช้อำนาจผิดปกติให้เหลือต่ำสุด ความแตกต่างขัดแย้งทางความคิดเห็นและผลประโยชน์ในสังคมพหุนิยมที่มีความแตกต่างหลากหลายเป็นเรื่องปกติ
เกษียร เตชะพีระ
สำหรับผมและเพื่อนพ้อง “คนเดือนตุลา” จำนวนหนึ่ง รัฐประหาร ๒๒ พ.ค. ที่ผ่านมาเป็นเรื่องน่าเศร้าเสียใจยิ่ง