Skip to main content

Kasian Tejapira(25/10/56)

อย่างหนึ่งที่ผมสังเกตเห็นบ่อยและทั้งรำคาญทั้งอนาถใจคือท่าทีประเภท.....
 
"เห็นไหม ไอ้หน้าโง่เอ๊ย กูด่ามึงแล้ว แต่มึงไม่ฟัง เสือกอยากไปคบพวกทักษิณ-เสื้อแดง-เพื่อไทย โดนเขาหลอกแล้วเป็นไง เพิ่งรู้ตัว ฯลฯลฯ"
 
คืองี้นะครับท่านผู้โคตรฉลาดทั้งหลาย ผมจะบอกอะไรให้ท่านใช้สติปัญญาอันยิ่งใหญ่มหากาฬมเหาฬารของท่านได้เข้าใจหน่อย
 
๑) คนจำนวนมากที่เข้าร่วมการต่อสู้ทางการเมืองนั้นต่างมีจุดมุ่งหมายเฉพาะของตัวเอง และเลือกร่วมฝ่าย เข้าข้าง หรือทำแนวร่วมกันตามประเด็น ตามสถานการณ์ เมื่อไหร่สถานการณ์เปลี่ยน ก็แยกฝ่าย เปลี่ยนข้าง ต่อสู้กัน
 
เหมาเจ๋อตงชนะหน้าโง่เจียงไคเช็ค จนเจียงต้องอพยพหนีจากจีนแผ่นดินใหญ่ไปอยู่เกาะไต้หวัน ก็เพราะฉลาดในการเลือกร่วม/แยกแบบนี้ จึงจับมือกับเจียงต้านญี่ปุ่นผู้รุกราน พอเสร็จศึกก็แยกข้าง เจรจาไป รบกับเจียงไปต่อ จนชนะ ได้ครองแผ่นดินจีน
 
๒) ผมไม่ขอพูดแทนคนอื่นทุกคน แต่หลายคนที่ผมเห็นและรู้จัก (โดยที่ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับพวกเขา) ไม่ได้มีมายาคติอะไรกับพลังการเมืองฝ่ายทักษิณ-เพื่อไทยเลยตั้งแต่ต้น เข้าใจธาตุแท้ ขอบเขต การร่วมทางที่เป็นไปได้ของพวกเขาดี เรื่องวิจารณ์ต่อสู้กับพวกเขานั้น ทำมานานก่อนจะเกิดพธม. ก่อนสนธิจะหันมาผูกผ้าพันคอสีฟ้าและใส่เสื้อสีเหลือง และก่อนพวกคุณตื่นตัวทางการเมืองหันมาใส่เสื้อเหลือง/หน้ากากขาวตามสนธิกันอีกนะครับ
 
๓) การเมืองคือการหาพวกให้มากที่สุดเพื่อต่อรองต่อสู้กับฝ่ายตรงข้ามที่เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ตามสถานการณ์ ในทุก ๆ สถานการณ์ต้องทำงานแนวร่วมให้ดี หาพวกให้มากที่สุดเพื่อเป้าหมายเฉพาะหน้าที่จำกัดขอบเขตและจังหวะเวลา แต่ในทุก ๆ จังหวะสถานาการณ์และแนวร่วมที่เปลี่ยนไป ต้องไม่พลาดสายตาจากเป้าหมายยุทธศาสตร์ระยะยาวและกำลังพื้นฐานที่ต้องปลูกสร้างเพื่อเดินไปให้ถึงในขั้นสุดท้าย ต่างกับการทหารที่อาจอาศัยคนน้อยก็ชนะได้ และต่างจากศีลธรรมที่ยึดหลักความถูกต้องเป็นที่ตั้ง ไม่ต้องการพวก
 
คน "ฉลาด" ที่ออกมาก่นด่าเหยียดหยามดูหมิ่นคนอื่นอย่างไม่รู้จักเงาหัวตัวเองนั้น ไ่ม่เข้าใจการเมืองพื้นฐาน ไม่เข้าใจการทำงานแนวร่วม มีแต่ด่าทอผลักไสคนที่สามัคคีได้ออกไป พวกเขาทำการเมืองเหมือนศาสนา/ศีลธรรม นั่งคัดแต่คนที่ตรัสรู้หรือบริสุทธิ์หรือบรรลุอรหัตถผลหรือ "ฉลาด" "เหมือนกู/พวกกู" เท่านั้น
 
ท่าทีแบบนี้ไม่ชนะหรอกครับ น่าสงสารจะตายชักว่าไปแล้ว เพราะศัตรูที่ร้ายกาจที่สุดของพวกเขาคือตัวพวกเขาเอง (แต่พวกเขายังไม่รู้ด้วยซ้ำไป ปลาบปลื้มอยู่นั่นแหละว่ากู "ฉลาด", อ้วก)
 
เอ้า เชิญแสดงความ "ฉลาด" กันต่อไป.....

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
เหนืออำนาจรัฐ ยังมีอำนาจทุน: อองซานซูจี วีรสตรีผู้ยืนหยัดต้านอำนาจรัฐเผด็จการทหารพม่า อ่อนข้อให้อำนาจทุนจีน
เกษียร เตชะพีระ
...ในทุก trust มี risk แฝงฝังอยู่อย่างมิอาจปัดป่ายบ่ายเบี่ยงเป็นอื่นได้ ก็เพราะ trust มันทำงานอย่างนี้ คือไม่เป็นทางการ ไม่มีกฎหมายครอบงำกำกับ มันหลวม ๆ สบตาเอ่ยปากขอรู้ไจวางใจกัน และความหลวมนี่แหละทำให้ทุกอย่างดำเนินการไปได้อย่างสะดวกราบรื่น ด้วยความไว้วางใจที่มีต่อกัน และฉะนั้นมันจึงเปิดช่องให้ trust ถูก abused ได้..
เกษียร เตชะพีระ
ความขัดแย้งชายแดนภาคใต้ กองทัพแก้ไม่ได้ เพราะโดยเนื้อแท้มันไม่ใช่ปัญหาการทหาร แต่เป็นปัญหาการเมือง ในที่สุดการแก้ปัญหาความขัดแย้งชายแดนภาคใต้นี้ต้องทำโดยรัฐบาล
เกษียร เตชะพีระ
...ก้าวต่อไปที่น่าจะเป็นของงานการเมืองฝ่ายรัฐบาลคือการรุกด้วยข้อเสนอรูปธรรมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ใช้สิทธิอำนาจตามกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในการบริหารท้องถิ่นตนเองมากขึ้น ข้อเสนอนี้จะเป็นตัวช่วงชิงชนะใจมวลชน และกดดันปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบให้ยอมรับทางออกทางการเมืองในที่สุด... 
เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
ฝ่ายซ้ายมองสฤษดิ์เห็นเป็น "นัสเซอร์" ส่วนฝ่ายขวามองสฤษดิ์เห็นเป็น "เดอโกล" ส่วนสฤษดิ์นั้นเอาเข้าจริงเห็นตัวเองเป็น "พ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ" ผู้ฉีกรัฐธรรมนูญ ล้มประชาธิปไตย "แบบตะวันตก" กวาดล้างขุดรากถอนโคนมรดกการปฏิวัติ 2475 ทั้งทางสัญลักษณ์และโครงสร้างกฎหมาย เพื่อสร้าง "ประชาธิปไตยแบบไทย " โดยอิงอาศัยความชอบธรรมจากสถาบันกษัตริย์
เกษียร เตชะพีระ
เรื่องให้ฝ่ายรัฐควักเงินหลวงมาจ่ายส่วนต่างค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับเพิ่มจากเดิมนั้น เป็นไปไม่ได้ ฝันลม ๆ แล้ง ๆ ไม่มีเยี่ยงอย่างที่ไหนในโลกทำกันครับ
เกษียร เตชะพีระ
มาตรา ๑๗๑ วรรคสี่ ของ รัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันคนอย่างทักษิณ สะท้อนความหวาดระแวง - ไม่ไว้วางใจที่คณะผู้ร่าง รธน.ที่มีต่อตัวอดีตนายกฯทักษิณ และ เสียงข้างมากในสภาและเสียงสนับสนุนของประชาชนอีกชั้นหนึ่งเช่นกัน
เกษียร เตชะพีระ
ถึงปี ๒๐๓๐ สหรัฐฯจะไม่ได้เป็นอภิมหาอำนาจแบบที่เห็นอยู่ปัจจุบันอีกต่อไป, เศรษฐกิจจีนจะใหญ่ที่สุดในโลกและจะเติบโตไปแบบนั้นได้ต้องแก้ปัญหาใหญ่ ๒ อย่างใหญ่ ๆ จีนพึ่งพาทรัพยากรเข้มข้นในการเติบโต และทรัพยากรที่ว่ากำลังร่อยหรอ สังคมจีนกำลังชราภาพลงโดยเฉลี่ยอย่างรวดเร็ว, บทบาทของสหรัฐฯจะปรับเปลี่ยนเพราะโลกและนานาชาติคาดหวังให้สหรัฐฯทำตัวเป็นผู้บริหารจัดการจัดตั้งไกล่เกลี่ยหาทางออกข้อตกลงยุติความขัดแย้งรุนแรง
เกษียร เตชะพีระ
ความยุติธรรมที่ผู้มาทีหลังควรได้ร่วมบริโภคและยกระดับมาตรฐานการครองชีพดีขึ้นอย่างเท่าเทียม, กโลบายกระตุ้นเศรษฐกิจและอุ้มอุตสาหกรรมรถยนต์, ขีดจำกัดทางสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและชีวิตเมืองของการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล