Skip to main content

 

ตรงแก่นของกรณีพิพาทระหว่างน้องก้อยกับโค้ชเชมี 2 ปมปัญหาเกี่ยวเนื่องกัน

1) การปะทะระหว่างวัฒนธรรมครู-ลูกศิษย์แบบตะวันออก กับ วัฒนธรรมปัจเจกชนนิยม

2) ความลักลั่นระหว่างสัมฤทธิ์คตินิยม (pragmatism) ของคนไทย กับ การเคารพสิทธิและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

เพื่อมองเห็นประเด็นเหล่านี้ อาจลองถามตัวเองดูว่า.....

ถ้าโค้ชเชไม่ได้นำทีมเทควันโดไทยจนประสบความสำเร็จโดดเด่นได้แชมป์ในการแข่งขันสากลหลายครั้ง พูดง่าย ๆ ถ้าโค้ชเช "แพ้" แทนที่จะ "ชนะ" เราจะมองเรื่องนี้เหมือนเดิมไหม? หรือต่างไปอย่างไร? เพราะเหตุใด?

ถ้ากรณี "อบรมสั่งสอน" แบบนี้เกิดขึ้นกับลูกของคุณเอง คุณจะคิดเห็นต่อเรื่องนี้เหมือนเดิมไหม? หรือต่างออกไปอย่างไร? เพราะเหตุใด?

คุณจะจ่ายเท่าไหร่ เสียสละอะไรบ้าง เพื่อ "ชัยชนะ"? เมื่อไหร่ ถึงจุดไหน คุณจะหยุดจ่าย? และเอาเข้าจริงใครเป็นคนที่จ่าย คุณหรือคนอื่น?

เราคนไทยย่อมดีใจที่ทีมกีฬาชาติไทยชนะได้แชมป์ คำถามคือชาติไทยของเรา นอกจากเป็นชาติที่ชนะแล้ว ควรมีคุณสมบัติอื่นอย่างใดบ้าง? หรือชาติของเราจะเป็นอย่างใดก็ได้ก็ช่าง ขอให้ชนะเท่านั้นเป็นพอ? แค่ไหนที่เรายินดีจะแลกค่านิยม คุณค่า สิ่งสำคัญของชาติ กับ "ชัยชนะ"? ถึงจุดไหนที่เราจะหยุด เพราะบางอย่างสำคัญกับชาติของเรามากกว่า "ชัยชนะ"? คือ ไม่ชนะก็ได้ แพ้ก็ไม่เป็นไร ขอเรารักษาสิ่งนี้ไว้ก่อน เพราะมันสำคัญกับชาติเรามากกว่า.....?

 

หมายเหตุ : เผยแพร่ครั้งแรกทางเฟซบุ๊ก 'Kasian Tejapira' เมื่อวันที่ 17 ก.ค.2557

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
เหนืออำนาจรัฐ ยังมีอำนาจทุน: อองซานซูจี วีรสตรีผู้ยืนหยัดต้านอำนาจรัฐเผด็จการทหารพม่า อ่อนข้อให้อำนาจทุนจีน
เกษียร เตชะพีระ
...ในทุก trust มี risk แฝงฝังอยู่อย่างมิอาจปัดป่ายบ่ายเบี่ยงเป็นอื่นได้ ก็เพราะ trust มันทำงานอย่างนี้ คือไม่เป็นทางการ ไม่มีกฎหมายครอบงำกำกับ มันหลวม ๆ สบตาเอ่ยปากขอรู้ไจวางใจกัน และความหลวมนี่แหละทำให้ทุกอย่างดำเนินการไปได้อย่างสะดวกราบรื่น ด้วยความไว้วางใจที่มีต่อกัน และฉะนั้นมันจึงเปิดช่องให้ trust ถูก abused ได้..
เกษียร เตชะพีระ
ความขัดแย้งชายแดนภาคใต้ กองทัพแก้ไม่ได้ เพราะโดยเนื้อแท้มันไม่ใช่ปัญหาการทหาร แต่เป็นปัญหาการเมือง ในที่สุดการแก้ปัญหาความขัดแย้งชายแดนภาคใต้นี้ต้องทำโดยรัฐบาล
เกษียร เตชะพีระ
...ก้าวต่อไปที่น่าจะเป็นของงานการเมืองฝ่ายรัฐบาลคือการรุกด้วยข้อเสนอรูปธรรมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ใช้สิทธิอำนาจตามกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในการบริหารท้องถิ่นตนเองมากขึ้น ข้อเสนอนี้จะเป็นตัวช่วงชิงชนะใจมวลชน และกดดันปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบให้ยอมรับทางออกทางการเมืองในที่สุด... 
เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
ฝ่ายซ้ายมองสฤษดิ์เห็นเป็น "นัสเซอร์" ส่วนฝ่ายขวามองสฤษดิ์เห็นเป็น "เดอโกล" ส่วนสฤษดิ์นั้นเอาเข้าจริงเห็นตัวเองเป็น "พ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ" ผู้ฉีกรัฐธรรมนูญ ล้มประชาธิปไตย "แบบตะวันตก" กวาดล้างขุดรากถอนโคนมรดกการปฏิวัติ 2475 ทั้งทางสัญลักษณ์และโครงสร้างกฎหมาย เพื่อสร้าง "ประชาธิปไตยแบบไทย " โดยอิงอาศัยความชอบธรรมจากสถาบันกษัตริย์
เกษียร เตชะพีระ
เรื่องให้ฝ่ายรัฐควักเงินหลวงมาจ่ายส่วนต่างค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับเพิ่มจากเดิมนั้น เป็นไปไม่ได้ ฝันลม ๆ แล้ง ๆ ไม่มีเยี่ยงอย่างที่ไหนในโลกทำกันครับ
เกษียร เตชะพีระ
มาตรา ๑๗๑ วรรคสี่ ของ รัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันคนอย่างทักษิณ สะท้อนความหวาดระแวง - ไม่ไว้วางใจที่คณะผู้ร่าง รธน.ที่มีต่อตัวอดีตนายกฯทักษิณ และ เสียงข้างมากในสภาและเสียงสนับสนุนของประชาชนอีกชั้นหนึ่งเช่นกัน
เกษียร เตชะพีระ
ถึงปี ๒๐๓๐ สหรัฐฯจะไม่ได้เป็นอภิมหาอำนาจแบบที่เห็นอยู่ปัจจุบันอีกต่อไป, เศรษฐกิจจีนจะใหญ่ที่สุดในโลกและจะเติบโตไปแบบนั้นได้ต้องแก้ปัญหาใหญ่ ๒ อย่างใหญ่ ๆ จีนพึ่งพาทรัพยากรเข้มข้นในการเติบโต และทรัพยากรที่ว่ากำลังร่อยหรอ สังคมจีนกำลังชราภาพลงโดยเฉลี่ยอย่างรวดเร็ว, บทบาทของสหรัฐฯจะปรับเปลี่ยนเพราะโลกและนานาชาติคาดหวังให้สหรัฐฯทำตัวเป็นผู้บริหารจัดการจัดตั้งไกล่เกลี่ยหาทางออกข้อตกลงยุติความขัดแย้งรุนแรง
เกษียร เตชะพีระ
ความยุติธรรมที่ผู้มาทีหลังควรได้ร่วมบริโภคและยกระดับมาตรฐานการครองชีพดีขึ้นอย่างเท่าเทียม, กโลบายกระตุ้นเศรษฐกิจและอุ้มอุตสาหกรรมรถยนต์, ขีดจำกัดทางสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและชีวิตเมืองของการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล