Skip to main content

รายงานข่าวเมื่อไม่นานมานี้ระบุว่า มียอดเด็กที่กำพร้าจากพ่อแม่ที่ต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบจากสถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวนหลายพันคน ซึ่งภาครัฐยังคงต้องหาแนวทางการดูแลเด็กที่เผชิญกับปัญหาต่างๆ ทั้งเรื่องการเข้าถึงการศึกษา และการดูแลคุ้มครองปกป้องสวัสดิภาพของเด็ก

ทว่าอย่างไรเสีย  แม้ว่าเรื่องราวความรุนแรงในเหตุการณ์ดังกล่าว จะยังคงปรากฏให้เห็นอยู่เสมอทั้งหน้าจอโทรทัศน์หรือหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ แล้ว ยังมีเรื่องราวความรัก ความสัมพันธ์ ระหว่างคนในพื้นที่กับคนนอกพื้นที่ที่ได้ลงไปปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ในพื้นที่เกิดเหตุ ตามบทบาทหน้าที่ต่างๆ อาทิ หมอ ทหาร ครู

เรื่องราวที่ “ไม่ค่อยปรากฏ” ออกมาเป็นข่าวในแง่ด้านอื่นๆ เช่นเรื่องการ “พบรัก” ของคนสองคน หรือมิตรภาพที่มีแก่กันนั้น ยังไม่ค่อยเป็นที่รับรู้ของสาธารณชนเท่าใดนักและเรื่องที่จะเล่านี้ ก็เป็นหนึ่งในหลายกรณีของการพบรักที่เกิดขึ้นในที่เกิดเหตุ

เรื่องนี้เป็นเรื่องของ “แนน” – เธอเป็นวัยรุ่นหญิงและเป็นคนในพื้นที่ยะลา และยังเป็นแกนนำในการทำกิจกรรมของกลุ่มเยาวชนกลุ่มหนึ่งในพื้นที่เกิดเหตุความไม่สงบ เธอเล่าว่า ตั้งแต่มาเข้าร่วมกระบวนการกิจกรรมเกี่ยวกับเรื่องเพศ สิ่งที่เกิดกับตัวเองคือความเปลี่ยนแปลงจากเดิมคือ อย่างแรก รู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อน เช่นการอบรม กล้าที่จะพูด การกล้าแสดงออก เธอบอกว่าส่วนใหญ่เด็กทางใต้จะไม่ค่อยพูด อยู่คนเดียวก็เงียบๆ ไม่กล้าคุยให้เพื่อนรู้

“อย่างเราคือแรกๆ ก็เงียบๆ พอมาอยู่กับพี่ๆ ก็มีอาการ ... อาการคือกล้าแสดงออก จะอยู่เงียบๆ ไม่ได้ มีอะไรก็จะถามไปเลย” เธอเล่าย้อนอดีตให้ฟัง “อย่างเวลาคุยเรื่องเพศ ก็นึกถึงว่า เวลาท้องขึ้นมาจะคุยกับใคร จะปรึกษาใคร อย่างที่เราไปคุยกับพี่ๆ ได้ เพราะเราเคยมีแฟนแล้วท้อง เราก็ถามเขา ถามว่าทำยังไงไม่ให้เพื่อนรู้ ไม่อายเพื่อน คือเราไม่อยากให้เพื่อนรู้ เราคุยกับพี่ของเราดีกว่า ไม่กล้าบอกให้ที่บ้านรู้ กลัวเขามองเราว่าเป็นคนไม่ดี”

เธอยกตัวอย่างต่อว่า “ถ้าจะคุยคนอื่นๆ ก็ไม่กล้า เพราะกลัวเขาเอาไปเล่าต่อ บอกต่อๆ กันไป พี่เราที่อยู่ในกลุ่ม เขาสามารถเก็บความลับของเราได้ อย่างเพื่อนเราบางคนก็มีแบบเข้ามาคุยกับเรา อย่างตอนเรียน มีเพื่อนที่เขามีแฟน เขาเสียตัว ไปอยู่กับแฟน เราก็ถามเขา คุยกับเขา เขาก็บอกว่าเขากลัวเราไปฟ้องคนอื่นๆ แต่พอเราได้อธิบายกับเขาจนเขาไว้ใจเรา เพราะเราเก็บความลับของเขาได้ เวลาคุยกับพี่ๆ ก็ไม่ค่อยอึดอัด โล่งสบาย รู้สึกปลอดภัย ไม่อึดอัด ไม่มีผลกระทบอะไรที่จะกระทบกับเราอีกต่อไป แฟนเราบางทีก็หึง เวลาเขาหึง เราก็บอกว่าเราไปไหนมา บอกให้ไปถามพี่ในกลุ่มดู”

เธอเล่าถึงเรื่องแฟนว่า ตอนนี้เธอมีแฟนแล้ว และก็สามารถคุยกับแฟนได้หลายเรื่อง เช่น เรื่องที่มีความไม่สบายใจ เรื่องอะไรก็จะถามแฟนว่าอะไรที่ควรทำ อะไรไม่ควรทำ  

เวลาคุยเรื่องเพศกับแฟน, เธอบอกว่า เธอไม่เคยคุยกับแฟนเรื่องถุงยาง เรื่องท่าทาง ไม่เคยพูดในเชิงลึก แต่เธอจะถามพี่ๆ ในกลุ่มมากกว่า ว่าท่าไหนดี “เราไม่กล้าคุยกับแฟน เพราะเขาจะหัวเราะใส่เรา ถ้าเกิดอยากบอกให้แฟนรู้ก็ไม่กล้าบอก เดี๋ยวเขาว่าเราเป็นคนชอบมีเซ็กส์ บางครั้งเราก็อยากคุยกับแฟน มีอะไรเราก็ถาม เขาก็ตอบมา คือแฟนเราจะชอบถามว่าแบบนี้ยังไงๆ เราก็ตอบไม่ได้”

เธอเล่าเรื่องที่เกิดกับตัวเองอย่างมีความสุข ดวงตาของเธอมีรอยยิ้มที่โผล่ออกมา “คิดว่าเขาเป็นคนรักเดียวใจเดียว ถามว่ารู้ได้ไง คือเราก็สืบมาก่อน ว่าเขาเคยมีแฟนมั้ย เพื่อนๆ ก็มาเล่าให้ฟัง คือเขาเป็นคนต่างจังหวัด มาทำงานแถวบ้าน เราสืบเขาก่อนว่าเป็นคนอย่างไร ตอนรู้จักกันก็ไม่เคยเห็นหน้ากัน แต่ก็คุยกันมาตลอด”

แล้วยังไงต่อ? – ผมเอ่ยถาม

“อย่างเราไม่เคยมีความรักกับใคร เราไม่ชอบคนขาว ชอบคนเข้มๆ อย่างเขาถูกใจเรา เป็นแบบที่เราชอบ เขาชอบเรา เราก็ชอบเขา ก็ติดต่อกันเรื่อยๆ จนมาเป็นแฟนกัน เวลาเขากลับบ้านต่างจังหวัดเราก็ไปหา เราไม่ได้กลัวว่าเขาจะมีแฟนใหม่นะ เพราะเราเชื่อใจเขา เรารักเขา”

น้ำเสียงซื่อๆ ของเธอบอกให้ผมรับรู้ว่า เธอจริงจังกับแฟนหนุ่มอย่างยิ่ง

ผมถามเธอว่า “อย่างนี้จะบอกได้ไหมว่าความไม่สงบทำให้เกิดความรักขึ้น”
เธอพยักหน้ารับด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ

ส่วนผมเองก็มีรอยยิ้มจากการรับฟังเรื่องของแนน ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งเรื่องราวของคนในพื้นที่ที่ได้พบรักกับคนนอกพื้นที่ที่มาทำงาน อันที่จริงแล้ว ยังมีอีกหลายกรณีที่เกิดขึ้น ทว่าผมก็ไม่เคยได้ยินใครหรือได้คุยกับใครเป็นเรื่องเป็นราว เหมือนกับการคุยกับแนนเลย

เรื่องราวของแนน, ฟังดูก็น่ารัก น่าชัง
ทว่า ในความน่ารัก น่าชังนี้ ย่อมเกิดจากความรู้สึกข้างในจิตใจของเธอต่อชายคนรัก

สำหรับผมแล้ว, แม้ว่าเรื่องราวของเธอจะมีมากมายจนไม่สามารถจะซึมซับมันเข้ามาในโสตประสาทได้  แต่สิ่งที่ผมสนใจอย่างยิ่งคือเรื่องที่เธอ ‘กำลังบอก’ กับฉัน และ ‘ท่าที’ ในการเล่าเรื่องของเธอมากกว่า

มันคือจุดเริ่มต้นของการเปิดใจ เรียนรู้ เรื่องราวชีวิตทางเพศของเราแต่ละคน ให้เกิดสัมพันธภาพและความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต ท่ามกลางความต่างกันทางศาสนาและวัฒนธรรมและนำไปสู่การเปิดดวงใจของเราให้รับฟังเพื่อนที่เล่าเรื่องราวของตนอย่างตั้งใจและไม่มีอคติต่อกัน

เหมือนที่ใครคนหนึ่งบอกว่า การได้คุยเรื่องเพศของตนในบรรยากาศที่ปลอดภัย ถือเป็นการทบทวนบทเรียนชีวิตและเรียนรู้ภาวะด้านในของตนอย่างมิอาจประเมินค่าได้ ซึ่งผมเชื่อว่าแนนเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของเพื่อนวัยรุ่นที่ได้เริ่มเรียนรู้ในเรื่องเหล่าอย่างมีความสุข

บล็อกของ กิตติพันธ์ กันจินะ

กิตติพันธ์ กันจินะ
กิตติพันธ์ กันจินะ บางทีแล้วการที่เราออกมาทำกิจกรรมเพื่อสังคมนั้น มันก็มีรูปแบบที่หลากหลายแตกต่างกันไปตามบริบทของการทำงานและพื้นที่สภาพแวดล้อม ซึ่งนั่นล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการทำงานของกลุ่มคนที่มากมายหลายประเภทเฉกเช่นดอกไม้ในสวนน่ายล ท่ามกลางบรรยากาศสังคมอมยิ้มไม่ออกเช่นนี้ เยาวชนคนหนุ่มสาวก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่เข้าไปอยู่ในบริบทของความย้อนแย้งขัดเกลาเราเขาเช่นนี้ กล่าวคือมีทั้งเยาวชนที่เห็นด้วยกับแนวทางของซีกพันธมิตร และเยาวชนที่ไม่เห็นด้วยก็มีมาก ส่วนกลุ่ม “สองไม่เอา” นั่นก็มีไม่น้อย ทว่า กลุ่มที่ดูจะมีคือ “กรูไม่เอาสักอย่าง” เสียอีกที่มีเยอะ
กิตติพันธ์ กันจินะ
กิตติพันธ์ กันจินะความรู้สึกแรกที่เกิดขึ้นเมื่อมีการชุมนุมของพี่ๆ ทั้งกลุ่มพันธมิตรฯ และ กลุ่มต้านพันธมิตรฯ คือ “อีกแล้วเหรอ”  ซึ่งเป็นความรู้สึกที่กลัวว่าเหตุการณ์จะนำพาไปสู่เหตุการณ์ “รัฐประหาร” เหมือนเมื่อครั้งปี 2549 อีกหนที่ผ่านมากลุ่มพันธมิตรฯ ถูกมองว่า เป็น “เงื่อนไข” สำคัญที่ทำให้เกิดการรัฐประหารในครั้งล่าสุด แถมยังไม่ค่อยมีบทบาทมากนักในการต่อต้านรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้งเลยแม้แต่นิด ซึ่งมันก็ไม่แปลกที่คนอื่นๆ ทั่วไป เขาจะมองว่ากลุ่มพันธมิตร เอาดี เห็นงาม กับการทำให้เกิดเหตุการณ์เยี่ยงนั้นสำหรับนักประชาธิปไตยอีกฝากแล้ว…
กิตติพันธ์ กันจินะ
กิตติพันธ์ กันจินะ หลายวันที่ผ่านมาผมและเพื่อนๆ หลายคน ที่ติดตามข่าวเรื่องการชุมนุมของ “พันธมิตร” ต่างใจจดใจจ่ออยู่กับจุดมุ่งหมายท้ายสุดที่จะเดินไปถึง พร้อมๆ กับกระแสข่าวการ “ปฏิวัติ” ทุกเมื่อเชื่อวัน แต่อย่างไรก็ตาม ผมก็เชื่อมั่นว่าการชุมนุมโดย “สันติ” อย่างมี “สติ” เป็นสิทธิอันชอบธรรมของประชาชนที่สามารถดำเนินการได้ แต่การสลายการชุมนุมโดยการใช้ “ความรุนแรง” ที่ “ไร้สติ” นั้นเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์และปรารถนายิ่งนัก
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาริยา มหาประลัย1“ขอโดลเช่ เดอ ลาเช่ ขนาดกลางแก้วหนึ่งค่ะ เพิ่มกาแฟอีกชอตและะ No whip cream ค่ะ อ้อ! ขอแบบไลท์ด้วยนะคะ Low Calories ด้วย ขอบคุณค่ะ” เฮือก! โล่งอก! ฉันพูดประโยคยาวยืดนี่จบซะที! จะมีใครรู้ไหมนะว่าฉันต้องฝึกพูดคำว่า “โดลเช่ เดอ ลาเช่” มาตั้งกี่ครั้งกว่าจะมาเสนอหน้าสั่งกาแฟชื่อประหลาดอย่างคล่องปากนี่ได้ แต่คริๆ...คงไม่มีใครรู้หรอก เพราะฉันวางมาดดีไม่มีหลุดราวกับเรียนการแสดงจากครูแอ๋วมาเสียขนาดนี้ ใครๆก็ดูแต่เปลือกกันทั้งนั้นแหละเธอ! เอาล่ะ สะบัดบ๊อบไปนั่งรอกาแฟได้แล้วย่ะยัยมาริยา อ๊ายส์! จ่ายเงินก่อนสิยะเธอ!!  ฉันใช้ริมฝีปากที่ทาลิปสติค Christian Dior อย่างบรรจง ค่อยๆ ดูดกาแฟ…
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาริยา มหาประลัยปล. คาวีเป็นชื่อพระเอกในละครตบจูบเรื่อง “สวรรค์เบี่ยง” ทางช่อง 3 ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้สวัสดีค่ะ คุณคาวี พักนี้มีข่าวข่มขืนขึ้นหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์กันพรึ่บพรั่บ ราวกับคนในบ้านเมืองของเราร่วมแรงแข็งขัน (และแข่งขัน) กันข่มขืนเป็นเมกะโปรเจ็กต์ ตั้งแต่รุ่นเด็กประถมยันอาจารย์มหาวิทยาลัย ดูแล้วชวนห่อเหี่ยวละเหี่ยใจเสียฉิบ ไม่ยักเหมือนเวลาดูคุณคาวีข่มขืนเลยนะคะ ดูแล้วได้ความบันเทิงเริงเมืองปนโรแมนติค ก็แหม…เวลาพูดถึงคนร้ายข่มขืนผู้หญิงทีไร ใครๆ ก็นึกถึงแต่ผู้ชายตัวดำๆ ไว้หนวดเครารุงรัง หน้าเถื่อนๆ ยืนดักอยู่ตามซอกตึก เหม็นกลิ่นเหล้าคุ้งเคล้ากลิ่นเหงื่อปนกลิ่นคาวปลาตามตัว…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ผมต้องคิดหนักและเหนื่อยกับการใช้พลังในการพัฒนาโครงการ “กล้าเลือก กล้ารับผิดชอบ” ของเครือข่ายเยาวชนด้านเอดส์ ประเทศไทย โครงการนี้เป็นโครงการที่จะสร้างกลไกระดับพื้นที่เพื่อรณรงค์ สร้างความเข้าใจเรื่องเอดส์ เพศศึกษาอย่างรอบด้าน และสนับสนุนให้เยาวชน ตระหนักและมีทัศนคติที่ดีในการเรียนรู้เรื่องการป้องกันเอดส์ รู้จักประเมินความเสี่ยงของตนเอง และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางเพศของตนให้ปลอดภัยผ่านการดำเนินการกับกลุ่มเครือข่ายเยาวชนในพื้นที่ 8 กลุ่ม ใน 20 จังหวัดกระจายไปในภาคต่างๆ ซึ่งจะต้องดำเนินการตลอดระยะเวลา 12 เดือน…
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาริยา มหาประลัย
กิตติพันธ์ กันจินะ
ประมาณวันที่ 14 เมษายน 2551 นี้ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550  ก็จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ หลังจากที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวและได้มีประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2551ส่งผลให้ต้องมีการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกลุ่ม องค์กร เยาวชน องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับพื้นที่ อย่างขะมักเขม้นอย่างไรก็ตามสำหรับเจตนารมณ์แล้ว กฎหมายฉบับดังกล่าวมีขึ้นมาเพื่อให้เกิดกลไกการสนับสนุนการมีส่วนร่วมและพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยให้ภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมทั้งภาครัฐและเอกชน…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ผมได้แรงบันดาลจากการเขียนเรื่องนี้จากภาพยนตร์เรื่อง “ปิดเทอมใหญ่ หัวใจว้าวุ่น” หนังใหม่ ที่กำลังฉายในโรงภาพยนตร์ใกล้บ้านท่านๆ ว่ากันด้วยเรื่องของเนื้อหาในหนังนั้น ผมก็ยังไม่ได้ไปชม เพียงแต่ดูเนื้อในจากเว็บไซต์ก็พอสรุปคร่าวๆ ได้ว่าภาพยนตร์นี้เป็นเรื่องราวของวัยรุ่น 4 วัยในความรัก 4 มุม ทั้ง รักที่ต้องแย่งกัน รักนักร้องดาราคนโปรด รักนอกใจ และรักข้างเดียว ....อืม เอาเป็นว่า ใครอยากรู้เรื่องมากขึ้นลองเข้าเว็บไซต์ www.pidtermyai.com  ดูแล้วกันนะครับในภาพยนตร์เรื่องนี้ได้นำเสนอชีวิตที่เกิดขึ้นของวัยรุ่นจำนวนหนึ่งในช่วงปิดเทอมใหญ่ ซึ่งบางคนก็ใช้เวลาไปแข่งกันขอเบอร์ผู้หญิง…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ใครจะไปรู้ว่าเทคโนโลยีบางอย่างจะทำให้เราไม่พลาดการสื่อสารที่สำคัญได้จริงๆ เรื่องเกิดเมื่อวันหนึ่ง, ขณะที่ผมกำลังออนไลน์โปรแกรมแชทยอดนิยมนั้น พี่ต้าร์ (วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ แห่งกลุ่ม Y-ACT) ก็ได้เข้าโปรแกรมออนไลน์ MSN จากในค่ายแห่งหนึ่ง ณ สวนแสนปาล์ม นครปฐม ซึ่งเป็นการอบรมนักศึกษาอาชีวศึกษากว่า 30 สถาบัน  “อยากดูป่ะ” พี่ต้าร์ถามและได้เปิดโปรแกรมวิดีโอออนไลน์ขึ้นมาผมตอบว่าอยาก – สักพัก ภาพเคลื่อนไหวของเพื่อนๆ พี่ๆ ได้ปรากฏออกมา และมีภาพของเพื่อนๆ เยาวชนที่เข้าร่วมค่ายกำลังทำกิจกรรมอย่างสนุกสนานผมถามพี่ต้าร์ว่ามาทำอะไรกัน?พี่ต้าร์ บอกว่า “วันนี้น้องอาชีวะกว่า สามสิบสถาบัน…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ในที่สุดนายกทักษิณ ก็ได้กลับบ้านเกิดเมืองนอน หลังจากที่ต้องเร่ร่อนรอนแรมอยู่ต่างประเทศตั้งปีกว่า กลับมาหนนี้ถือว่าได้กลับมาพิสูจน์ตัวเองในคดีต่างๆ ที่ตกเป็นจำเลย และยังได้กลับมาอยู่ใกล้ครอบครัวของตนเสียด้วย ยังไม่นับรวมถึงการที่จะต้องเข้ามาเคลียร์เรื่องอะไรอีกหลายอย่างที่เกิดขึ้นภายในพรรคและการเมืองที่ยังไม่ค่อยลงตัวสักเท่าใดนัก  ผมดูการกลับมาของคุณทักษิณ แล้วนึกถึงชีวิตของเด็กๆ ที่เร่ร่อนไร้บ้านอีกหลายคน ที่ต่างก็พเนจรไปในที่ต่างๆ ไม่ได้กลับบ้าน หรือบ้างก็ไม่มีบ้านอยู่อาศัย ซึ่งชะตากรรมของเขาหลายๆ คน ถือว่า "หนัก" กว่าคุณทักษิณหลายเท่า…
กิตติพันธ์ กันจินะ
  หลังจากที่โครงการเยาวชนไทยไม่ทอดทิ้งสังคม หรือ โครงการเยาวชน1000ทาง 1 ได้ดำเนินการมาจนจบวาระหนึ่งปีก็ถือว่าเรียนจบครบเทอมพอดี เพื่อนๆ พี่ๆ ทีมงานหลายคนต่างได้รับความรู้และประสบการณ์ในการทำงานเพื่อสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนเข้ามาทำกิจกรรมเพื่อสังคมมากยิ่งขึ้น แม้ว่าโครงการเยาวชน1000ทาง จะเกิดจากความร่วมมือของเครือข่ายเยาวชนที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคมมาหลายปี แต่สำหรับประเทศไทยนั้นนับว่ามีโครงการที่สนับสนุนกิจกรรมของเยาวชน "มือใหม่" ไม่มากนัก ฉะนั้นโครงการเยาวชน1000ทาง ถือว่าเป็นโครงการที่ภาครัฐสนับสนุนให้เกิดการทำงานโดยเยาวชนดำเนินการ มีผู้ใหญ่ทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นที่ปรึกษาการทำงาน…