Skip to main content

สำหรับชีวิตส่วนตัวแล้ว ผมเป็นวัยรุ่นคนหนึ่งที่เติบโตมาท่ามกลางการเลี้ยงดูของแม่และพี่ๆ ที่ส่วนใหญ่แล้วเป็นผู้หญิง เห็นการทำงานของผู้หญิงที่ “ศูนย์เพื่อน้องหญิง” จ.เชียงราย เห็นความเข้มแข็งในการทำงานของแม่ของพี่ๆ แต่ละคนแล้ว ทำให้ผมเห็นว่าความเป็นหญิง ความเป็นชาย แท้จริงแล้ว ทุกคนก็สามารถทำอะไรได้เหมือนกัน แต่ทว่าการเลี้ยงดูหล่อหลอมของสังคมกลับบอกว่าแบบนี้ผู้หญิงควรทำ แบบนี้ผู้ชายควรทำ

มีการแยกบทบาทตามสรีระทางเพศ กลายเป็นบทบาทที่ถูกกำหนดว่าแบบนี้ “ถูกต้อง” แบบนี้ “ควรจะเป็น” จนทำให้บางครั้ง ผมเองก็ไม่สามารถทำอะไรได้อย่างที่ผู้หญิงทำได้ เช่น ผมถูกผู้ใหญ่ทั่วไปสอนให้เป็นคนที่เข้มแข็งอย่าร้องไห้ให้ใครเห็นไม่งั้นจะอ่อนแอเหมือนผู้หญิง ผมถูกสอนจากโรงเรียนว่าเป็นผู้ชายต้องอดทน แข็งแรง ทำงานหนักให้เป็น ต้องเป็นผู้นำ ผมถูกบอกว่าเป็นผู้ชายต้องกล้ากินอาหารดิบๆ กินเหล้า เที่ยว มีแฟนไวๆ จึงจะสมกับความเป็นชาย
   
การสั่งสอนของสังคมผ่านโครงสร้างสถานบันต่างๆ ทำให้ผมเห็นถึงบทบาทความสัมพันธ์ของคนด้วยกันที่ไม่เท่าเทียม เพราะจากการทำงานและประสบการณ์ชีวิตก็เห็นว่าเพราะการสอนต่างๆ เหล่านี้แหละที่ทำให้โครงการอำนาจไม่มีความเท่าเทียมกัน ผู้ชายสามารถคุยเรื่องเพศได้ถือว่าเก่งผู้หญิงคุยถือว่าเป็นคนไม่ดี ผู้ชายพกถุงยางอนามัยได้ผู้หญิงพกก็ถูกมองว่าไม่ดี ผู้ชายมีคู่นอนหลายคู่ถือว่าเก่งเท่แต่ผู้หญิงกลับถูกมองว่าไม่ดี สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้พบว่าความเชื่อเหล่านี้เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้เรื่องเพศและโอกาสในความเข้าใจเรื่องเพศวิถีของตนเอง ดังนี้ความเป็นเพศของชายกับหญิงจึงไม่เท่ากัน และยังนำไปสู่ความสัมพันธ์ทางเพศที่ไม่เท่าเทียม
   
สำหรับผมแล้ว การคุยเรื่องเพศของตัวเองจึงเป็นเรื่องที่ควรจะทำความเข้าใจและพูดคุยกัน เหมือนดังที่ผมได้มีโอกาสคุยกับพี่สาวที่ผมรู้จักคนหนึ่ง และเราก็ได้มีโอกาสทำความเข้าใจในเรื่องเพศร่วมกัน
   
ในการทำงานเรื่องเพศ หลายคนมองว่ายากต่อการทำความเข้าใจในเรื่องคู่ของตัวเอง ทั้งนี้สิ่งที่เกิดขึ้น เช่น กรณีที่เราเป็นผู้หญิง และคู่ความสัมพันธ์ของเราเป็นผู้ชาย การที่จะให้ผู้หญิงคนนั้นเริ่มคุยเรื่องเพศก่อน ก็อาจถูกคู่ของเธอที่คบหาอยู่รู้สึกตกใจ หรือมองเธอคนนั้นในทางที่ไม่ดีก็เป็นได้
   
แต่น้อยคนนักจะรู้ว่า ปัจจุบันผู้หญิงหลายคนเริ่มคุยเรื่องเพศของตนมากขึ้น และผู้ชายเองก็ไม่ได้มองผู้หญิงมุมลบๆ อย่างเดียว หากมองว่าเป็นเรื่องดีด้วยซ้ำที่ได้รับฟังเรื่องของคนที่ตัวเองคบอยู่
   
มีประสบการณ์ที่น่าสนใจอย่างยิ่งจากเรื่องของเพื่อนรุ่นพี่ผู้หญิงคนหนึ่งที่ทำงานในเรื่องเพศกับองค์กรพัฒนาเอกชนมาเป็นระยะเวลานานหลายปี
   
พี่สาวคนนี้ เล่าว่า “ในคู่ของตัวเอง เวลามีหรือไม่อยากมีอะไร พี่ทำงานด้านนี้ แต่คู่ไม่ได้ทำ แรกๆ กลัวเหมือนกัน แต่พอคุย ก็รู้ว่าเขาเข้าใจง่าย เวลาเราอยากมีหรือไม่อยากมี เราก็คุยกัน พี่ไม่ได้กลัวเรื่องไม่ไว้ใจ ก็กังวล ก็ลุ้นว่าจะเกิดอะไรขึ้น แต่สุดท้ายก็คุย เขาก็ฟังเรา เขาก็รู้ว่าทำไมเราคิดแบบนี้”
    
“อย่างความสุขทางเพศ พี่ก็คุยเรื่องถ้าเรามีแบบไม่ป้องกัน พี่ก็ถามว่า ใช้กับไม่ใช้อะไรรู้สึกดี เขาก็บอกว่า ไม่ใส่ดีกว่า แล้วพี่ก็ถามกลับว่าทำไม เขาบอกว่ามันไม่ได้แนบเนื้อ พี่ก็ถามว่าจริงเหรอ เค้าก็บอกว่าเวลาใส่ก็เสร็จเหมือนกัน มันเป็นเรื่องความรู้สึก”
   
แล้วเวลาคุยแบบนี้ เขามองเราอย่างไร?

“ไม่นะ พี่ว่าเรื่องแบบนี้ต้องคุยกัน คุยตั้งแต่ไม่เคยมีอะไรกัน คุยมาตลอด ยกตัวอย่างคนรอบข้าง อย่างบางทีเขามองชายกับชายภาพลบ พี่ก็จะคุยกับเขา อย่างเวลาไปไหน ก็จะคุยกับเขา เวลาเขาเห็นคู่ไหน เวลาที่พี่คิดว่าจะเติมก็เติมตลอด” 
   
แน่นอนว่า เพื่อนชายของคู่เราหลายๆ คนอาจมองในด้านลบ แต่การได้เริ่มคุยกับคู่ของตัวเองก็ทำให้สามารถขยาย ไปกับคนอื่นต่อได้ อย่างความคิดของพี่คนนี้ที่มองว่า เราอาจไม่ใช่คนสุดท้ายของเขา ที่เราทำไปเพื่อวันหน้าถ้าเขาคบคนใหม่ เขาก็ไม่ได้ดูหมิ่นใคร เขาก็ไม่เบียดเบียนคนอื่นๆ มีความเข้าใจในคู่ของเขา เราไม่คิดว่าจะคบกับคนนี้ไปตลอด จากกรณีดังกล่าวนับได้ว่า เป็นการเริ่มต้นคุยเรื่องเพศจากคนใกล้ตัว
   
ทว่าบางครั้งการคุยเรื่องเพศกับคนใกล้ตัวก็เป็นเรื่องที่ยากที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงกับคนบางคน แต่สำหรับพี่สาวคนที่รู้จักนั้น เล่าให้ฟังว่ามีความเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดกับคู่ของตน 

“พี่ว่า เขาดีขึ้น เวลาเห็นคนอื่นก็เป็นห่วงสุขภาพคนอื่นมากขึ้น เช่นเอาถุงยางให้เพื่อน สอนน้องชายเขา ก็คุย เรื่องการป้องกัน เรื่องความเสี่ยง เขาก็ช่วยเรื่องแจกถุงยาง เพื่อนที่รู้จักเวลาไปเที่ยวอาบอบนวดเขาก็คุยกับเพื่อน” พี่เขาอธิบายความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากคู่ของตัวเอง และยังมองว่า “เวลาเห็นเขาเปลี่ยน จะรู้สึกดี ไม่ได้ช่วยสังคมทั้งหมด แต่ได้ช่วยเหลือคนอื่น ก็ดีแล้ว ได้ช่วยเพื่อนๆ ปลอดภัยดี”
   
ในรายละเอียดบางเรื่อง กว่าที่จะทำให้คู่เปลี่ยนทัศนคติได้ แน่นอนว่าการพูดคุยอาจมีทั้งเรื่องบางเรื่องที่คุยได้ และบางเรื่องคุยไม่ได้ บางเรื่องใช้เวลาในการอธิบายมากกว่าบางเรื่อง อาทิเช่น เรื่องท่วงท่า หรือลีลาการร่วมเพศ

“พี่จะคุย ส่วนใหญ่ จะถาม อย่างเวลาดูหนังโป๊ ก็ลองมาทำ แบบนี้ใช่ ไม่ใช่ ชอบไม่ชอบ ในความคิดของเขาอาจมี แต่เขาไม่กล้า พี่ว่าเซ็กส์ของคนกับในหนังต่างกันมาก คนเราจริงๆ ไม่ได้ร้องแรงๆ โอเวอร์ๆ หรือข้ามกันไปมา เหมือนในหนังที่ผู้หญิงต้องร้องครวญครางอย่างดุเดือด ผู้ชายต้องทำแรงๆ ในความเป็นจริง พี่ว่ามันไม่ได้รุนแรงเหมือนในหนัง คือเรานึกถึงความรู้สึกของคู่มากกว่า”
 
“อย่างท่า เราก็คุยว่าแบบนี้ แรงไป เบาไป เราก็คุยว่า ควรจะเปลี่ยนไม่เปลี่ยนพี่บอกเขาว่าไม่ชอบโลดโผน มันก็ช่องเดียวกัน พี่คุยตลอด เพราะรู้ว่าต้องเริ่มจากคู่เราก่อนที่จะไปบอกกับคนอื่นๆ เวลาเราไปบอกคนอื่นๆ แล้วไม่ได้เริ่มจากตัวเอง มันมีความรู้สึกบางอย่าง อย่างคู่หรือคนที่รู้จัก พี่ก็จะคุยกับคนทุกคน ทั้งใกล้ตัว อย่างเพื่อน สนิทไม่สนิท”

นอกจากการคุยเรื่องเพศจากคนใกล้ตัวแล้ว การคุยกับคนรอบข้าง เพื่อขยายความเข้าใจ หรือสร้างพื้นที่ในการคุยเรื่องเพศก็เป็นเรื่องสำคัญ ที่ต้องเรียนรู้ร่วมกันด้วยประสบการณ์ของแต่ละคน
 
“พี่ว่าเรื่องเพศ ไม่ใช่เรื่องลามก เรื่องเพศสัมพันธ์ทุกรูปแบบตั้งแต่จับไปจนถึงสอดใส่ มันไม่ใช่ลามก แต่มันอยู่ที่ ‘คำพูด’ และ ‘กาลเทศะ’ พี่ไม่เคยโดนว่า ว่าลามก แต่พี่ดูว่าจะเริ่มต้นจากจุดไหนก่อน อย่างเวลาคุยก็ต้องค่อยๆ คุยจากเรื่องไกลตัวมาใกล้ตัว อย่างรุ่นน้องบางคนก็ไม่ได้ถามตรงๆ แต่คุยอ้อมๆ แล้วค่อยเข้าเรื่อง”

การคุยอาจไม่จำเป็นต้องคุยแบบตรงอย่างขวานผ่าซาก แต่เราสามารถที่จะคุยอย่างอ้อมค้อม แต่เมื่อถึงจุดสำคัญแล้วก็ต้องคุยเรื่องเหล่านี้อย่างตรงไปตรงมา ไม่อ้อม ไม่วกวน แต่ต้องเข้าถึงเรื่องอย่างเปิดเผย ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่งในการคุยเรื่องเพศ

ทั้งนี้ การคุยด้วยท่าทีที่เป็นมิตร สบายใจ เป็นการสร้างให้เกิดพื้นที่ปลอดภัยในการคุย เป็นปัจจัยสำคัญต่อ การคุย เพราะอย่างประสบการณ์ของรุ่นพี่คนนี้ มองว่า “เรื่องไหนที่ใช่ ไม่ใช่เราก็จะบอก บางครั้งอาจดุ บางครั้งไม่ดุ เรามีเจตนาดีเป็นที่ตั้งอยู่แล้ว คือคุยด้วยความเป็นมิตร เป็นมิตรมันอธิบายไม่ได้ แต่มันสัมผัสได้”

การคุยเรื่องเพศจากมุมของตัวเอง กับคู่หรือคนรอบข้าง ความเป็นมิตร คือหัวใจที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ร่วมกันอย่างปลอดภัยและนำไปสู่การมองชีวิตของตัวเองในด้านอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น

และเมื่อเราเอาความเป็นหญิงชายออกไปเราก็จะเรียนรู้ความเป็นคนของคนๆ นั้นได้มากยิ่งขึ้น

 

 

บล็อกของ กิตติพันธ์ กันจินะ

กิตติพันธ์ กันจินะ
กิตติพันธ์ กันจินะ บางทีแล้วการที่เราออกมาทำกิจกรรมเพื่อสังคมนั้น มันก็มีรูปแบบที่หลากหลายแตกต่างกันไปตามบริบทของการทำงานและพื้นที่สภาพแวดล้อม ซึ่งนั่นล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการทำงานของกลุ่มคนที่มากมายหลายประเภทเฉกเช่นดอกไม้ในสวนน่ายล ท่ามกลางบรรยากาศสังคมอมยิ้มไม่ออกเช่นนี้ เยาวชนคนหนุ่มสาวก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่เข้าไปอยู่ในบริบทของความย้อนแย้งขัดเกลาเราเขาเช่นนี้ กล่าวคือมีทั้งเยาวชนที่เห็นด้วยกับแนวทางของซีกพันธมิตร และเยาวชนที่ไม่เห็นด้วยก็มีมาก ส่วนกลุ่ม “สองไม่เอา” นั่นก็มีไม่น้อย ทว่า กลุ่มที่ดูจะมีคือ “กรูไม่เอาสักอย่าง” เสียอีกที่มีเยอะ
กิตติพันธ์ กันจินะ
กิตติพันธ์ กันจินะความรู้สึกแรกที่เกิดขึ้นเมื่อมีการชุมนุมของพี่ๆ ทั้งกลุ่มพันธมิตรฯ และ กลุ่มต้านพันธมิตรฯ คือ “อีกแล้วเหรอ”  ซึ่งเป็นความรู้สึกที่กลัวว่าเหตุการณ์จะนำพาไปสู่เหตุการณ์ “รัฐประหาร” เหมือนเมื่อครั้งปี 2549 อีกหนที่ผ่านมากลุ่มพันธมิตรฯ ถูกมองว่า เป็น “เงื่อนไข” สำคัญที่ทำให้เกิดการรัฐประหารในครั้งล่าสุด แถมยังไม่ค่อยมีบทบาทมากนักในการต่อต้านรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้งเลยแม้แต่นิด ซึ่งมันก็ไม่แปลกที่คนอื่นๆ ทั่วไป เขาจะมองว่ากลุ่มพันธมิตร เอาดี เห็นงาม กับการทำให้เกิดเหตุการณ์เยี่ยงนั้นสำหรับนักประชาธิปไตยอีกฝากแล้ว…
กิตติพันธ์ กันจินะ
กิตติพันธ์ กันจินะ หลายวันที่ผ่านมาผมและเพื่อนๆ หลายคน ที่ติดตามข่าวเรื่องการชุมนุมของ “พันธมิตร” ต่างใจจดใจจ่ออยู่กับจุดมุ่งหมายท้ายสุดที่จะเดินไปถึง พร้อมๆ กับกระแสข่าวการ “ปฏิวัติ” ทุกเมื่อเชื่อวัน แต่อย่างไรก็ตาม ผมก็เชื่อมั่นว่าการชุมนุมโดย “สันติ” อย่างมี “สติ” เป็นสิทธิอันชอบธรรมของประชาชนที่สามารถดำเนินการได้ แต่การสลายการชุมนุมโดยการใช้ “ความรุนแรง” ที่ “ไร้สติ” นั้นเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์และปรารถนายิ่งนัก
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาริยา มหาประลัย1“ขอโดลเช่ เดอ ลาเช่ ขนาดกลางแก้วหนึ่งค่ะ เพิ่มกาแฟอีกชอตและะ No whip cream ค่ะ อ้อ! ขอแบบไลท์ด้วยนะคะ Low Calories ด้วย ขอบคุณค่ะ” เฮือก! โล่งอก! ฉันพูดประโยคยาวยืดนี่จบซะที! จะมีใครรู้ไหมนะว่าฉันต้องฝึกพูดคำว่า “โดลเช่ เดอ ลาเช่” มาตั้งกี่ครั้งกว่าจะมาเสนอหน้าสั่งกาแฟชื่อประหลาดอย่างคล่องปากนี่ได้ แต่คริๆ...คงไม่มีใครรู้หรอก เพราะฉันวางมาดดีไม่มีหลุดราวกับเรียนการแสดงจากครูแอ๋วมาเสียขนาดนี้ ใครๆก็ดูแต่เปลือกกันทั้งนั้นแหละเธอ! เอาล่ะ สะบัดบ๊อบไปนั่งรอกาแฟได้แล้วย่ะยัยมาริยา อ๊ายส์! จ่ายเงินก่อนสิยะเธอ!!  ฉันใช้ริมฝีปากที่ทาลิปสติค Christian Dior อย่างบรรจง ค่อยๆ ดูดกาแฟ…
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาริยา มหาประลัยปล. คาวีเป็นชื่อพระเอกในละครตบจูบเรื่อง “สวรรค์เบี่ยง” ทางช่อง 3 ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้สวัสดีค่ะ คุณคาวี พักนี้มีข่าวข่มขืนขึ้นหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์กันพรึ่บพรั่บ ราวกับคนในบ้านเมืองของเราร่วมแรงแข็งขัน (และแข่งขัน) กันข่มขืนเป็นเมกะโปรเจ็กต์ ตั้งแต่รุ่นเด็กประถมยันอาจารย์มหาวิทยาลัย ดูแล้วชวนห่อเหี่ยวละเหี่ยใจเสียฉิบ ไม่ยักเหมือนเวลาดูคุณคาวีข่มขืนเลยนะคะ ดูแล้วได้ความบันเทิงเริงเมืองปนโรแมนติค ก็แหม…เวลาพูดถึงคนร้ายข่มขืนผู้หญิงทีไร ใครๆ ก็นึกถึงแต่ผู้ชายตัวดำๆ ไว้หนวดเครารุงรัง หน้าเถื่อนๆ ยืนดักอยู่ตามซอกตึก เหม็นกลิ่นเหล้าคุ้งเคล้ากลิ่นเหงื่อปนกลิ่นคาวปลาตามตัว…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ผมต้องคิดหนักและเหนื่อยกับการใช้พลังในการพัฒนาโครงการ “กล้าเลือก กล้ารับผิดชอบ” ของเครือข่ายเยาวชนด้านเอดส์ ประเทศไทย โครงการนี้เป็นโครงการที่จะสร้างกลไกระดับพื้นที่เพื่อรณรงค์ สร้างความเข้าใจเรื่องเอดส์ เพศศึกษาอย่างรอบด้าน และสนับสนุนให้เยาวชน ตระหนักและมีทัศนคติที่ดีในการเรียนรู้เรื่องการป้องกันเอดส์ รู้จักประเมินความเสี่ยงของตนเอง และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางเพศของตนให้ปลอดภัยผ่านการดำเนินการกับกลุ่มเครือข่ายเยาวชนในพื้นที่ 8 กลุ่ม ใน 20 จังหวัดกระจายไปในภาคต่างๆ ซึ่งจะต้องดำเนินการตลอดระยะเวลา 12 เดือน…
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาริยา มหาประลัย
กิตติพันธ์ กันจินะ
ประมาณวันที่ 14 เมษายน 2551 นี้ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550  ก็จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ หลังจากที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวและได้มีประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2551ส่งผลให้ต้องมีการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกลุ่ม องค์กร เยาวชน องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับพื้นที่ อย่างขะมักเขม้นอย่างไรก็ตามสำหรับเจตนารมณ์แล้ว กฎหมายฉบับดังกล่าวมีขึ้นมาเพื่อให้เกิดกลไกการสนับสนุนการมีส่วนร่วมและพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยให้ภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมทั้งภาครัฐและเอกชน…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ผมได้แรงบันดาลจากการเขียนเรื่องนี้จากภาพยนตร์เรื่อง “ปิดเทอมใหญ่ หัวใจว้าวุ่น” หนังใหม่ ที่กำลังฉายในโรงภาพยนตร์ใกล้บ้านท่านๆ ว่ากันด้วยเรื่องของเนื้อหาในหนังนั้น ผมก็ยังไม่ได้ไปชม เพียงแต่ดูเนื้อในจากเว็บไซต์ก็พอสรุปคร่าวๆ ได้ว่าภาพยนตร์นี้เป็นเรื่องราวของวัยรุ่น 4 วัยในความรัก 4 มุม ทั้ง รักที่ต้องแย่งกัน รักนักร้องดาราคนโปรด รักนอกใจ และรักข้างเดียว ....อืม เอาเป็นว่า ใครอยากรู้เรื่องมากขึ้นลองเข้าเว็บไซต์ www.pidtermyai.com  ดูแล้วกันนะครับในภาพยนตร์เรื่องนี้ได้นำเสนอชีวิตที่เกิดขึ้นของวัยรุ่นจำนวนหนึ่งในช่วงปิดเทอมใหญ่ ซึ่งบางคนก็ใช้เวลาไปแข่งกันขอเบอร์ผู้หญิง…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ใครจะไปรู้ว่าเทคโนโลยีบางอย่างจะทำให้เราไม่พลาดการสื่อสารที่สำคัญได้จริงๆ เรื่องเกิดเมื่อวันหนึ่ง, ขณะที่ผมกำลังออนไลน์โปรแกรมแชทยอดนิยมนั้น พี่ต้าร์ (วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ แห่งกลุ่ม Y-ACT) ก็ได้เข้าโปรแกรมออนไลน์ MSN จากในค่ายแห่งหนึ่ง ณ สวนแสนปาล์ม นครปฐม ซึ่งเป็นการอบรมนักศึกษาอาชีวศึกษากว่า 30 สถาบัน  “อยากดูป่ะ” พี่ต้าร์ถามและได้เปิดโปรแกรมวิดีโอออนไลน์ขึ้นมาผมตอบว่าอยาก – สักพัก ภาพเคลื่อนไหวของเพื่อนๆ พี่ๆ ได้ปรากฏออกมา และมีภาพของเพื่อนๆ เยาวชนที่เข้าร่วมค่ายกำลังทำกิจกรรมอย่างสนุกสนานผมถามพี่ต้าร์ว่ามาทำอะไรกัน?พี่ต้าร์ บอกว่า “วันนี้น้องอาชีวะกว่า สามสิบสถาบัน…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ในที่สุดนายกทักษิณ ก็ได้กลับบ้านเกิดเมืองนอน หลังจากที่ต้องเร่ร่อนรอนแรมอยู่ต่างประเทศตั้งปีกว่า กลับมาหนนี้ถือว่าได้กลับมาพิสูจน์ตัวเองในคดีต่างๆ ที่ตกเป็นจำเลย และยังได้กลับมาอยู่ใกล้ครอบครัวของตนเสียด้วย ยังไม่นับรวมถึงการที่จะต้องเข้ามาเคลียร์เรื่องอะไรอีกหลายอย่างที่เกิดขึ้นภายในพรรคและการเมืองที่ยังไม่ค่อยลงตัวสักเท่าใดนัก  ผมดูการกลับมาของคุณทักษิณ แล้วนึกถึงชีวิตของเด็กๆ ที่เร่ร่อนไร้บ้านอีกหลายคน ที่ต่างก็พเนจรไปในที่ต่างๆ ไม่ได้กลับบ้าน หรือบ้างก็ไม่มีบ้านอยู่อาศัย ซึ่งชะตากรรมของเขาหลายๆ คน ถือว่า "หนัก" กว่าคุณทักษิณหลายเท่า…
กิตติพันธ์ กันจินะ
  หลังจากที่โครงการเยาวชนไทยไม่ทอดทิ้งสังคม หรือ โครงการเยาวชน1000ทาง 1 ได้ดำเนินการมาจนจบวาระหนึ่งปีก็ถือว่าเรียนจบครบเทอมพอดี เพื่อนๆ พี่ๆ ทีมงานหลายคนต่างได้รับความรู้และประสบการณ์ในการทำงานเพื่อสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนเข้ามาทำกิจกรรมเพื่อสังคมมากยิ่งขึ้น แม้ว่าโครงการเยาวชน1000ทาง จะเกิดจากความร่วมมือของเครือข่ายเยาวชนที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคมมาหลายปี แต่สำหรับประเทศไทยนั้นนับว่ามีโครงการที่สนับสนุนกิจกรรมของเยาวชน "มือใหม่" ไม่มากนัก ฉะนั้นโครงการเยาวชน1000ทาง ถือว่าเป็นโครงการที่ภาครัฐสนับสนุนให้เกิดการทำงานโดยเยาวชนดำเนินการ มีผู้ใหญ่ทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นที่ปรึกษาการทำงาน…