Skip to main content

สำหรับชีวิตส่วนตัวแล้ว ผมเป็นวัยรุ่นคนหนึ่งที่เติบโตมาท่ามกลางการเลี้ยงดูของแม่และพี่ๆ ที่ส่วนใหญ่แล้วเป็นผู้หญิง เห็นการทำงานของผู้หญิงที่ “ศูนย์เพื่อน้องหญิง” จ.เชียงราย เห็นความเข้มแข็งในการทำงานของแม่ของพี่ๆ แต่ละคนแล้ว ทำให้ผมเห็นว่าความเป็นหญิง ความเป็นชาย แท้จริงแล้ว ทุกคนก็สามารถทำอะไรได้เหมือนกัน แต่ทว่าการเลี้ยงดูหล่อหลอมของสังคมกลับบอกว่าแบบนี้ผู้หญิงควรทำ แบบนี้ผู้ชายควรทำ

มีการแยกบทบาทตามสรีระทางเพศ กลายเป็นบทบาทที่ถูกกำหนดว่าแบบนี้ “ถูกต้อง” แบบนี้ “ควรจะเป็น” จนทำให้บางครั้ง ผมเองก็ไม่สามารถทำอะไรได้อย่างที่ผู้หญิงทำได้ เช่น ผมถูกผู้ใหญ่ทั่วไปสอนให้เป็นคนที่เข้มแข็งอย่าร้องไห้ให้ใครเห็นไม่งั้นจะอ่อนแอเหมือนผู้หญิง ผมถูกสอนจากโรงเรียนว่าเป็นผู้ชายต้องอดทน แข็งแรง ทำงานหนักให้เป็น ต้องเป็นผู้นำ ผมถูกบอกว่าเป็นผู้ชายต้องกล้ากินอาหารดิบๆ กินเหล้า เที่ยว มีแฟนไวๆ จึงจะสมกับความเป็นชาย
   
การสั่งสอนของสังคมผ่านโครงสร้างสถานบันต่างๆ ทำให้ผมเห็นถึงบทบาทความสัมพันธ์ของคนด้วยกันที่ไม่เท่าเทียม เพราะจากการทำงานและประสบการณ์ชีวิตก็เห็นว่าเพราะการสอนต่างๆ เหล่านี้แหละที่ทำให้โครงการอำนาจไม่มีความเท่าเทียมกัน ผู้ชายสามารถคุยเรื่องเพศได้ถือว่าเก่งผู้หญิงคุยถือว่าเป็นคนไม่ดี ผู้ชายพกถุงยางอนามัยได้ผู้หญิงพกก็ถูกมองว่าไม่ดี ผู้ชายมีคู่นอนหลายคู่ถือว่าเก่งเท่แต่ผู้หญิงกลับถูกมองว่าไม่ดี สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้พบว่าความเชื่อเหล่านี้เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้เรื่องเพศและโอกาสในความเข้าใจเรื่องเพศวิถีของตนเอง ดังนี้ความเป็นเพศของชายกับหญิงจึงไม่เท่ากัน และยังนำไปสู่ความสัมพันธ์ทางเพศที่ไม่เท่าเทียม
   
สำหรับผมแล้ว การคุยเรื่องเพศของตัวเองจึงเป็นเรื่องที่ควรจะทำความเข้าใจและพูดคุยกัน เหมือนดังที่ผมได้มีโอกาสคุยกับพี่สาวที่ผมรู้จักคนหนึ่ง และเราก็ได้มีโอกาสทำความเข้าใจในเรื่องเพศร่วมกัน
   
ในการทำงานเรื่องเพศ หลายคนมองว่ายากต่อการทำความเข้าใจในเรื่องคู่ของตัวเอง ทั้งนี้สิ่งที่เกิดขึ้น เช่น กรณีที่เราเป็นผู้หญิง และคู่ความสัมพันธ์ของเราเป็นผู้ชาย การที่จะให้ผู้หญิงคนนั้นเริ่มคุยเรื่องเพศก่อน ก็อาจถูกคู่ของเธอที่คบหาอยู่รู้สึกตกใจ หรือมองเธอคนนั้นในทางที่ไม่ดีก็เป็นได้
   
แต่น้อยคนนักจะรู้ว่า ปัจจุบันผู้หญิงหลายคนเริ่มคุยเรื่องเพศของตนมากขึ้น และผู้ชายเองก็ไม่ได้มองผู้หญิงมุมลบๆ อย่างเดียว หากมองว่าเป็นเรื่องดีด้วยซ้ำที่ได้รับฟังเรื่องของคนที่ตัวเองคบอยู่
   
มีประสบการณ์ที่น่าสนใจอย่างยิ่งจากเรื่องของเพื่อนรุ่นพี่ผู้หญิงคนหนึ่งที่ทำงานในเรื่องเพศกับองค์กรพัฒนาเอกชนมาเป็นระยะเวลานานหลายปี
   
พี่สาวคนนี้ เล่าว่า “ในคู่ของตัวเอง เวลามีหรือไม่อยากมีอะไร พี่ทำงานด้านนี้ แต่คู่ไม่ได้ทำ แรกๆ กลัวเหมือนกัน แต่พอคุย ก็รู้ว่าเขาเข้าใจง่าย เวลาเราอยากมีหรือไม่อยากมี เราก็คุยกัน พี่ไม่ได้กลัวเรื่องไม่ไว้ใจ ก็กังวล ก็ลุ้นว่าจะเกิดอะไรขึ้น แต่สุดท้ายก็คุย เขาก็ฟังเรา เขาก็รู้ว่าทำไมเราคิดแบบนี้”
    
“อย่างความสุขทางเพศ พี่ก็คุยเรื่องถ้าเรามีแบบไม่ป้องกัน พี่ก็ถามว่า ใช้กับไม่ใช้อะไรรู้สึกดี เขาก็บอกว่า ไม่ใส่ดีกว่า แล้วพี่ก็ถามกลับว่าทำไม เขาบอกว่ามันไม่ได้แนบเนื้อ พี่ก็ถามว่าจริงเหรอ เค้าก็บอกว่าเวลาใส่ก็เสร็จเหมือนกัน มันเป็นเรื่องความรู้สึก”
   
แล้วเวลาคุยแบบนี้ เขามองเราอย่างไร?

“ไม่นะ พี่ว่าเรื่องแบบนี้ต้องคุยกัน คุยตั้งแต่ไม่เคยมีอะไรกัน คุยมาตลอด ยกตัวอย่างคนรอบข้าง อย่างบางทีเขามองชายกับชายภาพลบ พี่ก็จะคุยกับเขา อย่างเวลาไปไหน ก็จะคุยกับเขา เวลาเขาเห็นคู่ไหน เวลาที่พี่คิดว่าจะเติมก็เติมตลอด” 
   
แน่นอนว่า เพื่อนชายของคู่เราหลายๆ คนอาจมองในด้านลบ แต่การได้เริ่มคุยกับคู่ของตัวเองก็ทำให้สามารถขยาย ไปกับคนอื่นต่อได้ อย่างความคิดของพี่คนนี้ที่มองว่า เราอาจไม่ใช่คนสุดท้ายของเขา ที่เราทำไปเพื่อวันหน้าถ้าเขาคบคนใหม่ เขาก็ไม่ได้ดูหมิ่นใคร เขาก็ไม่เบียดเบียนคนอื่นๆ มีความเข้าใจในคู่ของเขา เราไม่คิดว่าจะคบกับคนนี้ไปตลอด จากกรณีดังกล่าวนับได้ว่า เป็นการเริ่มต้นคุยเรื่องเพศจากคนใกล้ตัว
   
ทว่าบางครั้งการคุยเรื่องเพศกับคนใกล้ตัวก็เป็นเรื่องที่ยากที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงกับคนบางคน แต่สำหรับพี่สาวคนที่รู้จักนั้น เล่าให้ฟังว่ามีความเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดกับคู่ของตน 

“พี่ว่า เขาดีขึ้น เวลาเห็นคนอื่นก็เป็นห่วงสุขภาพคนอื่นมากขึ้น เช่นเอาถุงยางให้เพื่อน สอนน้องชายเขา ก็คุย เรื่องการป้องกัน เรื่องความเสี่ยง เขาก็ช่วยเรื่องแจกถุงยาง เพื่อนที่รู้จักเวลาไปเที่ยวอาบอบนวดเขาก็คุยกับเพื่อน” พี่เขาอธิบายความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากคู่ของตัวเอง และยังมองว่า “เวลาเห็นเขาเปลี่ยน จะรู้สึกดี ไม่ได้ช่วยสังคมทั้งหมด แต่ได้ช่วยเหลือคนอื่น ก็ดีแล้ว ได้ช่วยเพื่อนๆ ปลอดภัยดี”
   
ในรายละเอียดบางเรื่อง กว่าที่จะทำให้คู่เปลี่ยนทัศนคติได้ แน่นอนว่าการพูดคุยอาจมีทั้งเรื่องบางเรื่องที่คุยได้ และบางเรื่องคุยไม่ได้ บางเรื่องใช้เวลาในการอธิบายมากกว่าบางเรื่อง อาทิเช่น เรื่องท่วงท่า หรือลีลาการร่วมเพศ

“พี่จะคุย ส่วนใหญ่ จะถาม อย่างเวลาดูหนังโป๊ ก็ลองมาทำ แบบนี้ใช่ ไม่ใช่ ชอบไม่ชอบ ในความคิดของเขาอาจมี แต่เขาไม่กล้า พี่ว่าเซ็กส์ของคนกับในหนังต่างกันมาก คนเราจริงๆ ไม่ได้ร้องแรงๆ โอเวอร์ๆ หรือข้ามกันไปมา เหมือนในหนังที่ผู้หญิงต้องร้องครวญครางอย่างดุเดือด ผู้ชายต้องทำแรงๆ ในความเป็นจริง พี่ว่ามันไม่ได้รุนแรงเหมือนในหนัง คือเรานึกถึงความรู้สึกของคู่มากกว่า”
 
“อย่างท่า เราก็คุยว่าแบบนี้ แรงไป เบาไป เราก็คุยว่า ควรจะเปลี่ยนไม่เปลี่ยนพี่บอกเขาว่าไม่ชอบโลดโผน มันก็ช่องเดียวกัน พี่คุยตลอด เพราะรู้ว่าต้องเริ่มจากคู่เราก่อนที่จะไปบอกกับคนอื่นๆ เวลาเราไปบอกคนอื่นๆ แล้วไม่ได้เริ่มจากตัวเอง มันมีความรู้สึกบางอย่าง อย่างคู่หรือคนที่รู้จัก พี่ก็จะคุยกับคนทุกคน ทั้งใกล้ตัว อย่างเพื่อน สนิทไม่สนิท”

นอกจากการคุยเรื่องเพศจากคนใกล้ตัวแล้ว การคุยกับคนรอบข้าง เพื่อขยายความเข้าใจ หรือสร้างพื้นที่ในการคุยเรื่องเพศก็เป็นเรื่องสำคัญ ที่ต้องเรียนรู้ร่วมกันด้วยประสบการณ์ของแต่ละคน
 
“พี่ว่าเรื่องเพศ ไม่ใช่เรื่องลามก เรื่องเพศสัมพันธ์ทุกรูปแบบตั้งแต่จับไปจนถึงสอดใส่ มันไม่ใช่ลามก แต่มันอยู่ที่ ‘คำพูด’ และ ‘กาลเทศะ’ พี่ไม่เคยโดนว่า ว่าลามก แต่พี่ดูว่าจะเริ่มต้นจากจุดไหนก่อน อย่างเวลาคุยก็ต้องค่อยๆ คุยจากเรื่องไกลตัวมาใกล้ตัว อย่างรุ่นน้องบางคนก็ไม่ได้ถามตรงๆ แต่คุยอ้อมๆ แล้วค่อยเข้าเรื่อง”

การคุยอาจไม่จำเป็นต้องคุยแบบตรงอย่างขวานผ่าซาก แต่เราสามารถที่จะคุยอย่างอ้อมค้อม แต่เมื่อถึงจุดสำคัญแล้วก็ต้องคุยเรื่องเหล่านี้อย่างตรงไปตรงมา ไม่อ้อม ไม่วกวน แต่ต้องเข้าถึงเรื่องอย่างเปิดเผย ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่งในการคุยเรื่องเพศ

ทั้งนี้ การคุยด้วยท่าทีที่เป็นมิตร สบายใจ เป็นการสร้างให้เกิดพื้นที่ปลอดภัยในการคุย เป็นปัจจัยสำคัญต่อ การคุย เพราะอย่างประสบการณ์ของรุ่นพี่คนนี้ มองว่า “เรื่องไหนที่ใช่ ไม่ใช่เราก็จะบอก บางครั้งอาจดุ บางครั้งไม่ดุ เรามีเจตนาดีเป็นที่ตั้งอยู่แล้ว คือคุยด้วยความเป็นมิตร เป็นมิตรมันอธิบายไม่ได้ แต่มันสัมผัสได้”

การคุยเรื่องเพศจากมุมของตัวเอง กับคู่หรือคนรอบข้าง ความเป็นมิตร คือหัวใจที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ร่วมกันอย่างปลอดภัยและนำไปสู่การมองชีวิตของตัวเองในด้านอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น

และเมื่อเราเอาความเป็นหญิงชายออกไปเราก็จะเรียนรู้ความเป็นคนของคนๆ นั้นได้มากยิ่งขึ้น

 

 

บล็อกของ กิตติพันธ์ กันจินะ

กิตติพันธ์ กันจินะ
งานวิจัยมากมายทยอยออกมานำเสนอผ่านสื่อมวลชน ในช่วงก่อนวาเลนไทน์ ชนิดที่ว่า นอกจากจะเป็นช่วงเทศกาลวันแห่งความรักแล้ว ยังเป็นเทศกาลนำเสนอผลวิจัยวัยรุ่นอีกก็ว่าได้งานวิจัยที่ออกมาส่วนใหญ่แล้ว มีลักษณะ “ถ้ำมอง” และ นำเสนอด้าน “ลบ” ของวัยรุ่นเพียงอย่างเดียว ทำนองว่า วัยรุ่นจะมีเพศสัมพันธ์กันมากที่สุดในวันดังกล่าว – ผมเองได้พยายามค้นหาดูว่ามีผลวิจัยหรืองานสำรวจอะไรบ้างที่ให้ข้อเสนอแนะทางออกในเชิงสร้างสรรค์เกี่ยวกับเรื่องเพศของวัยรุ่นนอกจากผลการสำรวจของ เครือข่ายเยาวชนด้านเอดส์ ประเทศไทย (Youth Net) ที่เสนอว่า วัยรุ่นกว่า 70% เห็นว่าควรมีวิชาเพศศึกษาในหลักสูตรของทุกโรงเรียน…
กิตติพันธ์ กันจินะ
1นันกับฝน เรียนอยู่มหาวิทยาลัยอีกไม่กี่เดือนก็จะจบการศึกษาแล้ว เขาทั้งสองเป็นเด็กต่างอำเภอที่ได้ย้ายมาเรียนในตัวเมืองของจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคเหนือทั้งสองคนพบกันครั้งแรกตอนเข้า ม.4 ตอนนั้นเป็นจุดตั้งตนให้เขาและเธอได้รู้จักและพัฒนาความสัมพันธ์เรื่อยมาจนเป็นแฟนกัน และจากนั้นนันกับฝนจึงตัดสินใจย้ายหอมาอยู่ด้วยกัน อาศัยห้องเดียวกัน ตอนเรียน ม.5 ตอนที่มีอะไรกันครั้งแรก นันใช้ถุงยางอนามัย เพียงเพราะยังไม่อยากรับผิดชอบผลกระทบที่จะตามมาจากการมีอะไรโดยไม่ได้ป้องกัน เขาไม่ได้ให้ฝนคุมกำเนิดด้วยการทานยาคุมกำเนิดเพราะกลัวผลข้างเคียง ที่จะเกิดขึ้น แต่เลือกใช้ถุงยางอนามัยทุกๆ ครั้ง พอเรียนจบ ม.6…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ผมเพิ่งกลับจากค่ายเยาวชนที่จังหวัดเชียงราย เป็นการจัดกิจกรรมเรื่องเพศ มีวัยรุ่นหลายคนเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งโดยหลักแล้วก็เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเรื่องเพศ เพศภาวะ และเพศวิถี ซึ่งเน้นการพูดคุยจากมุมภายในของผู้เข้าร่วมแต่ละคนมีน้องคนหนึ่งที่มาร่วมกิจกรรม บอกความรู้สึกกับผม “ผมดีใจมากครับ ที่ได้มาร่วมกิจกรรมนี้ อยากเข้าร่วมกิจกรรมแบบนี้ แต่ไม่ค่อยมีโอกาสเลย ดีนะครับที่พวกพี่มาจัด” น้องอีกคนหนึ่งก็บอกอีกว่า ที่ชุมชนของตัวเองได้มีการจัดกิจกรรมโดยอบต. แต่กิจกรรมส่วนใหญ่จะเน้นการกีฬา กิจกรรมตามวันสำคัญ และเยาวชนในชุมชนก็เข้าร่วมฟังน้องทั้งสองคนพูดขึ้นมาผมก็คิดถึง ผลการศึกษาวิจัยเรื่อง “…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ผมรู้จักกับคุณหมอสงวน นิตยารัมภ์พงศ์  ตอนอายุ 18 ปี สมัยที่ได้เริ่มวาระการเป็นกรรมการควบคุมคุณภาพมาตรฐานบริการสาธารณสุข จากสายองค์กรเอกชนด้านเด็กและเยาวชน เมื่อหลายปีก่อน ตอนเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการในตอนแรกๆ ผมค่อนข้างจะเกร็งเพราะคณะกรรมการแต่ละท่านเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสำคัญต่อวงการสาธารณสุขและสังคมและอาวุโสห่างจากผมมากกว่า 20 ปี  ตอนนั้น คุณหมอสงวน ทำหน้าที่เป็นเลขานุการในที่ประชุม และเมื่อประชุมเสร็จสิ้น ผมได้เข้าไปทักทายและแนะนำตัวเองกับท่าน ท่านมีความเป็นกันเองและให้เกียรติกับผมมากและได้บอกให้ผมสบายใจ มั่นใจและเชื่อมั่นในการทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด
กิตติพันธ์ กันจินะ
ลมหนาว ยังไม่จางหาย....วันเด็กแห่งชาติเพิ่งจัดเสร็จไปไม่กี่วัน จนถึงวันนี้ วันเด็ก เสาร์ที่สองของเดือนมกราคม ยังคงมีการจัดมาอย่างสม่ำเสมอทุกๆ ปี นับตั้งแต่สมัย พ.ศ. 2499 ในยุคจอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัตน์ ได้มอบคติเตือนใจสำหรับเด็กๆ ปีละ 1 คำขวัญ จนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบเนื่องจนถึงปัจจุบันวันเด็กที่ผ่านมา ผมได้ร่วมกิจกรรมที่ศูนย์เพื่อน้องหญิง จ.เชียงราย ภายในงานจัดกิจกรรมในแนวว่า “ข้างหลังภาพ” ทำนองว่า ทำงาน ทำกิจกรรม กันมามากมาย ทั้งเด็ก ผู้ปกครอง ผู้สูงอายุ วันนี้น่าจะมาดูกันว่าได้ทำอะไรกันมาบ้าง ซึ่งเด็กๆ…
กิตติพันธ์ กันจินะ
กาลชีวิตของผมเดินทางผ่านมาแล้วอีกหนึ่งปี และคงจะเดินทางต่อไปตามเข็มนาฬิกา สายน้ำ สาดลม แสงแดด เช่นนี้อีกเรื่อยๆ ตราบที่ยังคงมีลมหายใจอยู่...เมื่อปีที่แล้ว เรื่องราวที่เกิดขึ้น อันเกี่ยวข้องกับเยาวชน คนหนุ่มสาวในประเทศนี้มีมากมายทั้งร้ายดี โดยส่วนตัวแล้ว เห็นความพยายามของผู้ใหญ่หลายภาคส่วนที่เข้ามาสนับสนุนการทำกิจกรรมสร้างสรรค์สังคมของเยาวชนอยู่มากมายหลายหลากโครงการพัฒนาเยาวชนจำนวนมาก ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคธุรกิจ ล้วนมุ่งเน้นให้เยาวชนคนหนุ่มสาวเข้ามาทำกิจกรรมทางสังคมมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ตัวอย่างที่ได้รับรู้มาดังเช่น โครงการเยาวชนไทยไม่ทอดทิ้งสังคม ที่เครือข่ายเยาวชน 14 กลุ่ม…
กิตติพันธ์ กันจินะ
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพิ่งจบลงเมื่อวานนี้ ตอนค่ำ ผลสรุปจากการกากบาทลงคะแนนให้กับคนที่รัก พรรคที่ชอบ ได้ผลออกมาอย่างไม่เป็นทางการ บางคนอาจถูกใจ บางคนอาจไม่ถูกใจหลังจากลงคะแนนเสียงเสร็จ ผมได้เดินทางไปยังเขตชายแดนอำเภอแม่สายกับพี่ๆ เจ้าหน้าที่ศูนย์เพื่อน้องหญิง เพื่อจับจ่ายซื้อของและเดินเล่นไปมาตามประสาคนที่อยากพักผ่อนเที่ยวท่องให้คล่องใจเวลาในการเดินทางไป การเดินทางจับจ่ายซื้อของ และการเดินทางกลับ เริ่มจากตอนสาย จนถึงตอนหัวค่ำ ระหว่างที่อยู่เขตอำเภอแม่สาย ผมแยกตัวจากพี่ๆ เจ้าหน้าที่อีก 4 คน เดินเล่นเองคนเดียว เพียงเพื่อจะหาร้านกาแฟสดดีๆ ที่มีหนังสืออ่านและมีเพลงฟัง ผมเดินไปทั่ว…
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาจนถึงวันนี้ผมยังไม่ได้พาตัวและตาของตนไปดูภาพยนตร์เรื่อง "รักแห่งสยาม" เลย แม้ว่าจะมีเพื่อนๆ หลายคนได้เชื้อเชิญแจ้งแถลงชวนให้ไปดูหลายเวลา หลายคราก็ตาม ผมก็ยังไม่ได้ไปดูเสียทีโดยส่วนตัวแล้ว ผมไม่ได้เป็นคนปฏิเสธโรงภาพยนตร์นะครับ เพราะภาพยนตร์แต่ละเรื่องที่จะทำให้ผมไปดูได้นั้น ต้องเป็นเรื่องที่ผมมีเพื่อนไปดูด้วย คือ ถ้าไปคนเดียวผมคงไม่ไปครับ เพราะไม่เคยดูหนังคนเดียว และยิ่งไม่รู้ว่าต้องซื้อตั๋ว ซื้ออะไรยังไงบ้าง เพราะปกติเวลาไปเพื่อนๆ จะเป็นคนซื้อตั๋วและขนมขบเคี้ยวเข้าไปให้สำหรับ "รักแห่งสยาม" ถือเป็นภาพยนตร์ที่มีผู้คนกล่าวถึงค่อนข้างมาก และกล่าวถึงในหลายแง่มุม เช่น…
กิตติพันธ์ กันจินะ
“อากาศหนาวๆ เย็นๆ อย่างนี้ หากได้หาใครสักคนมาอยู่ข้างกายก็คงจะดี” เพื่อนรุ่นพี่พูด บอกเสมือนจะสื่อให้ผมหาใครสักคนมาอยู่ข้างกาย เพื่อเป็นเพื่อนคุย แต่ผมคิดว่านัยยะของคำพูดนี้ น่าจะสะท้อนความคิดบางอย่าง ว่าการที่จะมีใครสักคนเข้ามาอยู่ใกล้ๆ เราในช่วงฤดูหนาวเช่นนี้ แน่นอนว่าจะช่วยทำให้เราอุ่นกายและอุ่นใจได้พร้อมๆ กันผมครุ่นคิดถึงคำพูดของเพื่อนรุ่นพี่ หลายวัน พลันกับได้ยินเรื่องราวเรื่องการคัดค้านมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐหรือ ‘มอ’ นอกระบบ  ก็ทำให้นึกถึง ความรักนอกระบบ ไปด้วย ความรักนอกระบบ กับ ‘มอ’ นอกระบบ แม้จะไม่เหมือนกัน…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ความรักไม่เข้าใครออกใคร ไม่ว่าวัย-อาชีพ-เพศ-ชนชั้น-เชื้อชาติใด ความรักย่อมมีอยู่ในทุกที่ ดั่งเช่นความรักของคนทำงานเรื่องเพศในการทำงานเรื่องเพศ หลายคนมองว่าอาจยากต่อการทำความเข้าใจกับคู่ของตัวเอง เมื่อเราเป็นผู้หญิงและคู่ของเราเป็นผู้ชาย แล้วให้เราเริ่มคุยเรื่องเพศก่อน ก็อาจถูก ‘คู่’ ที่คบหาตกใจ หรือมองเราในมุมที่ไม่ค่อยดีก็เป็นได้ แต่น้อยคนนักจะรู้ว่า ปัจจุบันผู้หญิงหลายคนเริ่มคุยเรื่องเพศของตนมากขึ้น และผู้ชายเองก็ไม่ได้มองผู้หญิงมุมลบๆ อย่างเดียว หากมองว่าเป็นเรื่องดีด้วยซ้ำที่ได้รับฟังเรื่องของคนที่ตัวเองคบอยู่ มีประสบการณ์ที่น่าสนใจอย่างยิ่งจากเรื่องของเธอ –…
กิตติพันธ์ กันจินะ
เมื่อหลายวันก่อน ผมได้เข้าร่วมกิจกรรมเวที “เพศศึกษาเพื่อเยาวชน” ของโครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจ องค์การแพธ ร่วมกับมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และพันธมิตรอีกหลายองค์กร จัดงานระดับภาคตะวันตกและภาคตะวันออกขึ้น โดยการจัดครั้งนี้เป็นการครั้งแรกของภาคดังกล่าวภายในงานมีเยาวชนจากหลายโรงเรียนและหลายกลุ่มเข้าร่วม พร้อมๆ ทั้งผู้ใหญ่จากหน่วยงานภาคการศึกษาและหน่วยงานภาคประชาสังคม เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งธีมหลักๆ ของเวทีนี้คือ “ร่วมกันชี้โพรงให้กระรอกเข้าอย่างปลอดภัย” ทำไมต้องชี้โพรงให้กระรอก ในเมื่อกระรอกรู้ว่าโพรงนั้นต้องเข้ายังไง –…
กิตติพันธ์ กันจินะ
รายงานข่าวเมื่อไม่นานมานี้ระบุว่า มียอดเด็กที่กำพร้าจากพ่อแม่ที่ต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบจากสถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวนหลายพันคน ซึ่งภาครัฐยังคงต้องหาแนวทางการดูแลเด็กที่เผชิญกับปัญหาต่างๆ ทั้งเรื่องการเข้าถึงการศึกษา และการดูแลคุ้มครองปกป้องสวัสดิภาพของเด็ก ทว่าอย่างไรเสีย  แม้ว่าเรื่องราวความรุนแรงในเหตุการณ์ดังกล่าว จะยังคงปรากฏให้เห็นอยู่เสมอทั้งหน้าจอโทรทัศน์หรือหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ แล้ว ยังมีเรื่องราวความรัก ความสัมพันธ์ ระหว่างคนในพื้นที่กับคนนอกพื้นที่ที่ได้ลงไปปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ในพื้นที่เกิดเหตุ ตามบทบาทหน้าที่ต่างๆ อาทิ หมอ ทหาร ครู…