Skip to main content

20080116 วันเด็กทุกสัญชาติ

ลมหนาว ยังไม่จางหาย....

วันเด็กแห่งชาติเพิ่งจัดเสร็จไปไม่กี่วัน จนถึงวันนี้ วันเด็ก เสาร์ที่สองของเดือนมกราคม ยังคงมีการจัดมาอย่างสม่ำเสมอทุกๆ ปี นับตั้งแต่สมัย พ.ศ. 2499 ในยุคจอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัตน์ ได้มอบคติเตือนใจสำหรับเด็กๆ ปีละ 1 คำขวัญ จนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบเนื่องจนถึงปัจจุบัน

วันเด็กที่ผ่านมา ผมได้ร่วมกิจกรรมที่ศูนย์เพื่อน้องหญิง จ.เชียงราย ภายในงานจัดกิจกรรมในแนวว่า “ข้างหลังภาพ” ทำนองว่า ทำงาน ทำกิจกรรม กันมามากมาย ทั้งเด็ก ผู้ปกครอง ผู้สูงอายุ วันนี้น่าจะมาดูกันว่าได้ทำอะไรกันมาบ้าง ซึ่งเด็กๆ ก็ได้เตรียมจัดกิจกรรมในบู๊ธของตนเอง มีการเล่นเกม จัดนิทรรศการ การเรียนในเรื่องเอดส์ เพศ สิทธิเด็ก ส่วนผู้สูงอายุก็เตรียมของใช้ในอดีตมาแสดงให้เด็กๆ ดู เช่น เครื่องปั่นฝ้าย ที่จับปลา เป็นต้น

มีผู้ปกครองพาเด็กๆ ตัวเล็กๆ เข้ามาร่วมกิจกรรม มีน้องคนหนึ่งถามผมว่า “วันเด็กมีจัดกี่ที่”

ผมเงียบไปสักพัก แล้วก็บอกว่า “น่าจะมีหลายที่นะครับ”

“แล้วประเทศอื่นมีวันเด็กไหม...” น้องผู้หญิงอีกคนถามผม ผมตอบว่า “ไม่รู้ครับ” เพราะไม่รู้จริงๆ ว่าประเทศอื่นมีการจัดกิจกรรมวันเด็กแบบเมืองไทยไหม หรือถ้ามีก็คงจะไม่ใช่วันเดียวกัน แต่อาจเป็นวันอื่นๆ ก็ได้

พอนึกถึงเรื่องประเทศอื่น ก็นึกถึงเรื่องชาติขึ้นมา ..... เรื่องชาติ โดยเฉพาะคนที่อยู่ในชาตินี้ แต่ไม่มีสัญชาติ เป็นคน “ทุกข์” เรื่องสัญชาติ ซึ่งก็คือ เด็กๆ เพื่อนๆ พี่น้องอีกหลายคนที่เกิดบนแผ่นดินไทย แต่ไร้ซึ่งสัญชาติไทย

อย่างงานวันเด็กไร้สัญชาติ ก็ได้มีการจัดมาแล้วหลายครั้ง และแต่ละครั้ง ก็มีกระแสผลักดันให้ภาครัฐดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องสัญชาติของเด็ก เพราะเด็กๆ หลายที่ที่ไร้สัญชาตินั้น จะขาดหลักประกันในการเข้ารับการศึกษา หรือการบริการสาธารณสุขของรัฐ

ทั้งนี้แม้ว่า ภาครัฐที่เกี่ยวข้องจะได้ดำเนินการต่างๆ เช่น ในเรื่องสัญชาติ ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ที่ประเทศไทยลงนามเป็นภาคี เมืองปี 2535 และได้ตั้ง ข้อสงวนไว้ สอง – สาม ข้อ ซึ่งหนึ่งในนั้น คือเรื่อง “สัญชาติ” โดยความคืบหน้าปัจจุบัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เสนอว่า ให้รัฐบาลดำเนินการ ถอนข้อสงวนข้อ 7 เรื่องสถานะบุคคล โดยการแก้ไข พ.ร.บ. สัญชาติ เพื่อไม่ให้เด็กที่เกิดในประเทศไทยของพ่อและแม่ต่างด้าวเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย

เรื่อง มาตรา 7 ทวิ ตามพรบ.สัญชาติ พ.ศ. 2535 ได้เปิดโอกาสให้คนที่ไร้สัญชาติสามารถร้องขอสัญชาติไทยต่อกระทรวงมหาดไทยเป็นรายๆ ได้ตามกฎหมาย แต่ก็ยังพบว่ายังมีเด็กไทยบางส่วนที่ประสบปัญหาเรื่องเอกสารการเกิด ทำให้ไม่สามารถจดทะเบียนการเกิดและไม่ได้รับสัญชาติไทยด้วยเช่นกัน

แน่นอนว่าสาเหตุสำคัญอันดับต้นๆ ของการที่เด็กๆ ไม่ได้รับสัญชาติ บางส่วนเนื่องจากประชาชนที่ไม่มีสัญชาติไทยไม่รู้กฎหมายและระเบียบขั้นตอนในการดำเนินการแจ้งเกิด หรือไม่เห็นประโยชน์ของการแจ้งเกิด หรืออุปสรรคในการเดินทางก็ตาม แต่สาเหตุที่เจ้าหน้าที่ภาครัฐบางส่วนไม่อำนวยความสะดวก หรือเลือกปฏิบัติยังคงมีอยู่ เช่น การเรียกเก็บเงินใต้โต๊ะ หรือเรียกหลักฐานประกอบมากเกินความจำเป็น ฯลฯ ก็ถือว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์เข้าตนบนความเดือดร้อนของผู้อื่น

ทั้งนี้อย่างไรก็ตาม คณะทำงานที่ติดตามเรื่องอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กของประเทศได้มองว่าในเรื่องสิทธิที่จะมีชื่อ สัญชาติ และสถานะบุคคล (identity) นั้นรัฐจะต้องส่งเสริมการประกันให้เด็กที่เป็นคนไร้รัฐ (stateless) มีสิทธิที่จะมีสัญชาติ (รวมถึงสัญชาติไทย) และสามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานต่างๆ ได้ นอกจากเรื่องแก้กฎหมายแล้ว จะมีการส่งเสริมการศึกษาแก่เด็กไร้สัญชาติ

ส่วนเด็กผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาแหล่งพักพิง บัญญัติกฎหมายเพื่อคุ้มครองเด็กผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาแหล่งพักพิง และประกัน การเคารพหลักการไม่ผลักดันกลับ (non-refoulement) โดยเฉพาะเด็กที่เคยเป็นทหาร รวมทั้งพิจารณาเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 และพิธีสาร ค.ศ. 1967

หรือแม้แต่ (ร่าง) พรบ.ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. ...... ก็ได้ระบุว่า “ให้เด็กและเยาวชนทุกคนมีสิทธิได้รับการจดทะเบียนรับรองการเกิด การพัฒนา  การยอมรับ การคุ้มครองและโอกาสในการมีส่วนร่วมตามที่บัญญัติในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น ที่เกี่ยวข้องอย่างเท่าเทียม โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่อง ถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนาและวัฒนธรรม การศึกษาอบรม ความคิดเห็นทางการเมือง การเกิดหรือสถานะอื่นของเด็กและเยาวชน บิดามารดา หรือผู้ปกครอง”

ฉะนั้นแล้ว ถือได้ว่าเรื่องของสัญชาติของเด็กนั้นไม่ควรจะเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการทางสังคมต่างๆ อย่างที่ได้เกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมา และเป็นเรื่อง “สิทธิ” ขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคนจริงๆ ซึ่งเมื่อย้อนกลับมายังวันเด็กที่เกิดขึ้นนั้น ก็อาจบอกได้ว่า ควรจะเป็นวันเด็กของเด็กๆ ทุกคน ไม่ว่าเด็กคนนั้นจะมีหรือไม่มีสัญชาติ ควรจะเป็นวันเด็กทุกสัญชาติ ที่ไม่แค่เฉพาะเด็กที่มีทุกข์จากเรื่องสัญชาติเพียงเท่านั้น

..........

ผมยังจำเรื่องของ มึดา นาวานารท เพื่อนเยาวชนจากแม่ฮ่องสอน ได้ว่า เธอเป็นเด็กคนเดียวร้องไห้หน้าทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันเด็กหลายปีก่อน เพราะนายกทักษิณเมื่ออดีต หนีพวกเธอออกทางหลังทำเนียบฯ ตอนนั้นเธอเล่าว่าที่ไปทำเนียบนั้นเพื่อจะไปบอกเล่าความรู้สึกและปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวเองและเพื่อน ๆ เนื่องจากประเด็นไร้สัญชาติเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องให้ผู้ใหญ่ช่วยแก้ไข การได้รับสถานะความเป็นคนไทย คือ ของขวัญสำหรับเด็ก ๆ ที่ไม่มีสัญชาติ

มึดา เคยเสนอว่า “นายกรัฐมนตรี คือ คนที่มีอำนาจในการจัดการเรื่องสัญชาติสูงสุด หันมาสนใจเรื่องสัญชาติสักนิดก็จะดี แม้จะเป็นเรื่องของคนกลุ่มหนึ่งเพียงหยิบมือในประเทศไทย แต่อยากให้คิดว่าพวกเราก็เป็นส่วนหนึ่งของประเทศนี้อยากให้ลองเข้าหาคนรากหญ้าจริง ๆ เดินเข้าหาประชาชนที่ประสบปัญหาจริง ๆ มาดูกันว่าข้อเท็จจริง คือ อะไร มีอะไรที่ซ่อนอยู่ในนั้นบ้างเราน่าจะมาเปิดโอกาสคุยกันหรือเปล่า เปิดอกคุยกันดีกว่าจะปล่อยเอาไว้แบบนี้ หากยืดเยื้อไม่ยอมแก้ไข ปัญหาจะเรื้อรังขึ้นหรือเปล่าและอย่าแก้ไขที่ปลายเหตุ โยนเงินลงมาให้หรือส่งออกไปประเทศโลกที่สาม แก่นของปัญหาจริง ๆ ไม่ได้รับการเปิดออกมา”

วันเด็กปีนี้ แม้ว่าจะมีการแจกขนมอบกรอบต่างๆ มากมาย คละคลุ้งไปกับกลิ่นโชยแห่งความอาดูร ในการสูญเสียสมาชิกของราชวงศ์ แต่ปัญหาของเด็กทุกๆ คน ไม่ว่ามีหรือไม่มีสัญชาติยังคงเกิดขึ้นดั่งสายลมที่พัดพาความเยือกเย็นหนาว ผ่านมาและผ่านไป ทุกขณะ ...รัฐบาลแล้ว รัฐบาลเล่า.....


--------
แหล่งข้อมูล:
1. รายงานผลการดำเนินงานของประเทศไทย ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ฉบับที่ 2 เสนอต่อคณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ โดย คณะอนุกรรมการเรื่อง “สิทธิเด็ก” คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ
2. บทสัมภาษณ์มึดา นาวานารท เข้าถึงได้ที่ http://www.thaingo.org/man_ngo/muda.htm

 

บล็อกของ กิตติพันธ์ กันจินะ

กิตติพันธ์ กันจินะ
จากที่ข้อเขียนเรื่องเพศวิถีมีชีวิตทั้งหมดที่ได้กล่าวมานั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การวางความคิด เรื่องการเปิดใจคุยเรื่องเพศของตนเอง เรื่องความหลากหลายในรักและความสัมพันธ์ ความรักต่างเพศนิยม เรื่องกระแสสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นความพยายามที่จะมาสรุปในตอนท้ายของบทความนี้ว่า หากเราจะคุยเรื่องเพศวิถีจากมุมมองภายในจากชีวิตของเรานั้น เพื่อสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายในตัวเอง อะไรที่เป็นความท้าทายที่จะนำไปสู่การจุดประกายให้แต่ละคนได้กลับมาสำรวจ ตั้งคำถาม และสร้างการเรียนรู้เรื่องต่างๆ เหล่านี้ได้โดยอาศัยทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกของแต่ละคน
กิตติพันธ์ กันจินะ
โลกเปลี่ยนแปลงไปทุกขณะ ความสัมพันธ์ทางเพศของมนุษย์มีหลากหลายรูปแบบมากขึ้น ในสังคมสมัยก่อน เช่น ในภาคเหนือ การจีบสาวของคนล้านนาจะมีการค่าว (คล้ายลำตัดของภาคกลาง) ตอบโต้กันไปมา การจีบกันต้องให้เกียรติผู้หญิงเป็นคนเลือกคู่ หรือหากจะแต่งงานก็ต้องมีการใส่ผี คือการวางเงินสินสอดจากฝ่ายชายเพื่อบอกกับผีปู่ผีย่าของฝ่ายหญิงให้ทราบว่าจะคบกันแบบสามีภรรยา
กิตติพันธ์ กันจินะ
ความคิด ความเชื่อเรื่องเพศที่หล่อหลอมเรามาว่า ควรมีชายกับหญิงเท่านั้นที่คู่กัน สิ่งนี้เป็นความคิด ความเชื่อที่ฝังหัวเรามาตลอดจนเราไม่ได้ตั้งคำถามกับตัวเองเลยว่าทำไมเราจึงต้องรักเพศตรงข้าม และการที่เรารักเพศเดียวกันนั้นจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งไม่ได้เชียวหรือ
กิตติพันธ์ กันจินะ
สำหรับชีวิตส่วนตัวแล้ว ผมเป็นวัยรุ่นคนหนึ่งที่เติบโตมาท่ามกลางการเลี้ยงดูของแม่และพี่ๆ ที่ส่วนใหญ่แล้วเป็นผู้หญิง เห็นการทำงานของผู้หญิงที่ “ศูนย์เพื่อน้องหญิง” จ.เชียงราย เห็นความเข้มแข็งในการทำงานของแม่ของพี่ๆ แต่ละคนแล้ว ทำให้ผมเห็นว่าความเป็นหญิง ความเป็นชาย แท้จริงแล้ว ทุกคนก็สามารถทำอะไรได้เหมือนกัน แต่ทว่าการเลี้ยงดูหล่อหลอมของสังคมกลับบอกว่าแบบนี้ผู้หญิงควรทำ แบบนี้ผู้ชายควรทำ
กิตติพันธ์ กันจินะ
เปิดใจเรียนรู้ประสบการณ์ภายในตน ผมเริ่มต้นทำงานในประเด็นเรื่องเพศ ตอนอายุน้อยๆ จากวันนั้นมาวันนี้ ระยะเวลาหลายปี ที่อยู่บนเส้นทางนี้ได้เจออะไรหลายอย่าง ได้เรียนรู้ ประสบการณ์ทำงานมากมาย ไม่ว่าจะเป็นบทบาทหน้าที่ใด ความรับผิดชอบแบบไหน องค์กรระดับชุมชนหรือเครือข่ายก็ตาม งานต่างๆ เหล่านี้ทำให้ได้ทำประโยชน์ต่อตนเองและคนอื่นไปพร้อมๆ กัน ผมไม่อาจเรียกตัวเองได้อย่างเต็มปากว่าเป็นคนทำงานเพศวิถี เพราะเข้าใจว่าเรื่องเพศวิถีนี้มีอะไรหลายอย่างที่ต้องทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และไม่อาจจะบอกได้ว่าตัวเองเป็นนักพัฒนาสังคม เพราะบ่อยครั้งก็ยังมีคำถามเกิดขึ้นมากมายกับตัวเองว่าที่ว่าเป็นนักพัฒนาสังคมนั้น…
กิตติพันธ์ กันจินะ
หายไปเสียนานกับบ้าน “หนุ่มสาวสมัยนี้” เพราะต้องทำงานโครงการป้องกันเอดส์ และเพศศึกษากับเพื่อนๆ เยาวชนในหลายๆ ภาค ทำให้เวลาในการเขียนขีดมีน้อยกว่าเมื่อก่อน ทว่าตอนนี้ก็สามารถจัดการเวลากับตัวเองได้ลงตัวมากขึ้นทำให้ชีวิตมีความสมดุลมากขึ้นทีเดียว
กิตติพันธ์ กันจินะ
อุ่นใจ บัว เขาเสยผมที่ยาวประ่บ่าแล้วรวบไว้ด้านหลังเบาๆ พลางเอื้อมมือดันเพื่อปิดประตูห้องหมายเลข 415 วันนี้เป็นวันที่เขาต้องขนย้ายข้าวของและสัมภาระต่างๆ กลับบ้านที่ต่างจังหวัด หลังจากเมื่อสี่ปีที่แล้ว เขาเดินทางออกจากบ้านเพื่อย้ายมาอยู่ที่กรุงเทพฯ อย่างเต็มตัว สี่ปีที่ผ่านมามีเรื่องราวต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย เขากำลังนึกถึงภาพของความหลังครั้งอดีต โดยเฉพาะความหลังที่เกิดขึ้นภายในห้องพักที่อยู่เบื้องหน้า หนึ่งในเรื่องราวที่ผุดขึ้นมาในม่านความคิดของเขาก็คือเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างเขากับหญิงสาวห้าคน
กิตติพันธ์ กันจินะ
  กิตติพันธ์ กันจินะ -1-วันอาทิตย์สัปดาห์นี้ผมน้อมนำกายไว้ที่กรุงเทพฯ เพราะไม่มีเรี่ยวแรงจะกลับเชียงรายเลย และอยากให้วันอาทิตย์นี้เป็นของขวัญแก่ตัวเองในการพักผ่อน หยุดขยับเรื่องงาน และเอาใจมาคิดถึงเรื่องด้านในของตัวเองด้วย เช้าตรู่ของวันอาทิตย์นี้ ผมตื่นนอนตามปกติ ไม่สายและไม่เช้าจนเกินไป และอยู่ๆ ก็คิดขึ้นได้ว่ามีโทรศัพท์ที่ยังไม่ได้โทร.กลับหนึ่งสาย นั้นคือ พี่จ๋อน แห่งมะขามป้อมนี้เอง สำหรับพี่จ๋อนและพี่ๆ มะขามป้อมแล้ว ผมถือว่ารู้จักมักคุ้นกับพี่ๆ มานานหลายปี โดยผมเริ่มรู้จักกับมะขามป้อม เมื่อตอนยังเด็กเลยแหละ จนถึงทุกวันนี้ก็นานพอควร พี่บางคนพอจำกันได้…
กิตติพันธ์ กันจินะ
  มาริยา มหาประลัย1เมื่อเดือนก่อน คุณพี่เอก บก. (อันย่อมาจากบรรณาธิการ ไม่ใช่บ้ากาม) นิตยสารผู้ชายฉบับหนึ่งที่ฉันเคยอาศัยเงินเดือนเขายาไส้ แถมยังเป็นเจ้านายที่น่ารักที่สุดตั้งแต่ฉันเคยร่วมงานด้วย โทรศัพท์ตรงดิ่งวิ่งปรี่มาหาฉัน บอกว่ามีงานเขียนให้ฉันทำ คุณพี่เอกยังหยอดคำหวานปานพระเอกลิเก(ย์)อ้อนแม่ยกอีกว่า พอได้รับโจทย์ปุ๊บ หน้าฉันก็โผล่พรวดเด้งดึ๋งขึ้นมาปั๊บ เห็นทีจะเป็นลิขิตจากนรก เอ้ย! สวรรค์ชั้นเจ็ดที่ส่งให้ฉันมาเขียนเรื่องนี้ อู้ย! อยากรู้จริงเชียวว่าเรื่องอะไรหนอ..."คุณพี่อยากให้คุณน้องเขียนเรื่อง Safe Sex ของเกย์ให้เกย์อ่าน"อ๊ายส์! อ๊ายยยส์!!อ๊ายยยยยยส์!!!…
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาริยา มหาประลัย (หมายเหตุ – อะแฮ่ม! ขอออกตัวว่าฉันเป็นคนรู้เรื่องศาสนาเพียงน้อยนิด ข้อเขียนต่อไปนี้เป็นการตั้งข้อสังเกตตามภูมิความรู้ที่มี ไม่ได้มีเจตนาลบหลู่ เพียงอยากใช้พื้นที่ตรงนี้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ใครจะกรุณาแลกเปลี่ยนทัศนะเพื่อช่วยให้แตกกิ่งก้านสาขาเซลส์สมองของฉัน ก็ขอกราบแทบแนบตักขอบพระคุณงามๆ มา ณ ที่นี้ด้วย...ชะเอิงเอย) วันที่ 9 เดือน 9 ปีนี้ ฉันและผองเพื่อนมีวาระแห่งชาติในการปฏิบัติภารกิจสำคัญอันยิ่งใหญ่ แต่จุดหมายปลายทางของเราไม่ได้อยู่ที่ทำเนียบรัฐบาลหรือสะพานมัฆวานฯ ใครจะกู้ชาติ กู้โลก หรือกู้เจ้าโลกก็ขอเว้นวรรคความใส่ใจสักวันเถอะ…
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาริยา มหาประลัย สาบานได้ว่า พิธีเปิดโอลิมปิกที่ปักกิ่งซึ่งเพิ่งผ่านพ้นไปสร้างความตะลึงพรึงเพริศ และสามารถตรึงขนทุกเส้นของฉันให้ลุกชันได้ยิ่งกว่าตอนนั่งดูกระโดดน้ำชายเสียอีก (เพราะกระโดดน้ำชายทำให้อย่างอื่นลุกและคันมากกว่า นั่นแน่! คิดอะไร! นั่งดูทีวีนานๆ ยุงมันกัดเลยต้องลุกขึ้นมาเกาเฟ้ย! อ๊ายส์!)  “แม่เจ้าโว้ย! อะไรมันจะ %$#@*&+ ขนาดนั้นฟะเนี่ย!!!” ฉันไม่รู้จะหาคำวิเศษณ์คำไหนมาบรรยายความวิเศษของภาพตรงหน้าได้ ตลอด 3 ชั่วโมงนั้นฉันเผลออ้าปากค้าง ทำตาโต ตบอกผางไปไม่รู้กี่ครั้ง และหลายครั้งเล่นเอาความตื้นตันมาชื้นอยู่ตรงขอบตาเชียวล่ะคุณ อะไรจะขนาดนั้น!
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาริยา มหาประลัย    เวลาได้ยินคำว่า “สวยเลือกได้” (แน่นอนว่าเขาไม่ได้พูดถึงฉัน) ฉันอดคิดไม่ได้ว่า “สวย” ในที่นี้เรา “เลือก” กันได้จริงเหรอ เพราะเอาเข้าจริง ความขาว สวย หมวย อึ๋ม ตี๋ ล่ำ หำใหญ่ จมูกโด่ง ฯลฯ ที่เราเรียกคุณลักษณะเหล่านี้ว่า “ความสวย-หล่อ” นั้น ชาติมหาอำนาจเป็นคนกำหนดรูปแบบขึ้นมาและใช้มันเป็นอาวุธในการล่าอาณานิคมทางวัฒนธรรม ความสวยจึงไม่ใช่เรื่อง “สวยๆ” อย่างเดียว แต่มันยังแฝงเรื่องอำนาจและชนชั้นทางสังคมมาอย่างแยบคายภายใต้เปลือกอันน่ามอง