Skip to main content

จากที่ข้อเขียนเรื่องเพศวิถีมีชีวิตทั้งหมดที่ได้กล่าวมานั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การวางความคิด เรื่องการเปิดใจคุยเรื่องเพศของตนเอง เรื่องความหลากหลายในรักและความสัมพันธ์ ความรักต่างเพศนิยม เรื่องกระแสสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นความพยายามที่จะมาสรุปในตอนท้ายของบทความนี้ว่า หากเราจะคุยเรื่องเพศวิถีจากมุมมองภายในจากชีวิตของเรานั้น เพื่อสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายในตัวเอง อะไรที่เป็นความท้าทายที่จะนำไปสู่การจุดประกายให้แต่ละคนได้กลับมาสำรวจ ตั้งคำถาม และสร้างการเรียนรู้เรื่องต่างๆ เหล่านี้ได้โดยอาศัยทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกของแต่ละคน

ประการที่แรก คือ ความคิด ความเชื่อ ตรรกนิยม ที่พ่วงเอาความถูกผิดมากำหนด จัดระบบของสังคมที่มองว่าแบบนี้ถูก หรือผิด โดยเรามักจะได้ยินสิ่งที่เรียกว่า “ศีลธรรม” หรือ “จริยธรรม” ที่มักจะพ่วงมาด้วย “ที่ถูกต้อง” และ “ดีงาม” “ชอบธรรม” หรือ “ไม่ชอบธรรม” ฉะนั้น ความคิด ความเชื่อเหล่านี้เป็นผลพวงของวัฒนธรรมชายเป็นใหญ่และรักต่างเพศนิยม ตลอดจนวัฒนธรรมอำนาจครอบงำ ที่เป็นตัวบดบังความจริงแท้ภายใน ความรู้สึกหรือมุมต่างๆ ภายในตัวคน ความคิดที่นำไปสู่การขัดเกลาคนในสังคม ใช้ความถูกต้อง ดีงามเป็นตัวกำหนด บทบาท สถานะทางเพศ รสนิยมทางเพศ และชีวิตทางเพศของคน


ทำให้เกิดบรรยากาศขัดขืนอย่างเงียบๆ หรือ ดื้อเงียบ เป็นสังคมที่เรามักคุ้นเคยในแนว “ปากว่าตาขยิบ” ซึ่งบรรยากาศที่ว่ามีการกดทับ ไม่เปิดเผย ในเรื่องเพศอย่างตรงไปตรงมานี้เอง ทำให้คนไม่มีพื้นที่ทางสังคมของตน และไม่สามารถที่จะแสดงความรู้สึกต่างๆ ของตัวเองออกมาได้อย่างแท้จริง กลายเป็นว่าต้องหาทางอื่นปลดปล่อยและนำไปสู่การระบายออกที่ใช้ความรุนแรงและสถานะอำนาจเหนือกว่า ต่ำกว่า ซึ่งถือว่ามีมากในสังคมปัจจุบัน ฉะนั้นเรื่องที่ควรตั้งคำถามคือ ความคิดที่ผูกมัดว่าสิ่งนี้ผิด หรือ ถูกต้องดีงามนั้น จะนำไปสู่ชีวิตทางเพศที่ปลอดภัยและเป็นสุขได้จริงหรือ


และกระนั้นแล้วความรู้สึกจริงแท้ของคนจำเป็นหรือไม่ที่ควรเป็นเรื่องปกติที่เราควรสื่อสารอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา เพื่อให้เราได้กลับมาทำความเข้าใจตัวเอง เข้าใจเงื่อนไข ปมของชีวิตตัวเอง จนนำไปเพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างกันและกัน และรื้อถอนความเชื่อที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าใจกันของคนในสังคม


ประการที่สอง
ด้วยความสงสัยและอยากจะตั้งคำถามต่อสังคมในเรื่องความคิด ความเชื่อในเรื่องเพศ ดังนี้ หากผู้กำหนดกติกาต่างๆ ในสังคมนี้มีพื้นฐานความเชื่อที่ว่าอยู่ในกรอบแบบ “ชายเป็นใหญ่” ซึ่งก็ล้วนแล้วแต่มีมาตรฐานทางเพศที่มีการตัดสินผิดถูกตั้งแต่ชายควรเป็นอย่างไร หญิงควรเป็นอย่างไร หรือมากกว่านั้นก็คือ ชาย หรือหญิงควรแสดงออกทางเพศอย่างไร


สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นเรื่องที่ละเอียดลึกซึ้งจนเป็นเรื่องยากที่จะรื้อถอนแนวคิด และความเชื่อเหล่านี้ได้จากสังคมไทย เพราะความคิดความเชื่อในเรื่องเพศแบบนี้ ได้กลายเป็นวิถีชีวิตปกติของคนในสังคมนี้ไปเสียแล้ว และแน่นอนว่ามันย่อมนำมาสู่สถานะทางเพศที่ไม่เสมอภาคและเท่าเทียม ฉะนั้นแล้ว สิ่งที่ท้าทายคือการรื้อถอนหรือปรับเปลี่ยนระบบสังคมแบบ “ชายเป็นใหญ่” จะทำได้อย่างไร ตัวเราเองจะไม่ผลิตซ้ำในแนวความคิดความเชื่อนี้ได้อย่างไร


ซึ่งแน่นอนว่าเรื่อง “ชายเป็นใหญ่” นี้ ถูกหล่อหลอมขัดเกลาผ่านระบบโครงสร้างทางสังคมต่างๆ จากสถาบันครอบครัว โรงเรียน การศึกษา สาธารณสุข วัฒนธรรม ศาสนา กฎหมาย ซึ่งต้องเปลี่ยนทุกสถาบันให้มีแนวคิดเรื่องเพศเชิงบวก เคารพความหลากหลายทางเพศ รื้อถอนแนวคิดสังคมแบบ “ชายเป็นใหญ่” และสถาบันที่สำคัญที่ควรเริ่มในการเปลี่ยนแปลงก่อน คือ “สถาบันจิตใจภายใน” ของพวกเราทุกๆ คน


ประการที่สาม นอกเหนือจากวัฒนธรรม ความเป็นชายเป็นใหญ่ ความเป็นเพศ ใดๆ ก็ตามแล้ว ในการทำงานกับเด็กและเยาวชน หรือแม้แต่คนในสังคม เรามักเรียกคนที่ไม่ได้อยู่ในศูนย์กลางแห่งโอกาสและสถานะที่เหนือกว่าในทางเพศว่า “คนชายขอบในทางเพศ” คือ คนที่ไม่มีโอกาสในการเรียนรู้เรื่องเพศ คนที่ไม่มีโอกาสในการแสดงออกซึ่งสิทธิทางเพศ คนที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางเพศที่มิตรกับตนเอง เนื่องเพราะมีอัตลักษณ์ทางเพศที่ต่างออกไปจากสังคม เช่น เป็นคนรักเพศเดียวกัน เป็นหญิงขายบริการ เป็นเด็กวัยรุ่น เป็นต้น กลุ่มคนต่างๆ เหล่านี้อาจเป็นใครก็ได้


ทว่าสิ่งที่สำคัญน่าจะอยู่ที่คนในแต่ละระดับไม่ว่าจะอยู่ศูนย์กลาง หรือ ชายขอบ ล้วนแล้วแต่สร้างอำนาจของตนเองขึ้นมา อำนาจที่ว่านี้มันมีแหล่งที่มาอยู่หลายๆ ที่ในตัวบุคคลหนึ่งคน เช่น เพศ อาชีพ ฐานะทางเศรษฐกิจ เชื้อชาติ ศาสนา บทบาททางเพศ ที่อยู่ภายใต้สังคมแบบบริโภคนิยม ทั้งนี้การใช้อำนาจเหนือกว่าคือการที่คนๆ หนึ่งทำอะไรให้คนอีกคนหนึ่ง หรือกลุ่มหนึ่ง โดยที่เขารู้สึกอึดอัด ตึงเครียด ไม่ปลอดภัย ถูกทำร้าย หรือด้อยกว่า ผมจึงมองว่าเราจะทำให้อย่างไรเพื่อฟื้นฟูให้เกิดอำนาจภายในของแต่ละคน แต่ละกลุ่ม เพื่อให้เกิดบรรยากาศของการใช้อำนาจร่วมกันของคนในสังคม ไม่ว่าคนๆ นั้นจะอยู่ในเพศใด สถานะใด บทบาทหน้าที่ใด และศาสนาใด เพื่อให้เกิดความมั่นคงในความเป็นมนุษย์ เกิดความเท่าเทียมในความหลากหลายและเลือกในวิถีชีวิตทางเพศของตนได้อย่างมีศักดิ์ศรี


ประการต่อมา
คือ “วัฒนธรรมรักต่างเพศนิยม” ที่ถูกหล่อหลอมจากสังคมไว้เพียงว่าการรักต่างเพศนั้นคือสิ่งที่ถูกต้อง การรักเพศเดียวกันเป็นสิ่งที่ผิดปกติ เป็นสิ่งที่ไม่ถูกจารีต มองว่าเป็นการเป็นบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเป็นกรรม หรือมองว่าการที่เป็นคนรักเพศเดียวเป็นอาการทางจิตที่สามารถรักษาหายได้ สิ่งเหล่านี้ เราควรตั้งคำถาม โดยเริ่มถามตัวเองในฐานะคนรักต่างเพศว่า “ทำไมเราถึงรักต่างเพศ” ใครบอกสอนเรามาว่าควรรักต่างเพศ หรือ บอกเราว่าเพศชายต้องคู่กับหญิงเท่านั้น


ทว่าอย่างไรแล้วในความเป็นจริงไม่ว่าจะผ่านมากี่ยุคสมัยความลื่นไหลทางเพศของผู้คนนั้นมีมาตลอดและสิ่งนี้ก็อยู่ในใจของเราแต่ละคน ที่ไม่มีเพศ ไม่มีแบ่งชาย แบ่งหญิง เพราะแท้จริงแล้วมนุษย์นั้นก็คือมนุษย์แต่การหล่อหลอมทางสังคมผ่านโครงสร้างสถาบันสังคมต่างๆ ทำให้เรามองว่ารักต่างเพศคือความถูกต้อง จนทำให้ขาดพื้นที่ของคนที่มีความหลากหลายทางเพศและนำไปสู่การรังเกียจ การเลือกปฏิบัติในกลุ่มคนรักเพศเดียวกัน ซึ่งสิ่งนี้มองว่าเราควรหมั่นตรวจสอบตัวเอง รู้จักตัวเองว่าเราเองมี “ความรู้สึกรังเกียจคนรักเพศเดียวกันอยู่บ้างไหม” แล้วเมื่อเรารู้ตัว ก็ยอมรับความจริงว่ามี และค่อยๆ รื้อออกจากตัวเอง เข้าใจที่มาของความรู้สึกนี้ และมองให้เห็นว่าเราเองก็เป็นผลผลิตหนึ่งของสังคมที่หล่อหลอมเราให้รู้สึกนึกคิดแบบนี้ ฉะนั้นแล้วเมื่อเราเข้าใจในจุดนี้แล้ว จึงควรช่วยกันสร้างพื้นที่ทางสังคมสำหรับคนทุกคนในสังคม


ท้ายที่สุดนี้ การเรียนรู้เรื่องเพศวิถีที่เริ่มต้นจากภายในตัวเรา ที่ดีที่สุดนั้นคือการกลับมาสำรวจประสบการณ์ด้านในของเราแต่ละคน กลับมารู้สึกตัว อยู่กับปัจจุบันขณะ เพื่อให้ใจเรานี้มีความนิ่งพอที่จะมองเห็นสภาวต่างๆ เกิดขึ้นในตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ ความคิด ความเชื่อ ทัศนคติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเพศวิถีของตัวเองและของคนในสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลาย เพื่อตรวจสอบจิตใจตัวเอง และค่อยๆ เคลียร์ปม ทำงานกับอคติทางเพศที่ฝังหัวเรามาแต่นานแสนนาน และเรียนรู้ที่จะสื่อสารเรื่องนี้ด้วยความเป็นจริง ไม่ตัดสิน ตีตรา หรือเลือกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดสังคมที่มีความเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เข้าใจในความแตกต่างหลากหลายของคนเพื่อนำไปสู่ชีวิตทางเพศที่ปลอดภัยและเป็นสุขระหว่างกัน

 

 

 

บล็อกของ กิตติพันธ์ กันจินะ

กิตติพันธ์ กันจินะ
จากที่ข้อเขียนเรื่องเพศวิถีมีชีวิตทั้งหมดที่ได้กล่าวมานั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การวางความคิด เรื่องการเปิดใจคุยเรื่องเพศของตนเอง เรื่องความหลากหลายในรักและความสัมพันธ์ ความรักต่างเพศนิยม เรื่องกระแสสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นความพยายามที่จะมาสรุปในตอนท้ายของบทความนี้ว่า หากเราจะคุยเรื่องเพศวิถีจากมุมมองภายในจากชีวิตของเรานั้น เพื่อสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายในตัวเอง อะไรที่เป็นความท้าทายที่จะนำไปสู่การจุดประกายให้แต่ละคนได้กลับมาสำรวจ ตั้งคำถาม และสร้างการเรียนรู้เรื่องต่างๆ เหล่านี้ได้โดยอาศัยทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกของแต่ละคน
กิตติพันธ์ กันจินะ
โลกเปลี่ยนแปลงไปทุกขณะ ความสัมพันธ์ทางเพศของมนุษย์มีหลากหลายรูปแบบมากขึ้น ในสังคมสมัยก่อน เช่น ในภาคเหนือ การจีบสาวของคนล้านนาจะมีการค่าว (คล้ายลำตัดของภาคกลาง) ตอบโต้กันไปมา การจีบกันต้องให้เกียรติผู้หญิงเป็นคนเลือกคู่ หรือหากจะแต่งงานก็ต้องมีการใส่ผี คือการวางเงินสินสอดจากฝ่ายชายเพื่อบอกกับผีปู่ผีย่าของฝ่ายหญิงให้ทราบว่าจะคบกันแบบสามีภรรยา
กิตติพันธ์ กันจินะ
ความคิด ความเชื่อเรื่องเพศที่หล่อหลอมเรามาว่า ควรมีชายกับหญิงเท่านั้นที่คู่กัน สิ่งนี้เป็นความคิด ความเชื่อที่ฝังหัวเรามาตลอดจนเราไม่ได้ตั้งคำถามกับตัวเองเลยว่าทำไมเราจึงต้องรักเพศตรงข้าม และการที่เรารักเพศเดียวกันนั้นจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งไม่ได้เชียวหรือ
กิตติพันธ์ กันจินะ
สำหรับชีวิตส่วนตัวแล้ว ผมเป็นวัยรุ่นคนหนึ่งที่เติบโตมาท่ามกลางการเลี้ยงดูของแม่และพี่ๆ ที่ส่วนใหญ่แล้วเป็นผู้หญิง เห็นการทำงานของผู้หญิงที่ “ศูนย์เพื่อน้องหญิง” จ.เชียงราย เห็นความเข้มแข็งในการทำงานของแม่ของพี่ๆ แต่ละคนแล้ว ทำให้ผมเห็นว่าความเป็นหญิง ความเป็นชาย แท้จริงแล้ว ทุกคนก็สามารถทำอะไรได้เหมือนกัน แต่ทว่าการเลี้ยงดูหล่อหลอมของสังคมกลับบอกว่าแบบนี้ผู้หญิงควรทำ แบบนี้ผู้ชายควรทำ
กิตติพันธ์ กันจินะ
เปิดใจเรียนรู้ประสบการณ์ภายในตน ผมเริ่มต้นทำงานในประเด็นเรื่องเพศ ตอนอายุน้อยๆ จากวันนั้นมาวันนี้ ระยะเวลาหลายปี ที่อยู่บนเส้นทางนี้ได้เจออะไรหลายอย่าง ได้เรียนรู้ ประสบการณ์ทำงานมากมาย ไม่ว่าจะเป็นบทบาทหน้าที่ใด ความรับผิดชอบแบบไหน องค์กรระดับชุมชนหรือเครือข่ายก็ตาม งานต่างๆ เหล่านี้ทำให้ได้ทำประโยชน์ต่อตนเองและคนอื่นไปพร้อมๆ กัน ผมไม่อาจเรียกตัวเองได้อย่างเต็มปากว่าเป็นคนทำงานเพศวิถี เพราะเข้าใจว่าเรื่องเพศวิถีนี้มีอะไรหลายอย่างที่ต้องทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และไม่อาจจะบอกได้ว่าตัวเองเป็นนักพัฒนาสังคม เพราะบ่อยครั้งก็ยังมีคำถามเกิดขึ้นมากมายกับตัวเองว่าที่ว่าเป็นนักพัฒนาสังคมนั้น…
กิตติพันธ์ กันจินะ
หายไปเสียนานกับบ้าน “หนุ่มสาวสมัยนี้” เพราะต้องทำงานโครงการป้องกันเอดส์ และเพศศึกษากับเพื่อนๆ เยาวชนในหลายๆ ภาค ทำให้เวลาในการเขียนขีดมีน้อยกว่าเมื่อก่อน ทว่าตอนนี้ก็สามารถจัดการเวลากับตัวเองได้ลงตัวมากขึ้นทำให้ชีวิตมีความสมดุลมากขึ้นทีเดียว
กิตติพันธ์ กันจินะ
อุ่นใจ บัว เขาเสยผมที่ยาวประ่บ่าแล้วรวบไว้ด้านหลังเบาๆ พลางเอื้อมมือดันเพื่อปิดประตูห้องหมายเลข 415 วันนี้เป็นวันที่เขาต้องขนย้ายข้าวของและสัมภาระต่างๆ กลับบ้านที่ต่างจังหวัด หลังจากเมื่อสี่ปีที่แล้ว เขาเดินทางออกจากบ้านเพื่อย้ายมาอยู่ที่กรุงเทพฯ อย่างเต็มตัว สี่ปีที่ผ่านมามีเรื่องราวต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย เขากำลังนึกถึงภาพของความหลังครั้งอดีต โดยเฉพาะความหลังที่เกิดขึ้นภายในห้องพักที่อยู่เบื้องหน้า หนึ่งในเรื่องราวที่ผุดขึ้นมาในม่านความคิดของเขาก็คือเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างเขากับหญิงสาวห้าคน
กิตติพันธ์ กันจินะ
  กิตติพันธ์ กันจินะ -1-วันอาทิตย์สัปดาห์นี้ผมน้อมนำกายไว้ที่กรุงเทพฯ เพราะไม่มีเรี่ยวแรงจะกลับเชียงรายเลย และอยากให้วันอาทิตย์นี้เป็นของขวัญแก่ตัวเองในการพักผ่อน หยุดขยับเรื่องงาน และเอาใจมาคิดถึงเรื่องด้านในของตัวเองด้วย เช้าตรู่ของวันอาทิตย์นี้ ผมตื่นนอนตามปกติ ไม่สายและไม่เช้าจนเกินไป และอยู่ๆ ก็คิดขึ้นได้ว่ามีโทรศัพท์ที่ยังไม่ได้โทร.กลับหนึ่งสาย นั้นคือ พี่จ๋อน แห่งมะขามป้อมนี้เอง สำหรับพี่จ๋อนและพี่ๆ มะขามป้อมแล้ว ผมถือว่ารู้จักมักคุ้นกับพี่ๆ มานานหลายปี โดยผมเริ่มรู้จักกับมะขามป้อม เมื่อตอนยังเด็กเลยแหละ จนถึงทุกวันนี้ก็นานพอควร พี่บางคนพอจำกันได้…
กิตติพันธ์ กันจินะ
  มาริยา มหาประลัย1เมื่อเดือนก่อน คุณพี่เอก บก. (อันย่อมาจากบรรณาธิการ ไม่ใช่บ้ากาม) นิตยสารผู้ชายฉบับหนึ่งที่ฉันเคยอาศัยเงินเดือนเขายาไส้ แถมยังเป็นเจ้านายที่น่ารักที่สุดตั้งแต่ฉันเคยร่วมงานด้วย โทรศัพท์ตรงดิ่งวิ่งปรี่มาหาฉัน บอกว่ามีงานเขียนให้ฉันทำ คุณพี่เอกยังหยอดคำหวานปานพระเอกลิเก(ย์)อ้อนแม่ยกอีกว่า พอได้รับโจทย์ปุ๊บ หน้าฉันก็โผล่พรวดเด้งดึ๋งขึ้นมาปั๊บ เห็นทีจะเป็นลิขิตจากนรก เอ้ย! สวรรค์ชั้นเจ็ดที่ส่งให้ฉันมาเขียนเรื่องนี้ อู้ย! อยากรู้จริงเชียวว่าเรื่องอะไรหนอ..."คุณพี่อยากให้คุณน้องเขียนเรื่อง Safe Sex ของเกย์ให้เกย์อ่าน"อ๊ายส์! อ๊ายยยส์!!อ๊ายยยยยยส์!!!…
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาริยา มหาประลัย (หมายเหตุ – อะแฮ่ม! ขอออกตัวว่าฉันเป็นคนรู้เรื่องศาสนาเพียงน้อยนิด ข้อเขียนต่อไปนี้เป็นการตั้งข้อสังเกตตามภูมิความรู้ที่มี ไม่ได้มีเจตนาลบหลู่ เพียงอยากใช้พื้นที่ตรงนี้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ใครจะกรุณาแลกเปลี่ยนทัศนะเพื่อช่วยให้แตกกิ่งก้านสาขาเซลส์สมองของฉัน ก็ขอกราบแทบแนบตักขอบพระคุณงามๆ มา ณ ที่นี้ด้วย...ชะเอิงเอย) วันที่ 9 เดือน 9 ปีนี้ ฉันและผองเพื่อนมีวาระแห่งชาติในการปฏิบัติภารกิจสำคัญอันยิ่งใหญ่ แต่จุดหมายปลายทางของเราไม่ได้อยู่ที่ทำเนียบรัฐบาลหรือสะพานมัฆวานฯ ใครจะกู้ชาติ กู้โลก หรือกู้เจ้าโลกก็ขอเว้นวรรคความใส่ใจสักวันเถอะ…
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาริยา มหาประลัย สาบานได้ว่า พิธีเปิดโอลิมปิกที่ปักกิ่งซึ่งเพิ่งผ่านพ้นไปสร้างความตะลึงพรึงเพริศ และสามารถตรึงขนทุกเส้นของฉันให้ลุกชันได้ยิ่งกว่าตอนนั่งดูกระโดดน้ำชายเสียอีก (เพราะกระโดดน้ำชายทำให้อย่างอื่นลุกและคันมากกว่า นั่นแน่! คิดอะไร! นั่งดูทีวีนานๆ ยุงมันกัดเลยต้องลุกขึ้นมาเกาเฟ้ย! อ๊ายส์!)  “แม่เจ้าโว้ย! อะไรมันจะ %$#@*&+ ขนาดนั้นฟะเนี่ย!!!” ฉันไม่รู้จะหาคำวิเศษณ์คำไหนมาบรรยายความวิเศษของภาพตรงหน้าได้ ตลอด 3 ชั่วโมงนั้นฉันเผลออ้าปากค้าง ทำตาโต ตบอกผางไปไม่รู้กี่ครั้ง และหลายครั้งเล่นเอาความตื้นตันมาชื้นอยู่ตรงขอบตาเชียวล่ะคุณ อะไรจะขนาดนั้น!
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาริยา มหาประลัย    เวลาได้ยินคำว่า “สวยเลือกได้” (แน่นอนว่าเขาไม่ได้พูดถึงฉัน) ฉันอดคิดไม่ได้ว่า “สวย” ในที่นี้เรา “เลือก” กันได้จริงเหรอ เพราะเอาเข้าจริง ความขาว สวย หมวย อึ๋ม ตี๋ ล่ำ หำใหญ่ จมูกโด่ง ฯลฯ ที่เราเรียกคุณลักษณะเหล่านี้ว่า “ความสวย-หล่อ” นั้น ชาติมหาอำนาจเป็นคนกำหนดรูปแบบขึ้นมาและใช้มันเป็นอาวุธในการล่าอาณานิคมทางวัฒนธรรม ความสวยจึงไม่ใช่เรื่อง “สวยๆ” อย่างเดียว แต่มันยังแฝงเรื่องอำนาจและชนชั้นทางสังคมมาอย่างแยบคายภายใต้เปลือกอันน่ามอง