Skip to main content

จากที่ข้อเขียนเรื่องเพศวิถีมีชีวิตทั้งหมดที่ได้กล่าวมานั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การวางความคิด เรื่องการเปิดใจคุยเรื่องเพศของตนเอง เรื่องความหลากหลายในรักและความสัมพันธ์ ความรักต่างเพศนิยม เรื่องกระแสสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นความพยายามที่จะมาสรุปในตอนท้ายของบทความนี้ว่า หากเราจะคุยเรื่องเพศวิถีจากมุมมองภายในจากชีวิตของเรานั้น เพื่อสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายในตัวเอง อะไรที่เป็นความท้าทายที่จะนำไปสู่การจุดประกายให้แต่ละคนได้กลับมาสำรวจ ตั้งคำถาม และสร้างการเรียนรู้เรื่องต่างๆ เหล่านี้ได้โดยอาศัยทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกของแต่ละคน

ประการที่แรก คือ ความคิด ความเชื่อ ตรรกนิยม ที่พ่วงเอาความถูกผิดมากำหนด จัดระบบของสังคมที่มองว่าแบบนี้ถูก หรือผิด โดยเรามักจะได้ยินสิ่งที่เรียกว่า “ศีลธรรม” หรือ “จริยธรรม” ที่มักจะพ่วงมาด้วย “ที่ถูกต้อง” และ “ดีงาม” “ชอบธรรม” หรือ “ไม่ชอบธรรม” ฉะนั้น ความคิด ความเชื่อเหล่านี้เป็นผลพวงของวัฒนธรรมชายเป็นใหญ่และรักต่างเพศนิยม ตลอดจนวัฒนธรรมอำนาจครอบงำ ที่เป็นตัวบดบังความจริงแท้ภายใน ความรู้สึกหรือมุมต่างๆ ภายในตัวคน ความคิดที่นำไปสู่การขัดเกลาคนในสังคม ใช้ความถูกต้อง ดีงามเป็นตัวกำหนด บทบาท สถานะทางเพศ รสนิยมทางเพศ และชีวิตทางเพศของคน


ทำให้เกิดบรรยากาศขัดขืนอย่างเงียบๆ หรือ ดื้อเงียบ เป็นสังคมที่เรามักคุ้นเคยในแนว “ปากว่าตาขยิบ” ซึ่งบรรยากาศที่ว่ามีการกดทับ ไม่เปิดเผย ในเรื่องเพศอย่างตรงไปตรงมานี้เอง ทำให้คนไม่มีพื้นที่ทางสังคมของตน และไม่สามารถที่จะแสดงความรู้สึกต่างๆ ของตัวเองออกมาได้อย่างแท้จริง กลายเป็นว่าต้องหาทางอื่นปลดปล่อยและนำไปสู่การระบายออกที่ใช้ความรุนแรงและสถานะอำนาจเหนือกว่า ต่ำกว่า ซึ่งถือว่ามีมากในสังคมปัจจุบัน ฉะนั้นเรื่องที่ควรตั้งคำถามคือ ความคิดที่ผูกมัดว่าสิ่งนี้ผิด หรือ ถูกต้องดีงามนั้น จะนำไปสู่ชีวิตทางเพศที่ปลอดภัยและเป็นสุขได้จริงหรือ


และกระนั้นแล้วความรู้สึกจริงแท้ของคนจำเป็นหรือไม่ที่ควรเป็นเรื่องปกติที่เราควรสื่อสารอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา เพื่อให้เราได้กลับมาทำความเข้าใจตัวเอง เข้าใจเงื่อนไข ปมของชีวิตตัวเอง จนนำไปเพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างกันและกัน และรื้อถอนความเชื่อที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าใจกันของคนในสังคม


ประการที่สอง
ด้วยความสงสัยและอยากจะตั้งคำถามต่อสังคมในเรื่องความคิด ความเชื่อในเรื่องเพศ ดังนี้ หากผู้กำหนดกติกาต่างๆ ในสังคมนี้มีพื้นฐานความเชื่อที่ว่าอยู่ในกรอบแบบ “ชายเป็นใหญ่” ซึ่งก็ล้วนแล้วแต่มีมาตรฐานทางเพศที่มีการตัดสินผิดถูกตั้งแต่ชายควรเป็นอย่างไร หญิงควรเป็นอย่างไร หรือมากกว่านั้นก็คือ ชาย หรือหญิงควรแสดงออกทางเพศอย่างไร


สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นเรื่องที่ละเอียดลึกซึ้งจนเป็นเรื่องยากที่จะรื้อถอนแนวคิด และความเชื่อเหล่านี้ได้จากสังคมไทย เพราะความคิดความเชื่อในเรื่องเพศแบบนี้ ได้กลายเป็นวิถีชีวิตปกติของคนในสังคมนี้ไปเสียแล้ว และแน่นอนว่ามันย่อมนำมาสู่สถานะทางเพศที่ไม่เสมอภาคและเท่าเทียม ฉะนั้นแล้ว สิ่งที่ท้าทายคือการรื้อถอนหรือปรับเปลี่ยนระบบสังคมแบบ “ชายเป็นใหญ่” จะทำได้อย่างไร ตัวเราเองจะไม่ผลิตซ้ำในแนวความคิดความเชื่อนี้ได้อย่างไร


ซึ่งแน่นอนว่าเรื่อง “ชายเป็นใหญ่” นี้ ถูกหล่อหลอมขัดเกลาผ่านระบบโครงสร้างทางสังคมต่างๆ จากสถาบันครอบครัว โรงเรียน การศึกษา สาธารณสุข วัฒนธรรม ศาสนา กฎหมาย ซึ่งต้องเปลี่ยนทุกสถาบันให้มีแนวคิดเรื่องเพศเชิงบวก เคารพความหลากหลายทางเพศ รื้อถอนแนวคิดสังคมแบบ “ชายเป็นใหญ่” และสถาบันที่สำคัญที่ควรเริ่มในการเปลี่ยนแปลงก่อน คือ “สถาบันจิตใจภายใน” ของพวกเราทุกๆ คน


ประการที่สาม นอกเหนือจากวัฒนธรรม ความเป็นชายเป็นใหญ่ ความเป็นเพศ ใดๆ ก็ตามแล้ว ในการทำงานกับเด็กและเยาวชน หรือแม้แต่คนในสังคม เรามักเรียกคนที่ไม่ได้อยู่ในศูนย์กลางแห่งโอกาสและสถานะที่เหนือกว่าในทางเพศว่า “คนชายขอบในทางเพศ” คือ คนที่ไม่มีโอกาสในการเรียนรู้เรื่องเพศ คนที่ไม่มีโอกาสในการแสดงออกซึ่งสิทธิทางเพศ คนที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางเพศที่มิตรกับตนเอง เนื่องเพราะมีอัตลักษณ์ทางเพศที่ต่างออกไปจากสังคม เช่น เป็นคนรักเพศเดียวกัน เป็นหญิงขายบริการ เป็นเด็กวัยรุ่น เป็นต้น กลุ่มคนต่างๆ เหล่านี้อาจเป็นใครก็ได้


ทว่าสิ่งที่สำคัญน่าจะอยู่ที่คนในแต่ละระดับไม่ว่าจะอยู่ศูนย์กลาง หรือ ชายขอบ ล้วนแล้วแต่สร้างอำนาจของตนเองขึ้นมา อำนาจที่ว่านี้มันมีแหล่งที่มาอยู่หลายๆ ที่ในตัวบุคคลหนึ่งคน เช่น เพศ อาชีพ ฐานะทางเศรษฐกิจ เชื้อชาติ ศาสนา บทบาททางเพศ ที่อยู่ภายใต้สังคมแบบบริโภคนิยม ทั้งนี้การใช้อำนาจเหนือกว่าคือการที่คนๆ หนึ่งทำอะไรให้คนอีกคนหนึ่ง หรือกลุ่มหนึ่ง โดยที่เขารู้สึกอึดอัด ตึงเครียด ไม่ปลอดภัย ถูกทำร้าย หรือด้อยกว่า ผมจึงมองว่าเราจะทำให้อย่างไรเพื่อฟื้นฟูให้เกิดอำนาจภายในของแต่ละคน แต่ละกลุ่ม เพื่อให้เกิดบรรยากาศของการใช้อำนาจร่วมกันของคนในสังคม ไม่ว่าคนๆ นั้นจะอยู่ในเพศใด สถานะใด บทบาทหน้าที่ใด และศาสนาใด เพื่อให้เกิดความมั่นคงในความเป็นมนุษย์ เกิดความเท่าเทียมในความหลากหลายและเลือกในวิถีชีวิตทางเพศของตนได้อย่างมีศักดิ์ศรี


ประการต่อมา
คือ “วัฒนธรรมรักต่างเพศนิยม” ที่ถูกหล่อหลอมจากสังคมไว้เพียงว่าการรักต่างเพศนั้นคือสิ่งที่ถูกต้อง การรักเพศเดียวกันเป็นสิ่งที่ผิดปกติ เป็นสิ่งที่ไม่ถูกจารีต มองว่าเป็นการเป็นบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเป็นกรรม หรือมองว่าการที่เป็นคนรักเพศเดียวเป็นอาการทางจิตที่สามารถรักษาหายได้ สิ่งเหล่านี้ เราควรตั้งคำถาม โดยเริ่มถามตัวเองในฐานะคนรักต่างเพศว่า “ทำไมเราถึงรักต่างเพศ” ใครบอกสอนเรามาว่าควรรักต่างเพศ หรือ บอกเราว่าเพศชายต้องคู่กับหญิงเท่านั้น


ทว่าอย่างไรแล้วในความเป็นจริงไม่ว่าจะผ่านมากี่ยุคสมัยความลื่นไหลทางเพศของผู้คนนั้นมีมาตลอดและสิ่งนี้ก็อยู่ในใจของเราแต่ละคน ที่ไม่มีเพศ ไม่มีแบ่งชาย แบ่งหญิง เพราะแท้จริงแล้วมนุษย์นั้นก็คือมนุษย์แต่การหล่อหลอมทางสังคมผ่านโครงสร้างสถาบันสังคมต่างๆ ทำให้เรามองว่ารักต่างเพศคือความถูกต้อง จนทำให้ขาดพื้นที่ของคนที่มีความหลากหลายทางเพศและนำไปสู่การรังเกียจ การเลือกปฏิบัติในกลุ่มคนรักเพศเดียวกัน ซึ่งสิ่งนี้มองว่าเราควรหมั่นตรวจสอบตัวเอง รู้จักตัวเองว่าเราเองมี “ความรู้สึกรังเกียจคนรักเพศเดียวกันอยู่บ้างไหม” แล้วเมื่อเรารู้ตัว ก็ยอมรับความจริงว่ามี และค่อยๆ รื้อออกจากตัวเอง เข้าใจที่มาของความรู้สึกนี้ และมองให้เห็นว่าเราเองก็เป็นผลผลิตหนึ่งของสังคมที่หล่อหลอมเราให้รู้สึกนึกคิดแบบนี้ ฉะนั้นแล้วเมื่อเราเข้าใจในจุดนี้แล้ว จึงควรช่วยกันสร้างพื้นที่ทางสังคมสำหรับคนทุกคนในสังคม


ท้ายที่สุดนี้ การเรียนรู้เรื่องเพศวิถีที่เริ่มต้นจากภายในตัวเรา ที่ดีที่สุดนั้นคือการกลับมาสำรวจประสบการณ์ด้านในของเราแต่ละคน กลับมารู้สึกตัว อยู่กับปัจจุบันขณะ เพื่อให้ใจเรานี้มีความนิ่งพอที่จะมองเห็นสภาวต่างๆ เกิดขึ้นในตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ ความคิด ความเชื่อ ทัศนคติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเพศวิถีของตัวเองและของคนในสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลาย เพื่อตรวจสอบจิตใจตัวเอง และค่อยๆ เคลียร์ปม ทำงานกับอคติทางเพศที่ฝังหัวเรามาแต่นานแสนนาน และเรียนรู้ที่จะสื่อสารเรื่องนี้ด้วยความเป็นจริง ไม่ตัดสิน ตีตรา หรือเลือกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดสังคมที่มีความเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เข้าใจในความแตกต่างหลากหลายของคนเพื่อนำไปสู่ชีวิตทางเพศที่ปลอดภัยและเป็นสุขระหว่างกัน

 

 

 

บล็อกของ กิตติพันธ์ กันจินะ

กิตติพันธ์ กันจินะ
ในสภาวการณ์ใกล้มรสุมช่วงนี้, คนสูงวัยมากมายเหล่านั้นต่างขะมักเขม้นทั้งกายและใจ กับการหาเสียงเพื่อให้ได้มาซึ่งคะแนนเสียงเพื่อการเข้าร่วมหรือจัดตั้งทางการเมืองครั้งใหม่อย่างสุดกำลังตัวเสริมที่พวกเขานำมาป่าวประกาศเพื่อให้ประชาชนเลือกนั้นคือ “นโยบาย” ของแต่ละพรรค (ไม่รวมปัจจัยอื่นๆ ที่มีอิทธิพลมาเกี่ยวข้อง – ซึ่งมีมากจนไม่อาจกล่าวในที่นี่ได้) เช่นนี้แล้วเรามาดูกันที่นโยบายของพรรคการเมืองกันดีกว่าว่าได้กล่าวไว้อย่างไรบ้าง ก่อนที่จะเลือกหรือไม่เลือกใคร หลายนโยบายของพรรคการเมืองต่างมุ่งเน้นไปที่การปฏิรูปทางการเมือง โดยเฉพาะการมุ่งหวังไม่ให้อำนาจเก่าได้กลับมามีอำนาจอีกและยังมีนโยบายต่างๆ…
กิตติพันธ์ กันจินะ
 ลมฟ้าอากาศเริ่มเปลี่ยนแปรไปตามสภาพ ฝนตกเพิ่งหยุดได้ไม่นาน ลมหนาวเยือนมาพัดผ่านท้องทุ่งจนต้นข้าวโยกเอียง บ้างล้ม บางตั้งตระหง่าน ตอนเช้าๆ อากาศแถวบ้านผม, จังหวัดเชียงราย อำเภอพาน ตำบลแม่อ้อ บ้านแม่แก้วเหนือ อากาศเริ่มหนาวเย็นขึ้นทุกขณะ ชีวิตของผมทุกวันนี้ไม่เหมือนห้าเดือนก่อนที่ผ่านมา เพราะต้องย้ายสำมะโนครัวจากเชียงใหม่ กลับมาอยู่บ้านที่เชียงราย ซึ่งตลอดระยะเวลาสี่ปีที่อยู่เชียงใหม่ ผมได้พบเจอเรื่องราวหลายเรื่อง ทั้งการงาน ความรัก ชีวิต ความสัมพันธ์ เพื่อน ฯลฯ ซึ่งค่อนข้างแตกต่างกับตอนที่อยู่บ้านที่เชียงรายอย่างมากสภาพอากาศ ความสงบ การดำเนินชีวิต…
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาถึงเชียงใหม่แสงแดดยามเช้าตรู่ ปลุกให้ผมตื่นจากการหลับใหล – เวลาทั้งคืนที่ผ่านมา, ผมนอนไม่ค่อยหลับ กระวนกระวายใจ และไม่เป็นอันหลับอันนอน ไม่รู้ว่าพี่บัวจะเป็นอย่างไรบ้าง จะเป็นจะตายยังไง เป็นเรื่องที่คิดมาตลอดเส้นทางพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้าตรงกับฝั่งที่ผมนั่งบนรถ พนักงานบริกรประจำรถพาร่างเล็กๆ ของเขาหยิบข้าวของขนมหวานนมกล่องให้ผู้โดยสารแต่ละคน “ท่านผู้โดยสารทุกท่าน เรายินดีนำท่านมาสู่จังหวัดเชียงใหม่....” พนักงานหญิงแจ้งข่าวแก่ผู้โดยสาร ด้วยท่าทีกระฉับเฉงอรชร เชียงใหม่เช้านี้ ท้องฟ้าไม่ค่อยมีเมฆมาก พระอาทิตย์สีแดงที่เส้นขอบฟ้า ปล่อยแสงแสบปวดตา ผมลงจากรถทัวร์คันใหญ่ เดินมุงหน้าไปหารถแดง…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ไม่น่าเชื่อเลยว่า ช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผมจะได้รู้จักชีวิตในอีกมุมหนึ่งของคนที่ถูกเรียกว่า “แก๊ง” ได้มากกว่าที่คิดไว้แม้ว่าในช่วงแรกๆ ความสัมพันธ์ของผมกับเขาจะเป็นแบบ ถามเพื่อเอาข้อมูลไปทำโครงการ แต่สิ่งที่ผมได้มากกว่าการเก็บข้อมูล นั้นคือความผูกพันธ์ มิตรไมตรี และการช่วยเหลือกันและกันของเพื่อนๆ พี่ๆ ผมได้เรียนรู้ว่า ความจริงใจ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ของพวกเรา เมื่อก่อนมีเขาและมีผม แต่ตอนนี้คำว่า “เรา” มันทำให้ไม่มีเขา ไม่มีผม หลายสิ่งที่ผมได้ทำ หรือเพื่อนๆ ได้ทำไปนั้นเป็นสิ่งที่วัยอย่างพวกเราต้องเผชิญ อาจต่างกันมากน้อยคละเคล้ากันไปตั้งแต่จบมัธยมปลายมาหลายปี…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ต้นเดือนเมษายน – เทศกาลปีใหม่เมืองหรืองานสงกรานต์ใกล้เข้ามาถึงในอีกไม่กี่วัน วันหนึ่งพี่เหน่งโทรศัพท์มาหาผมเพื่อชวนผมไปเยี่ยมรุ่นน้องคนหนึ่งที่คุกแห่งหนึ่งในเชียงใหม่ ผมไม่ปฏิเสธ และได้ตระเตรียมข้าวของต่างๆ เพื่อไปเยี่ยมรุ่นน้องพี่เหน่งไม่บอกว่าใครอยู่ในคุก เพราะอยากให้ผมได้รู้ด้วยตัวเองว่ามาหาใคร ไม่กี่นานพี่เหน่งก็มารับผมที่บ้านพัก แล้วรีบบึ่งรถไปยังจุดหมายโดยเร็วแดดร้อนแผดเผาไปทั่วใบหน้า รถชอบเปอร์คันโตของพี่เหน่งพาเราสองคนมาถึงคุกในไม่กี่อึดใจ พี่เหน่งเดินบ่ายหน้าเข้าไปติดต่อเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เพื่อขอเยี่ยมผู้ต้องขัง…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ข้อมูลจากการพูดคุยกับคนทำงานด้านเยาวชน พบว่าวัยรุ่นชายที่อยู่ในกลุ่มมีความคึกคะนองสูง ดังนั้นในการเรียนรู้เรื่องสุขภาพ หรือการดูแลเอาใจใส่เรื่องสุขภาพ จึงเป็นเรื่องที่ถูกละเลย หรือมองข้ามความสำคัญไป หลายคนยังขาดความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขภาพ มีความประมาท ยกตัวอย่างเช่น การสวมถุงยางอนามัย สลับกับไม่ใส่ แกล้งดึงหัวจุกถุงยางอนามัยออกเพื่อแกล้งให้เพื่อนหญิงท้อง พฤติกรรมเหล่านี้เป็นการละเลยเรื่องการติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ไป ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือเรื่องที่วัยรุ่น มีเรื่องชกต่อยกันทำให้เกิดการบาดเจ็บและถึงขั้นถูกดำเนินคดีและบางรายถูกตัดสินให้อยู่ในเรือนจำ เป็นต้นนอกจากในกลุ่มจะมีเด็กชายและ…
กิตติพันธ์ กันจินะ
หากวัยรุ่นคนหนึ่งจะเข้ามาร่วมในกลุ่มนั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องมีการสมัคร หรือทดสอบก่อน คือ ใครต้องการเข้าร่วมกลุ่มก็สามารถเข้ามาทำความรู้จักได้เลย เพียงแค่มีความเป็นเพื่อนและจริงใจเท่านั้นการเข้ามาในกลุ่มแก๊งของคนใหม่ๆ หรือการพยายามสร้างตัวแทนของกลุ่ม นับว่าไม่ได้เป็นไปตามกรอบเกณฑ์ เพราะการเป็นรุ่นพี่รุ่นน้องในกลุ่มแก๊ง เกิดขึ้นโดยระบบความสัมพันธ์แบบเพื่อนกับเพื่อน การเคารพผู้ที่อายุมากกว่าว่าคือรุ่นพี่ การเคารพผู้ที่อายุน้อยกว่าหรือรุ่นน้อง เป็นการสร้างความสัมพันธ์แนวราบ คือ การส่งต่อเพื่อนสู่เพื่อน พี่สู่น้อง…