Skip to main content

จากที่ข้อเขียนเรื่องเพศวิถีมีชีวิตทั้งหมดที่ได้กล่าวมานั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การวางความคิด เรื่องการเปิดใจคุยเรื่องเพศของตนเอง เรื่องความหลากหลายในรักและความสัมพันธ์ ความรักต่างเพศนิยม เรื่องกระแสสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นความพยายามที่จะมาสรุปในตอนท้ายของบทความนี้ว่า หากเราจะคุยเรื่องเพศวิถีจากมุมมองภายในจากชีวิตของเรานั้น เพื่อสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายในตัวเอง อะไรที่เป็นความท้าทายที่จะนำไปสู่การจุดประกายให้แต่ละคนได้กลับมาสำรวจ ตั้งคำถาม และสร้างการเรียนรู้เรื่องต่างๆ เหล่านี้ได้โดยอาศัยทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกของแต่ละคน

ประการที่แรก คือ ความคิด ความเชื่อ ตรรกนิยม ที่พ่วงเอาความถูกผิดมากำหนด จัดระบบของสังคมที่มองว่าแบบนี้ถูก หรือผิด โดยเรามักจะได้ยินสิ่งที่เรียกว่า “ศีลธรรม” หรือ “จริยธรรม” ที่มักจะพ่วงมาด้วย “ที่ถูกต้อง” และ “ดีงาม” “ชอบธรรม” หรือ “ไม่ชอบธรรม” ฉะนั้น ความคิด ความเชื่อเหล่านี้เป็นผลพวงของวัฒนธรรมชายเป็นใหญ่และรักต่างเพศนิยม ตลอดจนวัฒนธรรมอำนาจครอบงำ ที่เป็นตัวบดบังความจริงแท้ภายใน ความรู้สึกหรือมุมต่างๆ ภายในตัวคน ความคิดที่นำไปสู่การขัดเกลาคนในสังคม ใช้ความถูกต้อง ดีงามเป็นตัวกำหนด บทบาท สถานะทางเพศ รสนิยมทางเพศ และชีวิตทางเพศของคน


ทำให้เกิดบรรยากาศขัดขืนอย่างเงียบๆ หรือ ดื้อเงียบ เป็นสังคมที่เรามักคุ้นเคยในแนว “ปากว่าตาขยิบ” ซึ่งบรรยากาศที่ว่ามีการกดทับ ไม่เปิดเผย ในเรื่องเพศอย่างตรงไปตรงมานี้เอง ทำให้คนไม่มีพื้นที่ทางสังคมของตน และไม่สามารถที่จะแสดงความรู้สึกต่างๆ ของตัวเองออกมาได้อย่างแท้จริง กลายเป็นว่าต้องหาทางอื่นปลดปล่อยและนำไปสู่การระบายออกที่ใช้ความรุนแรงและสถานะอำนาจเหนือกว่า ต่ำกว่า ซึ่งถือว่ามีมากในสังคมปัจจุบัน ฉะนั้นเรื่องที่ควรตั้งคำถามคือ ความคิดที่ผูกมัดว่าสิ่งนี้ผิด หรือ ถูกต้องดีงามนั้น จะนำไปสู่ชีวิตทางเพศที่ปลอดภัยและเป็นสุขได้จริงหรือ


และกระนั้นแล้วความรู้สึกจริงแท้ของคนจำเป็นหรือไม่ที่ควรเป็นเรื่องปกติที่เราควรสื่อสารอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา เพื่อให้เราได้กลับมาทำความเข้าใจตัวเอง เข้าใจเงื่อนไข ปมของชีวิตตัวเอง จนนำไปเพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างกันและกัน และรื้อถอนความเชื่อที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าใจกันของคนในสังคม


ประการที่สอง
ด้วยความสงสัยและอยากจะตั้งคำถามต่อสังคมในเรื่องความคิด ความเชื่อในเรื่องเพศ ดังนี้ หากผู้กำหนดกติกาต่างๆ ในสังคมนี้มีพื้นฐานความเชื่อที่ว่าอยู่ในกรอบแบบ “ชายเป็นใหญ่” ซึ่งก็ล้วนแล้วแต่มีมาตรฐานทางเพศที่มีการตัดสินผิดถูกตั้งแต่ชายควรเป็นอย่างไร หญิงควรเป็นอย่างไร หรือมากกว่านั้นก็คือ ชาย หรือหญิงควรแสดงออกทางเพศอย่างไร


สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นเรื่องที่ละเอียดลึกซึ้งจนเป็นเรื่องยากที่จะรื้อถอนแนวคิด และความเชื่อเหล่านี้ได้จากสังคมไทย เพราะความคิดความเชื่อในเรื่องเพศแบบนี้ ได้กลายเป็นวิถีชีวิตปกติของคนในสังคมนี้ไปเสียแล้ว และแน่นอนว่ามันย่อมนำมาสู่สถานะทางเพศที่ไม่เสมอภาคและเท่าเทียม ฉะนั้นแล้ว สิ่งที่ท้าทายคือการรื้อถอนหรือปรับเปลี่ยนระบบสังคมแบบ “ชายเป็นใหญ่” จะทำได้อย่างไร ตัวเราเองจะไม่ผลิตซ้ำในแนวความคิดความเชื่อนี้ได้อย่างไร


ซึ่งแน่นอนว่าเรื่อง “ชายเป็นใหญ่” นี้ ถูกหล่อหลอมขัดเกลาผ่านระบบโครงสร้างทางสังคมต่างๆ จากสถาบันครอบครัว โรงเรียน การศึกษา สาธารณสุข วัฒนธรรม ศาสนา กฎหมาย ซึ่งต้องเปลี่ยนทุกสถาบันให้มีแนวคิดเรื่องเพศเชิงบวก เคารพความหลากหลายทางเพศ รื้อถอนแนวคิดสังคมแบบ “ชายเป็นใหญ่” และสถาบันที่สำคัญที่ควรเริ่มในการเปลี่ยนแปลงก่อน คือ “สถาบันจิตใจภายใน” ของพวกเราทุกๆ คน


ประการที่สาม นอกเหนือจากวัฒนธรรม ความเป็นชายเป็นใหญ่ ความเป็นเพศ ใดๆ ก็ตามแล้ว ในการทำงานกับเด็กและเยาวชน หรือแม้แต่คนในสังคม เรามักเรียกคนที่ไม่ได้อยู่ในศูนย์กลางแห่งโอกาสและสถานะที่เหนือกว่าในทางเพศว่า “คนชายขอบในทางเพศ” คือ คนที่ไม่มีโอกาสในการเรียนรู้เรื่องเพศ คนที่ไม่มีโอกาสในการแสดงออกซึ่งสิทธิทางเพศ คนที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางเพศที่มิตรกับตนเอง เนื่องเพราะมีอัตลักษณ์ทางเพศที่ต่างออกไปจากสังคม เช่น เป็นคนรักเพศเดียวกัน เป็นหญิงขายบริการ เป็นเด็กวัยรุ่น เป็นต้น กลุ่มคนต่างๆ เหล่านี้อาจเป็นใครก็ได้


ทว่าสิ่งที่สำคัญน่าจะอยู่ที่คนในแต่ละระดับไม่ว่าจะอยู่ศูนย์กลาง หรือ ชายขอบ ล้วนแล้วแต่สร้างอำนาจของตนเองขึ้นมา อำนาจที่ว่านี้มันมีแหล่งที่มาอยู่หลายๆ ที่ในตัวบุคคลหนึ่งคน เช่น เพศ อาชีพ ฐานะทางเศรษฐกิจ เชื้อชาติ ศาสนา บทบาททางเพศ ที่อยู่ภายใต้สังคมแบบบริโภคนิยม ทั้งนี้การใช้อำนาจเหนือกว่าคือการที่คนๆ หนึ่งทำอะไรให้คนอีกคนหนึ่ง หรือกลุ่มหนึ่ง โดยที่เขารู้สึกอึดอัด ตึงเครียด ไม่ปลอดภัย ถูกทำร้าย หรือด้อยกว่า ผมจึงมองว่าเราจะทำให้อย่างไรเพื่อฟื้นฟูให้เกิดอำนาจภายในของแต่ละคน แต่ละกลุ่ม เพื่อให้เกิดบรรยากาศของการใช้อำนาจร่วมกันของคนในสังคม ไม่ว่าคนๆ นั้นจะอยู่ในเพศใด สถานะใด บทบาทหน้าที่ใด และศาสนาใด เพื่อให้เกิดความมั่นคงในความเป็นมนุษย์ เกิดความเท่าเทียมในความหลากหลายและเลือกในวิถีชีวิตทางเพศของตนได้อย่างมีศักดิ์ศรี


ประการต่อมา
คือ “วัฒนธรรมรักต่างเพศนิยม” ที่ถูกหล่อหลอมจากสังคมไว้เพียงว่าการรักต่างเพศนั้นคือสิ่งที่ถูกต้อง การรักเพศเดียวกันเป็นสิ่งที่ผิดปกติ เป็นสิ่งที่ไม่ถูกจารีต มองว่าเป็นการเป็นบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเป็นกรรม หรือมองว่าการที่เป็นคนรักเพศเดียวเป็นอาการทางจิตที่สามารถรักษาหายได้ สิ่งเหล่านี้ เราควรตั้งคำถาม โดยเริ่มถามตัวเองในฐานะคนรักต่างเพศว่า “ทำไมเราถึงรักต่างเพศ” ใครบอกสอนเรามาว่าควรรักต่างเพศ หรือ บอกเราว่าเพศชายต้องคู่กับหญิงเท่านั้น


ทว่าอย่างไรแล้วในความเป็นจริงไม่ว่าจะผ่านมากี่ยุคสมัยความลื่นไหลทางเพศของผู้คนนั้นมีมาตลอดและสิ่งนี้ก็อยู่ในใจของเราแต่ละคน ที่ไม่มีเพศ ไม่มีแบ่งชาย แบ่งหญิง เพราะแท้จริงแล้วมนุษย์นั้นก็คือมนุษย์แต่การหล่อหลอมทางสังคมผ่านโครงสร้างสถาบันสังคมต่างๆ ทำให้เรามองว่ารักต่างเพศคือความถูกต้อง จนทำให้ขาดพื้นที่ของคนที่มีความหลากหลายทางเพศและนำไปสู่การรังเกียจ การเลือกปฏิบัติในกลุ่มคนรักเพศเดียวกัน ซึ่งสิ่งนี้มองว่าเราควรหมั่นตรวจสอบตัวเอง รู้จักตัวเองว่าเราเองมี “ความรู้สึกรังเกียจคนรักเพศเดียวกันอยู่บ้างไหม” แล้วเมื่อเรารู้ตัว ก็ยอมรับความจริงว่ามี และค่อยๆ รื้อออกจากตัวเอง เข้าใจที่มาของความรู้สึกนี้ และมองให้เห็นว่าเราเองก็เป็นผลผลิตหนึ่งของสังคมที่หล่อหลอมเราให้รู้สึกนึกคิดแบบนี้ ฉะนั้นแล้วเมื่อเราเข้าใจในจุดนี้แล้ว จึงควรช่วยกันสร้างพื้นที่ทางสังคมสำหรับคนทุกคนในสังคม


ท้ายที่สุดนี้ การเรียนรู้เรื่องเพศวิถีที่เริ่มต้นจากภายในตัวเรา ที่ดีที่สุดนั้นคือการกลับมาสำรวจประสบการณ์ด้านในของเราแต่ละคน กลับมารู้สึกตัว อยู่กับปัจจุบันขณะ เพื่อให้ใจเรานี้มีความนิ่งพอที่จะมองเห็นสภาวต่างๆ เกิดขึ้นในตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ ความคิด ความเชื่อ ทัศนคติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเพศวิถีของตัวเองและของคนในสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลาย เพื่อตรวจสอบจิตใจตัวเอง และค่อยๆ เคลียร์ปม ทำงานกับอคติทางเพศที่ฝังหัวเรามาแต่นานแสนนาน และเรียนรู้ที่จะสื่อสารเรื่องนี้ด้วยความเป็นจริง ไม่ตัดสิน ตีตรา หรือเลือกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดสังคมที่มีความเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เข้าใจในความแตกต่างหลากหลายของคนเพื่อนำไปสู่ชีวิตทางเพศที่ปลอดภัยและเป็นสุขระหว่างกัน

 

 

 

บล็อกของ กิตติพันธ์ กันจินะ

กิตติพันธ์ กันจินะ
งานวิจัยมากมายทยอยออกมานำเสนอผ่านสื่อมวลชน ในช่วงก่อนวาเลนไทน์ ชนิดที่ว่า นอกจากจะเป็นช่วงเทศกาลวันแห่งความรักแล้ว ยังเป็นเทศกาลนำเสนอผลวิจัยวัยรุ่นอีกก็ว่าได้งานวิจัยที่ออกมาส่วนใหญ่แล้ว มีลักษณะ “ถ้ำมอง” และ นำเสนอด้าน “ลบ” ของวัยรุ่นเพียงอย่างเดียว ทำนองว่า วัยรุ่นจะมีเพศสัมพันธ์กันมากที่สุดในวันดังกล่าว – ผมเองได้พยายามค้นหาดูว่ามีผลวิจัยหรืองานสำรวจอะไรบ้างที่ให้ข้อเสนอแนะทางออกในเชิงสร้างสรรค์เกี่ยวกับเรื่องเพศของวัยรุ่นนอกจากผลการสำรวจของ เครือข่ายเยาวชนด้านเอดส์ ประเทศไทย (Youth Net) ที่เสนอว่า วัยรุ่นกว่า 70% เห็นว่าควรมีวิชาเพศศึกษาในหลักสูตรของทุกโรงเรียน…
กิตติพันธ์ กันจินะ
1นันกับฝน เรียนอยู่มหาวิทยาลัยอีกไม่กี่เดือนก็จะจบการศึกษาแล้ว เขาทั้งสองเป็นเด็กต่างอำเภอที่ได้ย้ายมาเรียนในตัวเมืองของจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคเหนือทั้งสองคนพบกันครั้งแรกตอนเข้า ม.4 ตอนนั้นเป็นจุดตั้งตนให้เขาและเธอได้รู้จักและพัฒนาความสัมพันธ์เรื่อยมาจนเป็นแฟนกัน และจากนั้นนันกับฝนจึงตัดสินใจย้ายหอมาอยู่ด้วยกัน อาศัยห้องเดียวกัน ตอนเรียน ม.5 ตอนที่มีอะไรกันครั้งแรก นันใช้ถุงยางอนามัย เพียงเพราะยังไม่อยากรับผิดชอบผลกระทบที่จะตามมาจากการมีอะไรโดยไม่ได้ป้องกัน เขาไม่ได้ให้ฝนคุมกำเนิดด้วยการทานยาคุมกำเนิดเพราะกลัวผลข้างเคียง ที่จะเกิดขึ้น แต่เลือกใช้ถุงยางอนามัยทุกๆ ครั้ง พอเรียนจบ ม.6…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ผมเพิ่งกลับจากค่ายเยาวชนที่จังหวัดเชียงราย เป็นการจัดกิจกรรมเรื่องเพศ มีวัยรุ่นหลายคนเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งโดยหลักแล้วก็เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเรื่องเพศ เพศภาวะ และเพศวิถี ซึ่งเน้นการพูดคุยจากมุมภายในของผู้เข้าร่วมแต่ละคนมีน้องคนหนึ่งที่มาร่วมกิจกรรม บอกความรู้สึกกับผม “ผมดีใจมากครับ ที่ได้มาร่วมกิจกรรมนี้ อยากเข้าร่วมกิจกรรมแบบนี้ แต่ไม่ค่อยมีโอกาสเลย ดีนะครับที่พวกพี่มาจัด” น้องอีกคนหนึ่งก็บอกอีกว่า ที่ชุมชนของตัวเองได้มีการจัดกิจกรรมโดยอบต. แต่กิจกรรมส่วนใหญ่จะเน้นการกีฬา กิจกรรมตามวันสำคัญ และเยาวชนในชุมชนก็เข้าร่วมฟังน้องทั้งสองคนพูดขึ้นมาผมก็คิดถึง ผลการศึกษาวิจัยเรื่อง “…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ผมรู้จักกับคุณหมอสงวน นิตยารัมภ์พงศ์  ตอนอายุ 18 ปี สมัยที่ได้เริ่มวาระการเป็นกรรมการควบคุมคุณภาพมาตรฐานบริการสาธารณสุข จากสายองค์กรเอกชนด้านเด็กและเยาวชน เมื่อหลายปีก่อน ตอนเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการในตอนแรกๆ ผมค่อนข้างจะเกร็งเพราะคณะกรรมการแต่ละท่านเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสำคัญต่อวงการสาธารณสุขและสังคมและอาวุโสห่างจากผมมากกว่า 20 ปี  ตอนนั้น คุณหมอสงวน ทำหน้าที่เป็นเลขานุการในที่ประชุม และเมื่อประชุมเสร็จสิ้น ผมได้เข้าไปทักทายและแนะนำตัวเองกับท่าน ท่านมีความเป็นกันเองและให้เกียรติกับผมมากและได้บอกให้ผมสบายใจ มั่นใจและเชื่อมั่นในการทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด
กิตติพันธ์ กันจินะ
ลมหนาว ยังไม่จางหาย....วันเด็กแห่งชาติเพิ่งจัดเสร็จไปไม่กี่วัน จนถึงวันนี้ วันเด็ก เสาร์ที่สองของเดือนมกราคม ยังคงมีการจัดมาอย่างสม่ำเสมอทุกๆ ปี นับตั้งแต่สมัย พ.ศ. 2499 ในยุคจอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัตน์ ได้มอบคติเตือนใจสำหรับเด็กๆ ปีละ 1 คำขวัญ จนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบเนื่องจนถึงปัจจุบันวันเด็กที่ผ่านมา ผมได้ร่วมกิจกรรมที่ศูนย์เพื่อน้องหญิง จ.เชียงราย ภายในงานจัดกิจกรรมในแนวว่า “ข้างหลังภาพ” ทำนองว่า ทำงาน ทำกิจกรรม กันมามากมาย ทั้งเด็ก ผู้ปกครอง ผู้สูงอายุ วันนี้น่าจะมาดูกันว่าได้ทำอะไรกันมาบ้าง ซึ่งเด็กๆ…
กิตติพันธ์ กันจินะ
กาลชีวิตของผมเดินทางผ่านมาแล้วอีกหนึ่งปี และคงจะเดินทางต่อไปตามเข็มนาฬิกา สายน้ำ สาดลม แสงแดด เช่นนี้อีกเรื่อยๆ ตราบที่ยังคงมีลมหายใจอยู่...เมื่อปีที่แล้ว เรื่องราวที่เกิดขึ้น อันเกี่ยวข้องกับเยาวชน คนหนุ่มสาวในประเทศนี้มีมากมายทั้งร้ายดี โดยส่วนตัวแล้ว เห็นความพยายามของผู้ใหญ่หลายภาคส่วนที่เข้ามาสนับสนุนการทำกิจกรรมสร้างสรรค์สังคมของเยาวชนอยู่มากมายหลายหลากโครงการพัฒนาเยาวชนจำนวนมาก ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคธุรกิจ ล้วนมุ่งเน้นให้เยาวชนคนหนุ่มสาวเข้ามาทำกิจกรรมทางสังคมมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ตัวอย่างที่ได้รับรู้มาดังเช่น โครงการเยาวชนไทยไม่ทอดทิ้งสังคม ที่เครือข่ายเยาวชน 14 กลุ่ม…
กิตติพันธ์ กันจินะ
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพิ่งจบลงเมื่อวานนี้ ตอนค่ำ ผลสรุปจากการกากบาทลงคะแนนให้กับคนที่รัก พรรคที่ชอบ ได้ผลออกมาอย่างไม่เป็นทางการ บางคนอาจถูกใจ บางคนอาจไม่ถูกใจหลังจากลงคะแนนเสียงเสร็จ ผมได้เดินทางไปยังเขตชายแดนอำเภอแม่สายกับพี่ๆ เจ้าหน้าที่ศูนย์เพื่อน้องหญิง เพื่อจับจ่ายซื้อของและเดินเล่นไปมาตามประสาคนที่อยากพักผ่อนเที่ยวท่องให้คล่องใจเวลาในการเดินทางไป การเดินทางจับจ่ายซื้อของ และการเดินทางกลับ เริ่มจากตอนสาย จนถึงตอนหัวค่ำ ระหว่างที่อยู่เขตอำเภอแม่สาย ผมแยกตัวจากพี่ๆ เจ้าหน้าที่อีก 4 คน เดินเล่นเองคนเดียว เพียงเพื่อจะหาร้านกาแฟสดดีๆ ที่มีหนังสืออ่านและมีเพลงฟัง ผมเดินไปทั่ว…
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาจนถึงวันนี้ผมยังไม่ได้พาตัวและตาของตนไปดูภาพยนตร์เรื่อง "รักแห่งสยาม" เลย แม้ว่าจะมีเพื่อนๆ หลายคนได้เชื้อเชิญแจ้งแถลงชวนให้ไปดูหลายเวลา หลายคราก็ตาม ผมก็ยังไม่ได้ไปดูเสียทีโดยส่วนตัวแล้ว ผมไม่ได้เป็นคนปฏิเสธโรงภาพยนตร์นะครับ เพราะภาพยนตร์แต่ละเรื่องที่จะทำให้ผมไปดูได้นั้น ต้องเป็นเรื่องที่ผมมีเพื่อนไปดูด้วย คือ ถ้าไปคนเดียวผมคงไม่ไปครับ เพราะไม่เคยดูหนังคนเดียว และยิ่งไม่รู้ว่าต้องซื้อตั๋ว ซื้ออะไรยังไงบ้าง เพราะปกติเวลาไปเพื่อนๆ จะเป็นคนซื้อตั๋วและขนมขบเคี้ยวเข้าไปให้สำหรับ "รักแห่งสยาม" ถือเป็นภาพยนตร์ที่มีผู้คนกล่าวถึงค่อนข้างมาก และกล่าวถึงในหลายแง่มุม เช่น…
กิตติพันธ์ กันจินะ
“อากาศหนาวๆ เย็นๆ อย่างนี้ หากได้หาใครสักคนมาอยู่ข้างกายก็คงจะดี” เพื่อนรุ่นพี่พูด บอกเสมือนจะสื่อให้ผมหาใครสักคนมาอยู่ข้างกาย เพื่อเป็นเพื่อนคุย แต่ผมคิดว่านัยยะของคำพูดนี้ น่าจะสะท้อนความคิดบางอย่าง ว่าการที่จะมีใครสักคนเข้ามาอยู่ใกล้ๆ เราในช่วงฤดูหนาวเช่นนี้ แน่นอนว่าจะช่วยทำให้เราอุ่นกายและอุ่นใจได้พร้อมๆ กันผมครุ่นคิดถึงคำพูดของเพื่อนรุ่นพี่ หลายวัน พลันกับได้ยินเรื่องราวเรื่องการคัดค้านมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐหรือ ‘มอ’ นอกระบบ  ก็ทำให้นึกถึง ความรักนอกระบบ ไปด้วย ความรักนอกระบบ กับ ‘มอ’ นอกระบบ แม้จะไม่เหมือนกัน…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ความรักไม่เข้าใครออกใคร ไม่ว่าวัย-อาชีพ-เพศ-ชนชั้น-เชื้อชาติใด ความรักย่อมมีอยู่ในทุกที่ ดั่งเช่นความรักของคนทำงานเรื่องเพศในการทำงานเรื่องเพศ หลายคนมองว่าอาจยากต่อการทำความเข้าใจกับคู่ของตัวเอง เมื่อเราเป็นผู้หญิงและคู่ของเราเป็นผู้ชาย แล้วให้เราเริ่มคุยเรื่องเพศก่อน ก็อาจถูก ‘คู่’ ที่คบหาตกใจ หรือมองเราในมุมที่ไม่ค่อยดีก็เป็นได้ แต่น้อยคนนักจะรู้ว่า ปัจจุบันผู้หญิงหลายคนเริ่มคุยเรื่องเพศของตนมากขึ้น และผู้ชายเองก็ไม่ได้มองผู้หญิงมุมลบๆ อย่างเดียว หากมองว่าเป็นเรื่องดีด้วยซ้ำที่ได้รับฟังเรื่องของคนที่ตัวเองคบอยู่ มีประสบการณ์ที่น่าสนใจอย่างยิ่งจากเรื่องของเธอ –…
กิตติพันธ์ กันจินะ
เมื่อหลายวันก่อน ผมได้เข้าร่วมกิจกรรมเวที “เพศศึกษาเพื่อเยาวชน” ของโครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจ องค์การแพธ ร่วมกับมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และพันธมิตรอีกหลายองค์กร จัดงานระดับภาคตะวันตกและภาคตะวันออกขึ้น โดยการจัดครั้งนี้เป็นการครั้งแรกของภาคดังกล่าวภายในงานมีเยาวชนจากหลายโรงเรียนและหลายกลุ่มเข้าร่วม พร้อมๆ ทั้งผู้ใหญ่จากหน่วยงานภาคการศึกษาและหน่วยงานภาคประชาสังคม เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งธีมหลักๆ ของเวทีนี้คือ “ร่วมกันชี้โพรงให้กระรอกเข้าอย่างปลอดภัย” ทำไมต้องชี้โพรงให้กระรอก ในเมื่อกระรอกรู้ว่าโพรงนั้นต้องเข้ายังไง –…
กิตติพันธ์ กันจินะ
รายงานข่าวเมื่อไม่นานมานี้ระบุว่า มียอดเด็กที่กำพร้าจากพ่อแม่ที่ต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบจากสถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวนหลายพันคน ซึ่งภาครัฐยังคงต้องหาแนวทางการดูแลเด็กที่เผชิญกับปัญหาต่างๆ ทั้งเรื่องการเข้าถึงการศึกษา และการดูแลคุ้มครองปกป้องสวัสดิภาพของเด็ก ทว่าอย่างไรเสีย  แม้ว่าเรื่องราวความรุนแรงในเหตุการณ์ดังกล่าว จะยังคงปรากฏให้เห็นอยู่เสมอทั้งหน้าจอโทรทัศน์หรือหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ แล้ว ยังมีเรื่องราวความรัก ความสัมพันธ์ ระหว่างคนในพื้นที่กับคนนอกพื้นที่ที่ได้ลงไปปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ในพื้นที่เกิดเหตุ ตามบทบาทหน้าที่ต่างๆ อาทิ หมอ ทหาร ครู…