Skip to main content

kittiphan 20080108 2

กาลชีวิตของผมเดินทางผ่านมาแล้วอีกหนึ่งปี และคงจะเดินทางต่อไปตามเข็มนาฬิกา สายน้ำ สาดลม แสงแดด เช่นนี้อีกเรื่อยๆ ตราบที่ยังคงมีลมหายใจอยู่...

เมื่อปีที่แล้ว เรื่องราวที่เกิดขึ้น อันเกี่ยวข้องกับเยาวชน คนหนุ่มสาวในประเทศนี้มีมากมายทั้งร้ายดี โดยส่วนตัวแล้ว เห็นความพยายามของผู้ใหญ่หลายภาคส่วนที่เข้ามาสนับสนุนการทำกิจกรรมสร้างสรรค์สังคมของเยาวชนอยู่มากมายหลายหลาก

โครงการพัฒนาเยาวชนจำนวนมาก ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคธุรกิจ ล้วนมุ่งเน้นให้เยาวชนคนหนุ่มสาวเข้ามาทำกิจกรรมทางสังคมมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ตัวอย่างที่ได้รับรู้มาดังเช่น โครงการเยาวชนไทยไม่ทอดทิ้งสังคม ที่เครือข่ายเยาวชน 14 กลุ่ม ได้ดำเนินการภายใต้การสนับสนุนจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, โครงการ Youth Venture โครงการที่ทางมูลนิธิอโชก้า ประเทศไทย ดำเนินการขึ้นเพื่อสนับสนุนคนรุ่นใหม่ในการทำกิจกรรมตามที่ตนถนัด, โครงการของภาคธุรกิจ เช่น โครงการที่มูนนิธิซีเมนต์ไทยสนับสนุน โครงการชั่วโมงนี้เพื่อเด็ก ที่ทางสภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชนฯ ดำเนินการ หรือแม้แต่โครงการแบ่งปันฯ ที่ทางเครือข่ายนักธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ร่วมกับภาคีดำเนินการ ฯลฯ

ลักษณะโครงการตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น มีเป้าหมายเพื่อให้เยาวชนเข้ามาทำกิจกรรมเพื่อสังคม ไม่ว่าจะเป็น “มือใหม่” หรือ “มือปานกลาง” หรือ “มือเก่า” ซึ่งถือว่าเป็นช่องทางให้เยาวชน ในการเข้ามาขอรับการสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ ได้ทั้งสิ้น

กล่าวสำหรับเยาวชนมือใหม่ ที่ออกมาทำกิจกรรมเพื่อสังคม ตามที่โครงการเยาวชนไทยไม่ทอดทิ้งสังคม หรือ ชื่อสั้นๆ ว่า “เยาวชนพันทาง” นั้น ก็ได้ดำเนินการสนับสนุนเยาวชนมือใหม่มากกว่า 300 โครงการ ซึ่งเป็นโครงการที่เยาวชนได้คิดเองและดำเนินการเองภายใต้งบประมาณสนับสนุนไม่เกินโครงการละ 8,000 บาท ทั่วประเทศ

kittiphan 20080108 1

จากที่ได้รับฟังความรู้สึกของเยาวชนมือใหม่ที่เข้ามาทำกิจกรรมเพื่อสังคม ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น สอนหนังสือให้ น้อง อาสาสมัครตรวจสอบการเลือกตั้ง ค่ายพัฒนาทักษะ ละครสัญจร ปลูกป่า อนุรักษ์น้ำ เป็นต้น เยาวชนหลายคนต่างมองว่าการทำกิจกรรมทางสังคมนี้ เป็นการทำให้ตัวเองเห็นคุณค่าและประโยชน์ของตัวเองในการทำเพื่อผู้อื่น และยังช่วยทำให้เกิดความรัก ความหวงแหนต่อชุมชนหมู่บ้านของตนมากขึ้น

คือได้ฝึกคิด ฝึกทำ ไปด้วยพร้อมๆ กัน

เมื่อย้อนกลับมามองที่ตัวเอง, ผมจำได้ว่า ตอนเมื่อก่อนที่แรกเข้ามาทำกิจกรรมทางสังคม กิจกรรมเยาวชนนี้ไม่ค่อยจะมีโอกาสได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐเท่าใดนัก จะมีเพียงแต่องค์กรพัฒนาเอกชนที่สนับสนุนการทำกิจกรรม และอีกอย่างที่พบก็คือลักษณะกิจกรรมที่บางองค์กรที่สนับสนุนให้เยาวชนทำก็เป็นกิจกรรมประเภทการประชุม เอาเด็ก มานั่งฟังผู้ใหญ่บรรยาย แต่ไม่ได้สร้างการเรียนรู้มากเท่าที่ควร

ช่วงเมื่อก่อนจำได้ว่ากว่าจะเรียกตัวเองได้ว่าเป็นเด็กกิจกรรมนั้นต้องผ่านการอบรม เคี้ยว เค้น ฝึกทักษะ ลงสนามต่างๆ นานา กว่าจะได้มานำกระบวนการ ชวนคุยในวงใหญ่ ได้แสดงละครตามที่ต่างๆ ต้องใช้เวลานานหลายเดือนหลายปี แต่สมัยนี้เยาวชนนักกิจกรรมรุ่นใหม่ๆ มักเข้ามาโดยผ่านการจัดเวทีประชุม เพื่อนำเสนอความคิดเห็นมากกว่า ดังนั้นในช่วงหลังๆ จึงมักได้ยินคำพูดของรุ่นพี่หลายๆ คนว่า “เด็กกิจกรรมสมัยนี้พูดเป็น แต่คิดไม่เป็น”

เมื่อฟังคำพูดและมองสิ่งที่กำลังเป็นไปอยู่ในทุกวันนี้ ผมเห็นว่ามีเวทีต่างๆ มากมายที่ผู้ใหญ่ให้เยาวชนเข้าร่วม ให้เยาวชนออกมามีส่วนสำคัญในการแสดงพลัง แต่มักเป็น ลักษณะเวทีพูดมากกว่าเวทีคิด หลายครั้งเราจะพบว่าเยาวชนพูด นำเสนอเก่ง แต่คิดหรือวิเคราะห์ไม่ค่อยได้(เรื่อง) ซึ่งทำให้ขาดมุมมอง เนื้อหา ประเด็นจากประสบการณ์จริงๆ เข้ามาช่วยสนับสนุน คือถ้าพูดตรงๆ คือ พูดลอยไปลอยมา มีแต่น้ำไม่มีเนื้อ เทือกนั้นๆ

(เยาวชนหลายคนที่เข้าร่วม “สภาเด็กและเยาวชน” ระดับจังหวัด ของที่ต่างๆ น่าจะทราบดีว่า กิจกรรมแบบที่ให้เยาวชนเข้ามาร่วมแบบผ่านๆ นั้น เกิดผลกระทบต่อตัวเยาวชนอย่างไรบ้าง หรือ เยาวชนที่ไม่ทำกิจกรรมกับสภาเยาวชนจังหวัด แต่เป็นกลุ่มที่ทำกิจกรรมในพื้นที่ ก็จะพบและรู้ว่าการทำงานในพื้นที่แบบจริงๆ จังๆ นั้น ช่วยให้ตัวเองคิด วิเคราะห์เป็นมากน้อยเพียงใด)

นอกจากนี้อีกมุมที่เห็นคือ การพัฒนาเยาวชนให้เป็นนักกิจกรรมที่เกิดขึ้นช่วงหลังๆ มักเป็นกิจกรรมที่เอื้อเฉพาะเยาวชนที่ผู้ใหญ่มองว่าดี และเป็นเวทีพูดมากกว่าคิดนี้ ผมเข้าใจดีว่า ผู้ใหญ่เองมีความมุ่งหวังที่อยากจะทำกิจกรรมกับเยาวชนแต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร คือ ไม่รู้ว่าจะทำกิจกรรมอะไรกับเยาวชน และไม่รู้ว่าจะเข้าถึงกลุ่มเยาวชนต่างๆ ที่หลากหลายได้อย่างไร

โดยเฉพาะผู้ใหญ่ระดับ “องค์การบริหารส่วนตำบล” ที่ต่อไปจะต้องทำงานกับเยาวชนมากขึ้น ยิ่งปัจจุบันกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ก็กำลังจะมีการประกาศใช้ ซึ่งจะส่งผลให้ทุกตำบลต้องมีศูนย์เยาวชน, ทุกอำเภอ ต้องมีสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ, ทุกจังหวัดต้องมีสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด, และรวมทั้งประเทศก็จะมีสภาเด็กและเยาวชนระดับประเทศไทยด้วย

ทีนี้กลับมาว่า เมื่อนโยบายพร้อมสนับสนุน แต่คนทำงานยังไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง ก็เป็นบทบาทจำเป็นอย่างยิ่งของผู้ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาเด็กและเยาวชนว่านอกจากจะคิดหรือกำหนดนโยบายในการพัฒนาเด็กและเยาวชนแล้ว ต้องพัฒนาแนวทางในการพัฒนาคนทำงาน องค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนในระดับพื้นที่ด้วย โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบลและโรงเรียน ที่เกี่ยวข้องกับเยาวชนอย่างมากในท้องถิ่น

สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในห้วงต่อไป คือความท้าทายของคนทำงานกับเยาวชนและเยาวชนนักกิจกรรมทั้งหลายที่จะดำเนินงานร่วมกัน, ท้าทายเช่นว่าจะสร้างเยาวชนให้มีความคิด วิเคราะห์ พูดเป็น ทำเป็น ได้พร้อมๆ กันอย่างไร โจทย์ใหญ่นั้นน่าจะอยู่ตรงจุดนี้ การที่ผู้ใหญ่จะทำอะไรเพื่อเยาวชนแบบที่ผู้ใหญ่ต้องการตอนนี้คงจะใช้ไม่ค่อยได้ เพราะแนวทางที่ดีระดับหนึ่งคือ ถ้าจำอะไรเพื่อเยาวชน ต้องถามที่เยาวชน และใช้โอกาสนั้นๆ สร้างการเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้เยาวชนพูดเป็น คิดเป็น ทำเป็น พร้อมๆ กัน ...ให้เยาวชนทำได้มากกว่า “พูด”

 

บล็อกของ กิตติพันธ์ กันจินะ

กิตติพันธ์ กันจินะ
จากที่ข้อเขียนเรื่องเพศวิถีมีชีวิตทั้งหมดที่ได้กล่าวมานั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การวางความคิด เรื่องการเปิดใจคุยเรื่องเพศของตนเอง เรื่องความหลากหลายในรักและความสัมพันธ์ ความรักต่างเพศนิยม เรื่องกระแสสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นความพยายามที่จะมาสรุปในตอนท้ายของบทความนี้ว่า หากเราจะคุยเรื่องเพศวิถีจากมุมมองภายในจากชีวิตของเรานั้น เพื่อสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายในตัวเอง อะไรที่เป็นความท้าทายที่จะนำไปสู่การจุดประกายให้แต่ละคนได้กลับมาสำรวจ ตั้งคำถาม และสร้างการเรียนรู้เรื่องต่างๆ เหล่านี้ได้โดยอาศัยทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกของแต่ละคน
กิตติพันธ์ กันจินะ
โลกเปลี่ยนแปลงไปทุกขณะ ความสัมพันธ์ทางเพศของมนุษย์มีหลากหลายรูปแบบมากขึ้น ในสังคมสมัยก่อน เช่น ในภาคเหนือ การจีบสาวของคนล้านนาจะมีการค่าว (คล้ายลำตัดของภาคกลาง) ตอบโต้กันไปมา การจีบกันต้องให้เกียรติผู้หญิงเป็นคนเลือกคู่ หรือหากจะแต่งงานก็ต้องมีการใส่ผี คือการวางเงินสินสอดจากฝ่ายชายเพื่อบอกกับผีปู่ผีย่าของฝ่ายหญิงให้ทราบว่าจะคบกันแบบสามีภรรยา
กิตติพันธ์ กันจินะ
ความคิด ความเชื่อเรื่องเพศที่หล่อหลอมเรามาว่า ควรมีชายกับหญิงเท่านั้นที่คู่กัน สิ่งนี้เป็นความคิด ความเชื่อที่ฝังหัวเรามาตลอดจนเราไม่ได้ตั้งคำถามกับตัวเองเลยว่าทำไมเราจึงต้องรักเพศตรงข้าม และการที่เรารักเพศเดียวกันนั้นจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งไม่ได้เชียวหรือ
กิตติพันธ์ กันจินะ
สำหรับชีวิตส่วนตัวแล้ว ผมเป็นวัยรุ่นคนหนึ่งที่เติบโตมาท่ามกลางการเลี้ยงดูของแม่และพี่ๆ ที่ส่วนใหญ่แล้วเป็นผู้หญิง เห็นการทำงานของผู้หญิงที่ “ศูนย์เพื่อน้องหญิง” จ.เชียงราย เห็นความเข้มแข็งในการทำงานของแม่ของพี่ๆ แต่ละคนแล้ว ทำให้ผมเห็นว่าความเป็นหญิง ความเป็นชาย แท้จริงแล้ว ทุกคนก็สามารถทำอะไรได้เหมือนกัน แต่ทว่าการเลี้ยงดูหล่อหลอมของสังคมกลับบอกว่าแบบนี้ผู้หญิงควรทำ แบบนี้ผู้ชายควรทำ
กิตติพันธ์ กันจินะ
เปิดใจเรียนรู้ประสบการณ์ภายในตน ผมเริ่มต้นทำงานในประเด็นเรื่องเพศ ตอนอายุน้อยๆ จากวันนั้นมาวันนี้ ระยะเวลาหลายปี ที่อยู่บนเส้นทางนี้ได้เจออะไรหลายอย่าง ได้เรียนรู้ ประสบการณ์ทำงานมากมาย ไม่ว่าจะเป็นบทบาทหน้าที่ใด ความรับผิดชอบแบบไหน องค์กรระดับชุมชนหรือเครือข่ายก็ตาม งานต่างๆ เหล่านี้ทำให้ได้ทำประโยชน์ต่อตนเองและคนอื่นไปพร้อมๆ กัน ผมไม่อาจเรียกตัวเองได้อย่างเต็มปากว่าเป็นคนทำงานเพศวิถี เพราะเข้าใจว่าเรื่องเพศวิถีนี้มีอะไรหลายอย่างที่ต้องทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และไม่อาจจะบอกได้ว่าตัวเองเป็นนักพัฒนาสังคม เพราะบ่อยครั้งก็ยังมีคำถามเกิดขึ้นมากมายกับตัวเองว่าที่ว่าเป็นนักพัฒนาสังคมนั้น…
กิตติพันธ์ กันจินะ
หายไปเสียนานกับบ้าน “หนุ่มสาวสมัยนี้” เพราะต้องทำงานโครงการป้องกันเอดส์ และเพศศึกษากับเพื่อนๆ เยาวชนในหลายๆ ภาค ทำให้เวลาในการเขียนขีดมีน้อยกว่าเมื่อก่อน ทว่าตอนนี้ก็สามารถจัดการเวลากับตัวเองได้ลงตัวมากขึ้นทำให้ชีวิตมีความสมดุลมากขึ้นทีเดียว
กิตติพันธ์ กันจินะ
อุ่นใจ บัว เขาเสยผมที่ยาวประ่บ่าแล้วรวบไว้ด้านหลังเบาๆ พลางเอื้อมมือดันเพื่อปิดประตูห้องหมายเลข 415 วันนี้เป็นวันที่เขาต้องขนย้ายข้าวของและสัมภาระต่างๆ กลับบ้านที่ต่างจังหวัด หลังจากเมื่อสี่ปีที่แล้ว เขาเดินทางออกจากบ้านเพื่อย้ายมาอยู่ที่กรุงเทพฯ อย่างเต็มตัว สี่ปีที่ผ่านมามีเรื่องราวต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย เขากำลังนึกถึงภาพของความหลังครั้งอดีต โดยเฉพาะความหลังที่เกิดขึ้นภายในห้องพักที่อยู่เบื้องหน้า หนึ่งในเรื่องราวที่ผุดขึ้นมาในม่านความคิดของเขาก็คือเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างเขากับหญิงสาวห้าคน
กิตติพันธ์ กันจินะ
  กิตติพันธ์ กันจินะ -1-วันอาทิตย์สัปดาห์นี้ผมน้อมนำกายไว้ที่กรุงเทพฯ เพราะไม่มีเรี่ยวแรงจะกลับเชียงรายเลย และอยากให้วันอาทิตย์นี้เป็นของขวัญแก่ตัวเองในการพักผ่อน หยุดขยับเรื่องงาน และเอาใจมาคิดถึงเรื่องด้านในของตัวเองด้วย เช้าตรู่ของวันอาทิตย์นี้ ผมตื่นนอนตามปกติ ไม่สายและไม่เช้าจนเกินไป และอยู่ๆ ก็คิดขึ้นได้ว่ามีโทรศัพท์ที่ยังไม่ได้โทร.กลับหนึ่งสาย นั้นคือ พี่จ๋อน แห่งมะขามป้อมนี้เอง สำหรับพี่จ๋อนและพี่ๆ มะขามป้อมแล้ว ผมถือว่ารู้จักมักคุ้นกับพี่ๆ มานานหลายปี โดยผมเริ่มรู้จักกับมะขามป้อม เมื่อตอนยังเด็กเลยแหละ จนถึงทุกวันนี้ก็นานพอควร พี่บางคนพอจำกันได้…
กิตติพันธ์ กันจินะ
  มาริยา มหาประลัย1เมื่อเดือนก่อน คุณพี่เอก บก. (อันย่อมาจากบรรณาธิการ ไม่ใช่บ้ากาม) นิตยสารผู้ชายฉบับหนึ่งที่ฉันเคยอาศัยเงินเดือนเขายาไส้ แถมยังเป็นเจ้านายที่น่ารักที่สุดตั้งแต่ฉันเคยร่วมงานด้วย โทรศัพท์ตรงดิ่งวิ่งปรี่มาหาฉัน บอกว่ามีงานเขียนให้ฉันทำ คุณพี่เอกยังหยอดคำหวานปานพระเอกลิเก(ย์)อ้อนแม่ยกอีกว่า พอได้รับโจทย์ปุ๊บ หน้าฉันก็โผล่พรวดเด้งดึ๋งขึ้นมาปั๊บ เห็นทีจะเป็นลิขิตจากนรก เอ้ย! สวรรค์ชั้นเจ็ดที่ส่งให้ฉันมาเขียนเรื่องนี้ อู้ย! อยากรู้จริงเชียวว่าเรื่องอะไรหนอ..."คุณพี่อยากให้คุณน้องเขียนเรื่อง Safe Sex ของเกย์ให้เกย์อ่าน"อ๊ายส์! อ๊ายยยส์!!อ๊ายยยยยยส์!!!…
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาริยา มหาประลัย (หมายเหตุ – อะแฮ่ม! ขอออกตัวว่าฉันเป็นคนรู้เรื่องศาสนาเพียงน้อยนิด ข้อเขียนต่อไปนี้เป็นการตั้งข้อสังเกตตามภูมิความรู้ที่มี ไม่ได้มีเจตนาลบหลู่ เพียงอยากใช้พื้นที่ตรงนี้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ใครจะกรุณาแลกเปลี่ยนทัศนะเพื่อช่วยให้แตกกิ่งก้านสาขาเซลส์สมองของฉัน ก็ขอกราบแทบแนบตักขอบพระคุณงามๆ มา ณ ที่นี้ด้วย...ชะเอิงเอย) วันที่ 9 เดือน 9 ปีนี้ ฉันและผองเพื่อนมีวาระแห่งชาติในการปฏิบัติภารกิจสำคัญอันยิ่งใหญ่ แต่จุดหมายปลายทางของเราไม่ได้อยู่ที่ทำเนียบรัฐบาลหรือสะพานมัฆวานฯ ใครจะกู้ชาติ กู้โลก หรือกู้เจ้าโลกก็ขอเว้นวรรคความใส่ใจสักวันเถอะ…
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาริยา มหาประลัย สาบานได้ว่า พิธีเปิดโอลิมปิกที่ปักกิ่งซึ่งเพิ่งผ่านพ้นไปสร้างความตะลึงพรึงเพริศ และสามารถตรึงขนทุกเส้นของฉันให้ลุกชันได้ยิ่งกว่าตอนนั่งดูกระโดดน้ำชายเสียอีก (เพราะกระโดดน้ำชายทำให้อย่างอื่นลุกและคันมากกว่า นั่นแน่! คิดอะไร! นั่งดูทีวีนานๆ ยุงมันกัดเลยต้องลุกขึ้นมาเกาเฟ้ย! อ๊ายส์!)  “แม่เจ้าโว้ย! อะไรมันจะ %$#@*&+ ขนาดนั้นฟะเนี่ย!!!” ฉันไม่รู้จะหาคำวิเศษณ์คำไหนมาบรรยายความวิเศษของภาพตรงหน้าได้ ตลอด 3 ชั่วโมงนั้นฉันเผลออ้าปากค้าง ทำตาโต ตบอกผางไปไม่รู้กี่ครั้ง และหลายครั้งเล่นเอาความตื้นตันมาชื้นอยู่ตรงขอบตาเชียวล่ะคุณ อะไรจะขนาดนั้น!
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาริยา มหาประลัย    เวลาได้ยินคำว่า “สวยเลือกได้” (แน่นอนว่าเขาไม่ได้พูดถึงฉัน) ฉันอดคิดไม่ได้ว่า “สวย” ในที่นี้เรา “เลือก” กันได้จริงเหรอ เพราะเอาเข้าจริง ความขาว สวย หมวย อึ๋ม ตี๋ ล่ำ หำใหญ่ จมูกโด่ง ฯลฯ ที่เราเรียกคุณลักษณะเหล่านี้ว่า “ความสวย-หล่อ” นั้น ชาติมหาอำนาจเป็นคนกำหนดรูปแบบขึ้นมาและใช้มันเป็นอาวุธในการล่าอาณานิคมทางวัฒนธรรม ความสวยจึงไม่ใช่เรื่อง “สวยๆ” อย่างเดียว แต่มันยังแฝงเรื่องอำนาจและชนชั้นทางสังคมมาอย่างแยบคายภายใต้เปลือกอันน่ามอง