Skip to main content

ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ผมต้องคิดหนักและเหนื่อยกับการใช้พลังในการพัฒนาโครงการ “กล้าเลือก กล้ารับผิดชอบ” ของเครือข่ายเยาวชนด้านเอดส์ ประเทศไทย

โครงการนี้เป็นโครงการที่จะสร้างกลไกระดับพื้นที่เพื่อรณรงค์ สร้างความเข้าใจเรื่องเอดส์ เพศศึกษาอย่างรอบด้าน และสนับสนุนให้เยาวชน ตระหนักและมีทัศนคติที่ดีในการเรียนรู้เรื่องการป้องกันเอดส์ รู้จักประเมินความเสี่ยงของตนเอง และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางเพศของตนให้ปลอดภัย

ผ่านการดำเนินการกับกลุ่มเครือข่ายเยาวชนในพื้นที่ 8 กลุ่ม ใน 20 จังหวัดกระจายไปในภาคต่างๆ ซึ่งจะต้องดำเนินการตลอดระยะเวลา 12 เดือน ทั้งนี้ปัจจุบันโครงการได้ผ่านการอนุมัติแล้วจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข  ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการกำกับการขับเคลื่อนการปฏิบัติการป้องกันโรคเอดส์

โครงการนี้ท้าทายทั้งผมและเพื่อนๆ เครือข่ายเยาวชนด้านเอดส์ ประเทศไทย อย่างยิ่ง เพราะการดำเนินการที่ผ่านมาหลายกิจกรรม หลายโครงการ เยาวชนมักถูกจับตามองในเรื่องของการ “บริหารจัดการ” อย่างยิ่ง ทั้งการเคลียร์บัญชี การเงิน และการดำเนินการให้ผ่านตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ผมก็ได้คิดและเริ่มวางแผนชีวิตตัวเอง ที่จะต้องจัดการให้การดำเนินการของโครงการนี้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ พร้อมทั้งความรับผิดชอบต่างๆ กับงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำให้ต้องจัดสรรเวลา จังหวะ และโอกาสในการกระทำแต่ละอย่าง

ในเรื่องงานเขียน - พื้นที่ “หนุ่มสาวสมัยนี้” เป็นพื้นที่หนึ่งที่ให้โอกาสผมได้นำเสนอทัศนะ ความคิด ความรู้สึก ประสบการณ์ และเรื่องเล่าต่างๆ นานา ตลอดระยะเวลาเกือบ 3 ปี นับตั้งแต่กรกฎาคม 2548 เป็นต้นมา ผมได้เรียนรู้การบอกเล่าเรื่องราวผ่านตัวหนังสือ ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสที่ทำให้ผมได้รับการพัฒนา โดยการเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับการปั่นต้นฉบับในแต่ละครั้ง

การเขียนไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ง่ายอย่างที่คิด เหมือนที่อาจารย์ด้านวารสารศาสตร์ท่านหนึ่งได้บอกไว้ว่า การฝึกอบรมด้านการเขียนเป็นเพียงเครื่องหมายหรือพิธีกรรมของการเริ่มงานเขียน การอบรมเพียง 3 – 4 วัน ไม่ได้เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้เข้าร่วมอบรมเขียนงานเป็น แต่สิ่งสำคัญกว่านั้นคือ “ชั่วโมงบิน” ที่ต้องเหน็ดเหนื่อย อดทด ฝึกฝนและการที่เราจะเป็นนักเขียนเป็น เราต้องเหนื่อยและหนักกับการลงมือทำงาน ไม่ใช่ “ฝันๆ” ว่าผ่านการอบรมแล้วจะได้เป็นนักเขียน

เมื่อได้ยินคำบอกเล่าดังกล่าวนี้ ผมจึงกลับมาคิดถึงตัวเองว่า กว่าที่เราจะเขียนได้นั้นมันต้องใช้เวลา และความถี่ในการเขียนที่ต่อเนื่อง และมีจังหวะในการนำเสนอที่เข้าใจได้ง่าย ส่วนอีกมุมหนึ่งก็พบว่าตนเองยังไม่มี “วินัย” พอในการเขียนงาน เนื่องเพราะผมไม่สามารถจัดการเวลาสำหรับการเขียนและการทำงานประจำให้สอดคล้องและแบ่งในสัดส่วนที่สมดุลกันได้

ยิ่งเริ่มทำโครงการกล้าเลือก กล้ารับผิดชอบแล้ว ยิ่งต้องให้น้ำหนักกับงานนี้ค่อนข้างสูง จึงทำให้คิดว่าจะทำอย่างไรให้ผลิตงานเขียนได้อย่างสม่ำเสมอและสามารถแบ่งปันเรื่องราวมาลงได้เหมือนเคย ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องวางแผนสำหรับอนาคต

และแล้ววันหนึ่ง ผมก็ได้มีโอกาสสนทนากับหล่อน (ผมขอเรียกว่าหล่อน เพราะหล่อนแทนตัวเองว่าหล่อน) เพื่อนรุ่นพี่ที่รู้จักกันมาช่วงเวลาหนึ่ง แม้ว่าเราสองคนเคยพบกันเพียงไม่กี่ครั้ง แต่การสนทนาผ่านโปรแกรมแชทออนไลน์ก็ทำให้เราได้คุยกันอยู่บ่อยๆ และรู้จักกันมากขึ้นกว่าเดิม

ช่วงขณะที่เราทั้งสองกำลังสนทนากันในเรื่องอื่นๆ ทั่วไปนั้น ผมได้เอ่ยชวนหล่อนมาร่วมสังวาสใน “หนุ่มสาวสมัยนี้” ...... หล่อนเงียบไปนานก่อนจะถามว่า “จะดีเหรอ” ผมตอบกลับด้วยความดีใจ “ดีสิครับ พี่จะได้มาช่วยผม ผมทำคนเดียวไม่ค่อยไหวแล้ว มาช่วยกันนะ งานเยอะๆ” หล่อนเงียบอยู่นาน ก่อนจะตอบว่า “โอเค”

ผมดีใจมากที่ได้เพื่อนมาช่วยเขียน ผมรู้สึกดีที่ มาริยา มหาประลัย (คือชื่อของหล่อน (ผมไม่ค่อยถนัดกับคำนี้เท่าไหร่ แต่หล่อนชอบที่ผมเรียกเช่นนี้) ) มาร่วมสร้างสรรค์งานร่วมกัน ซึ่งเราทั้งสองคนจะช่วยกันเขียนกล่าวเล่าความตามความเป็นอยู่ หูได้ยิน ตาได้เห็น จมูกได้กลิ่น กายได้สัมผัส ใจได้รู้สึก ผ่านสนามแห่งนี้สลับกันตามความสะดวกของแต่ละคน

ใครที่ยังไม่รู้จัก มาริยา มหาประลัย หล่อนก็ได้ให้สรรพคุณของตนไว้ว่า....

“ร้อนแรงทุกสัมผัส ร้อนรักทุกองศา ร้อนฉ่าทุกลีลา เริงร่าทุกนาที” ไม่ใช่แค่สโลแกนประจำตัวของหล่อนเท่านั้น แต่ถือเป็นคติธรรมการดำรงชีวิตแบบมาริยา มหาประลัย ก็ว่าได้ และนั่นคือสิ่งที่คุณจะได้สัมผัสจากตัวหนังสือแสบๆ คันๆ มันๆ ของการมองโลก “เมืองกรุง” ลอดผ่านแว่น D&G สีขาวสนิทที่ดูแล้วน่าหมั่นไส้ของเธอ

ผมอ่านแล้วร้อง “โอ้ว์” ในบัดดล เพราะผมเชื่อว่าลีลาเผ็ดร้อนแสบคันมันสนุกสุขแสบเหล่านี้ จะเกิดขึ้นกับพี่ๆ เพื่อนๆ ที่ติดตาม “หนุ่มสาวสมัยนี้” แน่นอน

มิหนำซ้ำ เรื่องราวมุมมองที่ผมไม่ค่อยเข้าใจเกี่ยวกับเด็ก “เมืองกรุง” นั้นยังมีอีกเยอะ เพราะผมมันเป็นเด็กต่างจังหวัด เมืองภูธร ไม่ค่อยจะเข้าอกเข้าใจอะไรมากนักหรอก จึงเป็นสิ่งที่ดีที่ มาริยา จะช่วยให้มุมให้ภาพของเด็กเมืองกรุงในแง่มุมต่างๆ ที่ทั้งผมหรือคุณไม่รู้มาก่อน

มาถึงตอนนี้หากใครที่ยังไม่รู้ว่า มาริยา มหาประลัย จะมาทำอะไรกับผมในพื้นที่นี้
คงต้องร่วมกันติดตามในตอนต่อๆ ไป.....คำตอบกำลังเคลื่อนมาถึงในทุกขณะครับ

บล็อกของ กิตติพันธ์ กันจินะ

กิตติพันธ์ กันจินะ
กิตติพันธ์ กันจินะ บางทีแล้วการที่เราออกมาทำกิจกรรมเพื่อสังคมนั้น มันก็มีรูปแบบที่หลากหลายแตกต่างกันไปตามบริบทของการทำงานและพื้นที่สภาพแวดล้อม ซึ่งนั่นล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการทำงานของกลุ่มคนที่มากมายหลายประเภทเฉกเช่นดอกไม้ในสวนน่ายล ท่ามกลางบรรยากาศสังคมอมยิ้มไม่ออกเช่นนี้ เยาวชนคนหนุ่มสาวก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่เข้าไปอยู่ในบริบทของความย้อนแย้งขัดเกลาเราเขาเช่นนี้ กล่าวคือมีทั้งเยาวชนที่เห็นด้วยกับแนวทางของซีกพันธมิตร และเยาวชนที่ไม่เห็นด้วยก็มีมาก ส่วนกลุ่ม “สองไม่เอา” นั่นก็มีไม่น้อย ทว่า กลุ่มที่ดูจะมีคือ “กรูไม่เอาสักอย่าง” เสียอีกที่มีเยอะ
กิตติพันธ์ กันจินะ
กิตติพันธ์ กันจินะความรู้สึกแรกที่เกิดขึ้นเมื่อมีการชุมนุมของพี่ๆ ทั้งกลุ่มพันธมิตรฯ และ กลุ่มต้านพันธมิตรฯ คือ “อีกแล้วเหรอ”  ซึ่งเป็นความรู้สึกที่กลัวว่าเหตุการณ์จะนำพาไปสู่เหตุการณ์ “รัฐประหาร” เหมือนเมื่อครั้งปี 2549 อีกหนที่ผ่านมากลุ่มพันธมิตรฯ ถูกมองว่า เป็น “เงื่อนไข” สำคัญที่ทำให้เกิดการรัฐประหารในครั้งล่าสุด แถมยังไม่ค่อยมีบทบาทมากนักในการต่อต้านรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้งเลยแม้แต่นิด ซึ่งมันก็ไม่แปลกที่คนอื่นๆ ทั่วไป เขาจะมองว่ากลุ่มพันธมิตร เอาดี เห็นงาม กับการทำให้เกิดเหตุการณ์เยี่ยงนั้นสำหรับนักประชาธิปไตยอีกฝากแล้ว…
กิตติพันธ์ กันจินะ
กิตติพันธ์ กันจินะ หลายวันที่ผ่านมาผมและเพื่อนๆ หลายคน ที่ติดตามข่าวเรื่องการชุมนุมของ “พันธมิตร” ต่างใจจดใจจ่ออยู่กับจุดมุ่งหมายท้ายสุดที่จะเดินไปถึง พร้อมๆ กับกระแสข่าวการ “ปฏิวัติ” ทุกเมื่อเชื่อวัน แต่อย่างไรก็ตาม ผมก็เชื่อมั่นว่าการชุมนุมโดย “สันติ” อย่างมี “สติ” เป็นสิทธิอันชอบธรรมของประชาชนที่สามารถดำเนินการได้ แต่การสลายการชุมนุมโดยการใช้ “ความรุนแรง” ที่ “ไร้สติ” นั้นเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์และปรารถนายิ่งนัก
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาริยา มหาประลัย1“ขอโดลเช่ เดอ ลาเช่ ขนาดกลางแก้วหนึ่งค่ะ เพิ่มกาแฟอีกชอตและะ No whip cream ค่ะ อ้อ! ขอแบบไลท์ด้วยนะคะ Low Calories ด้วย ขอบคุณค่ะ” เฮือก! โล่งอก! ฉันพูดประโยคยาวยืดนี่จบซะที! จะมีใครรู้ไหมนะว่าฉันต้องฝึกพูดคำว่า “โดลเช่ เดอ ลาเช่” มาตั้งกี่ครั้งกว่าจะมาเสนอหน้าสั่งกาแฟชื่อประหลาดอย่างคล่องปากนี่ได้ แต่คริๆ...คงไม่มีใครรู้หรอก เพราะฉันวางมาดดีไม่มีหลุดราวกับเรียนการแสดงจากครูแอ๋วมาเสียขนาดนี้ ใครๆก็ดูแต่เปลือกกันทั้งนั้นแหละเธอ! เอาล่ะ สะบัดบ๊อบไปนั่งรอกาแฟได้แล้วย่ะยัยมาริยา อ๊ายส์! จ่ายเงินก่อนสิยะเธอ!!  ฉันใช้ริมฝีปากที่ทาลิปสติค Christian Dior อย่างบรรจง ค่อยๆ ดูดกาแฟ…
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาริยา มหาประลัยปล. คาวีเป็นชื่อพระเอกในละครตบจูบเรื่อง “สวรรค์เบี่ยง” ทางช่อง 3 ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้สวัสดีค่ะ คุณคาวี พักนี้มีข่าวข่มขืนขึ้นหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์กันพรึ่บพรั่บ ราวกับคนในบ้านเมืองของเราร่วมแรงแข็งขัน (และแข่งขัน) กันข่มขืนเป็นเมกะโปรเจ็กต์ ตั้งแต่รุ่นเด็กประถมยันอาจารย์มหาวิทยาลัย ดูแล้วชวนห่อเหี่ยวละเหี่ยใจเสียฉิบ ไม่ยักเหมือนเวลาดูคุณคาวีข่มขืนเลยนะคะ ดูแล้วได้ความบันเทิงเริงเมืองปนโรแมนติค ก็แหม…เวลาพูดถึงคนร้ายข่มขืนผู้หญิงทีไร ใครๆ ก็นึกถึงแต่ผู้ชายตัวดำๆ ไว้หนวดเครารุงรัง หน้าเถื่อนๆ ยืนดักอยู่ตามซอกตึก เหม็นกลิ่นเหล้าคุ้งเคล้ากลิ่นเหงื่อปนกลิ่นคาวปลาตามตัว…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ผมต้องคิดหนักและเหนื่อยกับการใช้พลังในการพัฒนาโครงการ “กล้าเลือก กล้ารับผิดชอบ” ของเครือข่ายเยาวชนด้านเอดส์ ประเทศไทย โครงการนี้เป็นโครงการที่จะสร้างกลไกระดับพื้นที่เพื่อรณรงค์ สร้างความเข้าใจเรื่องเอดส์ เพศศึกษาอย่างรอบด้าน และสนับสนุนให้เยาวชน ตระหนักและมีทัศนคติที่ดีในการเรียนรู้เรื่องการป้องกันเอดส์ รู้จักประเมินความเสี่ยงของตนเอง และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางเพศของตนให้ปลอดภัยผ่านการดำเนินการกับกลุ่มเครือข่ายเยาวชนในพื้นที่ 8 กลุ่ม ใน 20 จังหวัดกระจายไปในภาคต่างๆ ซึ่งจะต้องดำเนินการตลอดระยะเวลา 12 เดือน…
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาริยา มหาประลัย
กิตติพันธ์ กันจินะ
ประมาณวันที่ 14 เมษายน 2551 นี้ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550  ก็จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ หลังจากที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวและได้มีประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2551ส่งผลให้ต้องมีการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกลุ่ม องค์กร เยาวชน องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับพื้นที่ อย่างขะมักเขม้นอย่างไรก็ตามสำหรับเจตนารมณ์แล้ว กฎหมายฉบับดังกล่าวมีขึ้นมาเพื่อให้เกิดกลไกการสนับสนุนการมีส่วนร่วมและพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยให้ภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมทั้งภาครัฐและเอกชน…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ผมได้แรงบันดาลจากการเขียนเรื่องนี้จากภาพยนตร์เรื่อง “ปิดเทอมใหญ่ หัวใจว้าวุ่น” หนังใหม่ ที่กำลังฉายในโรงภาพยนตร์ใกล้บ้านท่านๆ ว่ากันด้วยเรื่องของเนื้อหาในหนังนั้น ผมก็ยังไม่ได้ไปชม เพียงแต่ดูเนื้อในจากเว็บไซต์ก็พอสรุปคร่าวๆ ได้ว่าภาพยนตร์นี้เป็นเรื่องราวของวัยรุ่น 4 วัยในความรัก 4 มุม ทั้ง รักที่ต้องแย่งกัน รักนักร้องดาราคนโปรด รักนอกใจ และรักข้างเดียว ....อืม เอาเป็นว่า ใครอยากรู้เรื่องมากขึ้นลองเข้าเว็บไซต์ www.pidtermyai.com  ดูแล้วกันนะครับในภาพยนตร์เรื่องนี้ได้นำเสนอชีวิตที่เกิดขึ้นของวัยรุ่นจำนวนหนึ่งในช่วงปิดเทอมใหญ่ ซึ่งบางคนก็ใช้เวลาไปแข่งกันขอเบอร์ผู้หญิง…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ใครจะไปรู้ว่าเทคโนโลยีบางอย่างจะทำให้เราไม่พลาดการสื่อสารที่สำคัญได้จริงๆ เรื่องเกิดเมื่อวันหนึ่ง, ขณะที่ผมกำลังออนไลน์โปรแกรมแชทยอดนิยมนั้น พี่ต้าร์ (วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ แห่งกลุ่ม Y-ACT) ก็ได้เข้าโปรแกรมออนไลน์ MSN จากในค่ายแห่งหนึ่ง ณ สวนแสนปาล์ม นครปฐม ซึ่งเป็นการอบรมนักศึกษาอาชีวศึกษากว่า 30 สถาบัน  “อยากดูป่ะ” พี่ต้าร์ถามและได้เปิดโปรแกรมวิดีโอออนไลน์ขึ้นมาผมตอบว่าอยาก – สักพัก ภาพเคลื่อนไหวของเพื่อนๆ พี่ๆ ได้ปรากฏออกมา และมีภาพของเพื่อนๆ เยาวชนที่เข้าร่วมค่ายกำลังทำกิจกรรมอย่างสนุกสนานผมถามพี่ต้าร์ว่ามาทำอะไรกัน?พี่ต้าร์ บอกว่า “วันนี้น้องอาชีวะกว่า สามสิบสถาบัน…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ในที่สุดนายกทักษิณ ก็ได้กลับบ้านเกิดเมืองนอน หลังจากที่ต้องเร่ร่อนรอนแรมอยู่ต่างประเทศตั้งปีกว่า กลับมาหนนี้ถือว่าได้กลับมาพิสูจน์ตัวเองในคดีต่างๆ ที่ตกเป็นจำเลย และยังได้กลับมาอยู่ใกล้ครอบครัวของตนเสียด้วย ยังไม่นับรวมถึงการที่จะต้องเข้ามาเคลียร์เรื่องอะไรอีกหลายอย่างที่เกิดขึ้นภายในพรรคและการเมืองที่ยังไม่ค่อยลงตัวสักเท่าใดนัก  ผมดูการกลับมาของคุณทักษิณ แล้วนึกถึงชีวิตของเด็กๆ ที่เร่ร่อนไร้บ้านอีกหลายคน ที่ต่างก็พเนจรไปในที่ต่างๆ ไม่ได้กลับบ้าน หรือบ้างก็ไม่มีบ้านอยู่อาศัย ซึ่งชะตากรรมของเขาหลายๆ คน ถือว่า "หนัก" กว่าคุณทักษิณหลายเท่า…
กิตติพันธ์ กันจินะ
  หลังจากที่โครงการเยาวชนไทยไม่ทอดทิ้งสังคม หรือ โครงการเยาวชน1000ทาง 1 ได้ดำเนินการมาจนจบวาระหนึ่งปีก็ถือว่าเรียนจบครบเทอมพอดี เพื่อนๆ พี่ๆ ทีมงานหลายคนต่างได้รับความรู้และประสบการณ์ในการทำงานเพื่อสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนเข้ามาทำกิจกรรมเพื่อสังคมมากยิ่งขึ้น แม้ว่าโครงการเยาวชน1000ทาง จะเกิดจากความร่วมมือของเครือข่ายเยาวชนที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคมมาหลายปี แต่สำหรับประเทศไทยนั้นนับว่ามีโครงการที่สนับสนุนกิจกรรมของเยาวชน "มือใหม่" ไม่มากนัก ฉะนั้นโครงการเยาวชน1000ทาง ถือว่าเป็นโครงการที่ภาครัฐสนับสนุนให้เกิดการทำงานโดยเยาวชนดำเนินการ มีผู้ใหญ่ทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นที่ปรึกษาการทำงาน…