Skip to main content

กิตติพันธ์ กันจินะ


บางทีแล้วการที่เราออกมาทำกิจกรรมเพื่อสังคมนั้น มันก็มีรูปแบบที่หลากหลายแตกต่างกันไปตามบริบทของการทำงานและพื้นที่สภาพแวดล้อม ซึ่งนั่นล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการทำงานของกลุ่มคนที่มากมายหลายประเภทเฉกเช่นดอกไม้ในสวนน่ายล


ท่ามกลางบรรยากาศสังคมอมยิ้มไม่ออกเช่นนี้ เยาวชนคนหนุ่มสาวก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่เข้าไปอยู่ในบริบทของความย้อนแย้งขัดเกลาเราเขาเช่นนี้ กล่าวคือมีทั้งเยาวชนที่เห็นด้วยกับแนวทางของซีกพันธมิตร และเยาวชนที่ไม่เห็นด้วยก็มีมาก ส่วนกลุ่ม “สองไม่เอา” นั่นก็มีไม่น้อย ทว่า กลุ่มที่ดูจะมีคือ “กรูไม่เอาสักอย่าง” เสียอีกที่มีเยอะ


คำถามเดิมๆ คือ ทำไมเยาวชนคนหนุ่มสาวหลายคนไม่สนใจใคร่ตระหนักในการบ้านการเมืองเลย อันนี้คนที่จะให้คำตอบได้ดีที่สุดคือ “เยาวชน” นั่นเอง ซึ่งเราไม่อาจจะบอกได้ว่าเพราะเหตุใด นั่นเพราะแต่ละคนย่อมมีเหตุปัจจัยในการให้ความสำคัญ สนใจแตกต่างกันไป


เป็นไปได้ไหมว่า บางทีเรื่องสังคมการเมืองทำนองนี้อาจไกลตัวเกินไปหรือบางทีเรื่องเหล่านี้อาจถูกทำให้ว่าเป็นเรื่องของคนเฉพาะกลุ่ม “ผู้สูงวัย” เท่านั้น หรือเรื่องต่างๆ เหล่านี้ซับซ้อนเกินกว่าจะใช้ปัญญาของเราเข้ามายุ่งเกี่ยว หรือแค่เรื่อง “กินขี้ปี๊นอน” ของตัวเองก็มีมากอยู่แล้ว “ชั้นจะมาปวดหัวอะไรกันอีกกับเรื่องการเมืองหว่า”


อืม....เอาเป็นว่า ผม “ไม่คาดเดา” ดีกว่าครับ ถ้าใครอยากจะรู้ว่าทำไมคนหนุ่มสาวไม่ค่อยสนใจเรื่องการเมืองเท่าไหร่ ก็ลองถามๆ คนเยาว์วัยรอบๆ ข้างของท่านจะดีกว่า......


ทีนี้อีกด้านหนึ่ง ยังคงมีเพื่อนๆ เยาวชนที่สนใจใคร่ตระหนักรักบ้านรักเมืองและอยากเห็นสังคมไทยก้าวไปไกลกว่าเดิม โดยกลุ่มเหล่านี้บางกลุ่มก็ออกมาร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่มพันธมิตร และบางกลุ่มก็เคลื่อนไหวกับกลุ่มริบบิ้นขาว และบางกลุ่มก็แอบเคลื่อนอยู่เงียบๆ


มาถึงตรงนี้ ผมต้องบอกก่อนว่ารูปแบบการพัฒนาสังคมของเยาวชนคนหนุ่มสาวนั้นมีหลากหลายรูปแบบ แต่ ณ ที่นี่ จะขอพูดถึงเฉพาะในเรื่อง “ซึ่งๆ หน้า” ก่อนนะครับ


มาว่ากันที่คนหนุ่มสาวกลุ่มที่สนใจการเมืองดูบ้าง, ผมได้อ่านบทสัมภาษณ์ของรุ่นน้องคนหนึ่งซึ่งเรียนมัธยมปี 3 และได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองที่มีการจัดขึ้นโดยกลุ่มเยาวชนเพื่อประชาธิปไตย


เขาเล่าว่า การเมืองเป็นเรื่องของทุกคน เป็นสิ่งที่ทำให้ประเทศเราเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ว่าด้านดีหรือร้าย เราจึงสมควรสนใจไว้ ไม่ใช่ปล่อยให้ใครทำอะไรกับประเทศก็ได้ “ที่บ้านชอบคุยเรื่องการเมืองกัน ทำให้ผมเข้าใจความเป็นไปของการเมืองมาตั้งแต่เล็ก เมื่อมีการตรวจสอบพบนักการเมืองที่ทุจริต มีการจัดชุมนุมแบบนี้ ผมจะออกมาร่วมด้วย มันดูอยู่เฉยๆ ไม่ได้”


เพื่อนที่โรงเรียนไม่ค่อยมีใครสนใจการเมือง” เด็กชายตอบ แล้วเล่าให้ฟังต่อถึงการเรียนการสอนในระบบของที่โรงเรียนจะสอนให้รู้ถึงหลักประชาธิปไตยว่าเป็นอย่างไร แต่ไม่ได้สอนแบบเจาะลึกว่าประชาชนมีสิทธิที่จะกระทำอะไรได้บ้าง ทำให้เด็กคนอื่นที่ไม่รู้เรื่อง พานคิดไปว่าการชุมนุมทำให้บ้านเมืองเดือดร้อน ทำให้รถติด เศรษฐกิจแย่ แต่สำหรับ กันตธัชกลับมองต่างไป เขามองว่าการเมืองเป็นเรื่องที่ต้องปลูกฝังตั้งแต่เด็ก ให้เด็กรู้ว่าประชาธิปไตยเป็นของประชาชน เป็นเรื่องของทุกคน เด็กต่อไปก็ต้องโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ ต้องเรียนรู้เอาไว้

มาที่นี่ได้เรียนรู้ประชาธิปไตยแบบทางตรง ซึ่งถือเป็นทางออกของประชาชนที่สามารถแสดงออกได้ ผมเองตอนนี้เป็นเด็กแต่ก็ถือเป็นประชาชนคนหนึ่ง ต้องมาศึกษาเอาไว้ มันได้อะไรมากกว่าที่ตำราเคยสอน ที่นี่เราสามารถแสดงออกได้ มาที่นี่ก็มีเพื่อนที่มาช่วยกันทุกเย็นสิบกว่าคน มีหลากหลายโรงเรียน ระดับมหาวิทยาลัย ปริญญาโทก็มี ได้คุยเรื่องการเมืองกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน” เด็กชายตอบเสียงร่าเริง


คำสัมภาษณ์ของน้องคนดังกล่าวทำให้ผมคิดถึงระบบการศึกษาไทยที่ไม่ได้สร้างการเรียนรู้อย่างจริงจังต่อเยาวชนให้สนใจการเมือง หรือแม้แต่มองเห็นความสัมพันธ์ของตัวเองกับสังคม คำถามคือทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?


หากย้อนดูนโยบายที่เกี่ยวกับเยาวชนคนหนุ่มสาวแล้ว พบว่าในช่วงปี 2520 เป็นต้นมา ภายหลังจากเหตุการณ์ปี 6 ตุลาคม 2519 แล้ว รัฐบาลได้กำหนดนโยบายเยาวชนในด้านการลดกิจกรรมอาสาพัฒนาชนบทลง แต่ให้เพิ่มกิจกรรมนันทนาการเพิ่มขึ้น เช่น กีฬาสี ชมรมเชียร์ เป็นต้น เพราะว่าช่วงตรงกลางระหว่างปี 2516 ถึง 2519 กิจกรรมนักศึกษานั้นมีความตื่นตัวมากในเรื่องการเข้าไปทำกิจกรรมในชุมชน การทำงานในหมู่บ้าน ชนบทท้องถิ่นทุรกันดารต่างๆ


แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 แล้ว ทิศทางนโยบายของรัฐบาลเผด็จการทหารจึงเปลี่ยนเข็ม กำหนดหมายหมุดใหม่ให้กิจกรรมเยาวชนในสถาบันการศึกษาลดกิจกรรมพัฒนาชุมชนแต่เพิ่มกิจกรรมนันทนาการ เรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้......


มาถึงตรงนี้ จุดที่ผมคิดว่าน่าสนใจกว่าคือการที่สังคมนับแต่ปี 2520 เป็นต้นมาเริ่มให้ความสำคัญกับบทบาทของเยาวชนคนหนุ่มสาวที่จะมาทำกิจกรรมทางสังคมน้อยลงหรือเรียกได้ว่า “ถูกจำกัด” ไปเลยก็ว่าได้ ฉะนั้นหากความฝันและอุดมการณ์ของใครที่ไม่มั่นคงหรือเข้มแข็งพอก็เป็นไปได้ว่าจะไม่สามารถต่อยอดคนหนุ่มสาวให้เข้ามาสนใจสังคมเลย


ดังนั้น จึงเริ่มมีการปรับตัว ก่อเกิดการรวมกลุ่มของนักศึกษา ของเยาวชนที่อยู่นอกโรงเรียน นอกมหาวิทยาลัยมากขึ้น เกิดกลุ่มหนุ่มสาวในหมู่บ้าน เกิดกลุ่มเยาวชนที่ทำงานในประเด็นต่างๆ ขึ้นมา และการทำงานก็มุ่งเน้นไปที่การแก้ไขปัญหาตามสถานการณ์ปัญหามากกว่าจะเป็นเรื่องของสังคมการเมือง เนื่องเพราะการถูกจำกัดบทบาทจากรัฐและรวมถึงการเข้ามาปะทะกันระหว่างทุนนิยมกับชุมชน


ทำให้สถานการณ์เปลี่ยนไป สังคมเริ่มมีปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่น สิ่งแวดล้อม ยาเสพติด เอดส์ การละเมิดสิทธิมนุยษชน และปัญหาก็พัฒนาทำให้เกิดการทำงานในกลุ่มต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาเพิ่มมากขึ้น จนหลายคนในหลายกลุ่มลืมไปว่า ปัญหาต่างๆ เหล่านี้มีรากเหง้าอันเกิดจากสภาพสังคมและการเมืองที่ไม่ก้าวหน้าไปไหนเลย


มาถึงตรงนี้แล้ว ผมสันนิษฐานว่าผู้ใหญ่หลายคนก็คงเริ่มจะทนไม่ได้กับพฤติกรรมทั่วไปของเยาวชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกินเที่ยวเพื่อน เรื่องเรียน เรื่องชีวิตทางเพศ ยิ่งช่วงหลังปี 2542 เป็นต้นมากระแสเยาวชนที่ถูกทำให้เป็น “ปัญหาสังคม” ก็ยิ่งทำให้เยาวชนถูกตีตราจากสังคมว่าเป็นตัวปัญหา


การแก้ปัญหาของเยาวชนจึงมุ่งเน้นไปสู่การ “จำกัดสิทธิ” โดยการห้าม ควบคุม กำกับ ไม่ให้ล้ำเส้น หรืออกนอกลู่นอกทาง ทำให้เยาวชนขาดการสนับสนุนในเชิงบวก และเป็นการเพิ่มช่องว่างระหว่างผู้ใหญ่ เพิ่มช่องว่างระหว่างสังคม และช่องว่างระหว่างตัวเองกับคนอื่นมากยิ่งขึ้น


นั่นจึงไม่แปลกที่เยาวชนหลายคนไม่สนใจใคร่ตระหนักรักในบ้านเมืองเหมือนที่ผู้ใหญ่หลายท่านได้วิจารณ์ไว้....


ส่วนเยาวชนที่สนใจสังคมและออกมาทำกิจกรรมในด้านต่างๆ ผมคิดว่าเราควรจะคิดถึงจุดสำคัญในหลายมุม


มุมแรก คือ สนับสนุนให้เยาวชนรวมกลุ่มทำกิจกรรมทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่อง โดยให้เยาวชนเริ่มต้นดำเนินการด้วยตนเอง เรียนรู้ที่จะคิด วางแผน ดำเนินการและติดตามผลการดำเนินการอย่างเต็มที่โดยคำนึงถึงความเป็นพลเมืองของเยาวชนและเข้าใจในความสามารถหรือศักยภาพของคนที่ต่างกัน


มุมที่สอง คือ ต้องเชื่อมั่นว่าคนพัฒนาได้ คนมีศักยภาพ หากได้รับการส่งเสริมทักษะ วิธีคิด และโอกาสในการเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการทำงาน ทำกิจกรรมเพื่อตนเองและผู้อื่น ตลอดจนการให้คุณค่ากับเยาวชนให้ได้ตระหนักและเห็นคุณค่าหรือประโยชน์ในสิ่งที่ตัวเองดำเนินการ


มุมที่สาม คือการสนับสนุนพื้นที่ทางสังคมแก่เยาวชน โดยเฉพาะการมีปากมีเสียงทางสังคม ตลอดจนการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ เช่น โรงเรียนการเมือง โรงเรียนชาวนา โรงเรียนนักกิจกรรมสังคม เป็นต้น เพื่อให้เกิดบรรยากาศว่าการเมืองและสังคมเป็นเรื่องใกล้ตัวและเป็นเรื่องของคนทุกคน – ทุกคนสามารถเข้าถึงการเมืองได้


อย่างไรก็ตาม จุดสำคัญต่างๆ เหล่านี้ เริ่มมีองค์กรภาครัฐและประชาสังคมหลายแห่งที่เข้าใจและใช้หลักการดังกล่าวมาสนับสนุนการทำงานร่วมกับเยาวชนคนหนุ่มสาว มาถึงตรงนี้จุดสำคัญจึงอยู่ที่ว่าเราจะเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาทั้งระยะยาวและระยะสั้นอย่างไร เพื่อนำมาปรับใช้กับสังคมไทยในปัจจุบัน


เพราะเรา (เยาวชนหรือผู้ใหญ่) จะได้เข้าใจร่วมกันว่า ต่อไปพวกเราจะอยู่อย่างไรในสังคมไทยที่เป็นดั่งทุกวันนี้...

บล็อกของ กิตติพันธ์ กันจินะ

กิตติพันธ์ กันจินะ
กิตติพันธ์ กันจินะ บางทีแล้วการที่เราออกมาทำกิจกรรมเพื่อสังคมนั้น มันก็มีรูปแบบที่หลากหลายแตกต่างกันไปตามบริบทของการทำงานและพื้นที่สภาพแวดล้อม ซึ่งนั่นล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการทำงานของกลุ่มคนที่มากมายหลายประเภทเฉกเช่นดอกไม้ในสวนน่ายล ท่ามกลางบรรยากาศสังคมอมยิ้มไม่ออกเช่นนี้ เยาวชนคนหนุ่มสาวก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่เข้าไปอยู่ในบริบทของความย้อนแย้งขัดเกลาเราเขาเช่นนี้ กล่าวคือมีทั้งเยาวชนที่เห็นด้วยกับแนวทางของซีกพันธมิตร และเยาวชนที่ไม่เห็นด้วยก็มีมาก ส่วนกลุ่ม “สองไม่เอา” นั่นก็มีไม่น้อย ทว่า กลุ่มที่ดูจะมีคือ “กรูไม่เอาสักอย่าง” เสียอีกที่มีเยอะ
กิตติพันธ์ กันจินะ
กิตติพันธ์ กันจินะความรู้สึกแรกที่เกิดขึ้นเมื่อมีการชุมนุมของพี่ๆ ทั้งกลุ่มพันธมิตรฯ และ กลุ่มต้านพันธมิตรฯ คือ “อีกแล้วเหรอ”  ซึ่งเป็นความรู้สึกที่กลัวว่าเหตุการณ์จะนำพาไปสู่เหตุการณ์ “รัฐประหาร” เหมือนเมื่อครั้งปี 2549 อีกหนที่ผ่านมากลุ่มพันธมิตรฯ ถูกมองว่า เป็น “เงื่อนไข” สำคัญที่ทำให้เกิดการรัฐประหารในครั้งล่าสุด แถมยังไม่ค่อยมีบทบาทมากนักในการต่อต้านรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้งเลยแม้แต่นิด ซึ่งมันก็ไม่แปลกที่คนอื่นๆ ทั่วไป เขาจะมองว่ากลุ่มพันธมิตร เอาดี เห็นงาม กับการทำให้เกิดเหตุการณ์เยี่ยงนั้นสำหรับนักประชาธิปไตยอีกฝากแล้ว…
กิตติพันธ์ กันจินะ
กิตติพันธ์ กันจินะ หลายวันที่ผ่านมาผมและเพื่อนๆ หลายคน ที่ติดตามข่าวเรื่องการชุมนุมของ “พันธมิตร” ต่างใจจดใจจ่ออยู่กับจุดมุ่งหมายท้ายสุดที่จะเดินไปถึง พร้อมๆ กับกระแสข่าวการ “ปฏิวัติ” ทุกเมื่อเชื่อวัน แต่อย่างไรก็ตาม ผมก็เชื่อมั่นว่าการชุมนุมโดย “สันติ” อย่างมี “สติ” เป็นสิทธิอันชอบธรรมของประชาชนที่สามารถดำเนินการได้ แต่การสลายการชุมนุมโดยการใช้ “ความรุนแรง” ที่ “ไร้สติ” นั้นเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์และปรารถนายิ่งนัก
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาริยา มหาประลัย1“ขอโดลเช่ เดอ ลาเช่ ขนาดกลางแก้วหนึ่งค่ะ เพิ่มกาแฟอีกชอตและะ No whip cream ค่ะ อ้อ! ขอแบบไลท์ด้วยนะคะ Low Calories ด้วย ขอบคุณค่ะ” เฮือก! โล่งอก! ฉันพูดประโยคยาวยืดนี่จบซะที! จะมีใครรู้ไหมนะว่าฉันต้องฝึกพูดคำว่า “โดลเช่ เดอ ลาเช่” มาตั้งกี่ครั้งกว่าจะมาเสนอหน้าสั่งกาแฟชื่อประหลาดอย่างคล่องปากนี่ได้ แต่คริๆ...คงไม่มีใครรู้หรอก เพราะฉันวางมาดดีไม่มีหลุดราวกับเรียนการแสดงจากครูแอ๋วมาเสียขนาดนี้ ใครๆก็ดูแต่เปลือกกันทั้งนั้นแหละเธอ! เอาล่ะ สะบัดบ๊อบไปนั่งรอกาแฟได้แล้วย่ะยัยมาริยา อ๊ายส์! จ่ายเงินก่อนสิยะเธอ!!  ฉันใช้ริมฝีปากที่ทาลิปสติค Christian Dior อย่างบรรจง ค่อยๆ ดูดกาแฟ…
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาริยา มหาประลัยปล. คาวีเป็นชื่อพระเอกในละครตบจูบเรื่อง “สวรรค์เบี่ยง” ทางช่อง 3 ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้สวัสดีค่ะ คุณคาวี พักนี้มีข่าวข่มขืนขึ้นหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์กันพรึ่บพรั่บ ราวกับคนในบ้านเมืองของเราร่วมแรงแข็งขัน (และแข่งขัน) กันข่มขืนเป็นเมกะโปรเจ็กต์ ตั้งแต่รุ่นเด็กประถมยันอาจารย์มหาวิทยาลัย ดูแล้วชวนห่อเหี่ยวละเหี่ยใจเสียฉิบ ไม่ยักเหมือนเวลาดูคุณคาวีข่มขืนเลยนะคะ ดูแล้วได้ความบันเทิงเริงเมืองปนโรแมนติค ก็แหม…เวลาพูดถึงคนร้ายข่มขืนผู้หญิงทีไร ใครๆ ก็นึกถึงแต่ผู้ชายตัวดำๆ ไว้หนวดเครารุงรัง หน้าเถื่อนๆ ยืนดักอยู่ตามซอกตึก เหม็นกลิ่นเหล้าคุ้งเคล้ากลิ่นเหงื่อปนกลิ่นคาวปลาตามตัว…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ผมต้องคิดหนักและเหนื่อยกับการใช้พลังในการพัฒนาโครงการ “กล้าเลือก กล้ารับผิดชอบ” ของเครือข่ายเยาวชนด้านเอดส์ ประเทศไทย โครงการนี้เป็นโครงการที่จะสร้างกลไกระดับพื้นที่เพื่อรณรงค์ สร้างความเข้าใจเรื่องเอดส์ เพศศึกษาอย่างรอบด้าน และสนับสนุนให้เยาวชน ตระหนักและมีทัศนคติที่ดีในการเรียนรู้เรื่องการป้องกันเอดส์ รู้จักประเมินความเสี่ยงของตนเอง และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางเพศของตนให้ปลอดภัยผ่านการดำเนินการกับกลุ่มเครือข่ายเยาวชนในพื้นที่ 8 กลุ่ม ใน 20 จังหวัดกระจายไปในภาคต่างๆ ซึ่งจะต้องดำเนินการตลอดระยะเวลา 12 เดือน…
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาริยา มหาประลัย
กิตติพันธ์ กันจินะ
ประมาณวันที่ 14 เมษายน 2551 นี้ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550  ก็จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ หลังจากที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวและได้มีประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2551ส่งผลให้ต้องมีการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกลุ่ม องค์กร เยาวชน องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับพื้นที่ อย่างขะมักเขม้นอย่างไรก็ตามสำหรับเจตนารมณ์แล้ว กฎหมายฉบับดังกล่าวมีขึ้นมาเพื่อให้เกิดกลไกการสนับสนุนการมีส่วนร่วมและพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยให้ภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมทั้งภาครัฐและเอกชน…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ผมได้แรงบันดาลจากการเขียนเรื่องนี้จากภาพยนตร์เรื่อง “ปิดเทอมใหญ่ หัวใจว้าวุ่น” หนังใหม่ ที่กำลังฉายในโรงภาพยนตร์ใกล้บ้านท่านๆ ว่ากันด้วยเรื่องของเนื้อหาในหนังนั้น ผมก็ยังไม่ได้ไปชม เพียงแต่ดูเนื้อในจากเว็บไซต์ก็พอสรุปคร่าวๆ ได้ว่าภาพยนตร์นี้เป็นเรื่องราวของวัยรุ่น 4 วัยในความรัก 4 มุม ทั้ง รักที่ต้องแย่งกัน รักนักร้องดาราคนโปรด รักนอกใจ และรักข้างเดียว ....อืม เอาเป็นว่า ใครอยากรู้เรื่องมากขึ้นลองเข้าเว็บไซต์ www.pidtermyai.com  ดูแล้วกันนะครับในภาพยนตร์เรื่องนี้ได้นำเสนอชีวิตที่เกิดขึ้นของวัยรุ่นจำนวนหนึ่งในช่วงปิดเทอมใหญ่ ซึ่งบางคนก็ใช้เวลาไปแข่งกันขอเบอร์ผู้หญิง…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ใครจะไปรู้ว่าเทคโนโลยีบางอย่างจะทำให้เราไม่พลาดการสื่อสารที่สำคัญได้จริงๆ เรื่องเกิดเมื่อวันหนึ่ง, ขณะที่ผมกำลังออนไลน์โปรแกรมแชทยอดนิยมนั้น พี่ต้าร์ (วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ แห่งกลุ่ม Y-ACT) ก็ได้เข้าโปรแกรมออนไลน์ MSN จากในค่ายแห่งหนึ่ง ณ สวนแสนปาล์ม นครปฐม ซึ่งเป็นการอบรมนักศึกษาอาชีวศึกษากว่า 30 สถาบัน  “อยากดูป่ะ” พี่ต้าร์ถามและได้เปิดโปรแกรมวิดีโอออนไลน์ขึ้นมาผมตอบว่าอยาก – สักพัก ภาพเคลื่อนไหวของเพื่อนๆ พี่ๆ ได้ปรากฏออกมา และมีภาพของเพื่อนๆ เยาวชนที่เข้าร่วมค่ายกำลังทำกิจกรรมอย่างสนุกสนานผมถามพี่ต้าร์ว่ามาทำอะไรกัน?พี่ต้าร์ บอกว่า “วันนี้น้องอาชีวะกว่า สามสิบสถาบัน…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ในที่สุดนายกทักษิณ ก็ได้กลับบ้านเกิดเมืองนอน หลังจากที่ต้องเร่ร่อนรอนแรมอยู่ต่างประเทศตั้งปีกว่า กลับมาหนนี้ถือว่าได้กลับมาพิสูจน์ตัวเองในคดีต่างๆ ที่ตกเป็นจำเลย และยังได้กลับมาอยู่ใกล้ครอบครัวของตนเสียด้วย ยังไม่นับรวมถึงการที่จะต้องเข้ามาเคลียร์เรื่องอะไรอีกหลายอย่างที่เกิดขึ้นภายในพรรคและการเมืองที่ยังไม่ค่อยลงตัวสักเท่าใดนัก  ผมดูการกลับมาของคุณทักษิณ แล้วนึกถึงชีวิตของเด็กๆ ที่เร่ร่อนไร้บ้านอีกหลายคน ที่ต่างก็พเนจรไปในที่ต่างๆ ไม่ได้กลับบ้าน หรือบ้างก็ไม่มีบ้านอยู่อาศัย ซึ่งชะตากรรมของเขาหลายๆ คน ถือว่า "หนัก" กว่าคุณทักษิณหลายเท่า…
กิตติพันธ์ กันจินะ
  หลังจากที่โครงการเยาวชนไทยไม่ทอดทิ้งสังคม หรือ โครงการเยาวชน1000ทาง 1 ได้ดำเนินการมาจนจบวาระหนึ่งปีก็ถือว่าเรียนจบครบเทอมพอดี เพื่อนๆ พี่ๆ ทีมงานหลายคนต่างได้รับความรู้และประสบการณ์ในการทำงานเพื่อสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนเข้ามาทำกิจกรรมเพื่อสังคมมากยิ่งขึ้น แม้ว่าโครงการเยาวชน1000ทาง จะเกิดจากความร่วมมือของเครือข่ายเยาวชนที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคมมาหลายปี แต่สำหรับประเทศไทยนั้นนับว่ามีโครงการที่สนับสนุนกิจกรรมของเยาวชน "มือใหม่" ไม่มากนัก ฉะนั้นโครงการเยาวชน1000ทาง ถือว่าเป็นโครงการที่ภาครัฐสนับสนุนให้เกิดการทำงานโดยเยาวชนดำเนินการ มีผู้ใหญ่ทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นที่ปรึกษาการทำงาน…