Skip to main content

กิตติพันธ์ กันจินะ


บางทีแล้วการที่เราออกมาทำกิจกรรมเพื่อสังคมนั้น มันก็มีรูปแบบที่หลากหลายแตกต่างกันไปตามบริบทของการทำงานและพื้นที่สภาพแวดล้อม ซึ่งนั่นล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการทำงานของกลุ่มคนที่มากมายหลายประเภทเฉกเช่นดอกไม้ในสวนน่ายล


ท่ามกลางบรรยากาศสังคมอมยิ้มไม่ออกเช่นนี้ เยาวชนคนหนุ่มสาวก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่เข้าไปอยู่ในบริบทของความย้อนแย้งขัดเกลาเราเขาเช่นนี้ กล่าวคือมีทั้งเยาวชนที่เห็นด้วยกับแนวทางของซีกพันธมิตร และเยาวชนที่ไม่เห็นด้วยก็มีมาก ส่วนกลุ่ม “สองไม่เอา” นั่นก็มีไม่น้อย ทว่า กลุ่มที่ดูจะมีคือ “กรูไม่เอาสักอย่าง” เสียอีกที่มีเยอะ


คำถามเดิมๆ คือ ทำไมเยาวชนคนหนุ่มสาวหลายคนไม่สนใจใคร่ตระหนักในการบ้านการเมืองเลย อันนี้คนที่จะให้คำตอบได้ดีที่สุดคือ “เยาวชน” นั่นเอง ซึ่งเราไม่อาจจะบอกได้ว่าเพราะเหตุใด นั่นเพราะแต่ละคนย่อมมีเหตุปัจจัยในการให้ความสำคัญ สนใจแตกต่างกันไป


เป็นไปได้ไหมว่า บางทีเรื่องสังคมการเมืองทำนองนี้อาจไกลตัวเกินไปหรือบางทีเรื่องเหล่านี้อาจถูกทำให้ว่าเป็นเรื่องของคนเฉพาะกลุ่ม “ผู้สูงวัย” เท่านั้น หรือเรื่องต่างๆ เหล่านี้ซับซ้อนเกินกว่าจะใช้ปัญญาของเราเข้ามายุ่งเกี่ยว หรือแค่เรื่อง “กินขี้ปี๊นอน” ของตัวเองก็มีมากอยู่แล้ว “ชั้นจะมาปวดหัวอะไรกันอีกกับเรื่องการเมืองหว่า”


อืม....เอาเป็นว่า ผม “ไม่คาดเดา” ดีกว่าครับ ถ้าใครอยากจะรู้ว่าทำไมคนหนุ่มสาวไม่ค่อยสนใจเรื่องการเมืองเท่าไหร่ ก็ลองถามๆ คนเยาว์วัยรอบๆ ข้างของท่านจะดีกว่า......


ทีนี้อีกด้านหนึ่ง ยังคงมีเพื่อนๆ เยาวชนที่สนใจใคร่ตระหนักรักบ้านรักเมืองและอยากเห็นสังคมไทยก้าวไปไกลกว่าเดิม โดยกลุ่มเหล่านี้บางกลุ่มก็ออกมาร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่มพันธมิตร และบางกลุ่มก็เคลื่อนไหวกับกลุ่มริบบิ้นขาว และบางกลุ่มก็แอบเคลื่อนอยู่เงียบๆ


มาถึงตรงนี้ ผมต้องบอกก่อนว่ารูปแบบการพัฒนาสังคมของเยาวชนคนหนุ่มสาวนั้นมีหลากหลายรูปแบบ แต่ ณ ที่นี่ จะขอพูดถึงเฉพาะในเรื่อง “ซึ่งๆ หน้า” ก่อนนะครับ


มาว่ากันที่คนหนุ่มสาวกลุ่มที่สนใจการเมืองดูบ้าง, ผมได้อ่านบทสัมภาษณ์ของรุ่นน้องคนหนึ่งซึ่งเรียนมัธยมปี 3 และได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองที่มีการจัดขึ้นโดยกลุ่มเยาวชนเพื่อประชาธิปไตย


เขาเล่าว่า การเมืองเป็นเรื่องของทุกคน เป็นสิ่งที่ทำให้ประเทศเราเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ว่าด้านดีหรือร้าย เราจึงสมควรสนใจไว้ ไม่ใช่ปล่อยให้ใครทำอะไรกับประเทศก็ได้ “ที่บ้านชอบคุยเรื่องการเมืองกัน ทำให้ผมเข้าใจความเป็นไปของการเมืองมาตั้งแต่เล็ก เมื่อมีการตรวจสอบพบนักการเมืองที่ทุจริต มีการจัดชุมนุมแบบนี้ ผมจะออกมาร่วมด้วย มันดูอยู่เฉยๆ ไม่ได้”


เพื่อนที่โรงเรียนไม่ค่อยมีใครสนใจการเมือง” เด็กชายตอบ แล้วเล่าให้ฟังต่อถึงการเรียนการสอนในระบบของที่โรงเรียนจะสอนให้รู้ถึงหลักประชาธิปไตยว่าเป็นอย่างไร แต่ไม่ได้สอนแบบเจาะลึกว่าประชาชนมีสิทธิที่จะกระทำอะไรได้บ้าง ทำให้เด็กคนอื่นที่ไม่รู้เรื่อง พานคิดไปว่าการชุมนุมทำให้บ้านเมืองเดือดร้อน ทำให้รถติด เศรษฐกิจแย่ แต่สำหรับ กันตธัชกลับมองต่างไป เขามองว่าการเมืองเป็นเรื่องที่ต้องปลูกฝังตั้งแต่เด็ก ให้เด็กรู้ว่าประชาธิปไตยเป็นของประชาชน เป็นเรื่องของทุกคน เด็กต่อไปก็ต้องโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ ต้องเรียนรู้เอาไว้

มาที่นี่ได้เรียนรู้ประชาธิปไตยแบบทางตรง ซึ่งถือเป็นทางออกของประชาชนที่สามารถแสดงออกได้ ผมเองตอนนี้เป็นเด็กแต่ก็ถือเป็นประชาชนคนหนึ่ง ต้องมาศึกษาเอาไว้ มันได้อะไรมากกว่าที่ตำราเคยสอน ที่นี่เราสามารถแสดงออกได้ มาที่นี่ก็มีเพื่อนที่มาช่วยกันทุกเย็นสิบกว่าคน มีหลากหลายโรงเรียน ระดับมหาวิทยาลัย ปริญญาโทก็มี ได้คุยเรื่องการเมืองกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน” เด็กชายตอบเสียงร่าเริง


คำสัมภาษณ์ของน้องคนดังกล่าวทำให้ผมคิดถึงระบบการศึกษาไทยที่ไม่ได้สร้างการเรียนรู้อย่างจริงจังต่อเยาวชนให้สนใจการเมือง หรือแม้แต่มองเห็นความสัมพันธ์ของตัวเองกับสังคม คำถามคือทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?


หากย้อนดูนโยบายที่เกี่ยวกับเยาวชนคนหนุ่มสาวแล้ว พบว่าในช่วงปี 2520 เป็นต้นมา ภายหลังจากเหตุการณ์ปี 6 ตุลาคม 2519 แล้ว รัฐบาลได้กำหนดนโยบายเยาวชนในด้านการลดกิจกรรมอาสาพัฒนาชนบทลง แต่ให้เพิ่มกิจกรรมนันทนาการเพิ่มขึ้น เช่น กีฬาสี ชมรมเชียร์ เป็นต้น เพราะว่าช่วงตรงกลางระหว่างปี 2516 ถึง 2519 กิจกรรมนักศึกษานั้นมีความตื่นตัวมากในเรื่องการเข้าไปทำกิจกรรมในชุมชน การทำงานในหมู่บ้าน ชนบทท้องถิ่นทุรกันดารต่างๆ


แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 แล้ว ทิศทางนโยบายของรัฐบาลเผด็จการทหารจึงเปลี่ยนเข็ม กำหนดหมายหมุดใหม่ให้กิจกรรมเยาวชนในสถาบันการศึกษาลดกิจกรรมพัฒนาชุมชนแต่เพิ่มกิจกรรมนันทนาการ เรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้......


มาถึงตรงนี้ จุดที่ผมคิดว่าน่าสนใจกว่าคือการที่สังคมนับแต่ปี 2520 เป็นต้นมาเริ่มให้ความสำคัญกับบทบาทของเยาวชนคนหนุ่มสาวที่จะมาทำกิจกรรมทางสังคมน้อยลงหรือเรียกได้ว่า “ถูกจำกัด” ไปเลยก็ว่าได้ ฉะนั้นหากความฝันและอุดมการณ์ของใครที่ไม่มั่นคงหรือเข้มแข็งพอก็เป็นไปได้ว่าจะไม่สามารถต่อยอดคนหนุ่มสาวให้เข้ามาสนใจสังคมเลย


ดังนั้น จึงเริ่มมีการปรับตัว ก่อเกิดการรวมกลุ่มของนักศึกษา ของเยาวชนที่อยู่นอกโรงเรียน นอกมหาวิทยาลัยมากขึ้น เกิดกลุ่มหนุ่มสาวในหมู่บ้าน เกิดกลุ่มเยาวชนที่ทำงานในประเด็นต่างๆ ขึ้นมา และการทำงานก็มุ่งเน้นไปที่การแก้ไขปัญหาตามสถานการณ์ปัญหามากกว่าจะเป็นเรื่องของสังคมการเมือง เนื่องเพราะการถูกจำกัดบทบาทจากรัฐและรวมถึงการเข้ามาปะทะกันระหว่างทุนนิยมกับชุมชน


ทำให้สถานการณ์เปลี่ยนไป สังคมเริ่มมีปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่น สิ่งแวดล้อม ยาเสพติด เอดส์ การละเมิดสิทธิมนุยษชน และปัญหาก็พัฒนาทำให้เกิดการทำงานในกลุ่มต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาเพิ่มมากขึ้น จนหลายคนในหลายกลุ่มลืมไปว่า ปัญหาต่างๆ เหล่านี้มีรากเหง้าอันเกิดจากสภาพสังคมและการเมืองที่ไม่ก้าวหน้าไปไหนเลย


มาถึงตรงนี้แล้ว ผมสันนิษฐานว่าผู้ใหญ่หลายคนก็คงเริ่มจะทนไม่ได้กับพฤติกรรมทั่วไปของเยาวชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกินเที่ยวเพื่อน เรื่องเรียน เรื่องชีวิตทางเพศ ยิ่งช่วงหลังปี 2542 เป็นต้นมากระแสเยาวชนที่ถูกทำให้เป็น “ปัญหาสังคม” ก็ยิ่งทำให้เยาวชนถูกตีตราจากสังคมว่าเป็นตัวปัญหา


การแก้ปัญหาของเยาวชนจึงมุ่งเน้นไปสู่การ “จำกัดสิทธิ” โดยการห้าม ควบคุม กำกับ ไม่ให้ล้ำเส้น หรืออกนอกลู่นอกทาง ทำให้เยาวชนขาดการสนับสนุนในเชิงบวก และเป็นการเพิ่มช่องว่างระหว่างผู้ใหญ่ เพิ่มช่องว่างระหว่างสังคม และช่องว่างระหว่างตัวเองกับคนอื่นมากยิ่งขึ้น


นั่นจึงไม่แปลกที่เยาวชนหลายคนไม่สนใจใคร่ตระหนักรักในบ้านเมืองเหมือนที่ผู้ใหญ่หลายท่านได้วิจารณ์ไว้....


ส่วนเยาวชนที่สนใจสังคมและออกมาทำกิจกรรมในด้านต่างๆ ผมคิดว่าเราควรจะคิดถึงจุดสำคัญในหลายมุม


มุมแรก คือ สนับสนุนให้เยาวชนรวมกลุ่มทำกิจกรรมทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่อง โดยให้เยาวชนเริ่มต้นดำเนินการด้วยตนเอง เรียนรู้ที่จะคิด วางแผน ดำเนินการและติดตามผลการดำเนินการอย่างเต็มที่โดยคำนึงถึงความเป็นพลเมืองของเยาวชนและเข้าใจในความสามารถหรือศักยภาพของคนที่ต่างกัน


มุมที่สอง คือ ต้องเชื่อมั่นว่าคนพัฒนาได้ คนมีศักยภาพ หากได้รับการส่งเสริมทักษะ วิธีคิด และโอกาสในการเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการทำงาน ทำกิจกรรมเพื่อตนเองและผู้อื่น ตลอดจนการให้คุณค่ากับเยาวชนให้ได้ตระหนักและเห็นคุณค่าหรือประโยชน์ในสิ่งที่ตัวเองดำเนินการ


มุมที่สาม คือการสนับสนุนพื้นที่ทางสังคมแก่เยาวชน โดยเฉพาะการมีปากมีเสียงทางสังคม ตลอดจนการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ เช่น โรงเรียนการเมือง โรงเรียนชาวนา โรงเรียนนักกิจกรรมสังคม เป็นต้น เพื่อให้เกิดบรรยากาศว่าการเมืองและสังคมเป็นเรื่องใกล้ตัวและเป็นเรื่องของคนทุกคน – ทุกคนสามารถเข้าถึงการเมืองได้


อย่างไรก็ตาม จุดสำคัญต่างๆ เหล่านี้ เริ่มมีองค์กรภาครัฐและประชาสังคมหลายแห่งที่เข้าใจและใช้หลักการดังกล่าวมาสนับสนุนการทำงานร่วมกับเยาวชนคนหนุ่มสาว มาถึงตรงนี้จุดสำคัญจึงอยู่ที่ว่าเราจะเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาทั้งระยะยาวและระยะสั้นอย่างไร เพื่อนำมาปรับใช้กับสังคมไทยในปัจจุบัน


เพราะเรา (เยาวชนหรือผู้ใหญ่) จะได้เข้าใจร่วมกันว่า ต่อไปพวกเราจะอยู่อย่างไรในสังคมไทยที่เป็นดั่งทุกวันนี้...

บล็อกของ กิตติพันธ์ กันจินะ

กิตติพันธ์ กันจินะ
งานวิจัยมากมายทยอยออกมานำเสนอผ่านสื่อมวลชน ในช่วงก่อนวาเลนไทน์ ชนิดที่ว่า นอกจากจะเป็นช่วงเทศกาลวันแห่งความรักแล้ว ยังเป็นเทศกาลนำเสนอผลวิจัยวัยรุ่นอีกก็ว่าได้งานวิจัยที่ออกมาส่วนใหญ่แล้ว มีลักษณะ “ถ้ำมอง” และ นำเสนอด้าน “ลบ” ของวัยรุ่นเพียงอย่างเดียว ทำนองว่า วัยรุ่นจะมีเพศสัมพันธ์กันมากที่สุดในวันดังกล่าว – ผมเองได้พยายามค้นหาดูว่ามีผลวิจัยหรืองานสำรวจอะไรบ้างที่ให้ข้อเสนอแนะทางออกในเชิงสร้างสรรค์เกี่ยวกับเรื่องเพศของวัยรุ่นนอกจากผลการสำรวจของ เครือข่ายเยาวชนด้านเอดส์ ประเทศไทย (Youth Net) ที่เสนอว่า วัยรุ่นกว่า 70% เห็นว่าควรมีวิชาเพศศึกษาในหลักสูตรของทุกโรงเรียน…
กิตติพันธ์ กันจินะ
1นันกับฝน เรียนอยู่มหาวิทยาลัยอีกไม่กี่เดือนก็จะจบการศึกษาแล้ว เขาทั้งสองเป็นเด็กต่างอำเภอที่ได้ย้ายมาเรียนในตัวเมืองของจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคเหนือทั้งสองคนพบกันครั้งแรกตอนเข้า ม.4 ตอนนั้นเป็นจุดตั้งตนให้เขาและเธอได้รู้จักและพัฒนาความสัมพันธ์เรื่อยมาจนเป็นแฟนกัน และจากนั้นนันกับฝนจึงตัดสินใจย้ายหอมาอยู่ด้วยกัน อาศัยห้องเดียวกัน ตอนเรียน ม.5 ตอนที่มีอะไรกันครั้งแรก นันใช้ถุงยางอนามัย เพียงเพราะยังไม่อยากรับผิดชอบผลกระทบที่จะตามมาจากการมีอะไรโดยไม่ได้ป้องกัน เขาไม่ได้ให้ฝนคุมกำเนิดด้วยการทานยาคุมกำเนิดเพราะกลัวผลข้างเคียง ที่จะเกิดขึ้น แต่เลือกใช้ถุงยางอนามัยทุกๆ ครั้ง พอเรียนจบ ม.6…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ผมเพิ่งกลับจากค่ายเยาวชนที่จังหวัดเชียงราย เป็นการจัดกิจกรรมเรื่องเพศ มีวัยรุ่นหลายคนเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งโดยหลักแล้วก็เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเรื่องเพศ เพศภาวะ และเพศวิถี ซึ่งเน้นการพูดคุยจากมุมภายในของผู้เข้าร่วมแต่ละคนมีน้องคนหนึ่งที่มาร่วมกิจกรรม บอกความรู้สึกกับผม “ผมดีใจมากครับ ที่ได้มาร่วมกิจกรรมนี้ อยากเข้าร่วมกิจกรรมแบบนี้ แต่ไม่ค่อยมีโอกาสเลย ดีนะครับที่พวกพี่มาจัด” น้องอีกคนหนึ่งก็บอกอีกว่า ที่ชุมชนของตัวเองได้มีการจัดกิจกรรมโดยอบต. แต่กิจกรรมส่วนใหญ่จะเน้นการกีฬา กิจกรรมตามวันสำคัญ และเยาวชนในชุมชนก็เข้าร่วมฟังน้องทั้งสองคนพูดขึ้นมาผมก็คิดถึง ผลการศึกษาวิจัยเรื่อง “…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ผมรู้จักกับคุณหมอสงวน นิตยารัมภ์พงศ์  ตอนอายุ 18 ปี สมัยที่ได้เริ่มวาระการเป็นกรรมการควบคุมคุณภาพมาตรฐานบริการสาธารณสุข จากสายองค์กรเอกชนด้านเด็กและเยาวชน เมื่อหลายปีก่อน ตอนเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการในตอนแรกๆ ผมค่อนข้างจะเกร็งเพราะคณะกรรมการแต่ละท่านเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสำคัญต่อวงการสาธารณสุขและสังคมและอาวุโสห่างจากผมมากกว่า 20 ปี  ตอนนั้น คุณหมอสงวน ทำหน้าที่เป็นเลขานุการในที่ประชุม และเมื่อประชุมเสร็จสิ้น ผมได้เข้าไปทักทายและแนะนำตัวเองกับท่าน ท่านมีความเป็นกันเองและให้เกียรติกับผมมากและได้บอกให้ผมสบายใจ มั่นใจและเชื่อมั่นในการทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด
กิตติพันธ์ กันจินะ
ลมหนาว ยังไม่จางหาย....วันเด็กแห่งชาติเพิ่งจัดเสร็จไปไม่กี่วัน จนถึงวันนี้ วันเด็ก เสาร์ที่สองของเดือนมกราคม ยังคงมีการจัดมาอย่างสม่ำเสมอทุกๆ ปี นับตั้งแต่สมัย พ.ศ. 2499 ในยุคจอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัตน์ ได้มอบคติเตือนใจสำหรับเด็กๆ ปีละ 1 คำขวัญ จนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบเนื่องจนถึงปัจจุบันวันเด็กที่ผ่านมา ผมได้ร่วมกิจกรรมที่ศูนย์เพื่อน้องหญิง จ.เชียงราย ภายในงานจัดกิจกรรมในแนวว่า “ข้างหลังภาพ” ทำนองว่า ทำงาน ทำกิจกรรม กันมามากมาย ทั้งเด็ก ผู้ปกครอง ผู้สูงอายุ วันนี้น่าจะมาดูกันว่าได้ทำอะไรกันมาบ้าง ซึ่งเด็กๆ…
กิตติพันธ์ กันจินะ
กาลชีวิตของผมเดินทางผ่านมาแล้วอีกหนึ่งปี และคงจะเดินทางต่อไปตามเข็มนาฬิกา สายน้ำ สาดลม แสงแดด เช่นนี้อีกเรื่อยๆ ตราบที่ยังคงมีลมหายใจอยู่...เมื่อปีที่แล้ว เรื่องราวที่เกิดขึ้น อันเกี่ยวข้องกับเยาวชน คนหนุ่มสาวในประเทศนี้มีมากมายทั้งร้ายดี โดยส่วนตัวแล้ว เห็นความพยายามของผู้ใหญ่หลายภาคส่วนที่เข้ามาสนับสนุนการทำกิจกรรมสร้างสรรค์สังคมของเยาวชนอยู่มากมายหลายหลากโครงการพัฒนาเยาวชนจำนวนมาก ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคธุรกิจ ล้วนมุ่งเน้นให้เยาวชนคนหนุ่มสาวเข้ามาทำกิจกรรมทางสังคมมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ตัวอย่างที่ได้รับรู้มาดังเช่น โครงการเยาวชนไทยไม่ทอดทิ้งสังคม ที่เครือข่ายเยาวชน 14 กลุ่ม…
กิตติพันธ์ กันจินะ
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพิ่งจบลงเมื่อวานนี้ ตอนค่ำ ผลสรุปจากการกากบาทลงคะแนนให้กับคนที่รัก พรรคที่ชอบ ได้ผลออกมาอย่างไม่เป็นทางการ บางคนอาจถูกใจ บางคนอาจไม่ถูกใจหลังจากลงคะแนนเสียงเสร็จ ผมได้เดินทางไปยังเขตชายแดนอำเภอแม่สายกับพี่ๆ เจ้าหน้าที่ศูนย์เพื่อน้องหญิง เพื่อจับจ่ายซื้อของและเดินเล่นไปมาตามประสาคนที่อยากพักผ่อนเที่ยวท่องให้คล่องใจเวลาในการเดินทางไป การเดินทางจับจ่ายซื้อของ และการเดินทางกลับ เริ่มจากตอนสาย จนถึงตอนหัวค่ำ ระหว่างที่อยู่เขตอำเภอแม่สาย ผมแยกตัวจากพี่ๆ เจ้าหน้าที่อีก 4 คน เดินเล่นเองคนเดียว เพียงเพื่อจะหาร้านกาแฟสดดีๆ ที่มีหนังสืออ่านและมีเพลงฟัง ผมเดินไปทั่ว…
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาจนถึงวันนี้ผมยังไม่ได้พาตัวและตาของตนไปดูภาพยนตร์เรื่อง "รักแห่งสยาม" เลย แม้ว่าจะมีเพื่อนๆ หลายคนได้เชื้อเชิญแจ้งแถลงชวนให้ไปดูหลายเวลา หลายคราก็ตาม ผมก็ยังไม่ได้ไปดูเสียทีโดยส่วนตัวแล้ว ผมไม่ได้เป็นคนปฏิเสธโรงภาพยนตร์นะครับ เพราะภาพยนตร์แต่ละเรื่องที่จะทำให้ผมไปดูได้นั้น ต้องเป็นเรื่องที่ผมมีเพื่อนไปดูด้วย คือ ถ้าไปคนเดียวผมคงไม่ไปครับ เพราะไม่เคยดูหนังคนเดียว และยิ่งไม่รู้ว่าต้องซื้อตั๋ว ซื้ออะไรยังไงบ้าง เพราะปกติเวลาไปเพื่อนๆ จะเป็นคนซื้อตั๋วและขนมขบเคี้ยวเข้าไปให้สำหรับ "รักแห่งสยาม" ถือเป็นภาพยนตร์ที่มีผู้คนกล่าวถึงค่อนข้างมาก และกล่าวถึงในหลายแง่มุม เช่น…
กิตติพันธ์ กันจินะ
“อากาศหนาวๆ เย็นๆ อย่างนี้ หากได้หาใครสักคนมาอยู่ข้างกายก็คงจะดี” เพื่อนรุ่นพี่พูด บอกเสมือนจะสื่อให้ผมหาใครสักคนมาอยู่ข้างกาย เพื่อเป็นเพื่อนคุย แต่ผมคิดว่านัยยะของคำพูดนี้ น่าจะสะท้อนความคิดบางอย่าง ว่าการที่จะมีใครสักคนเข้ามาอยู่ใกล้ๆ เราในช่วงฤดูหนาวเช่นนี้ แน่นอนว่าจะช่วยทำให้เราอุ่นกายและอุ่นใจได้พร้อมๆ กันผมครุ่นคิดถึงคำพูดของเพื่อนรุ่นพี่ หลายวัน พลันกับได้ยินเรื่องราวเรื่องการคัดค้านมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐหรือ ‘มอ’ นอกระบบ  ก็ทำให้นึกถึง ความรักนอกระบบ ไปด้วย ความรักนอกระบบ กับ ‘มอ’ นอกระบบ แม้จะไม่เหมือนกัน…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ความรักไม่เข้าใครออกใคร ไม่ว่าวัย-อาชีพ-เพศ-ชนชั้น-เชื้อชาติใด ความรักย่อมมีอยู่ในทุกที่ ดั่งเช่นความรักของคนทำงานเรื่องเพศในการทำงานเรื่องเพศ หลายคนมองว่าอาจยากต่อการทำความเข้าใจกับคู่ของตัวเอง เมื่อเราเป็นผู้หญิงและคู่ของเราเป็นผู้ชาย แล้วให้เราเริ่มคุยเรื่องเพศก่อน ก็อาจถูก ‘คู่’ ที่คบหาตกใจ หรือมองเราในมุมที่ไม่ค่อยดีก็เป็นได้ แต่น้อยคนนักจะรู้ว่า ปัจจุบันผู้หญิงหลายคนเริ่มคุยเรื่องเพศของตนมากขึ้น และผู้ชายเองก็ไม่ได้มองผู้หญิงมุมลบๆ อย่างเดียว หากมองว่าเป็นเรื่องดีด้วยซ้ำที่ได้รับฟังเรื่องของคนที่ตัวเองคบอยู่ มีประสบการณ์ที่น่าสนใจอย่างยิ่งจากเรื่องของเธอ –…
กิตติพันธ์ กันจินะ
เมื่อหลายวันก่อน ผมได้เข้าร่วมกิจกรรมเวที “เพศศึกษาเพื่อเยาวชน” ของโครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจ องค์การแพธ ร่วมกับมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และพันธมิตรอีกหลายองค์กร จัดงานระดับภาคตะวันตกและภาคตะวันออกขึ้น โดยการจัดครั้งนี้เป็นการครั้งแรกของภาคดังกล่าวภายในงานมีเยาวชนจากหลายโรงเรียนและหลายกลุ่มเข้าร่วม พร้อมๆ ทั้งผู้ใหญ่จากหน่วยงานภาคการศึกษาและหน่วยงานภาคประชาสังคม เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งธีมหลักๆ ของเวทีนี้คือ “ร่วมกันชี้โพรงให้กระรอกเข้าอย่างปลอดภัย” ทำไมต้องชี้โพรงให้กระรอก ในเมื่อกระรอกรู้ว่าโพรงนั้นต้องเข้ายังไง –…
กิตติพันธ์ กันจินะ
รายงานข่าวเมื่อไม่นานมานี้ระบุว่า มียอดเด็กที่กำพร้าจากพ่อแม่ที่ต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบจากสถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวนหลายพันคน ซึ่งภาครัฐยังคงต้องหาแนวทางการดูแลเด็กที่เผชิญกับปัญหาต่างๆ ทั้งเรื่องการเข้าถึงการศึกษา และการดูแลคุ้มครองปกป้องสวัสดิภาพของเด็ก ทว่าอย่างไรเสีย  แม้ว่าเรื่องราวความรุนแรงในเหตุการณ์ดังกล่าว จะยังคงปรากฏให้เห็นอยู่เสมอทั้งหน้าจอโทรทัศน์หรือหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ แล้ว ยังมีเรื่องราวความรัก ความสัมพันธ์ ระหว่างคนในพื้นที่กับคนนอกพื้นที่ที่ได้ลงไปปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ในพื้นที่เกิดเหตุ ตามบทบาทหน้าที่ต่างๆ อาทิ หมอ ทหาร ครู…