Skip to main content

ดา ตอร์ปิโด เขย่ารากฐานความศรัทธาของคนไทยอีกคำรบหนึ่งด้วยการพูดปราศรัยต่อหน้าสาธารณะที่ท้องสนามหลวงเมื่อคืนวันที่ 18 กรกฎาคม อย่างตรงไปตรงมา และไม่เกรงกลัวหน้าอินทร์หน้าพรหม จากข่าวที่ปรากฏออกมาตามสื่อแขนงต่าง ๆ บอกให้รู้ว่าการปราศรัยของเธอนั้นเกี่ยวพันกับสถาบันเบื้องสูง


ต้องยอมรับว่า ดา ตอปิโดร์ เป็นคนกล้าและแกร่งอย่างที่หลายคนทำไม่ได้ในแง่ที่ว่ากล้าพูด กล้าทำในสิ่งที่ตนเองคิดโดยไม่ต้องพะวงว่าจะเกิดผลร้ายตามมา


ทราบจากที่เป็นข่าว สนธิ ลิ้มทองกุล นำคำพูดของ ดา ตอร์ปิโด มาเล่าซ้ำออกอากาศผ่าน ASTV ไปทั่วประเทศ คำปราศรัยของดา ตอร์ปิโด ที่คนสนามหลวงฟังเพียงไม่กี่คนกลับกลายเป็นเรื่องใหญ่โตและมีผู้คนรับรู้ไปทั่วบ้านทั่วเมืองและเป็นเหตุให้เขาต้องออกถูกออกหมายจับ เข้ามอบตัวโดยนำฝูงชนไปปิดล้อมกองบัญชาการตำรวจนครบาล ข่มขู่ไปต่าง ๆ นานาหากไม่ยอมให้ประกันตัว


ถ้าหากสิ่งที่ ดา ตอร์ปิโด พูดปราศรัยเป็นเรื่องดี ๆ ที่น่ายกย่องสรรเสริญก็ควรที่จะเผยแพร่ให้คนทั่วไปจะได้รับรู้ แต่หากสิ่งที่ ดา ตอร์ปิโด กล่าวบนเวทีสนามหลวงนั้นเป็นอะไรที่ตรงกันข้าม การช่วยประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ทั่วประเทศโดยกลุ่มพันธมิตร ฯ จึงเป็นการตอกย้ำซ้ำเติมที่ไม่บังควรอย่างยิ่ง


ถ้าม็อบพันธมิตรฯ เห็นว่า ดา ตอร์ปิโด หมิ่นเบื้องสูงก็สามารถร้องเรียนกับตำรวจได้โดยตรงโดยไม่จำเป็นต้องนำคำพูดของเธอ มาเล่าซ้ำให้ผู้ชุมนุมและคนทั้งประเทศฟัง แต่เหตุใดเล่าที่สนธิ ลิ้มทองกุล จงใจจะเล่าเรื่องนี้ซ้ำ


ต้องการวาดภาพสร้างจินตนาการเชื่อมโยงการกระทำครั้งนี้ เข้ากับกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามแบบที่เขาถนัด ?

หรือต้องการ “สร้างความจริง” ว่าด้วยเรื่อง “สาธารณรัฐ” ที่เขาโฆษณาชวนเชื่อมาโดยตลอด ?

หรือว่าสนธิ ลิ้มทองกุล มีเจตนาที่จะหมิ่นสถาบันเบื้องสูงโดยอาศัย “ปาก” ของคุณดา ตอร์ปิโด ?


สนธิ ลิ้มทองกุล ไม่เพียงแต่จะถ่ายทอดคำพูดของ ดา ตอร์ปิโดเท่านั้น หากแต่นำคำพูดนั้นมาขยาย เพิ่มเติม ใส่ไฟ ปั้นน้ำเป็นตัว ปลุกระดม เพื่อเร้าอารมณ์รวมหมู่ให้เกิดความรู้สึกคลุ้มคลั่งตามแบบของพวก “ฝ่ายขวา” ที่มักนำเอาเรื่องชาติ (เขาพระวิหาร) ศาสนา และพระมหากษัตริย์ มาเล่น


การที่สนธิ ลิ้มทองกุล นำเรื่องนี้มาเล่น และขยายจนเกินจริงนั้น เขามีจุดประสงค์เพื่อต้องการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์จริงหรือ ?


ความจงรักภักดี ของ สนธิ ลิ้มทองกุล เป็นเรื่องที่น่าสงสัย ครั้งหนึ่งในงานสัมมนาว่าด้วยเรื่อง “สองไม่ยืน” ที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ก็เคยตั้งข้อกังขาในเรื่องนี้ไว้เช่นกัน


อันที่จริง สนธิ ลิ้มทองกุล มีปัญหาเรื่องนี้หลายครั้ง แต่เขาไม่เคยหลาบจำ ในทางตรงข้ามดูเหมือนว่า ”เรื่องที่เกี่ยวกับสถาบัน” นั้น เขามีความนิยมเป็นพิเศษ เขาไม่เคยจะละเว้นให้ผ่านไปโดยไม่นำมาขยายผลหรือทำให้เป็นประเด็น


จุดประสงค์หรือเจตนาของสนธิ ลิ้มทองกุล ในการเผยแพร่ ทำซ้ำ กระทั่งดัดแปลง คำพูดของดา ตอร์ปิโด นั้นคืออะไรกันแน่ ?


เจตนาแท้จริงของสนธินั้นไม่มีใครล่วงรู้ได้ บางทีเขาอาจไปไกลเสียจนถึงจุดที่ตัวของเขาเองก็อาจจะไม่รู้ตัวเหมือนกันว่าเจตนาของตนเองคืออะไร บางทีคนเราเมื่อได้รับความกดดันมาก ๆ หรือต้องต่อสู้มาก ๆ เป้าหมายที่ตั้งไว้ในตอนแรกก็จะเปลี่ยนไป ไม่ใช่ต่อสู้เพื่อชัยชนะแต่กลายเป็นต่อสู้เพื่อต่อสู้ การต่อสู้กลายเป็นเป้าหมายในตัวมันเอง


พันธมิตร ฯ ก็คงจะเป็นอย่างนั้น พวกเขาเริ่มต้นต่อสู้กับรัฐบาลใหม่ด้วยการต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต่อมาเปิดประเด็นโจมตีรัฐมนตรีบางคนกดดันเพื่อให้ลาออก ต่อมาเป็นการขับไล่รัฐบาลทั้งคณะที่พวกเขาย้ำแล้วย้ำอีกว่าเป็นรัฐบาลหุ่นเชิดของระบอบทักษิณที่ไม่รู้ว่าคืออะไร แล้วก็เปลี่ยนไปเป็นการเสนอการปกครองระบอบใหม่มาแทนที่ระบอบประชาธิปไตยคือระบอบ 70 : 30 ที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาจากการลากตั้งถึง 70 % ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ได้รับการตอบรับแม้ในหมู่คนกรุงเทพ ฯ


เหล่านี้ล้วนชี้ให้เห็นว่า พันธมิตรกำลังต่อสู้เพื่อให้ได้ต่อสู้ ต่อสู้เพราะต้องต่อสู้ หรือต้องต่อสู้เพราะว่ามันเป็นเรื่องการทำธุรกิจ


อย่างไรก็ตาม เมื่อดูจากภาวะแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นคดีความในอดีตที่ยังค้างอยู่ในศาล ท่าทีที่ “ก้าวล่วง” หลายต่อหลายครั้ง อาจพอสรุปการกระทำของสนธิ ลิ้มทองกุลในครั้งนี้ได้ว่า “อาจจะ” มีเจตนาที่จะหมิ่นเบื้องสูง หรือมีเจตนาที่ “สุ่มเสี่ยง” ต่อการหมิ่นเบื้องสูง (ผมสามารถใช้คำว่า “อาจจะ” หรือ ”สุ่มเสี่ยง” ในการพิพากษาตัดสินคนอื่นได้แบบเดียวกับที่ศาลรัฐธรรมนูญได้พิพากษาตัดสินอย่างน่าอัศจรรย์ในคดีเขาพระวิหารโดยใช้คำว่า “อาจจะ” และ “สุ่มเสี่ยง”)


อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสนธิ ลิ้มทองกุล “อาจจะ” มีเจตนาที่จะหมิ่นเบื้องสูง แต่เขาก็ได้รับการประกันตัวออกไปเพราะเขาคิดว่าเขาคือมาเฟีย ในขณะที่ ดา ตอร์ปิโด ต่างออกไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องขอชื่นชม อาจารย์สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ จากใจจริงที่ขอยื่นประกันตัว ดา ตอร์ปิโด โดยไม่กลัวผลกระทบที่จะเกิดแก่ตนเอง


ดา ตอร์ปิโด และสนธิ ลิ้มทองกุล ไม่ต่างกัน เรามาดูกันสิว่าระหว่างคนที่กล้าพูดในสิ่งที่ตนเองเชื่อกับมาเฟียข้างถนนจะมีบทสรุปตอนท้ายอย่างไร.


บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
การประท้วงของกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ภายใต้การนำของ สาวิทย์ แก้วหวาน ผู้ซึ่งเป็นแกนนำสหภาพแรงงาน ฯ เป็นการประท้วงในสไตล์เดียวกับการประท้วงของกลุ่มพันธมิตร นั่นคือเอาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นตัวประกันเพื่อให้ได้ตามความต้องการของตนเอง 
เมธัส บัวชุม
หลังจากอิดออดเพื่อรักษาท่าทีแต่พองามแล้ว “ผู้ร้าย” สองคนก็เปิดตัวเปิดใจกระโจนเข้าสู่วง ”การเมือง” เต็มตัว “ผู้ร้าย” คนแรก
เมธัส บัวชุม
ไม่กี่วันที่ผ่านมา ผมเดินทางไปเยี่ยมเพื่อนในอำเภอเล็ก ๆ แห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี นานมาแล้วที่ผมไม่ได้ออกไปไหน เพื่อนพาไปเที่ยวป่าและแวะที่หมู่บ้านเล็ก ๆ ที่แลดูลี้ลับ วังเวงและยากไร้
เมธัส บัวชุม
สังคมไทยเป็นสังคมที่อยู่กับความโง่ มีความโง่เป็นเจ้าเรือน นับวันความโง่ยิ่งแผ่ขยายแพร่กระจายไปราวเชื้อโรค หลายคนโง่โดยสุจริต  คนเหล่านี้น่าเห็นใจ ถูกครอบงำด้วยความไม่รู้  อคติ ความเกลียดชังทำให้ประสิทธิภาพในการคิดเสื่อมถอย สติปัญญาถูกบิดเบือนไป คนประเภทนี้โง่เพราะถูกอคติทำลายจนมืดบอด
เมธัส บัวชุม
  ในระหว่างที่รัฐบาลกำลังรวนเรเพราะความไร้ฝีมือและความเน่าจากภายใน แทนที่จะทุ่มสมองและแรงงานเพื่อกระหนาบกระหน่ำรัฐบาลโจร คนเสื้อแดงเฉดต่าง ๆ ก็กลับใช้โอกาสนี้วิพากษ์วิจารณ์กันรุนแรงกระทั่งแตกออกเป็นสาย
เมธัส บัวชุม
ในโลกโลกาภิวัฒน์ที่มนุษย์กำลังเดินทางไปในอวกาศเพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก และเตรียมหาที่อยู่บนดาวดวงอื่น ทั้งวิตกกังวลกับโรคระบาดชนิดใหม่ ๆ ซึ่งอาจทำให้มนุษย์ต้องสูญพันธุ์ ประเทศไทยยังคงสนุกสนานเหมือนเด็กเล่นขายของกับการกล่าวหาเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกระทั่งล้มสถาบันสนุกครับ สนุก
เมธัส บัวชุม
ตื่นเช้าขึ้นมา หากไม่มีอะไรเร่งด่วนต้องทำ ผมจะนั่งเขียนโน่น เขียนนี่พร้อม ๆ กับที่เข้าไปในบอร์ดประชาไท อ่านกระทู้ต่าง ๆ อยู่เงียบ ๆ มานานจนเกือบจะกลายเป็นกิจวัตร (ยกเว้นเสาร์-อาทิตย์) แต่หลังเช้าไปแล้ว ผมก็ทำอย่างอื่น ไม่ได้นั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ จึงไม่อาจติดตามความเคลื่อนไหวในบอร์ดประชาไทได้อีก ดังนั้นจึงได้อ่านเพียงบางกระทู้เท่านั้นและล้วนแล้วแต่เป็นการอ่านผ่านๆ ทั้งสิ้น
เมธัส บัวชุม
พักหลัง ผมเข้าไปเยื่ยมชมเว็บไซต์ "ASTVผู้จัดการ" บ่อยครั้ง เพื่ออยากรู้ว่าชาวสีเหลืองหรือกลุ่มพันธมิตรคิดอ่านกันอย่างไร มีนวัตกรรมอะไรบ้างในการทำลายฝ่ายตรงข้าม ศึกษากลวิธีในการเต้าข่าว การใส่ไคล้ การใช้ภาษาของบรรดาคอลัมนิสต์ กระทั่งแวะเข้าไปอ่าน "เรื่องนินทาราวตาเห็น" ของ "ซ้อเจ็ด" ผู้โด่งดัง
เมธัส บัวชุม
หลายวันก่อน ได้อ่านบทความของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ เรื่อง “ทางออกจากทักษิณ” (มติชนรายวัน, 20 ก.ค. 52.) บทความนี้มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนอย่างมากเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองของคนเสื้อเหลืองและแดง  เนื้อหาของบทความ นอกจากปัญญาชนรายนี้จะออกตัวให้กลุ่มพันธมิตรหรือเสื้อเหลืองโดยยกระดับความคิด และการกระทำของคนกลุ่มนี้ว่าเกิดจากทัศนะและความเข้าใจในประชาธิปไตยที่แตกต่างจากกลุ่มเสื้อแดงซึ่งทั้งสองกลุ่มล้วนแล้วแต่มีจุดอ่อน  
เมธัส บัวชุม
นานมาแล้ว ที่ผมไม่เคยเจ็บป่วยขนาดต้องไปโรงพยาบาลหรือหาหมอ อย่างมากก็แค่ซื้อยาแก้เจ็บคอมากิน แต่ครั้งนี้เจ็บคอหลายวัน บวกกับอาการมึนหัว เบื่ออาหาร เพลีย และปวดเมื่อยเนื้อตัวอย่างหนักขนาดทาถูสบู่ตามตัวยังรู้สึกปวดไปถึงกระดูก เวลานอนต้องนอนตะแคงอย่างเดียวจะนอนหงายหรือคว่ำไม่ได้เพราะปวดเมื่อย(ขนาดนั้น) ผมจึงตัดสินใจไปโรงพยาบาลแม้จะยังสงสัยอยู่ว่าคิดถูกหรือผิดกันแน่ น่าตกใจพอสมควรที่คนป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่เต็มล้นโรงพยาบาล (แต่แทบไม่มีคนที่อยู่วัยเดียวกับผม) ผมคิดในใจว่าถ้าตนเองเป็นเพียงโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ก็คงจะมารับเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่โรงพยาบาลนี่แหละ…
เมธัส บัวชุม
การล่า 1 ล้านรายชื่อของสามเกลอแห่ง "ความจริงวันนี้" เพื่อถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่อดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร เป็นประเด็นให้คนเสื้อแดงถกเถียงแก้เซ็งไปพลาง ๆ โหมโรงการเคลื่อนไหวครั้งต่อไป มีความคิดเห็นค่อนข้างหลากหลายในหมู่คนเสื้อแดงด้วยกัน ทั้งนี้เพราะคนเสื้อแดงนั้นมีความหลากหลายในตัวเองอยู่แล้ว คือมีตั้งแต่ "แดงอนุรักษ์" ไปจนถึง "แดงถอนรากถอนโคน" ซึ่งลักษณะที่ว่านี้ไม่มีในหมู่คนเสื้อเหลือง
เมธัส บัวชุม
เป็นความคิดที่ดีของกลุ่มคนเสื้อแดงที่มีความพยายามจะ “รื้อฟื้น” วันชาติขึ้น เพราะมันมีความหมายและนัยสำคัญต่อประชาธิปไตยและการเมืองไทยอย่างมาก วันชาติเป็นผลพวงของการยึดอำนาจของคณะราษฎรเพื่อเปลี่ยนประเทศไทยสู่ระบอบการปกครองแบบใหม่ที่ให้ความสำคัญกับเสียงและความคิดเห็นของประชาชน ภายใต้หลักนิติรัฐที่ทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายเสมอกัน