Skip to main content

การเมืองหลังการเข้ามาของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร คือการแข่งขันกันนำเสนอด้านนโยบายที่ตอบสนองความต้องการสิ่งอันเป็นปัจจัยพื้นฐานของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนระดับรากหญ้าซึ่งถูกละเลยมาตลอด


ผลงานของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร ผู้ยิ่งยงและพรรคไทยรักไทยที่ได้ทำไว้ในเรื่องการกำหนดนโยบายสำหรับคนยากคนจน และผลักดันสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมนั้นประสบความสำเร็จอย่างสูงกระทั่งใครต่อใครพรรคประชาธิปัตย์ปากว่าตาขยิบลอกมาหน้าตาเฉย แม้แต่พรรคภูมิใจของเนวิน ชิดชอบที่เพิ่งเปิดตัวไปก็ชูเรื่องประชานิยมเป็นม็อตโตของพรรค


เป็นเพราะวิสัยทัศน์แบบนักธุรกิจของอดีตนายก ฯ สามารถมองเห็นและเข้าใจความเป็นอยู่ของคนส่วนใหญ่ของประเทศ มองเห็นความต้องการของประชาชนที่ไม่เคยได้รับการตอบสนอง มองเห็นความขาดหายที่จะเติมให้เต็มได้ แต่มากไปกว่าการมองเห็นก็คือความกล้าหาญที่จะเข้าไปแก้ไขปัญหา กล้าหาญที่จะทำในสิ่งที่นักการเมืองคนอื่นไม่ทำ ทำในสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยทำ


ท่ามกลางขาลงของนอมินีชุด 3 อย่างพรรคเพื่อไทยที่มีหางแต่ไร้หัว พรรคประชาธิปัตย์ไม่ควรจะลืมกันว่าอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตรและพรรคไทยรักไทยได้สร้างนโยบายที่ตอบโจทย์ชีวิตของประชาชนผู้มีรายได้น้อยอย่างเอาจริงเอาจัง นโยบายที่เต็มไปด้วยคำถามและถูกประชาธิปัตย์ปรามาสว่าทำไม่ได้ กาลเวลาก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าทำได้


คนป่วยหลายคนรอดตายเพราะโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค ที่บางคนยอมรับว่ารักษาพยาบาลด้วยบัตร 30 บาท นั้นดีกว่าใช้ประกันสังคมเสียอีกเพราะค่าใช้จ่ายในโครงการ 30 บาทนั้นสามารถเบิกจ่ายจากรัฐบาลได้ในขณะที่ประกันสังคมทำไม่ได้ ส่วนโครงการหนึ่งผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบลหรือ OTOP นั้นก็ช่วยสร้างเงินสร้างงานในชุมชนเช่นเดียวกับนโยบายหวยบนดินที่รับเงินกันถ้วนหน้า


ต้องยอมรับว่าอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร นั้นเก่งในเรื่องการหาเงิน ทั้งหาเงินเพื่อนำไปใช้ในการผลักดันนโยบายสาธารณะให้กลายเป็นจริง และแม้กระทั่งหาเงินเข้ากระเป๋าตัวเองซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกแต่ประการใด (นายกรัฐมนตรีที่สร้างภาพว่าไม่ต้องการเงินทอง สร้างภาพว่าซื่อสัตย์สุจริตต่างหากที่เป็นเรื่องน่าแปลกและน่าสงสัย)


ความสำเร็จอันท่วมท้นชนิดสร้างสถิติทางการเมืองใหม่ สร้างปรากฏการณ์ใหม่ ๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เปลี่ยนแปลงปฏิรูปหลากหลายด้าน การทำให้การเมืองกับการตลาดกลืนกลายเป็นเนื้อเดียวกัน เหล่านี้ ส่งให้อดีตนายก ฯ กลายเป็นนวัตกรแห่งกาลเวลาสำหรับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของไทย


อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้นโยบายประชานิยมถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากพรรคประชาธิปตย์ว่าจะทำให้คนเป็นหนี้ สร้างนิสัยและค่านิยมที่ไม่ถูกต้องให้ประชาชนเกิดความรู้สึกว่าเดือดเนื้อร้อนใจอะไร ๆ ก็ต้องรอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล เป็นการสร้างคะแนนนิยม เป็นการหาเสียงเชิงนโยบาย มีผลประโยชน์ทับซ้อน ฯลฯ แต่ถึงวันนี้นักการเมืองจากประชาธิปัตย์กลับกลืนน้ำลายตนเอง


เวลาผ่านไปไม่นานและเราก็ค้นหาได้ไม่ยากว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ วิจารณ์ นโยบายประชานิยมไว้อย่างไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น


นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายตั้งข้อสังเกตว่า นโยบายของรัฐบาลชุดนี้เป็นการตอกย้ำความเป็นทายาทของ พ...ทักษิณ ชินวัตร โดยสังเกตจากหลายนโยบาย เช่น กองทุนหมู่บ้าน ธนาคารประชาชน เป็นต้น พร้อมตั้งข้อสังเกตอีกว่า หลายนโยบายทำเพื่อตัวเอง พวกพ้อง หรือเพื่อประชาชน (คมชัดลึก. วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์, .. 2551)

http://www.komchadluek.net/2008/02/19/x_main_a001_190594.php?news_id=190594


นโยบายที่ตรงกับสิ่งที่ประชาชนต้องการ เราตอบไม่ได้หรอกว่าเป็นเรื่องดีทั้งหมดหรือเลวทั้งหมด เรื่องใดที่สนองตอบความต้องการของประชาชนและเป็นเรื่องดีสำหรับส่วนรวม ถ้าสามารถวางระบบให้มีคุณภาพยั่งยืนได้ อันนี้ดีแน่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งทุนนั้นดี แต่ข้อควรระวังคืออย่ามุ่งหวังผลทางการเมืองอย่างเดียว เราต้องกำกับด้วยว่าจะเอาทุนไปทำอะไร ถ้านำไปสู่การใช้จ่ายเพิ่มหนี้สินไม่ยั่งยืน อันนี้ไม่ดี ดังนั้นต้องแยกเป็นเรื่องๆ ไป”

www.nidambe11.net/ekonomiz/2004q4/article2004dec01p5.htm


การกลืนน้ำลายหรือลืมคำพูดตัวเองเป็นสิ่งที่นักการเมืองจากพรรคประชาธิปัตย์ถนัดนักหนา สันดานแบบ “ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง” นั้นหาได้ไม่ยากจากนักการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์


นโยบายถูกเรียกขานว่า “ประชานิยม” เคยหนุนนำให้ชื่อของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร ขึ้นไปอยู่บนหิ้งในฐานะพระเอกตลอดกาลแบบเดียวกับรัฐบุรุษหนึ่งเดียวอย่างปรีดี พนมยงค์ (ส่วนรัฐบุรุษที่ตั้งให้กันเองอีกคนเป็นของปลอม)

ผลงานและมันสมองตลอดจนการยอมรับจากประชาชนของของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร ทำให้พรรคประชาธิปัตย์พวกศักดินาฉงนฉงาย


มาบัดนี้พรรคประชาธิปัตย์อยากเดินตามรอยในสิ่งที่อดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตรเคยทำไว้ แต่ “นางกุลา” ก็คือนางกุลา จะเป็น “โสนน้อย” ไปไม่ได้ เช่นเดียวกับนางอิจฉาอย่างพรรคประชาธิปัตย์ที่ไม่มีวันจะเป็นพระเอกหรือนางเอกได้ แม้ว่าจะพยายามทำให้ดูเหมือนก็ตาม.

 

 

 

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
การประท้วงของกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ภายใต้การนำของ สาวิทย์ แก้วหวาน ผู้ซึ่งเป็นแกนนำสหภาพแรงงาน ฯ เป็นการประท้วงในสไตล์เดียวกับการประท้วงของกลุ่มพันธมิตร นั่นคือเอาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นตัวประกันเพื่อให้ได้ตามความต้องการของตนเอง 
เมธัส บัวชุม
หลังจากอิดออดเพื่อรักษาท่าทีแต่พองามแล้ว “ผู้ร้าย” สองคนก็เปิดตัวเปิดใจกระโจนเข้าสู่วง ”การเมือง” เต็มตัว “ผู้ร้าย” คนแรก
เมธัส บัวชุม
ไม่กี่วันที่ผ่านมา ผมเดินทางไปเยี่ยมเพื่อนในอำเภอเล็ก ๆ แห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี นานมาแล้วที่ผมไม่ได้ออกไปไหน เพื่อนพาไปเที่ยวป่าและแวะที่หมู่บ้านเล็ก ๆ ที่แลดูลี้ลับ วังเวงและยากไร้
เมธัส บัวชุม
สังคมไทยเป็นสังคมที่อยู่กับความโง่ มีความโง่เป็นเจ้าเรือน นับวันความโง่ยิ่งแผ่ขยายแพร่กระจายไปราวเชื้อโรค หลายคนโง่โดยสุจริต  คนเหล่านี้น่าเห็นใจ ถูกครอบงำด้วยความไม่รู้  อคติ ความเกลียดชังทำให้ประสิทธิภาพในการคิดเสื่อมถอย สติปัญญาถูกบิดเบือนไป คนประเภทนี้โง่เพราะถูกอคติทำลายจนมืดบอด
เมธัส บัวชุม
  ในระหว่างที่รัฐบาลกำลังรวนเรเพราะความไร้ฝีมือและความเน่าจากภายใน แทนที่จะทุ่มสมองและแรงงานเพื่อกระหนาบกระหน่ำรัฐบาลโจร คนเสื้อแดงเฉดต่าง ๆ ก็กลับใช้โอกาสนี้วิพากษ์วิจารณ์กันรุนแรงกระทั่งแตกออกเป็นสาย
เมธัส บัวชุม
ในโลกโลกาภิวัฒน์ที่มนุษย์กำลังเดินทางไปในอวกาศเพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก และเตรียมหาที่อยู่บนดาวดวงอื่น ทั้งวิตกกังวลกับโรคระบาดชนิดใหม่ ๆ ซึ่งอาจทำให้มนุษย์ต้องสูญพันธุ์ ประเทศไทยยังคงสนุกสนานเหมือนเด็กเล่นขายของกับการกล่าวหาเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกระทั่งล้มสถาบันสนุกครับ สนุก
เมธัส บัวชุม
ตื่นเช้าขึ้นมา หากไม่มีอะไรเร่งด่วนต้องทำ ผมจะนั่งเขียนโน่น เขียนนี่พร้อม ๆ กับที่เข้าไปในบอร์ดประชาไท อ่านกระทู้ต่าง ๆ อยู่เงียบ ๆ มานานจนเกือบจะกลายเป็นกิจวัตร (ยกเว้นเสาร์-อาทิตย์) แต่หลังเช้าไปแล้ว ผมก็ทำอย่างอื่น ไม่ได้นั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ จึงไม่อาจติดตามความเคลื่อนไหวในบอร์ดประชาไทได้อีก ดังนั้นจึงได้อ่านเพียงบางกระทู้เท่านั้นและล้วนแล้วแต่เป็นการอ่านผ่านๆ ทั้งสิ้น
เมธัส บัวชุม
พักหลัง ผมเข้าไปเยื่ยมชมเว็บไซต์ "ASTVผู้จัดการ" บ่อยครั้ง เพื่ออยากรู้ว่าชาวสีเหลืองหรือกลุ่มพันธมิตรคิดอ่านกันอย่างไร มีนวัตกรรมอะไรบ้างในการทำลายฝ่ายตรงข้าม ศึกษากลวิธีในการเต้าข่าว การใส่ไคล้ การใช้ภาษาของบรรดาคอลัมนิสต์ กระทั่งแวะเข้าไปอ่าน "เรื่องนินทาราวตาเห็น" ของ "ซ้อเจ็ด" ผู้โด่งดัง
เมธัส บัวชุม
หลายวันก่อน ได้อ่านบทความของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ เรื่อง “ทางออกจากทักษิณ” (มติชนรายวัน, 20 ก.ค. 52.) บทความนี้มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนอย่างมากเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองของคนเสื้อเหลืองและแดง  เนื้อหาของบทความ นอกจากปัญญาชนรายนี้จะออกตัวให้กลุ่มพันธมิตรหรือเสื้อเหลืองโดยยกระดับความคิด และการกระทำของคนกลุ่มนี้ว่าเกิดจากทัศนะและความเข้าใจในประชาธิปไตยที่แตกต่างจากกลุ่มเสื้อแดงซึ่งทั้งสองกลุ่มล้วนแล้วแต่มีจุดอ่อน  
เมธัส บัวชุม
นานมาแล้ว ที่ผมไม่เคยเจ็บป่วยขนาดต้องไปโรงพยาบาลหรือหาหมอ อย่างมากก็แค่ซื้อยาแก้เจ็บคอมากิน แต่ครั้งนี้เจ็บคอหลายวัน บวกกับอาการมึนหัว เบื่ออาหาร เพลีย และปวดเมื่อยเนื้อตัวอย่างหนักขนาดทาถูสบู่ตามตัวยังรู้สึกปวดไปถึงกระดูก เวลานอนต้องนอนตะแคงอย่างเดียวจะนอนหงายหรือคว่ำไม่ได้เพราะปวดเมื่อย(ขนาดนั้น) ผมจึงตัดสินใจไปโรงพยาบาลแม้จะยังสงสัยอยู่ว่าคิดถูกหรือผิดกันแน่ น่าตกใจพอสมควรที่คนป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่เต็มล้นโรงพยาบาล (แต่แทบไม่มีคนที่อยู่วัยเดียวกับผม) ผมคิดในใจว่าถ้าตนเองเป็นเพียงโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ก็คงจะมารับเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่โรงพยาบาลนี่แหละ…
เมธัส บัวชุม
การล่า 1 ล้านรายชื่อของสามเกลอแห่ง "ความจริงวันนี้" เพื่อถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่อดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร เป็นประเด็นให้คนเสื้อแดงถกเถียงแก้เซ็งไปพลาง ๆ โหมโรงการเคลื่อนไหวครั้งต่อไป มีความคิดเห็นค่อนข้างหลากหลายในหมู่คนเสื้อแดงด้วยกัน ทั้งนี้เพราะคนเสื้อแดงนั้นมีความหลากหลายในตัวเองอยู่แล้ว คือมีตั้งแต่ "แดงอนุรักษ์" ไปจนถึง "แดงถอนรากถอนโคน" ซึ่งลักษณะที่ว่านี้ไม่มีในหมู่คนเสื้อเหลือง
เมธัส บัวชุม
เป็นความคิดที่ดีของกลุ่มคนเสื้อแดงที่มีความพยายามจะ “รื้อฟื้น” วันชาติขึ้น เพราะมันมีความหมายและนัยสำคัญต่อประชาธิปไตยและการเมืองไทยอย่างมาก วันชาติเป็นผลพวงของการยึดอำนาจของคณะราษฎรเพื่อเปลี่ยนประเทศไทยสู่ระบอบการปกครองแบบใหม่ที่ให้ความสำคัญกับเสียงและความคิดเห็นของประชาชน ภายใต้หลักนิติรัฐที่ทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายเสมอกัน