Skip to main content

การเมืองหลังการเข้ามาของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร คือการแข่งขันกันนำเสนอด้านนโยบายที่ตอบสนองความต้องการสิ่งอันเป็นปัจจัยพื้นฐานของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนระดับรากหญ้าซึ่งถูกละเลยมาตลอด


ผลงานของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร ผู้ยิ่งยงและพรรคไทยรักไทยที่ได้ทำไว้ในเรื่องการกำหนดนโยบายสำหรับคนยากคนจน และผลักดันสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมนั้นประสบความสำเร็จอย่างสูงกระทั่งใครต่อใครพรรคประชาธิปัตย์ปากว่าตาขยิบลอกมาหน้าตาเฉย แม้แต่พรรคภูมิใจของเนวิน ชิดชอบที่เพิ่งเปิดตัวไปก็ชูเรื่องประชานิยมเป็นม็อตโตของพรรค


เป็นเพราะวิสัยทัศน์แบบนักธุรกิจของอดีตนายก ฯ สามารถมองเห็นและเข้าใจความเป็นอยู่ของคนส่วนใหญ่ของประเทศ มองเห็นความต้องการของประชาชนที่ไม่เคยได้รับการตอบสนอง มองเห็นความขาดหายที่จะเติมให้เต็มได้ แต่มากไปกว่าการมองเห็นก็คือความกล้าหาญที่จะเข้าไปแก้ไขปัญหา กล้าหาญที่จะทำในสิ่งที่นักการเมืองคนอื่นไม่ทำ ทำในสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยทำ


ท่ามกลางขาลงของนอมินีชุด 3 อย่างพรรคเพื่อไทยที่มีหางแต่ไร้หัว พรรคประชาธิปัตย์ไม่ควรจะลืมกันว่าอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตรและพรรคไทยรักไทยได้สร้างนโยบายที่ตอบโจทย์ชีวิตของประชาชนผู้มีรายได้น้อยอย่างเอาจริงเอาจัง นโยบายที่เต็มไปด้วยคำถามและถูกประชาธิปัตย์ปรามาสว่าทำไม่ได้ กาลเวลาก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าทำได้


คนป่วยหลายคนรอดตายเพราะโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค ที่บางคนยอมรับว่ารักษาพยาบาลด้วยบัตร 30 บาท นั้นดีกว่าใช้ประกันสังคมเสียอีกเพราะค่าใช้จ่ายในโครงการ 30 บาทนั้นสามารถเบิกจ่ายจากรัฐบาลได้ในขณะที่ประกันสังคมทำไม่ได้ ส่วนโครงการหนึ่งผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบลหรือ OTOP นั้นก็ช่วยสร้างเงินสร้างงานในชุมชนเช่นเดียวกับนโยบายหวยบนดินที่รับเงินกันถ้วนหน้า


ต้องยอมรับว่าอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร นั้นเก่งในเรื่องการหาเงิน ทั้งหาเงินเพื่อนำไปใช้ในการผลักดันนโยบายสาธารณะให้กลายเป็นจริง และแม้กระทั่งหาเงินเข้ากระเป๋าตัวเองซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกแต่ประการใด (นายกรัฐมนตรีที่สร้างภาพว่าไม่ต้องการเงินทอง สร้างภาพว่าซื่อสัตย์สุจริตต่างหากที่เป็นเรื่องน่าแปลกและน่าสงสัย)


ความสำเร็จอันท่วมท้นชนิดสร้างสถิติทางการเมืองใหม่ สร้างปรากฏการณ์ใหม่ ๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เปลี่ยนแปลงปฏิรูปหลากหลายด้าน การทำให้การเมืองกับการตลาดกลืนกลายเป็นเนื้อเดียวกัน เหล่านี้ ส่งให้อดีตนายก ฯ กลายเป็นนวัตกรแห่งกาลเวลาสำหรับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของไทย


อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้นโยบายประชานิยมถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากพรรคประชาธิปตย์ว่าจะทำให้คนเป็นหนี้ สร้างนิสัยและค่านิยมที่ไม่ถูกต้องให้ประชาชนเกิดความรู้สึกว่าเดือดเนื้อร้อนใจอะไร ๆ ก็ต้องรอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล เป็นการสร้างคะแนนนิยม เป็นการหาเสียงเชิงนโยบาย มีผลประโยชน์ทับซ้อน ฯลฯ แต่ถึงวันนี้นักการเมืองจากประชาธิปัตย์กลับกลืนน้ำลายตนเอง


เวลาผ่านไปไม่นานและเราก็ค้นหาได้ไม่ยากว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ วิจารณ์ นโยบายประชานิยมไว้อย่างไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น


นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายตั้งข้อสังเกตว่า นโยบายของรัฐบาลชุดนี้เป็นการตอกย้ำความเป็นทายาทของ พ...ทักษิณ ชินวัตร โดยสังเกตจากหลายนโยบาย เช่น กองทุนหมู่บ้าน ธนาคารประชาชน เป็นต้น พร้อมตั้งข้อสังเกตอีกว่า หลายนโยบายทำเพื่อตัวเอง พวกพ้อง หรือเพื่อประชาชน (คมชัดลึก. วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์, .. 2551)

http://www.komchadluek.net/2008/02/19/x_main_a001_190594.php?news_id=190594


นโยบายที่ตรงกับสิ่งที่ประชาชนต้องการ เราตอบไม่ได้หรอกว่าเป็นเรื่องดีทั้งหมดหรือเลวทั้งหมด เรื่องใดที่สนองตอบความต้องการของประชาชนและเป็นเรื่องดีสำหรับส่วนรวม ถ้าสามารถวางระบบให้มีคุณภาพยั่งยืนได้ อันนี้ดีแน่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งทุนนั้นดี แต่ข้อควรระวังคืออย่ามุ่งหวังผลทางการเมืองอย่างเดียว เราต้องกำกับด้วยว่าจะเอาทุนไปทำอะไร ถ้านำไปสู่การใช้จ่ายเพิ่มหนี้สินไม่ยั่งยืน อันนี้ไม่ดี ดังนั้นต้องแยกเป็นเรื่องๆ ไป”

www.nidambe11.net/ekonomiz/2004q4/article2004dec01p5.htm


การกลืนน้ำลายหรือลืมคำพูดตัวเองเป็นสิ่งที่นักการเมืองจากพรรคประชาธิปัตย์ถนัดนักหนา สันดานแบบ “ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง” นั้นหาได้ไม่ยากจากนักการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์


นโยบายถูกเรียกขานว่า “ประชานิยม” เคยหนุนนำให้ชื่อของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร ขึ้นไปอยู่บนหิ้งในฐานะพระเอกตลอดกาลแบบเดียวกับรัฐบุรุษหนึ่งเดียวอย่างปรีดี พนมยงค์ (ส่วนรัฐบุรุษที่ตั้งให้กันเองอีกคนเป็นของปลอม)

ผลงานและมันสมองตลอดจนการยอมรับจากประชาชนของของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร ทำให้พรรคประชาธิปัตย์พวกศักดินาฉงนฉงาย


มาบัดนี้พรรคประชาธิปัตย์อยากเดินตามรอยในสิ่งที่อดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตรเคยทำไว้ แต่ “นางกุลา” ก็คือนางกุลา จะเป็น “โสนน้อย” ไปไม่ได้ เช่นเดียวกับนางอิจฉาอย่างพรรคประชาธิปัตย์ที่ไม่มีวันจะเป็นพระเอกหรือนางเอกได้ แม้ว่าจะพยายามทำให้ดูเหมือนก็ตาม.

 

 

 

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ผมเฝ้ารอคอยดูผลสำเร็จ (หรือไม่สำเร็จ) ของนโยบาย "5 รั้ว" ซึ่งเป็นนโยบายทางด้านยาเสพติดของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ว่าจะทำได้มากน้อยเพียงใด ทำให้ยาเสพติดลดลงได้จริงหรือไม่ "5 รั้ว" ที่ว่าคือ รั้วชายแดน รั้วชุมชน รั้วสังคม รั้วโรงเรียน และรั้วครอบครัว ทั้ง "5 รั้ว" จะช่วยเป็นเกราะป้องกันต้านทานการทะลักเข้ามาของยาเสพติด พร้อมไปกับการปราบปรามอย่างจริงจังเป็นรูปธรรม
เมธัส บัวชุม
ผมเคยตั้งข้อสังเกตไปแล้วว่ารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ มีความสามารถในการทำให้การเมืองกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อ รายการเชื่อมั่นประเทศไทยของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้นมีแต่ถ้อยคำลวงโลกว่างเปล่า รัฐมนตรีทำงานแบบขอไปที เอาตัวรอดไปวัน ๆ ทำให้ความเดือดร้อนของประชาชนกลายเป็นความเห็นอกเห็นใจง่าย ๆ และรับปากว่าจะดำเนินการ ทาสีให้พรรคพวกที่ทำผิดกฏหมายกลายเป็นบริสุทธิ์ นโยบายไม่มีอะไรใหญ่และไม่มีอะไรใหม่ ฯลฯ ขณะเดียวกันคนเสื้อแดงก็ฝ่อลง เหมือนหมดมุกจะเล่น เหมือนหมดทางจะไปต่อ เหมือนยอมรับสภาพ
เมธัส บัวชุม
บางครั้งผมถามตัวเองว่าทำไมรู้สึกแย่ถึงขั้นขยะแขยงทุกครั้งที่เห็นหน้านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทางจอโทรทัศน์ บางทีฝืนใจดูเพราะอยากรู้ว่านายกรัฐมนตรีคนนี้จะพูดอะไรแต่ก็ต้องเปลี่ยนช่องทันทีที่ได้ฟังประโยคแรก เพราะเพียง "อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่" ผมได้คำตอบเบื้องต้นว่าเหตุที่ไม่ชอบนายกรัฐมนตรีคนนี้อย่างรุนแรงนั้นมีหลายสาเหตุ เป็นต้นว่าการไม่เป็นสุภาพบุรุษ (แพ้ก็ไม่ยอมรับว่าแพ้) ชอบเล่นนอกกติกา (บอยคอตเลือกตั้ง) ขาดความเป็นผู้นำ (ตัดสินใจอะไรไม่ได้) พูดจ้าอ้อมค้อมวกวน (ตอบไม่ได้เรื่องหนีทหาร) เอาดีใส่ตัวเอาชั่วให้คนอื่น (โทษคนอื่นตลอด) ทำหน้าซึ้งๆ เศร้าๆ (คิดว่าตนเองเป็นนางเอก) ท่าดีทีเหลว (…
เมธัส บัวชุม
หากให้ลองเอ่ยชื่อปัญญาชนที่เป็นเสาหลักของสังคมไทย แน่นอนต้องมี ส.ศิวรักษ์ รวมอยู่ด้วย จากผลงานมากมายและหลากหลายในอดีตคงไม่มีใครกล้าปฏิเสธคุณูปการของ ส. ศิวรักษ์ ที่มีต่อสังคมไทยไปได้ ย้อนหลังไปก่อนการเมืองยุคทักษิณ ผมเฝ้าติดตามและชื่นชมผลงานของส.ศิวรักษ์อยู่ห่าง ๆ ชื่อของเขาในฐานะวิทยากรตามงานสัมมนาเป็นเสมือนแม่เหล็กดึงดูดให้ต้องเข้าไปนั่งฟังทัศนะอันกล้าหาญแหลมคม อาจกล่าวได้ว่าเขาคือแรงดลใจและเป็นแบบอย่างให้คนรุ่นแล้วรุ่นเล่าในการต่อสู้กับความ อยุติธรรม
เมธัส บัวชุม
การเมืองไร้หลักการหลังรัฐประหาร ปี 49 นำมาซึ่งเรื่องชวนหัว ขำ ฮา ตลกร้าย ตลกแต่หัวเราะไม่ออก ตลกจนอยากจะร้องไห้ ฯลฯ หลายต่อหลายเรื่องด้วยกัน ในที่นี้อยากจะหยิบยกมาพูดคุยสัก 4 เรื่อง เรื่องแรก ไม่เป็นเหลือง การปลดคุณเสถียร จันทิมาธร บรรณาธิการคู่บุญของเครือมติชนด้วยข้อหาไม่เป็นกลางนั้นฮาครับ แต่หัวเราะไม่ออก การไม่เป็นกลางนั้นไม่เท่าไหร่ แต่ดูเหมือนจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงนี่สิเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ (แต่คนเสื้อแดงหลายคนก็บอกว่าไม่เห็นคุณเสถียรจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงเลย) ในทางกลับกัน รายของ "นงนุช สิงหเดชะ" ซึ่งเขียนด่า (ใช้คำว่าด่า) คนเสื้อแดงและทักษิณมายาวนาน ด่าเอา…
เมธัส บัวชุม
  Iภาพที่ผู้ชายจิกหัวผู้หญิงเสื้อแดง แล้วลากถูลู่ถูกังไปกับถนนด้วยความอาฆาตมาดร้ายท่ามกลางการยืนดูเฉย ๆ ของทหาร นักข่าวและสาธาณชนนั้นน่าสะเทือนใจ ไม่ต่างอะไรกับการมุงดูผู้หญิงที่ถูกข่มขืนในที่สาธารณะ นอกจากไม่คิดจะช่วยแล้ว บางคนอาจจะลุ้นเอาใจช่วยฝ่ายชายอีกต่างหาก
เมธัส บัวชุม
คุณวีระ มุสิกะพงศ์ ไม่เหมาะที่จะเป็นแกนนำคนเสื้อแดงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์สู้รบ การประกาศมอบตัวอุปมาเหมือนแม่ทัพที่ทิ้งทัพกลางศึกด้วยเหตุที่ว่ากลัวไพร่พลและทหารแดงที่เข้าร่วมสงครามจะบาดเจ็บล้มตาย! -------------
เมธัส บัวชุม
นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล  นักวิชาการขาประจำผู้ซึ่งเคยเสนอมาตรา 7 เช่น อธิการบดีธรรมศาสตร์ ให้ทัศนะในรายการหนึ่งทางโทรทัศน์ว่าการโฟนอินของทักษิณจะทำให้แนวร่วมเสื้อแดงบางส่วนหายไป จะเหลือก็แต่คนเสื้อแดงแท้ ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านต่างจังหวัดเท่านั้นผมได้ฟังแล้วงง มันมี "เสื้อแดงแท้ ๆ" กับ "เสื้อแดงไม่แท้" ด้วยเหรอ ? แล้วคน "เสื้อแดงแท้ ๆ"  ในความหมายของนักวิชาการรายนี้หมายถึงใคร
เมธัส บัวชุม
ถือเป็นความคืบหน้าทางการเมืองอีกขั้น ที่ประชาชนแห่งกองทัพแดงสามารถ "ลาก" เอาประธานองคมนตรีออกมาชันสูตรกันในที่แจ้ง จับแก้ผ้าล่อนจ้อนต่อหน้าสาธารณชน เปลื้องเปลือยรอยตำหนิและแผลเป็นน่าเกลียดไม่เคยมียุคสมัยใดของการเมืองไทยที่ประธานองคมนตรี และองคมนตรีจะโดนเล่นงานขนาดนี้  แต่ปรากฏการณ์การณ์นี้มีที่มาที่ไป ประชาชนตระหนักชัดแล้วว่าทางเดินของระบอบประชาธิปไตยถูกขวางด้วยอำนาจนอกรัฐธรรมนูญมาตลอด โดยที่ครั้งนี้พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ โดดเข้ามาเล่นชัดเจน แม้จะเคยบอกว่า "ผมพอแล้ว" แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ดังนั้น "หากองคมนตรีมายุ่งการเมือง…
เมธัส บัวชุม
การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลผ่านพ้นไปแล้วหลายวัน โพลล์บางสำนัก นักวิชาการบางราย สื่อบางเจ้า ทำการสำรวจประเมินความคิดเห็นของประชาชนต่อการอภิปรายครั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกหากผลจะออกมาเป็นบวกต่อรัฐบาล ทั้งที่ข้อมูลของคุณเฉลิม อยู่บำรุง นั้นถือเป็นข้อมูลลึกและน่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง ผมติดตามการอภิปรายอยู่ห่างๆ หมายถึงดูบ้าง ไม่ได้ดูบ้าง สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้จากคำอธิบาย คำชี้แจงของรัฐบาลคือแทบทุกคนไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือเลย การให้เหตุผลเป็นแบบ "เอาสีข้างเข้าถู" "แก้ตัวแบบน้ำขุ่น ๆ" หรือชี้แจงไม่ตรงกับสิ่งที่ฝ่ายค้านอภิปราย
เมธัส บัวชุม
เป้าหมายของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตรกับเป้าหมายของคนเสื้อแดงนั้นไม่อาจกล่าวได้ว่าเหมือนกันเสียทีเดียวหากแต่มีความเหลื่อมล้ำกันอยู่มาก หมายถึงว่ามีทั้งส่วนที่เหมือนกันและแตกต่างกัน แต่ก่อนจะพูดถึงส่วนที่เหมือนและต่างนั้นต้องทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้นกันก่อนว่า คนเสื้อแดงมีหลายประเภท หลายเฉด คนเสื้อแดงมีตั้งแต่กลุ่มฮาร์ดคอร์แบบอาจารย์ใจ อึ๊งภากรณ์, จักรภพ เพ็ญแข และสีแดงอ่อนๆ ประเภท "แดงสมานฉันท์" สีแดงมีหลายดีกรีคือมีทั้งพวกอนุรักษ์นิยมอ่อนๆ ,เสรีนิยม ไปจนถึงกลุ่มถอนราก ถอนโคน (radical)
เมธัส บัวชุม
ผมเคยดูวงดนตรีเพื่อชีวิตที่ชื่อ "แฮมเมอร์" แสดงสดหลายครั้ง ต่างกรรมต่างวาระ ดูครั้งแรกเมื่อสิบกว่าปีก่อน ยอมรับว่าประทับใจมาก ครั้งต่อ ๆ มาก็ยังประทับใจ ทุกคนในวงตั้งใจเล่น ตั้งใจร้อง นักดนตรีหลายคนสามารถเล่นเครื่องดนตรีได้หลายชิ้น เดี๋ยวขลุ่ย เดี๋ยวไวโอลิน ดูแล้วเพลิดเพลินนัก แตกต่างจากวงดนตรี "เพื่อชีวิต" ทั่ว  ๆ ไป แม้จะมีหนวดเครายาวรุงรัง แต่แฮมเมอร์ดูสะอาด ไม่มีลีลาหรือพิธีรีตองอะไรมาก ไม่ต้องเก๊กหน้าให้ดูเหมือนกับคนมีความคิดลึกซึ้งหรือดัดเสียงให้ฟังซึ้งเศร้าหรือด่านักการเมืองก่อนเข้าเพลง  วงดนตรีแฮมเมอร์เป็นอะไรที่น่าจดจำอย่างไรก็ตาม…