Skip to main content
บทความเรื่อง "แรงฤทธิ์ แต่อ่อนผล" ของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ในมติชนรายวันhttp://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01act01020352&sectionid=0130&day=2009-03-02 (วันที่ 02 มีนาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11314) มีหลายประโยค หลายวลี หลายคำที่อ่านแล้วต้องส่ายหัวด้วยความอิดหนาระอาใจกับอคติและภูมิปัญญาของเขา แต่มีอยู่ประโยคหนึ่งที่อ่านแล้วทำให้ผมสะดุดหยุดกึกในทันทีคือประโยคที่ว่า


"
ไม่ผิดอะไรที่จะรักทักษิณ แต่รักทักษิณและรักประชาธิปไตยพร้อมกันไม่ได้เพราะสองอย่างนี้ขัดแย้งกันเอง"


ประโยคนี้ของนิธิ เอียวศรีวงศ์ ทำให้ผมได้ข้อสรุปหนักแน่นชัดเจนว่า นิธิ เอียวศรีวงศ์ เพี้ยนไปแล้วจริง ๆ


ทันทีที่ประโยคนี้ผ่านเข้ามาทางสายตาสู่สมอง ผมเกิดคำถามมากมายที่อยากจะถามกลับไปว่า

"เราสามารถรักอภิสิทธิ์และรักประชาธิปไตยพร้อมกันได้หรือไม่ ?"

"เราสามารถรักการทำรัฐประหารและรักประชาธิปไตยพร้อมกันได้หรือไม่ ?"

"เราสามารถรักพลเอกเปรม ติณสูลานนท์และรักประชาธิปไตยพร้อมกันได้หรือไม่ ?"

"เราสามารถรักเจ้าและรักประชาธิปไตยพร้อมกันได้หรือไม่ ?"

"เราสามารถรักหมอประเวศ วะสี แอนด์เดอะแก๊งค์และรักประชาธิปไตยพร้อมกันได้หรือไม่ ?"

"เราสามารถรักนิธิ เอียวศรีวงศ์และรักประชาธิปไตยพร้อมกันได้หรือไม่ ?"

"นิธิ เอียวศรีวงศ์ กำลังปกป้องประชาธิปไตยอยู่หรือ ?"


นิธิ เอียวศรีวงศ์ ขึ้นต้นบทความของเขาด้วยคำถามที่ว่า "กลุ่มคนเสื้อแดงกำลังปกป้องประชาธิปไตยอยู่หรือ?" จากนั้นก็สาธยายไปเรื่อยๆ เปื่อยๆ หาข้อมูล ยกตัวอย่างการเคลื่อนไหวต่อต้านกดดันการจัดงาน Gay Pride ที่เชียงใหม่ของคนเสื้อแดงมาสนับสนุนคำตอบที่มีอยู่ในใจแล้วว่าคนเสื้อแดงนั้นไม่ได้ปกป้องประชาธิปไตย!

ทีนี้มาลองพยายามทำความเข้าใจกับประโยคสำคัญที่ว่า "ไม่ผิดอะไรที่จะรักทักษิณ แต่รักทักษิณและรักประชาธิปไตยพร้อมกันไม่ได้ เพราะสองอย่างนี้ขัดแย้งกันเอง"


นิธิ เอียวศรีวงศ์ บอกว่า "คุณทักษิณไม่ใช่ตัวแทนของประชาธิปไตย อย่างน้อยก็ไม่ใช่ในสายตาของคนจำนวนมากพอสมควร ตรงกันข้ามด้วยซ้ำ คุณทักษิณเป็นได้แต่เพียงตัวแทนของรูปแบบแต่ขาดเนื้อหาของประชาธิปไตย ภายใต้คุณทักษิณ รัฐไทยทำให้มีผู้เสียชีวิตนอกกระบวนการทางกฎหมายได้เกือบ 3,000 คน มีการอุ้มฆ่าอีกหลายร้อยโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐเอง สื่อซึ่งก็ไม่ค่อยมีสมรรถภาพอยู่แล้ว กลับถูกแทรกแซงอย่างหนัก ทั้งผ่านคำสั่งหรือคำเตือนโดยตรง ไปจนถึงการกำกับด้วยการถอนโฆษณา, การซื้อหุ้นควบรวมกิจการ และการข่มขู่คุกคามนักหนังสือพิมพ์ อีกทั้งวางนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อประโยชน์ทางธุรกิจของตนเองและพรรคพวก โยกย้ายและแต่งตั้งข้าราชการเพื่อสร้างฐานอำนาจถาวรให้แก่ตนเองฯลฯ"


เราสามารถยกตัวอย่าง "เนื้อหา" ที่ไม่เป็นประชาธิปไตยในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ได้หลายข้อกว่านี้มาก เช่น การฆ่ามุสลิมในมัสยิดกรือเซะ การทำให้คนตายกรณีตากใบ ฯลฯ แต่ในทางกลับกัน เราสามารถยกตัวอย่าง "เนื้อหา" ที่เป็นประชาธิปไตย(ที่กินได้)ของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตรได้มากกว่ามากเช่นเดียวกัน เช่น นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค, กองทุนหมู่บ้านละล้าน, การกำจัดผู้มีอิทธิพล ปัญหาก็คืออะไรคือเนื้อหาของประชาธิปไตยที่ นิธิ เอียวศรีวงศ์ หมายถึง?


นิธิ เอียวศรีวงศ์บอกว่า "ประชาธิปไตยของโลกยุคใหม่ไม่ได้จำกัดอยู่ที่กลไกในระบบการเมืองเท่านั้น แต่หมายถึงการเคลื่อนไหวและการจัดองค์กรของประชาชนทุกระดับเพื่อการต่อรอง และไม่ใช่การต่อรองทางการเมืองในระบบอย่างเดียว รวมถึงการต่อรองทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมด้วย"


นิยามเบื้องต้นเรื่องประชาธิปไตยของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ฟังดูเข้าท่าแต่เหมือนลอยอยู่ในอากาศ แล้วก็ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร หากนิธิ เอียวศรีวงศ์ ต้องการจะสื่อว่านโยบายสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ไม่ส่งเสริมกระทั่งขัดขวางเนื้อหาของประชาธิปไตยตามนิยามข้างต้น คำถามก็เกิดขึ้นว่ามีรัฐบาลใดบ้างที่สนับสนุนเนื้อหาประชาธิปไตย ?


ทีนี้เราลองพิจารณาสิ่งที่นิธิ เอียวศรีวงศ์ เขียนถึงอภิสิทธิ เวชชาชีวะ บ้าง เขาเคยเขียนว่า

"นายกรัฐมนตรีคนใหม่ต้องกล้าเผชิญกับแรงกดดันจากกองทัพ รวมทั้งแรงกดดันจากองค์กรอิสระอีกมากที่คณะรัฐประหารตั้งขึ้น อย่างอาจหาญและมีศักดิ์ศรีด้วย ดังที่คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้แสดงให้เห็นอย่างนุ่มนวลแต่สง่างามในครั้งนี้" (ความสง่างามของอภิสิทธิ, มติชนรายวัน,วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2550) 


เป็นความเพี้ยนในทางหลักการที่นิธิ เอียวศรีวงศ์ จะเลือกด่าเฉพาะเจาะจงที่อดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร

เป็นความเพี้ยนอันเกิดจากอคติและความมืดบอดที่ไม่เข้าใจเรื่องสัญลักษณ์และแรงดลใจของคนระดับรากหญ้า


จะว่าไป นิธิ เอียวศรีวงศ์ มีบทบาทในการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยน้อยมากกระทั่งไม่มีเลย

จะว่าไป นิธิ เอียวศรีวงศ์ ก็ไม่ได้ดีไปกว่าอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร ในเรื่องการส่งเสริมประชาธิปไตยที่กินได้และจับต้องได้จริง


ใครก็ได้ช่วยถามให้ทีว่านิธิ เอียวศรีวงศ์ กำลังปกป้องประชาธิปไตยอยู่หรือ?"


บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
บทความเรื่อง "แรงฤทธิ์ แต่อ่อนผล" ของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ในมติชนรายวันhttp://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01act01020352&sectionid=0130&day=2009-03-02 (วันที่ 02 มีนาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11314) มีหลายประโยค หลายวลี หลายคำที่อ่านแล้วต้องส่ายหัวด้วยความอิดหนาระอาใจกับอคติและภูมิปัญญาของเขา แต่มีอยู่ประโยคหนึ่งที่อ่านแล้วทำให้ผมสะดุดหยุดกึกในทันทีคือประโยคที่ว่า "ไม่ผิดอะไรที่จะรักทักษิณ แต่รักทักษิณและรักประชาธิปไตยพร้อมกันไม่ได้เพราะสองอย่างนี้ขัดแย้งกันเอง"
เมธัส บัวชุม
ผมได้มีโอกาสดูหนังเรื่อง "ผู้หญิง 5 บาป" เพราะเคเบิลทีวีเอามาฉายซ้ำแล้วซ้ำอีก อันที่จริงหนังเกรดต่ำแบบนี้ไม่เคยอยู่ในความคิดอยากจะดูเลย แต่ผมก็เหมือนคนอื่น ๆ คือฉากรักร้อน ๆ ดิบ ๆ ที่ปรากฏอยู่มากมายสะกดให้ต้องหยุดดู หนังเรื่องนี้เหมือนหนังโป๊ะที่ดูแล้ว ถึงจุดออกัสซั่มแล้ว ไม่ควรจะมีอะไรให้พูดถึงอีกหรือหากอยากจะพูดถึงก็คงเป็นเรื่องความไม่เอาไหนของคนทำหนังที่อุตส่าห์ขนดาราและนักแสดงรับเชิญมาเพียบ แต่ทำได้เพียงแค่หลอกขายฉาก "เอากัน" เท่านั้น โดยให้ผู้หญิง 5 คนผลัดกันมาเล่าประสบการณ์ทางเพศที่โลดโผนโจนทะยาน (มีอะไรกับลูกศิษย์ตัวเอง โดนยามข่มขืน ได้กับวินมอไซค์)
เมธัส บัวชุม
31 มกราคมที่ผ่านมา ทีมงานความจริงวันนี้ สร้างปรากฏการณ์ "แดงทั้งแผ่นดิน- Red in The Land" ที่ท้องสนามหลวงด้วยประชาชนหลายหมื่น คนรวยคนจน นักวิชาการหัวก้าวหน้า นักปฏิวัติ คนรุ่นใหม่รุ่นเก่ามากันพร้อมหน้า บรรยากาศฮึกเหิมคึกคัก ส่งสัญญาณความไม่พอใจที่ล้นอกไปยังเหล่าศักดินา เขย่าขวัญพวกอมาตยาธิปไตยให้หยุดสำเหนียกให้มากก่อนจะกระทำการใด อันที่จริงการสำแดงพลังที่รัชมังคลาภิเษกเมื่อวันที่ 1 พ.ย.51 ที่ประชาชนเข้าร่วมงานอย่างอุ่นหนาฝาคั่งนั้นน่าพรั่นพรึงและเป็นที่ประจักษ์ชัดอยู่แล้วว่าชาว “แดง” พร้อมชนกับซากเดนของระบอบศักดินาเพียงขอให้มีเงื่อนไขที่เอื้อหรือสถานการณ์สุกงอมพอเท่านั้น…
เมธัส บัวชุม
  ผมชอบดูและเล่นฟุตบอลแม้ว่าจะเล่นไม่ดีเลยก็ตาม  มันเป็นความบันเทิงและกีฬาที่ไม่ต้องลงทุนอะไรมาก ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเหมือนเข้าฟิตเนส  แต่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันผมไม่เคยชอบดูฟุตบอลไทยเลย อาจจะเปิดโทรทัศน์ไปเจอโดยบังเอิญ หยุดดูสักครึ่งนาที พอได้ยินเสียงพากย์ของนักพากย์กีฬาช่อง 7 ซึ่งไม่พากย์ไปตามเกมกีฬา หากแต่จ้องจะเข้าข้างทีมไทยท่าเดียวทำให้เสียอารมณ์จนต้องรีบเปลี่ยนช่องยิ่งเมื่อได้เห็นภาพข่าวนักฟุตบอลไทย แสดงอาการกักขฬะมีเรื่องวิวาทกับนักเตะต่างชาติอยู่บ่อย ๆ ด้วยแล้ว ผมยิ่งรู้สึกสมน้ำหน้า รู้สึกสมน้ำหน้ามากขึ้นเมื่อนักพากย์กีฬา…
เมธัส บัวชุม
ข่าวการตัดสินจำคุกชาวต่างชาติ “แฮร์รี่ นิโคไลเดส” ชาวออสเตรเลีย ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นนอกจากจะน่าอนาถใจไทยแลนด์แล้ว ยังสร้างแรงสะเทือนต่อสิ่งที่เรียกว่า “เสรีภาพ” อยู่ไม่น้อยผมเคยคิดว่าไทยเป็นประเทศที่มี “เสรีภาพ” มากพอสมควร ถึงตอนนี้ก็ยังคิดเช่นนั้นอยู่ เพียงแต่ว่า “เสรีภาพ” ในไทยนั้นมี “เพดาน” กั้น มี “ขีด” ที่ข้ามไปไม่ได้ เราไม่อาจใช้เสรีภาพไปวิพากษ์วิจารณ์บางคนหรือบางองค์กรหรือเข้าไปตรวจสอบความโปร่งใสได้ เช่น องคมนตรี ศาล กองทัพ เสรีภาพที่เรามีอยู่จึงเป็น “เสรีภาพแบบพอเพียง”
เมธัส บัวชุม
การเมืองหลังการเข้ามาของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร คือการแข่งขันกันนำเสนอด้านนโยบายที่ตอบสนองความต้องการสิ่งอันเป็นปัจจัยพื้นฐานของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนระดับรากหญ้าซึ่งถูกละเลยมาตลอด ผลงานของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร ผู้ยิ่งยงและพรรคไทยรักไทยที่ได้ทำไว้ในเรื่องการกำหนดนโยบายสำหรับคนยากคนจน และผลักดันสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมนั้นประสบความสำเร็จอย่างสูงกระทั่งใครต่อใครพรรคประชาธิปัตย์ปากว่าตาขยิบลอกมาหน้าตาเฉย แม้แต่พรรคภูมิใจของเนวิน ชิดชอบที่เพิ่งเปิดตัวไปก็ชูเรื่องประชานิยมเป็นม็อตโตของพรรค
เมธัส บัวชุม
-1-เมื่อกลุ่มก่อการร้ายพันธมิตร ฯ แยกย้ายสลายตัว เดินลงจากเวทีหลังจากสร้างความยับเยินสาธารณะจนสาแก่ใจ แล้วส่งพรรคประชาธิปัตย์วิ่งราวเข้าไปเป็นฝ่ายรัฐบาลโดยผนวกรวมกลุ่มงูเห่าของพวกเนวิน ชิดชอบ เข้าไปด้วยแล้ว การเมืองก็หมดสีสันลงอย่างมากเหมือนกับละครน้ำเน่าที่ตัวอิจฉาหายไปจากจอ ยอมรับนะครับ ว่ากลุ่มก่อการร้ายพันธมิตรที่เป็นม็อบมีเส้นนั้นดึงดูดกระแสความสนใจการเมืองขึ้นไปจนถึงจุดสูงสุด แม้แต่คนที่ร้อยวันพันปีไม่เคยใส่ใจเรื่องการเมืองเลยนั้นก็หันไปใส่เสื้อเหลือง เสื้อแดงกับเขาด้วย บางคนใส่ได้ทั้งเสื้อแดง เสื้อเหลืองแล้วแต่ว่ากระแสความนิยมของฝ่ายใดจะมาแรงกว่า
เมธัส บัวชุม
ชัยชนะที่ได้มาด้วยการฉ้อฉลของพรรคประชาธิปัตย์ แม้จะมีผลลัพธ์ออกมาเป็นรูปธรรมด้วยการจัดตั้งรัฐบาลสมความมุ่งมาดปรารถนาที่รอคอยมาเกือบสิบปี แต่ก็ด่างพร้อยอย่างยิ่ง ไม่มีความสง่างามแม้แต่นิดเดียว ล่อนจ้อนน่าละอาย ผิดกติกามารยาทรวมไปถึงผิดกฏหมาย กระทั่งก่อให้เกิดความระอาเกลียดชัง บทบาทพฤติกรรมของพรรคประชาธิปัตย์ที่ก่อให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกข้างต้น ทำให้หลายคนตั้งฉายา สร้างวาทกรรมในการใช้เรียกขานพรรคประชาธิปัตย์ไปต่าง ๆ  นานาซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นไปในแง่ลบฉายาที่ 1 "รัฐบาลต่างตอบแทน" ตอบแทนกระทรวงกลาโหมให้กองทัพที่ยืนหยัดช่วยเหลือทั้งทางตรงทางอ้อมแก่พรรคประชาธิปัตย์มาโดยตลอด…
เมธัส บัวชุม
  เป็นการพังทลายลงของสถาบันตุลาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของความน่าเชื่อถือ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญพิพากษายุบพรรคการเมืองซีกรัฐบาลรวดเดียว 3 พรรค อย่างรวบรัดตัดความ เร่งร้อนลนลานและผิด ๆ ถูก ๆ นักวิชาการผู้เคารพในหลักการ และคอการเมืองทั้งหลายพากันวิพากษ์วิจารณ์กันขรมถึงสิ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญได้ทำลงไป เริ่มตั้งแต่ประเด็นเรื่องคุณสมบัติของตุลาการผู้เอาตัวรอดด้วยการท่องคาถาคุณธรรม จริยธรรม เป็นนิจสิน อย่างนายจรัล ภักดีธนากุล ไปจนถึงการย้ายสถานที่พิจารณาตัดสินคดีอย่างปุบปับ รวมไปถึงการนำทหารป่าหวายเข้ามาอารักขาตุลาการ แทนที่จะหยุดยั้งเหล่ามารพันธมิตร บางคนต่อรองไว้ว่าร้อยนึงเอาบาทเดียว…
เมธัส บัวชุม
ไม่กี่วันที่ผ่านมาเราคงได้เห็นกันแล้วว่าลัทธิพันธมิตรสามารถทำอะไรได้บ้าง ลัทธิพันธมิตรทำอะไรก็ได้ทั้งนั้นถ้าอยากทำ ตั้งแต่การปิดสี่แยกเพื่อให้การจราจรเป็นอัมพาต ยึดรถเมล์ ล้อมรัฐสภา ทำลายทรัพย์สินสาธารณะ ไปจนถึงการปิดสนามบินเพื่อทำให้ผู้อื่น-ชาวต่างชาติ เดือดร้อนอย่างจงใจบัดนี้ ใครที่ยังเชื่อว่าลัทธิพันธมิตรชุมนุมแบบอหิงสาอันหมายความว่าไม่เบียดเบียนผู้อื่นนั้นคงจะปัญญาอ่อนเต็มที ใครที่ยังเห็นว่าลัทธิพันธมิตรเป็นการเมืองภาคประชาชนในระบอบประชาธิปไตยคงจะเป็นคนโง่ดักดาน และดังนั้นเพื่อชีวิตจะได้กลับสู่ความปกติ จึงควรหยุดให้ท้ายลัทธิพันธมิตรในทุกทาง…
เมธัส บัวชุม
อัสนี วสันต์ ในเพลง "ก็เคยสัญญา" เคยแหกปากตะโกนประโยคที่ว่า "เวลาเปลี่ยน ใจคนเปลี่ยน"  อันหมายถึงความรักที่แปรผันตามวันเวลาที่ผ่านพ้น   แม้ว่าจะสัญญากันไว้หนักแน่นก็ตาม ประโยคนี้ถูกตอกย้ำให้ฮือฮาอีกครั้งจากปาก แอ๊ด คาราบาว ผู้ซึ่งสวมบทนักร้อง นักดนตรี "เพื่อชีวิต"  วิพากษ์วิจารณ์เครื่องดื่มบำรุงกำลังที่โฆษณามอมเมาให้คนซื้อทั้งที่ไม่มีคุณค่าสารอาหารแต่ประการใด แต่ในเวลาต่อมา แอ๊ด คาราบาว กลับมาทำธุรกิจเครื่องดื่มบำรุงกำลัง "คาราบาวแดง" อย่างที่รู้กัน เมื่อมีคนถาม แอ๊ด คาราบาว บอกง่าย ๆ ว่า "เวลาเปลี่ยน ใจคนเปลี่ยน"
เมธัส บัวชุม
เพราะว่าในนามของความถูกต้อง จะทำผิดอย่างไรก็ได้ ดังนั้นม็อบพันธมิตร ฯ จึงพากันทำผิดร้อยแปดพันเก้าประการ การกระทำทั้งร้อยแปดพันเก้าประการนั้นแม้จะเลวร้ายอย่างไรก็ไม่สำคัญนักเพราะถูกฉาบเคลือบไว้ในนามของความถูกต้อง เช่นนี้เองที่เป็นเหตุนำไปสู่คือปัญหาความขัดแย้งยุ่งเหยิงและความรุนแรงในทุก ๆ ทาง การหลบอยู่หลังวาทกรรมประเภท “กู้ชาติ” “พิทักษ์สถาบัน” ฯลฯ การหลงว่าตนเองหรือกลุ่มตนเองเป็นฝ่ายถูก เป็นฝ่ายจงรักภักดี รักชาติ ทำถูกกฏหมาย ตีตราฝ่ายตรงข้ามเป็นฝ่ายผิด ขายชาติ ไม่จงรักภักดี ไม่เคารพกระบวนการยุติธรรม เลว ดังนั้นในนามของความถูกต้อง จำเป็นต้องกำจัดให้หายไปไม่ว่าจะใช้วิธีการใดก็ตาม