Skip to main content
บทความเรื่อง "แรงฤทธิ์ แต่อ่อนผล" ของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ในมติชนรายวันhttp://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01act01020352&sectionid=0130&day=2009-03-02 (วันที่ 02 มีนาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11314) มีหลายประโยค หลายวลี หลายคำที่อ่านแล้วต้องส่ายหัวด้วยความอิดหนาระอาใจกับอคติและภูมิปัญญาของเขา แต่มีอยู่ประโยคหนึ่งที่อ่านแล้วทำให้ผมสะดุดหยุดกึกในทันทีคือประโยคที่ว่า


"
ไม่ผิดอะไรที่จะรักทักษิณ แต่รักทักษิณและรักประชาธิปไตยพร้อมกันไม่ได้เพราะสองอย่างนี้ขัดแย้งกันเอง"


ประโยคนี้ของนิธิ เอียวศรีวงศ์ ทำให้ผมได้ข้อสรุปหนักแน่นชัดเจนว่า นิธิ เอียวศรีวงศ์ เพี้ยนไปแล้วจริง ๆ


ทันทีที่ประโยคนี้ผ่านเข้ามาทางสายตาสู่สมอง ผมเกิดคำถามมากมายที่อยากจะถามกลับไปว่า

"เราสามารถรักอภิสิทธิ์และรักประชาธิปไตยพร้อมกันได้หรือไม่ ?"

"เราสามารถรักการทำรัฐประหารและรักประชาธิปไตยพร้อมกันได้หรือไม่ ?"

"เราสามารถรักพลเอกเปรม ติณสูลานนท์และรักประชาธิปไตยพร้อมกันได้หรือไม่ ?"

"เราสามารถรักเจ้าและรักประชาธิปไตยพร้อมกันได้หรือไม่ ?"

"เราสามารถรักหมอประเวศ วะสี แอนด์เดอะแก๊งค์และรักประชาธิปไตยพร้อมกันได้หรือไม่ ?"

"เราสามารถรักนิธิ เอียวศรีวงศ์และรักประชาธิปไตยพร้อมกันได้หรือไม่ ?"

"นิธิ เอียวศรีวงศ์ กำลังปกป้องประชาธิปไตยอยู่หรือ ?"


นิธิ เอียวศรีวงศ์ ขึ้นต้นบทความของเขาด้วยคำถามที่ว่า "กลุ่มคนเสื้อแดงกำลังปกป้องประชาธิปไตยอยู่หรือ?" จากนั้นก็สาธยายไปเรื่อยๆ เปื่อยๆ หาข้อมูล ยกตัวอย่างการเคลื่อนไหวต่อต้านกดดันการจัดงาน Gay Pride ที่เชียงใหม่ของคนเสื้อแดงมาสนับสนุนคำตอบที่มีอยู่ในใจแล้วว่าคนเสื้อแดงนั้นไม่ได้ปกป้องประชาธิปไตย!

ทีนี้มาลองพยายามทำความเข้าใจกับประโยคสำคัญที่ว่า "ไม่ผิดอะไรที่จะรักทักษิณ แต่รักทักษิณและรักประชาธิปไตยพร้อมกันไม่ได้ เพราะสองอย่างนี้ขัดแย้งกันเอง"


นิธิ เอียวศรีวงศ์ บอกว่า "คุณทักษิณไม่ใช่ตัวแทนของประชาธิปไตย อย่างน้อยก็ไม่ใช่ในสายตาของคนจำนวนมากพอสมควร ตรงกันข้ามด้วยซ้ำ คุณทักษิณเป็นได้แต่เพียงตัวแทนของรูปแบบแต่ขาดเนื้อหาของประชาธิปไตย ภายใต้คุณทักษิณ รัฐไทยทำให้มีผู้เสียชีวิตนอกกระบวนการทางกฎหมายได้เกือบ 3,000 คน มีการอุ้มฆ่าอีกหลายร้อยโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐเอง สื่อซึ่งก็ไม่ค่อยมีสมรรถภาพอยู่แล้ว กลับถูกแทรกแซงอย่างหนัก ทั้งผ่านคำสั่งหรือคำเตือนโดยตรง ไปจนถึงการกำกับด้วยการถอนโฆษณา, การซื้อหุ้นควบรวมกิจการ และการข่มขู่คุกคามนักหนังสือพิมพ์ อีกทั้งวางนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อประโยชน์ทางธุรกิจของตนเองและพรรคพวก โยกย้ายและแต่งตั้งข้าราชการเพื่อสร้างฐานอำนาจถาวรให้แก่ตนเองฯลฯ"


เราสามารถยกตัวอย่าง "เนื้อหา" ที่ไม่เป็นประชาธิปไตยในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ได้หลายข้อกว่านี้มาก เช่น การฆ่ามุสลิมในมัสยิดกรือเซะ การทำให้คนตายกรณีตากใบ ฯลฯ แต่ในทางกลับกัน เราสามารถยกตัวอย่าง "เนื้อหา" ที่เป็นประชาธิปไตย(ที่กินได้)ของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตรได้มากกว่ามากเช่นเดียวกัน เช่น นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค, กองทุนหมู่บ้านละล้าน, การกำจัดผู้มีอิทธิพล ปัญหาก็คืออะไรคือเนื้อหาของประชาธิปไตยที่ นิธิ เอียวศรีวงศ์ หมายถึง?


นิธิ เอียวศรีวงศ์บอกว่า "ประชาธิปไตยของโลกยุคใหม่ไม่ได้จำกัดอยู่ที่กลไกในระบบการเมืองเท่านั้น แต่หมายถึงการเคลื่อนไหวและการจัดองค์กรของประชาชนทุกระดับเพื่อการต่อรอง และไม่ใช่การต่อรองทางการเมืองในระบบอย่างเดียว รวมถึงการต่อรองทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมด้วย"


นิยามเบื้องต้นเรื่องประชาธิปไตยของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ฟังดูเข้าท่าแต่เหมือนลอยอยู่ในอากาศ แล้วก็ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร หากนิธิ เอียวศรีวงศ์ ต้องการจะสื่อว่านโยบายสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ไม่ส่งเสริมกระทั่งขัดขวางเนื้อหาของประชาธิปไตยตามนิยามข้างต้น คำถามก็เกิดขึ้นว่ามีรัฐบาลใดบ้างที่สนับสนุนเนื้อหาประชาธิปไตย ?


ทีนี้เราลองพิจารณาสิ่งที่นิธิ เอียวศรีวงศ์ เขียนถึงอภิสิทธิ เวชชาชีวะ บ้าง เขาเคยเขียนว่า

"นายกรัฐมนตรีคนใหม่ต้องกล้าเผชิญกับแรงกดดันจากกองทัพ รวมทั้งแรงกดดันจากองค์กรอิสระอีกมากที่คณะรัฐประหารตั้งขึ้น อย่างอาจหาญและมีศักดิ์ศรีด้วย ดังที่คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้แสดงให้เห็นอย่างนุ่มนวลแต่สง่างามในครั้งนี้" (ความสง่างามของอภิสิทธิ, มติชนรายวัน,วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2550) 


เป็นความเพี้ยนในทางหลักการที่นิธิ เอียวศรีวงศ์ จะเลือกด่าเฉพาะเจาะจงที่อดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร

เป็นความเพี้ยนอันเกิดจากอคติและความมืดบอดที่ไม่เข้าใจเรื่องสัญลักษณ์และแรงดลใจของคนระดับรากหญ้า


จะว่าไป นิธิ เอียวศรีวงศ์ มีบทบาทในการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยน้อยมากกระทั่งไม่มีเลย

จะว่าไป นิธิ เอียวศรีวงศ์ ก็ไม่ได้ดีไปกว่าอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร ในเรื่องการส่งเสริมประชาธิปไตยที่กินได้และจับต้องได้จริง


ใครก็ได้ช่วยถามให้ทีว่านิธิ เอียวศรีวงศ์ กำลังปกป้องประชาธิปไตยอยู่หรือ?"


บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ท่ามกลางเสียงตะเบ็งเซ็งแซ่จากนักวิชาการสายพันธมิตร, สื่อสายพันธมิตร, 40 สว. ลากตั้งสายพันธมิตร, พรรคการเมืองสายพันธมิตร, นักสิทธิมนุษยชนสายพันธมิตร, คนกลางสายพันธมิตร, คนดีสายพันธมิตร, ตุลาการสายพันธมิตร และอะไรต่อมิอะไรสายพันธมิตรนั้น เราพอจะได้ยินได้อ่านอะไรที่แตกต่างสร้างสรรค์ เป็นถ้อยคำรื่นหูที่ได้ยินแล้วสบายใจอยู่บ้างแม้จะเป็นส่วนน้อยก็ตาม เสียงส่วนน้อยเหล่านี้ควรค่าแก่การจดจำตอกย้ำหรือเก็บไว้เป็นหลักฐานอ้างอิง เป็นเสียงแห่งความกล้าหาญที่ช่วยดึงรั้งไม่ให้สังคมเตลิดไปกับความหลงผิด เป็นเสียงแห่งเหตุผลและความถูกต้อง เชื่อว่าหลายคนคงผ่านหู ผ่านตามาแล้ว แต่ขอนำเสนอซ้ำอีกครั้งหนึ่ง 1.…
เมธัส บัวชุม
พวกกบโง่....เห็นนกกระยาง....เป็นนางฟ้า...สมน้ำหน้า....หลงบูชา....ดุจนางแถน...นางประแดะ.....แสร้งเมตตา...อย่างแกนๆฝูงกบแสน....ดีใจ....ได้นายดี......๚ะ๛                                                ๏..ตรังนิสิงเห...๚ะ๛( http://www.prachatai.com/webboard/wbtopic.php?id=733477 )========================================= ปฏิเสธไม่ได้ว่ากลุ่มพันธมิตรฯ…
เมธัส บัวชุม
ตายเป็นตาย เจ๊งเป็นเจ๊ง ละเลงเลือดแผ่นดินเดือด ถ่อยเถื่อน สะเทือนไหมเหล่าแกนนำ อำมหิต คงสะใจประเทศไทย ใกล้พังยับ นับวันรอพันธมิตร ป่วนเมือง ระส่ำสุดเตรียมอาวุธ รบกับใคร กระไรหนอกองทัพธรรม กำมีดพร้า ฆ่าให้พอทำเพื่อ "พ่อ" สนธิลิ้ม และจำลอง ละอองดาว ( http://www.prachatai.com/05web/th/home/comment.php?mod=mod_ptcms&ContentID=13977&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai ) พอฝุ่นควันจากเหตุการณ์สลายหายไป ภาพปรากฏก็เริ่มชัดเจนขึ้น ข้อเท็จจริงค่อย ๆ แสดงตัวออกมาทีละส่วน ๆ ก่อนจะกลายเป็นภาพรวมใหญ่ ทำให้การใส่ความและการโฆษณาชวนเชื่อของแกนนำพันธมิตรฯ…
เมธัส บัวชุม
นายแพทย์ประเวศ วะสี ผู้ซึ่งรู้จักกันโดยทั่วไปภายใต้โลโก้ “ราษฎรอาวุโส” เป็น “ผู้ใหญ่” ที่ใครต่อใครรู้จักกันดี เพราะคำพูดคำอ่านหรือแนวคิดของท่าน ตกเป็นข่าวพาดหัวอยู่เสมอทางหน้าหนังสือพิมพ์และได้รับการขานรับจากกลุ่มคนน้อยใหญ่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ นักเคลื่อนไหว นักกิจกรรม แม้กระทั่งข้าราชการ บทบาทของนายแพทย์ประเวศ วะสี ในหลาย ๆ วาระและโอกาส มีความสำคัญและมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมการเมืองไทยอย่างสูง จนคว้ารางวัลต่างๆ มามากมาย ไม่ว่าจะเป็นรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น บุคคลดีเด่นของชาติ รางวัลแมกไซไซ รางวัลจากยูเนสโก เหรียญเชิดชูเกียรติจาก WHO เป็นที่ยอมรับโดยไม่มีข้อกังขาว่า…
เมธัส บัวชุม
นอกจากจะรู้จักใช้ “สี” ให้เป็นประโยชน์แล้ว ลัทธิพันธมิตรยังมีความสามารถพิเศษในการ ”เปลี่ยนสี” ให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป หรือ “เลือกสี” ให้เหมาะกับกาละเทศะ เพราะจะใช้ “สีเดียว” ทุกเวลาและสถานที่คงไม่ได้ การรู้จัก “เปลี่ยนสี” นี้เป็นการปรับตัวเช่นเดียวกับที่เราได้เห็นในสัตว์หลายชนิดที่สามารถสร้างสีให้เกิดความกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมหรือสื่อสารกับสัตว์ตัวอื่นๆ ไม่ว่าสัตว์นั้นจะเป็นผู้ล่าหรือผู้ถูกล่า หรือจะเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีหรือไม่มีกระดูกสันหลังต่างก็มีความสามารถในการเปลี่ยนสีด้วยกันทั้งนั้น
เมธัส บัวชุม
ตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน ปี 49 กระทั่งปัจจุบัน  อันธพาล-ลัทธิพันธมิตร ได้ผลิต ตอกย้ำนำเสนอ วาทกรรมทางการเมืองต่าง ๆ จำนวนมาก ผ่านเครือข่ายการสื่อสารที่กว้างขวางและร่วมด้วยช่วยกันกับองค์กรอันหลากหลายไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา บุคคลที่มีชื่อเสียง สว. ลากตั้ง ดารา ฯลฯ  ทั้งที่เป็นวาทกรรมเพื่อมุ่งทำลายฝ่ายตรงข้ามและใช้ในการยกยอปอปั้นลัทธิตนเอง วาทกรรมบางอย่าง ลัทธิพันธมิตรประดิษฐ์ขึ้นโดยตรงสำหรับการกรรโชกข่มขู่รัฐบาลและสังคม แต่บางวาทกรรมไม่ได้คิดขึ้นเองหากแต่นำมาจากประธานองคมนตรี นักวิชาการ ราษฎรอาวุโส สื่อมวลชน และจากบรรดาบุคคลที่เทิดทูนระบอบอมาตยาธิปไตยไว้เหนือหัว…
เมธัส บัวชุม
กลุ่มอันธพาลการเมือง หรือแก๊งมาเฟียเป็นปัญหาเสมอมาสำหรับการสถาปนากติกาการปกครองและระเบียบการเมือง ทั้งนี้เพราะเป็นกลุ่มที่กฎหมายและการจัดระเบียบทางสังคมไม่สามารถควบคุมจัดการได้ คุกคามต่อสวัสดิภาพความเป็นอยู่ปกติของคนโดยทั่วไปเพราะกลุ่มอันธพาลการเมือง หรือแก๊งมาเฟียดำรงชีพอยู่ได้ก็ด้วยการขู่เข็ญกรรโชกกระทั่งใช้กำลัง หรือใช้กฎหมู่เพื่อให้มาในสิ่งที่ตนเองต้องการ นอกจากจะไม่ผลิตอะไรออกมาแล้ว กลุ่มอันธพาลการเมืองยังคอยรีดไถเงินจากน้ำพักน้ำแรงของคนอื่น ซึ่งก็เป็นเช่นเดียวกับการข่มขู่รีดไถหรือล็อบบี้อย่างชาญฉลาดของกลุ่มอันธพาลการเมืองที่เรียกตนเองว่าพันธมิตรอย่างสมบูรณ์แบบที่กลุ่มพันธมิตร…
เมธัส บัวชุม
ไม่ต้องเป็นผู้ฉลาดหลังเหตุการณ์เราก็จินตนาการได้ไม่ยากว่าการชุมนุมก่อน 19 กันยายน 2549 ของกลุ่มพันธมิตร ฯ นั้นเป็นการออกบัตรเชิญให้ทหารทำรัฐประหารแม้ว่าบางคนอาจคิดว่าเป็นไปไม่ได้ การชุมนุมของพันธมิตร ฯ หลังพรรคพลังประชาชนได้เป็นรัฐบาลก็เช่นเดียวกัน ไป ๆ มา ๆ ก็เหมือนเดิมคือการออกบัตรเชิญให้ทหารล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอีกคำรบหนึ่ง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลพลังประชาชนได้บทเรียนมาแล้วก่อนหน้านี้ และได้รู้ว่าความผิดพลาดในรายละเอียดเพียงนิดเดียวอาจเป็นเงื่อนไขนำไปสู่การยึดอำนาจรอบสองได้ รัฐบาลจึงระมัดระวังอย่างยิ่งในการจัดการกับม็อบพันธมิตร ฯ แต่โอกาสที่จะเกิดการรัฐประหารขึ้นก็ใช่ว่าจะไม่มี…
เมธัส บัวชุม
บทความที่แล้วพยายามจะให้ความหมายของ “กวีเกรียน” ว่ามีลักษณะอย่างไร แล้วเมื่อลองมาวิเคราะห์ พิจารณา สามารถสรุปรวบยอดได้ว่า กวีเกรียน นั้นเดินทางล้าหลัง อยู่ถึง 3 ก้าวด้วยกัน ก้าวที่ 1 คือ ขาดการทบทวนอดีต ไม่สามารถนำอดีตมาเป็นบทเรียนได้ ไม่สามารถสกัดเก็บซับเอาข้อดี ข้อเสียในอดีตมาเป็นฐานคิดในการวิเคราะห์สังคมการเมือง จะว่าไปบทเรียนในอดีตของสังคมไทยก็มีให้ศึกษาเรียนรู้อยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลง 2475, การต่อสู้ของเสรีไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง การต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการในอดีตหรือกระทั่งการต่อสู้อยู่ในป่าของพคท.ฯลฯ…
เมธัส บัวชุม
ตอนแรกตั้งใจจะตั้งชื่อบทความว่า “กวีพันธมิตร ฯ” แต่เห็นชื่อที่โดนใจวัยรุ่นกว่าในเวบบอร์ด “ฟ้าเดียวกัน” ว่า “กวีเกรียน” โดยคุณ Homo erectus (ซึ่งเคยเข้ามาวิพากษ์เชิงด่าผมอยู่เป็นประจำจนเลิกไปเอง) จึงตัดสินใจเปลี่ยนชื่อเพื่อให้เข้ากับสมัยนิยม “กวีเกรียน” ในความหมายของผมคือกวีที่ล้าหลัง คิดอ่านไร้เดียงสาเหมือนเด็กที่อ่อนต่อโลก วิเคราะห์สังคมไม่ออกเพราะไม่มีหลักคิดที่มั่นคง อ่านการเมืองไม่เป็นเพราะมัวแต่คิดว่านักการเมืองชั่วร้ายเลวทรามในขณะที่ประชาชนและข้าราชการ และพวกอภิสิทธิชนนั้นมีคุณธรรม จริยธรรม หรืออย่างน้อยก็มีมากกว่านักการเมือง…
เมธัส บัวชุม
-1- พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ตัวละครการเมืองที่ไม่ยอมลงจากเวที กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง "ภาษาไทย พ.ศ.พอเพียง" เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ วันที่ 26 กรกฎาคม ที่จัดขึ้นโดย ราชบัณฑิตยสถาน มูลนิธิรัฐบุรุษฯ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่า "ภาษาไทยทำให้คนรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ สื่อสารที่ดีต่อกัน ทำให้คนเข้าใจกัน ทำให้คนรักกัน โกรธ หรือเกลียดกัน ทำลายกันก็ได้ พวกเราคนไทยจึงต้องตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย ต้องไม่ให้ขาดตกบกพร่อง ไม่ฟุ้งเฟื้อจนเกินไป ต้องรักษาและพัฒนาให้ลูกหลานอย่างพอเหมาะ" (มติชน, 27 ก.ค. 51, หน้า 13) จากคำกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่าพลเอกเปรม ติณสูลานนท์…
เมธัส บัวชุม
ดา ตอร์ปิโด เขย่ารากฐานความศรัทธาของคนไทยอีกคำรบหนึ่งด้วยการพูดปราศรัยต่อหน้าสาธารณะที่ท้องสนามหลวงเมื่อคืนวันที่ 18 กรกฎาคม อย่างตรงไปตรงมา และไม่เกรงกลัวหน้าอินทร์หน้าพรหม จากข่าวที่ปรากฏออกมาตามสื่อแขนงต่าง ๆ บอกให้รู้ว่าการปราศรัยของเธอนั้นเกี่ยวพันกับสถาบันเบื้องสูง ต้องยอมรับว่า ดา ตอปิโดร์ เป็นคนกล้าและแกร่งอย่างที่หลายคนทำไม่ได้ในแง่ที่ว่ากล้าพูด กล้าทำในสิ่งที่ตนเองคิดโดยไม่ต้องพะวงว่าจะเกิดผลร้ายตามมา ทราบจากที่เป็นข่าว สนธิ ลิ้มทองกุล นำคำพูดของ ดา ตอร์ปิโด มาเล่าซ้ำออกอากาศผ่าน ASTV ไปทั่วประเทศ คำปราศรัยของดา ตอร์ปิโด…