Skip to main content

-1-

ปกติแล้ว ผมจะไม่หยิบนิตยสาร “เนชั่นสุดสัปดาห์” ขึ้นมาเปิดดูเพราะไม่คิดว่ามีคอลัมน์อะไรที่ดึงดูดใจเพียงพอ นอกจากก่อนหน้านี้ที่พลิกเปิดไปดู “เรื่องสั้น” เพื่อตรวจดูว่าเรื่องสั้นของตัวเองได้รับการพิจารณาหรือเปล่า แต่ตอนนี้ผมหมดปัญญาและพลังที่จะเขียนเรื่องสั้นแล้ว  ดังนั้นเวลาหยุดดูที่แผงหนังสือผมเพียงแต่กวาดสายตาดูนิตยสารรายสัปดาห์ยี่ห้อนี้เพียงผ่าน ๆ เท่านั้น

แต่ “เนชั่นสุดสัปดาห์” ล่าสุดที่หน้าปกเป็นรูป “ธีรยุทธ  บุญมี” นักคิดวิธีสร้างข่าวให้ตนเองนั้นสะกดให้ต้องหยิบขึ้นมาเปิดดู ที่น่าสนใจไม่ใช่รูป “ธีรยุทธ  บุญมี” แต่เป็น “คำ” ที่พาดผ่านหน้าปกซึ่งเขียนว่า “ตุลาตอแหล ?”

พาดหัว “แรง” แบบนี้เป็นใครก็คงต้องสะดุดหยุดดู ผมพลิกไปอ่านโดยระทึกในดวงหทัยพลัน จึงได้ทราบว่าที่แท้แล้วคำนี้ได้มาจากบทสัมภาษณ์ของ “จรัญ ภักดีธนากุล”  ขอโทษ เขียนผิด ไม่ใช่ “จรัญ ภักดีธนากุล” แต่เป็น “จรัล ดิษฐาอภิชัย” ต่างหาก (ชื่อ “จรัล” จำนวนมากที่ขยันเป็นข่าวช่างชวนให้สับสนจริง)

บทสัมภาษณ์ของ “จรัล ดิษฐาอภิชัย” ตีแสกหน้า “ธีรยุทธ  บุญมี” ตรง ๆ โดยไม่ต้องอ้อมค้อมให้น่ารำคาญ “จรัล  ดิษฐาอภิชัย” อ้างอิงไปถึง “ลาว คำหอม” นักคิดนักเขียนผู้ซึ่งไม่เห็นด้วยกับการทำอะไรที่ถอยหลังอย่างเช่นเรื่องการใช้กฎหมาย “มาตรา 7”   อันโด่งดังที่เปิดโอกาสให้คนนอกเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีได้หรือที่เรียกว่าเป็นนายกพระราชทานและ “ธีรยุทธ  บุญมี” ก็เป็นคนหนึ่งที่สนับสนุนมาตรา 7 อย่างแข็งขัน   

พอพูดถึง “ลาว คำหอม” ก็ให้รู้สึกว่านักคิดนักเขียนที่มีความคิดทางการเมืองก้าวหน้าแบบ “ลาว  คำหอม” นั้นหายากเต็มทีในสมัยปัจจุบันซึ่งถ้าไม่หมกมุ่นกับปัญหา “ตัวบุคคล”  อย่างอดีตนายก ฯ “ทักษิณ ชินวัตร”  จนคิดอะไรไม่ออก มองอะไรไม่เห็นก็เอาการเอางานกับ “เศรษฐกิจพอเพียง” “คุณธรรม จริยธรรม” “บริโภคนิยม”  “ทุนนิยมสามานย์”

ผมเคยบ่นกับบรรณาธิการใหญ่ท่านหนึ่งว่าทำไมนักเขียน (บางคน) จึงมีความคิดที่จะขับไล่อดีตนายก ฯ ทักษิณ  ชินวัตร แต่ขาดสติและปัญญาที่จะต่อต้านรัฐประหาร (ผมจำไม่ได้แล้วล่ะว่าบรรณาธิการใหญ่ท่านนั้นตอบว่าอะไร)

ที่ “จรัล ดิษฐาอภิชัย” อ้าง “ลาว คำหอม” นั้นก็เพราะ “ลาว  คำหอม” เป็นบุคคลที่ “ธีรยุทธ  บุญมี” เคารพนับถือ

-2-

ผมเคยสงสัยหลายครั้งว่า “ธีรยุทธ  บุญมี”  เคยเข้าไปอยู่ใน “ป่า” จริงหรือ แน่นอนใคร ๆ ก็รู้ว่าเขาเคย “เข้าป่า” หลายปี ที่ผมสงสัยจริง ๆ ก็คือ “ป่า” ให้กำเนิดหรือตอกย้ำหรือสร้างความคิดทางการเมืองแบบใดกับกลุ่มคนที่ “เข้าป่า” (ผมเขียนถึง “เข้าป่า” นะครับ ไม่ใช่ “เข้าป๋า” ตัวเองชักจะสับสนเหมือนกัน)

แต่ละครั้ง แต่ละหนที่ “ธีรยุทธ  บุญมี”  นำเสนอความคิดสู่สาธารณะ สร้างความผิดหวังอย่างรุนแรงให้กับผมและเชื่อว่าหลายคนก็คงผิดหวังเหมือนกัน อันที่จริงบทบาทที่ดูดีที่สุดของ “ธีรยุทธ  บุญมี” ก็คือการเป็นจิตรกรและแปลวรรณกรรม ไม่ใช่ปัญญาชนสาธารณะขาประจำที่ออกมาสร้างข่าวด้วยการวิจารณ์รัฐบาลหรือนำเสนอความคิดแบบ “ชนชั้นนำนิยม” ครั้งแล้วครั้งเล่า ล่าสุดก็คือเรื่อง “ตุลาการภิวัตน์พลังขับเคลื่อนใหม่ในสังคมไทย” ซึ่งอ่านแล้วอยากจะอาเจียน

ธีรยุทธ บุญมี  บอกว่า “กระบวนการตุลาการภิวัตน์มองอย่างกว้างที่สุดก็คือ กระบวนการที่อำนาจตุลาการปรับตัวเองอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยอัตวินิจฉัยของตัวเองเพื่อให้ตัวเองปฏิบัติภาระหน้าที่รองรับการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ ของยุคสมัยได้ดี ไม่ใช่เป็นการปรับตัวภายใต้การกำกับของอำนาจอื่นเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ อย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจง แต่ต้องเป็นการปรับตัวเพื่อภารกิจของยุคสมัยอย่างต่อเนื่อง”

แค่คำว่า “อัตวินิจฉัยของตัวเอง”  ก็มีปัญหาแล้วละครับ ไม่รู้มันแปลว่าอะไร แล้วประโยคนี้ยิ่งเป็นปัญหาหนัก  “ไม่ใช่เป็นการปรับตัวภายใต้การกำกับของอำนาจอื่นเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ อย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจง แต่ต้องเป็นการปรับตัวเพื่อภารกิจของยุคสมัยอย่างต่อเนื่อง” ใครที่มีความรู้ในการตีความภาษาช่วยอธิบายหน่อยเถิดว่ามันมีความหมายว่าอะไร “ภารกิจของยุคสมัย” ที่ฟังดูโก้เก๋นั้นหมายถึงอะไร?

“ธีรยุทธ  บุญมี” อธิบายต่อไปว่าด้านหลัก ๆ ของตุลาการภิวัฒน์มีอะไรบ้าง มีข้อหนึ่งที่เขาบอกว่า

“การรักษาหลักความเสมอภาคเท่าเทียมกันให้กับประชาชน โดยเฉพาะในเรื่องความเสมอภาคของคนกลุ่มน้อย ความเสมอภาคทางเพศ สิทธิสตรี สิทธิเด็ก คนชรา การดูแลความเสมอภาคในโอกาสการทำงานของสตรี คนกลุ่มน้อย”

อ่านแล้วอยากจะอาเจียนจริง ๆ ผมอยากจะถามคนอ่านว่า คนที่มีความคิดแบบ “ชนชั้นนำนิยม” ที่ยกอภิสิทธิ์การตัดสินใจต่าง ๆ ให้อยู่ในวิจารณญาณของคนบางกลุ่มซึ่งในที่นี้คือตุลาการนั้นจะเชื่อเรื่องความเท่าเทียม ? ช่างน่าสงสัยว่าความเท่าเทียมที่ “ธีรยุทธ บุญมี”  พูดถึงนั้น คงจะเป็นความเท่าเทียม “ภายในชนชั้น” คือระหว่าง “พวกไพร่ด้วยกันเอง” มากกว่าจะเป็นความเท่าเทียมระหว่างคนที่เป็นตุลาการกับคนที่เป็นชาวนาหรือกรรมกร

“ธีรยุทธ  บุญมี” ยังด้นต่อไปว่า “ถ้าพิจารณาเหตุการณ์ในประเทศไทยที่ผ่านมา มีคดีความที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของตุลาการภิวัตน์ไม่มากนัก อาทิเช่น การตัดสินคดีการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ปตท. ซึ่งขัดแย้งกับองค์กรผู้บริโภค การตัดสินคดียุคพรรคไทยรักไทย ในข้อหาสร้างความเสียหายให้กับการปกครองระบอบประชาธิปไตย และคดีอื่นๆ อีกไม่มากนัก จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจบทบาทของตุลาการภิวัตน์ให้ชัดเจน เพื่อสนับสนุนให้ตุลาการภิวัตน์ได้มีบทบาทที่เป็นคุณกับประชาชนและประเทศต่อไป”

ชัดนะครับ “ธีรยุทธ บุญมี” บอกว่าการยุบพรรคไทยรักไทยเป็นตุลาการภิวัฒน์ ซึ่งที่จริงเหตุการณ์นี้นำความเสื่อมมาสู่สถาบันตุลาการมากกว่าอะไรอื่น สถาบันตุลาการถูกด่าทั้งในที่ลับและที่แจ้ง ประชาชนสูญศรัทธา หนำซ้ำยังทำอะไรที่ขัดกับคำตัดสินนั่นคือเลือกไทยรักไทยในคราบของพลังประชาชนกลับเข้ามาอีก

ยิ่งอ่านบทความของ “ธีรยุทธ  บุญมี” แล้วก็ยิ่งรู้สึกสลดอดสู แล้วพอได้เห็นพาดหัวของเนชั่นสุดสัปดาห์ก็รู้สึกดีขึ้นมาหน่อย แต่อยากจะแย้งเนชั่นสุดสัปดาห์ว่า

“ตุลาไม่ได้ตอแหลหรอก แต่มันเป็นปัญหาตัวของบุคคลเสียมากกว่า”
                                            


 

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
บทความเรื่อง "แรงฤทธิ์ แต่อ่อนผล" ของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ในมติชนรายวันhttp://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01act01020352&sectionid=0130&day=2009-03-02 (วันที่ 02 มีนาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11314) มีหลายประโยค หลายวลี หลายคำที่อ่านแล้วต้องส่ายหัวด้วยความอิดหนาระอาใจกับอคติและภูมิปัญญาของเขา แต่มีอยู่ประโยคหนึ่งที่อ่านแล้วทำให้ผมสะดุดหยุดกึกในทันทีคือประโยคที่ว่า "ไม่ผิดอะไรที่จะรักทักษิณ แต่รักทักษิณและรักประชาธิปไตยพร้อมกันไม่ได้เพราะสองอย่างนี้ขัดแย้งกันเอง"
เมธัส บัวชุม
ผมได้มีโอกาสดูหนังเรื่อง "ผู้หญิง 5 บาป" เพราะเคเบิลทีวีเอามาฉายซ้ำแล้วซ้ำอีก อันที่จริงหนังเกรดต่ำแบบนี้ไม่เคยอยู่ในความคิดอยากจะดูเลย แต่ผมก็เหมือนคนอื่น ๆ คือฉากรักร้อน ๆ ดิบ ๆ ที่ปรากฏอยู่มากมายสะกดให้ต้องหยุดดู หนังเรื่องนี้เหมือนหนังโป๊ะที่ดูแล้ว ถึงจุดออกัสซั่มแล้ว ไม่ควรจะมีอะไรให้พูดถึงอีกหรือหากอยากจะพูดถึงก็คงเป็นเรื่องความไม่เอาไหนของคนทำหนังที่อุตส่าห์ขนดาราและนักแสดงรับเชิญมาเพียบ แต่ทำได้เพียงแค่หลอกขายฉาก "เอากัน" เท่านั้น โดยให้ผู้หญิง 5 คนผลัดกันมาเล่าประสบการณ์ทางเพศที่โลดโผนโจนทะยาน (มีอะไรกับลูกศิษย์ตัวเอง โดนยามข่มขืน ได้กับวินมอไซค์)
เมธัส บัวชุม
31 มกราคมที่ผ่านมา ทีมงานความจริงวันนี้ สร้างปรากฏการณ์ "แดงทั้งแผ่นดิน- Red in The Land" ที่ท้องสนามหลวงด้วยประชาชนหลายหมื่น คนรวยคนจน นักวิชาการหัวก้าวหน้า นักปฏิวัติ คนรุ่นใหม่รุ่นเก่ามากันพร้อมหน้า บรรยากาศฮึกเหิมคึกคัก ส่งสัญญาณความไม่พอใจที่ล้นอกไปยังเหล่าศักดินา เขย่าขวัญพวกอมาตยาธิปไตยให้หยุดสำเหนียกให้มากก่อนจะกระทำการใด อันที่จริงการสำแดงพลังที่รัชมังคลาภิเษกเมื่อวันที่ 1 พ.ย.51 ที่ประชาชนเข้าร่วมงานอย่างอุ่นหนาฝาคั่งนั้นน่าพรั่นพรึงและเป็นที่ประจักษ์ชัดอยู่แล้วว่าชาว “แดง” พร้อมชนกับซากเดนของระบอบศักดินาเพียงขอให้มีเงื่อนไขที่เอื้อหรือสถานการณ์สุกงอมพอเท่านั้น…
เมธัส บัวชุม
  ผมชอบดูและเล่นฟุตบอลแม้ว่าจะเล่นไม่ดีเลยก็ตาม  มันเป็นความบันเทิงและกีฬาที่ไม่ต้องลงทุนอะไรมาก ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเหมือนเข้าฟิตเนส  แต่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันผมไม่เคยชอบดูฟุตบอลไทยเลย อาจจะเปิดโทรทัศน์ไปเจอโดยบังเอิญ หยุดดูสักครึ่งนาที พอได้ยินเสียงพากย์ของนักพากย์กีฬาช่อง 7 ซึ่งไม่พากย์ไปตามเกมกีฬา หากแต่จ้องจะเข้าข้างทีมไทยท่าเดียวทำให้เสียอารมณ์จนต้องรีบเปลี่ยนช่องยิ่งเมื่อได้เห็นภาพข่าวนักฟุตบอลไทย แสดงอาการกักขฬะมีเรื่องวิวาทกับนักเตะต่างชาติอยู่บ่อย ๆ ด้วยแล้ว ผมยิ่งรู้สึกสมน้ำหน้า รู้สึกสมน้ำหน้ามากขึ้นเมื่อนักพากย์กีฬา…
เมธัส บัวชุม
ข่าวการตัดสินจำคุกชาวต่างชาติ “แฮร์รี่ นิโคไลเดส” ชาวออสเตรเลีย ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นนอกจากจะน่าอนาถใจไทยแลนด์แล้ว ยังสร้างแรงสะเทือนต่อสิ่งที่เรียกว่า “เสรีภาพ” อยู่ไม่น้อยผมเคยคิดว่าไทยเป็นประเทศที่มี “เสรีภาพ” มากพอสมควร ถึงตอนนี้ก็ยังคิดเช่นนั้นอยู่ เพียงแต่ว่า “เสรีภาพ” ในไทยนั้นมี “เพดาน” กั้น มี “ขีด” ที่ข้ามไปไม่ได้ เราไม่อาจใช้เสรีภาพไปวิพากษ์วิจารณ์บางคนหรือบางองค์กรหรือเข้าไปตรวจสอบความโปร่งใสได้ เช่น องคมนตรี ศาล กองทัพ เสรีภาพที่เรามีอยู่จึงเป็น “เสรีภาพแบบพอเพียง”
เมธัส บัวชุม
การเมืองหลังการเข้ามาของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร คือการแข่งขันกันนำเสนอด้านนโยบายที่ตอบสนองความต้องการสิ่งอันเป็นปัจจัยพื้นฐานของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนระดับรากหญ้าซึ่งถูกละเลยมาตลอด ผลงานของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร ผู้ยิ่งยงและพรรคไทยรักไทยที่ได้ทำไว้ในเรื่องการกำหนดนโยบายสำหรับคนยากคนจน และผลักดันสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมนั้นประสบความสำเร็จอย่างสูงกระทั่งใครต่อใครพรรคประชาธิปัตย์ปากว่าตาขยิบลอกมาหน้าตาเฉย แม้แต่พรรคภูมิใจของเนวิน ชิดชอบที่เพิ่งเปิดตัวไปก็ชูเรื่องประชานิยมเป็นม็อตโตของพรรค
เมธัส บัวชุม
-1-เมื่อกลุ่มก่อการร้ายพันธมิตร ฯ แยกย้ายสลายตัว เดินลงจากเวทีหลังจากสร้างความยับเยินสาธารณะจนสาแก่ใจ แล้วส่งพรรคประชาธิปัตย์วิ่งราวเข้าไปเป็นฝ่ายรัฐบาลโดยผนวกรวมกลุ่มงูเห่าของพวกเนวิน ชิดชอบ เข้าไปด้วยแล้ว การเมืองก็หมดสีสันลงอย่างมากเหมือนกับละครน้ำเน่าที่ตัวอิจฉาหายไปจากจอ ยอมรับนะครับ ว่ากลุ่มก่อการร้ายพันธมิตรที่เป็นม็อบมีเส้นนั้นดึงดูดกระแสความสนใจการเมืองขึ้นไปจนถึงจุดสูงสุด แม้แต่คนที่ร้อยวันพันปีไม่เคยใส่ใจเรื่องการเมืองเลยนั้นก็หันไปใส่เสื้อเหลือง เสื้อแดงกับเขาด้วย บางคนใส่ได้ทั้งเสื้อแดง เสื้อเหลืองแล้วแต่ว่ากระแสความนิยมของฝ่ายใดจะมาแรงกว่า
เมธัส บัวชุม
ชัยชนะที่ได้มาด้วยการฉ้อฉลของพรรคประชาธิปัตย์ แม้จะมีผลลัพธ์ออกมาเป็นรูปธรรมด้วยการจัดตั้งรัฐบาลสมความมุ่งมาดปรารถนาที่รอคอยมาเกือบสิบปี แต่ก็ด่างพร้อยอย่างยิ่ง ไม่มีความสง่างามแม้แต่นิดเดียว ล่อนจ้อนน่าละอาย ผิดกติกามารยาทรวมไปถึงผิดกฏหมาย กระทั่งก่อให้เกิดความระอาเกลียดชัง บทบาทพฤติกรรมของพรรคประชาธิปัตย์ที่ก่อให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกข้างต้น ทำให้หลายคนตั้งฉายา สร้างวาทกรรมในการใช้เรียกขานพรรคประชาธิปัตย์ไปต่าง ๆ  นานาซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นไปในแง่ลบฉายาที่ 1 "รัฐบาลต่างตอบแทน" ตอบแทนกระทรวงกลาโหมให้กองทัพที่ยืนหยัดช่วยเหลือทั้งทางตรงทางอ้อมแก่พรรคประชาธิปัตย์มาโดยตลอด…
เมธัส บัวชุม
  เป็นการพังทลายลงของสถาบันตุลาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของความน่าเชื่อถือ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญพิพากษายุบพรรคการเมืองซีกรัฐบาลรวดเดียว 3 พรรค อย่างรวบรัดตัดความ เร่งร้อนลนลานและผิด ๆ ถูก ๆ นักวิชาการผู้เคารพในหลักการ และคอการเมืองทั้งหลายพากันวิพากษ์วิจารณ์กันขรมถึงสิ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญได้ทำลงไป เริ่มตั้งแต่ประเด็นเรื่องคุณสมบัติของตุลาการผู้เอาตัวรอดด้วยการท่องคาถาคุณธรรม จริยธรรม เป็นนิจสิน อย่างนายจรัล ภักดีธนากุล ไปจนถึงการย้ายสถานที่พิจารณาตัดสินคดีอย่างปุบปับ รวมไปถึงการนำทหารป่าหวายเข้ามาอารักขาตุลาการ แทนที่จะหยุดยั้งเหล่ามารพันธมิตร บางคนต่อรองไว้ว่าร้อยนึงเอาบาทเดียว…
เมธัส บัวชุม
ไม่กี่วันที่ผ่านมาเราคงได้เห็นกันแล้วว่าลัทธิพันธมิตรสามารถทำอะไรได้บ้าง ลัทธิพันธมิตรทำอะไรก็ได้ทั้งนั้นถ้าอยากทำ ตั้งแต่การปิดสี่แยกเพื่อให้การจราจรเป็นอัมพาต ยึดรถเมล์ ล้อมรัฐสภา ทำลายทรัพย์สินสาธารณะ ไปจนถึงการปิดสนามบินเพื่อทำให้ผู้อื่น-ชาวต่างชาติ เดือดร้อนอย่างจงใจบัดนี้ ใครที่ยังเชื่อว่าลัทธิพันธมิตรชุมนุมแบบอหิงสาอันหมายความว่าไม่เบียดเบียนผู้อื่นนั้นคงจะปัญญาอ่อนเต็มที ใครที่ยังเห็นว่าลัทธิพันธมิตรเป็นการเมืองภาคประชาชนในระบอบประชาธิปไตยคงจะเป็นคนโง่ดักดาน และดังนั้นเพื่อชีวิตจะได้กลับสู่ความปกติ จึงควรหยุดให้ท้ายลัทธิพันธมิตรในทุกทาง…
เมธัส บัวชุม
อัสนี วสันต์ ในเพลง "ก็เคยสัญญา" เคยแหกปากตะโกนประโยคที่ว่า "เวลาเปลี่ยน ใจคนเปลี่ยน"  อันหมายถึงความรักที่แปรผันตามวันเวลาที่ผ่านพ้น   แม้ว่าจะสัญญากันไว้หนักแน่นก็ตาม ประโยคนี้ถูกตอกย้ำให้ฮือฮาอีกครั้งจากปาก แอ๊ด คาราบาว ผู้ซึ่งสวมบทนักร้อง นักดนตรี "เพื่อชีวิต"  วิพากษ์วิจารณ์เครื่องดื่มบำรุงกำลังที่โฆษณามอมเมาให้คนซื้อทั้งที่ไม่มีคุณค่าสารอาหารแต่ประการใด แต่ในเวลาต่อมา แอ๊ด คาราบาว กลับมาทำธุรกิจเครื่องดื่มบำรุงกำลัง "คาราบาวแดง" อย่างที่รู้กัน เมื่อมีคนถาม แอ๊ด คาราบาว บอกง่าย ๆ ว่า "เวลาเปลี่ยน ใจคนเปลี่ยน"
เมธัส บัวชุม
เพราะว่าในนามของความถูกต้อง จะทำผิดอย่างไรก็ได้ ดังนั้นม็อบพันธมิตร ฯ จึงพากันทำผิดร้อยแปดพันเก้าประการ การกระทำทั้งร้อยแปดพันเก้าประการนั้นแม้จะเลวร้ายอย่างไรก็ไม่สำคัญนักเพราะถูกฉาบเคลือบไว้ในนามของความถูกต้อง เช่นนี้เองที่เป็นเหตุนำไปสู่คือปัญหาความขัดแย้งยุ่งเหยิงและความรุนแรงในทุก ๆ ทาง การหลบอยู่หลังวาทกรรมประเภท “กู้ชาติ” “พิทักษ์สถาบัน” ฯลฯ การหลงว่าตนเองหรือกลุ่มตนเองเป็นฝ่ายถูก เป็นฝ่ายจงรักภักดี รักชาติ ทำถูกกฏหมาย ตีตราฝ่ายตรงข้ามเป็นฝ่ายผิด ขายชาติ ไม่จงรักภักดี ไม่เคารพกระบวนการยุติธรรม เลว ดังนั้นในนามของความถูกต้อง จำเป็นต้องกำจัดให้หายไปไม่ว่าจะใช้วิธีการใดก็ตาม