Skip to main content

-1-

ปกติแล้ว ผมจะไม่หยิบนิตยสาร “เนชั่นสุดสัปดาห์” ขึ้นมาเปิดดูเพราะไม่คิดว่ามีคอลัมน์อะไรที่ดึงดูดใจเพียงพอ นอกจากก่อนหน้านี้ที่พลิกเปิดไปดู “เรื่องสั้น” เพื่อตรวจดูว่าเรื่องสั้นของตัวเองได้รับการพิจารณาหรือเปล่า แต่ตอนนี้ผมหมดปัญญาและพลังที่จะเขียนเรื่องสั้นแล้ว  ดังนั้นเวลาหยุดดูที่แผงหนังสือผมเพียงแต่กวาดสายตาดูนิตยสารรายสัปดาห์ยี่ห้อนี้เพียงผ่าน ๆ เท่านั้น

แต่ “เนชั่นสุดสัปดาห์” ล่าสุดที่หน้าปกเป็นรูป “ธีรยุทธ  บุญมี” นักคิดวิธีสร้างข่าวให้ตนเองนั้นสะกดให้ต้องหยิบขึ้นมาเปิดดู ที่น่าสนใจไม่ใช่รูป “ธีรยุทธ  บุญมี” แต่เป็น “คำ” ที่พาดผ่านหน้าปกซึ่งเขียนว่า “ตุลาตอแหล ?”

พาดหัว “แรง” แบบนี้เป็นใครก็คงต้องสะดุดหยุดดู ผมพลิกไปอ่านโดยระทึกในดวงหทัยพลัน จึงได้ทราบว่าที่แท้แล้วคำนี้ได้มาจากบทสัมภาษณ์ของ “จรัญ ภักดีธนากุล”  ขอโทษ เขียนผิด ไม่ใช่ “จรัญ ภักดีธนากุล” แต่เป็น “จรัล ดิษฐาอภิชัย” ต่างหาก (ชื่อ “จรัล” จำนวนมากที่ขยันเป็นข่าวช่างชวนให้สับสนจริง)

บทสัมภาษณ์ของ “จรัล ดิษฐาอภิชัย” ตีแสกหน้า “ธีรยุทธ  บุญมี” ตรง ๆ โดยไม่ต้องอ้อมค้อมให้น่ารำคาญ “จรัล  ดิษฐาอภิชัย” อ้างอิงไปถึง “ลาว คำหอม” นักคิดนักเขียนผู้ซึ่งไม่เห็นด้วยกับการทำอะไรที่ถอยหลังอย่างเช่นเรื่องการใช้กฎหมาย “มาตรา 7”   อันโด่งดังที่เปิดโอกาสให้คนนอกเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีได้หรือที่เรียกว่าเป็นนายกพระราชทานและ “ธีรยุทธ  บุญมี” ก็เป็นคนหนึ่งที่สนับสนุนมาตรา 7 อย่างแข็งขัน   

พอพูดถึง “ลาว คำหอม” ก็ให้รู้สึกว่านักคิดนักเขียนที่มีความคิดทางการเมืองก้าวหน้าแบบ “ลาว  คำหอม” นั้นหายากเต็มทีในสมัยปัจจุบันซึ่งถ้าไม่หมกมุ่นกับปัญหา “ตัวบุคคล”  อย่างอดีตนายก ฯ “ทักษิณ ชินวัตร”  จนคิดอะไรไม่ออก มองอะไรไม่เห็นก็เอาการเอางานกับ “เศรษฐกิจพอเพียง” “คุณธรรม จริยธรรม” “บริโภคนิยม”  “ทุนนิยมสามานย์”

ผมเคยบ่นกับบรรณาธิการใหญ่ท่านหนึ่งว่าทำไมนักเขียน (บางคน) จึงมีความคิดที่จะขับไล่อดีตนายก ฯ ทักษิณ  ชินวัตร แต่ขาดสติและปัญญาที่จะต่อต้านรัฐประหาร (ผมจำไม่ได้แล้วล่ะว่าบรรณาธิการใหญ่ท่านนั้นตอบว่าอะไร)

ที่ “จรัล ดิษฐาอภิชัย” อ้าง “ลาว คำหอม” นั้นก็เพราะ “ลาว  คำหอม” เป็นบุคคลที่ “ธีรยุทธ  บุญมี” เคารพนับถือ

-2-

ผมเคยสงสัยหลายครั้งว่า “ธีรยุทธ  บุญมี”  เคยเข้าไปอยู่ใน “ป่า” จริงหรือ แน่นอนใคร ๆ ก็รู้ว่าเขาเคย “เข้าป่า” หลายปี ที่ผมสงสัยจริง ๆ ก็คือ “ป่า” ให้กำเนิดหรือตอกย้ำหรือสร้างความคิดทางการเมืองแบบใดกับกลุ่มคนที่ “เข้าป่า” (ผมเขียนถึง “เข้าป่า” นะครับ ไม่ใช่ “เข้าป๋า” ตัวเองชักจะสับสนเหมือนกัน)

แต่ละครั้ง แต่ละหนที่ “ธีรยุทธ  บุญมี”  นำเสนอความคิดสู่สาธารณะ สร้างความผิดหวังอย่างรุนแรงให้กับผมและเชื่อว่าหลายคนก็คงผิดหวังเหมือนกัน อันที่จริงบทบาทที่ดูดีที่สุดของ “ธีรยุทธ  บุญมี” ก็คือการเป็นจิตรกรและแปลวรรณกรรม ไม่ใช่ปัญญาชนสาธารณะขาประจำที่ออกมาสร้างข่าวด้วยการวิจารณ์รัฐบาลหรือนำเสนอความคิดแบบ “ชนชั้นนำนิยม” ครั้งแล้วครั้งเล่า ล่าสุดก็คือเรื่อง “ตุลาการภิวัตน์พลังขับเคลื่อนใหม่ในสังคมไทย” ซึ่งอ่านแล้วอยากจะอาเจียน

ธีรยุทธ บุญมี  บอกว่า “กระบวนการตุลาการภิวัตน์มองอย่างกว้างที่สุดก็คือ กระบวนการที่อำนาจตุลาการปรับตัวเองอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยอัตวินิจฉัยของตัวเองเพื่อให้ตัวเองปฏิบัติภาระหน้าที่รองรับการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ ของยุคสมัยได้ดี ไม่ใช่เป็นการปรับตัวภายใต้การกำกับของอำนาจอื่นเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ อย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจง แต่ต้องเป็นการปรับตัวเพื่อภารกิจของยุคสมัยอย่างต่อเนื่อง”

แค่คำว่า “อัตวินิจฉัยของตัวเอง”  ก็มีปัญหาแล้วละครับ ไม่รู้มันแปลว่าอะไร แล้วประโยคนี้ยิ่งเป็นปัญหาหนัก  “ไม่ใช่เป็นการปรับตัวภายใต้การกำกับของอำนาจอื่นเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ อย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจง แต่ต้องเป็นการปรับตัวเพื่อภารกิจของยุคสมัยอย่างต่อเนื่อง” ใครที่มีความรู้ในการตีความภาษาช่วยอธิบายหน่อยเถิดว่ามันมีความหมายว่าอะไร “ภารกิจของยุคสมัย” ที่ฟังดูโก้เก๋นั้นหมายถึงอะไร?

“ธีรยุทธ  บุญมี” อธิบายต่อไปว่าด้านหลัก ๆ ของตุลาการภิวัฒน์มีอะไรบ้าง มีข้อหนึ่งที่เขาบอกว่า

“การรักษาหลักความเสมอภาคเท่าเทียมกันให้กับประชาชน โดยเฉพาะในเรื่องความเสมอภาคของคนกลุ่มน้อย ความเสมอภาคทางเพศ สิทธิสตรี สิทธิเด็ก คนชรา การดูแลความเสมอภาคในโอกาสการทำงานของสตรี คนกลุ่มน้อย”

อ่านแล้วอยากจะอาเจียนจริง ๆ ผมอยากจะถามคนอ่านว่า คนที่มีความคิดแบบ “ชนชั้นนำนิยม” ที่ยกอภิสิทธิ์การตัดสินใจต่าง ๆ ให้อยู่ในวิจารณญาณของคนบางกลุ่มซึ่งในที่นี้คือตุลาการนั้นจะเชื่อเรื่องความเท่าเทียม ? ช่างน่าสงสัยว่าความเท่าเทียมที่ “ธีรยุทธ บุญมี”  พูดถึงนั้น คงจะเป็นความเท่าเทียม “ภายในชนชั้น” คือระหว่าง “พวกไพร่ด้วยกันเอง” มากกว่าจะเป็นความเท่าเทียมระหว่างคนที่เป็นตุลาการกับคนที่เป็นชาวนาหรือกรรมกร

“ธีรยุทธ  บุญมี” ยังด้นต่อไปว่า “ถ้าพิจารณาเหตุการณ์ในประเทศไทยที่ผ่านมา มีคดีความที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของตุลาการภิวัตน์ไม่มากนัก อาทิเช่น การตัดสินคดีการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ปตท. ซึ่งขัดแย้งกับองค์กรผู้บริโภค การตัดสินคดียุคพรรคไทยรักไทย ในข้อหาสร้างความเสียหายให้กับการปกครองระบอบประชาธิปไตย และคดีอื่นๆ อีกไม่มากนัก จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจบทบาทของตุลาการภิวัตน์ให้ชัดเจน เพื่อสนับสนุนให้ตุลาการภิวัตน์ได้มีบทบาทที่เป็นคุณกับประชาชนและประเทศต่อไป”

ชัดนะครับ “ธีรยุทธ บุญมี” บอกว่าการยุบพรรคไทยรักไทยเป็นตุลาการภิวัฒน์ ซึ่งที่จริงเหตุการณ์นี้นำความเสื่อมมาสู่สถาบันตุลาการมากกว่าอะไรอื่น สถาบันตุลาการถูกด่าทั้งในที่ลับและที่แจ้ง ประชาชนสูญศรัทธา หนำซ้ำยังทำอะไรที่ขัดกับคำตัดสินนั่นคือเลือกไทยรักไทยในคราบของพลังประชาชนกลับเข้ามาอีก

ยิ่งอ่านบทความของ “ธีรยุทธ  บุญมี” แล้วก็ยิ่งรู้สึกสลดอดสู แล้วพอได้เห็นพาดหัวของเนชั่นสุดสัปดาห์ก็รู้สึกดีขึ้นมาหน่อย แต่อยากจะแย้งเนชั่นสุดสัปดาห์ว่า

“ตุลาไม่ได้ตอแหลหรอก แต่มันเป็นปัญหาตัวของบุคคลเสียมากกว่า”
                                            


 

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ผมเฝ้ารอคอยดูผลสำเร็จ (หรือไม่สำเร็จ) ของนโยบาย "5 รั้ว" ซึ่งเป็นนโยบายทางด้านยาเสพติดของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ว่าจะทำได้มากน้อยเพียงใด ทำให้ยาเสพติดลดลงได้จริงหรือไม่ "5 รั้ว" ที่ว่าคือ รั้วชายแดน รั้วชุมชน รั้วสังคม รั้วโรงเรียน และรั้วครอบครัว ทั้ง "5 รั้ว" จะช่วยเป็นเกราะป้องกันต้านทานการทะลักเข้ามาของยาเสพติด พร้อมไปกับการปราบปรามอย่างจริงจังเป็นรูปธรรม
เมธัส บัวชุม
ผมเคยตั้งข้อสังเกตไปแล้วว่ารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ มีความสามารถในการทำให้การเมืองกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อ รายการเชื่อมั่นประเทศไทยของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้นมีแต่ถ้อยคำลวงโลกว่างเปล่า รัฐมนตรีทำงานแบบขอไปที เอาตัวรอดไปวัน ๆ ทำให้ความเดือดร้อนของประชาชนกลายเป็นความเห็นอกเห็นใจง่าย ๆ และรับปากว่าจะดำเนินการ ทาสีให้พรรคพวกที่ทำผิดกฏหมายกลายเป็นบริสุทธิ์ นโยบายไม่มีอะไรใหญ่และไม่มีอะไรใหม่ ฯลฯ ขณะเดียวกันคนเสื้อแดงก็ฝ่อลง เหมือนหมดมุกจะเล่น เหมือนหมดทางจะไปต่อ เหมือนยอมรับสภาพ
เมธัส บัวชุม
บางครั้งผมถามตัวเองว่าทำไมรู้สึกแย่ถึงขั้นขยะแขยงทุกครั้งที่เห็นหน้านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทางจอโทรทัศน์ บางทีฝืนใจดูเพราะอยากรู้ว่านายกรัฐมนตรีคนนี้จะพูดอะไรแต่ก็ต้องเปลี่ยนช่องทันทีที่ได้ฟังประโยคแรก เพราะเพียง "อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่" ผมได้คำตอบเบื้องต้นว่าเหตุที่ไม่ชอบนายกรัฐมนตรีคนนี้อย่างรุนแรงนั้นมีหลายสาเหตุ เป็นต้นว่าการไม่เป็นสุภาพบุรุษ (แพ้ก็ไม่ยอมรับว่าแพ้) ชอบเล่นนอกกติกา (บอยคอตเลือกตั้ง) ขาดความเป็นผู้นำ (ตัดสินใจอะไรไม่ได้) พูดจ้าอ้อมค้อมวกวน (ตอบไม่ได้เรื่องหนีทหาร) เอาดีใส่ตัวเอาชั่วให้คนอื่น (โทษคนอื่นตลอด) ทำหน้าซึ้งๆ เศร้าๆ (คิดว่าตนเองเป็นนางเอก) ท่าดีทีเหลว (…
เมธัส บัวชุม
หากให้ลองเอ่ยชื่อปัญญาชนที่เป็นเสาหลักของสังคมไทย แน่นอนต้องมี ส.ศิวรักษ์ รวมอยู่ด้วย จากผลงานมากมายและหลากหลายในอดีตคงไม่มีใครกล้าปฏิเสธคุณูปการของ ส. ศิวรักษ์ ที่มีต่อสังคมไทยไปได้ ย้อนหลังไปก่อนการเมืองยุคทักษิณ ผมเฝ้าติดตามและชื่นชมผลงานของส.ศิวรักษ์อยู่ห่าง ๆ ชื่อของเขาในฐานะวิทยากรตามงานสัมมนาเป็นเสมือนแม่เหล็กดึงดูดให้ต้องเข้าไปนั่งฟังทัศนะอันกล้าหาญแหลมคม อาจกล่าวได้ว่าเขาคือแรงดลใจและเป็นแบบอย่างให้คนรุ่นแล้วรุ่นเล่าในการต่อสู้กับความ อยุติธรรม
เมธัส บัวชุม
การเมืองไร้หลักการหลังรัฐประหาร ปี 49 นำมาซึ่งเรื่องชวนหัว ขำ ฮา ตลกร้าย ตลกแต่หัวเราะไม่ออก ตลกจนอยากจะร้องไห้ ฯลฯ หลายต่อหลายเรื่องด้วยกัน ในที่นี้อยากจะหยิบยกมาพูดคุยสัก 4 เรื่อง เรื่องแรก ไม่เป็นเหลือง การปลดคุณเสถียร จันทิมาธร บรรณาธิการคู่บุญของเครือมติชนด้วยข้อหาไม่เป็นกลางนั้นฮาครับ แต่หัวเราะไม่ออก การไม่เป็นกลางนั้นไม่เท่าไหร่ แต่ดูเหมือนจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงนี่สิเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ (แต่คนเสื้อแดงหลายคนก็บอกว่าไม่เห็นคุณเสถียรจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงเลย) ในทางกลับกัน รายของ "นงนุช สิงหเดชะ" ซึ่งเขียนด่า (ใช้คำว่าด่า) คนเสื้อแดงและทักษิณมายาวนาน ด่าเอา…
เมธัส บัวชุม
  Iภาพที่ผู้ชายจิกหัวผู้หญิงเสื้อแดง แล้วลากถูลู่ถูกังไปกับถนนด้วยความอาฆาตมาดร้ายท่ามกลางการยืนดูเฉย ๆ ของทหาร นักข่าวและสาธาณชนนั้นน่าสะเทือนใจ ไม่ต่างอะไรกับการมุงดูผู้หญิงที่ถูกข่มขืนในที่สาธารณะ นอกจากไม่คิดจะช่วยแล้ว บางคนอาจจะลุ้นเอาใจช่วยฝ่ายชายอีกต่างหาก
เมธัส บัวชุม
คุณวีระ มุสิกะพงศ์ ไม่เหมาะที่จะเป็นแกนนำคนเสื้อแดงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์สู้รบ การประกาศมอบตัวอุปมาเหมือนแม่ทัพที่ทิ้งทัพกลางศึกด้วยเหตุที่ว่ากลัวไพร่พลและทหารแดงที่เข้าร่วมสงครามจะบาดเจ็บล้มตาย! -------------
เมธัส บัวชุม
นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล  นักวิชาการขาประจำผู้ซึ่งเคยเสนอมาตรา 7 เช่น อธิการบดีธรรมศาสตร์ ให้ทัศนะในรายการหนึ่งทางโทรทัศน์ว่าการโฟนอินของทักษิณจะทำให้แนวร่วมเสื้อแดงบางส่วนหายไป จะเหลือก็แต่คนเสื้อแดงแท้ ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านต่างจังหวัดเท่านั้นผมได้ฟังแล้วงง มันมี "เสื้อแดงแท้ ๆ" กับ "เสื้อแดงไม่แท้" ด้วยเหรอ ? แล้วคน "เสื้อแดงแท้ ๆ"  ในความหมายของนักวิชาการรายนี้หมายถึงใคร
เมธัส บัวชุม
ถือเป็นความคืบหน้าทางการเมืองอีกขั้น ที่ประชาชนแห่งกองทัพแดงสามารถ "ลาก" เอาประธานองคมนตรีออกมาชันสูตรกันในที่แจ้ง จับแก้ผ้าล่อนจ้อนต่อหน้าสาธารณชน เปลื้องเปลือยรอยตำหนิและแผลเป็นน่าเกลียดไม่เคยมียุคสมัยใดของการเมืองไทยที่ประธานองคมนตรี และองคมนตรีจะโดนเล่นงานขนาดนี้  แต่ปรากฏการณ์การณ์นี้มีที่มาที่ไป ประชาชนตระหนักชัดแล้วว่าทางเดินของระบอบประชาธิปไตยถูกขวางด้วยอำนาจนอกรัฐธรรมนูญมาตลอด โดยที่ครั้งนี้พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ โดดเข้ามาเล่นชัดเจน แม้จะเคยบอกว่า "ผมพอแล้ว" แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ดังนั้น "หากองคมนตรีมายุ่งการเมือง…
เมธัส บัวชุม
การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลผ่านพ้นไปแล้วหลายวัน โพลล์บางสำนัก นักวิชาการบางราย สื่อบางเจ้า ทำการสำรวจประเมินความคิดเห็นของประชาชนต่อการอภิปรายครั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกหากผลจะออกมาเป็นบวกต่อรัฐบาล ทั้งที่ข้อมูลของคุณเฉลิม อยู่บำรุง นั้นถือเป็นข้อมูลลึกและน่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง ผมติดตามการอภิปรายอยู่ห่างๆ หมายถึงดูบ้าง ไม่ได้ดูบ้าง สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้จากคำอธิบาย คำชี้แจงของรัฐบาลคือแทบทุกคนไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือเลย การให้เหตุผลเป็นแบบ "เอาสีข้างเข้าถู" "แก้ตัวแบบน้ำขุ่น ๆ" หรือชี้แจงไม่ตรงกับสิ่งที่ฝ่ายค้านอภิปราย
เมธัส บัวชุม
เป้าหมายของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตรกับเป้าหมายของคนเสื้อแดงนั้นไม่อาจกล่าวได้ว่าเหมือนกันเสียทีเดียวหากแต่มีความเหลื่อมล้ำกันอยู่มาก หมายถึงว่ามีทั้งส่วนที่เหมือนกันและแตกต่างกัน แต่ก่อนจะพูดถึงส่วนที่เหมือนและต่างนั้นต้องทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้นกันก่อนว่า คนเสื้อแดงมีหลายประเภท หลายเฉด คนเสื้อแดงมีตั้งแต่กลุ่มฮาร์ดคอร์แบบอาจารย์ใจ อึ๊งภากรณ์, จักรภพ เพ็ญแข และสีแดงอ่อนๆ ประเภท "แดงสมานฉันท์" สีแดงมีหลายดีกรีคือมีทั้งพวกอนุรักษ์นิยมอ่อนๆ ,เสรีนิยม ไปจนถึงกลุ่มถอนราก ถอนโคน (radical)
เมธัส บัวชุม
ผมเคยดูวงดนตรีเพื่อชีวิตที่ชื่อ "แฮมเมอร์" แสดงสดหลายครั้ง ต่างกรรมต่างวาระ ดูครั้งแรกเมื่อสิบกว่าปีก่อน ยอมรับว่าประทับใจมาก ครั้งต่อ ๆ มาก็ยังประทับใจ ทุกคนในวงตั้งใจเล่น ตั้งใจร้อง นักดนตรีหลายคนสามารถเล่นเครื่องดนตรีได้หลายชิ้น เดี๋ยวขลุ่ย เดี๋ยวไวโอลิน ดูแล้วเพลิดเพลินนัก แตกต่างจากวงดนตรี "เพื่อชีวิต" ทั่ว  ๆ ไป แม้จะมีหนวดเครายาวรุงรัง แต่แฮมเมอร์ดูสะอาด ไม่มีลีลาหรือพิธีรีตองอะไรมาก ไม่ต้องเก๊กหน้าให้ดูเหมือนกับคนมีความคิดลึกซึ้งหรือดัดเสียงให้ฟังซึ้งเศร้าหรือด่านักการเมืองก่อนเข้าเพลง  วงดนตรีแฮมเมอร์เป็นอะไรที่น่าจดจำอย่างไรก็ตาม…