Skip to main content

-1-

ปกติแล้ว ผมจะไม่หยิบนิตยสาร “เนชั่นสุดสัปดาห์” ขึ้นมาเปิดดูเพราะไม่คิดว่ามีคอลัมน์อะไรที่ดึงดูดใจเพียงพอ นอกจากก่อนหน้านี้ที่พลิกเปิดไปดู “เรื่องสั้น” เพื่อตรวจดูว่าเรื่องสั้นของตัวเองได้รับการพิจารณาหรือเปล่า แต่ตอนนี้ผมหมดปัญญาและพลังที่จะเขียนเรื่องสั้นแล้ว  ดังนั้นเวลาหยุดดูที่แผงหนังสือผมเพียงแต่กวาดสายตาดูนิตยสารรายสัปดาห์ยี่ห้อนี้เพียงผ่าน ๆ เท่านั้น

แต่ “เนชั่นสุดสัปดาห์” ล่าสุดที่หน้าปกเป็นรูป “ธีรยุทธ  บุญมี” นักคิดวิธีสร้างข่าวให้ตนเองนั้นสะกดให้ต้องหยิบขึ้นมาเปิดดู ที่น่าสนใจไม่ใช่รูป “ธีรยุทธ  บุญมี” แต่เป็น “คำ” ที่พาดผ่านหน้าปกซึ่งเขียนว่า “ตุลาตอแหล ?”

พาดหัว “แรง” แบบนี้เป็นใครก็คงต้องสะดุดหยุดดู ผมพลิกไปอ่านโดยระทึกในดวงหทัยพลัน จึงได้ทราบว่าที่แท้แล้วคำนี้ได้มาจากบทสัมภาษณ์ของ “จรัญ ภักดีธนากุล”  ขอโทษ เขียนผิด ไม่ใช่ “จรัญ ภักดีธนากุล” แต่เป็น “จรัล ดิษฐาอภิชัย” ต่างหาก (ชื่อ “จรัล” จำนวนมากที่ขยันเป็นข่าวช่างชวนให้สับสนจริง)

บทสัมภาษณ์ของ “จรัล ดิษฐาอภิชัย” ตีแสกหน้า “ธีรยุทธ  บุญมี” ตรง ๆ โดยไม่ต้องอ้อมค้อมให้น่ารำคาญ “จรัล  ดิษฐาอภิชัย” อ้างอิงไปถึง “ลาว คำหอม” นักคิดนักเขียนผู้ซึ่งไม่เห็นด้วยกับการทำอะไรที่ถอยหลังอย่างเช่นเรื่องการใช้กฎหมาย “มาตรา 7”   อันโด่งดังที่เปิดโอกาสให้คนนอกเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีได้หรือที่เรียกว่าเป็นนายกพระราชทานและ “ธีรยุทธ  บุญมี” ก็เป็นคนหนึ่งที่สนับสนุนมาตรา 7 อย่างแข็งขัน   

พอพูดถึง “ลาว คำหอม” ก็ให้รู้สึกว่านักคิดนักเขียนที่มีความคิดทางการเมืองก้าวหน้าแบบ “ลาว  คำหอม” นั้นหายากเต็มทีในสมัยปัจจุบันซึ่งถ้าไม่หมกมุ่นกับปัญหา “ตัวบุคคล”  อย่างอดีตนายก ฯ “ทักษิณ ชินวัตร”  จนคิดอะไรไม่ออก มองอะไรไม่เห็นก็เอาการเอางานกับ “เศรษฐกิจพอเพียง” “คุณธรรม จริยธรรม” “บริโภคนิยม”  “ทุนนิยมสามานย์”

ผมเคยบ่นกับบรรณาธิการใหญ่ท่านหนึ่งว่าทำไมนักเขียน (บางคน) จึงมีความคิดที่จะขับไล่อดีตนายก ฯ ทักษิณ  ชินวัตร แต่ขาดสติและปัญญาที่จะต่อต้านรัฐประหาร (ผมจำไม่ได้แล้วล่ะว่าบรรณาธิการใหญ่ท่านนั้นตอบว่าอะไร)

ที่ “จรัล ดิษฐาอภิชัย” อ้าง “ลาว คำหอม” นั้นก็เพราะ “ลาว  คำหอม” เป็นบุคคลที่ “ธีรยุทธ  บุญมี” เคารพนับถือ

-2-

ผมเคยสงสัยหลายครั้งว่า “ธีรยุทธ  บุญมี”  เคยเข้าไปอยู่ใน “ป่า” จริงหรือ แน่นอนใคร ๆ ก็รู้ว่าเขาเคย “เข้าป่า” หลายปี ที่ผมสงสัยจริง ๆ ก็คือ “ป่า” ให้กำเนิดหรือตอกย้ำหรือสร้างความคิดทางการเมืองแบบใดกับกลุ่มคนที่ “เข้าป่า” (ผมเขียนถึง “เข้าป่า” นะครับ ไม่ใช่ “เข้าป๋า” ตัวเองชักจะสับสนเหมือนกัน)

แต่ละครั้ง แต่ละหนที่ “ธีรยุทธ  บุญมี”  นำเสนอความคิดสู่สาธารณะ สร้างความผิดหวังอย่างรุนแรงให้กับผมและเชื่อว่าหลายคนก็คงผิดหวังเหมือนกัน อันที่จริงบทบาทที่ดูดีที่สุดของ “ธีรยุทธ  บุญมี” ก็คือการเป็นจิตรกรและแปลวรรณกรรม ไม่ใช่ปัญญาชนสาธารณะขาประจำที่ออกมาสร้างข่าวด้วยการวิจารณ์รัฐบาลหรือนำเสนอความคิดแบบ “ชนชั้นนำนิยม” ครั้งแล้วครั้งเล่า ล่าสุดก็คือเรื่อง “ตุลาการภิวัตน์พลังขับเคลื่อนใหม่ในสังคมไทย” ซึ่งอ่านแล้วอยากจะอาเจียน

ธีรยุทธ บุญมี  บอกว่า “กระบวนการตุลาการภิวัตน์มองอย่างกว้างที่สุดก็คือ กระบวนการที่อำนาจตุลาการปรับตัวเองอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยอัตวินิจฉัยของตัวเองเพื่อให้ตัวเองปฏิบัติภาระหน้าที่รองรับการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ ของยุคสมัยได้ดี ไม่ใช่เป็นการปรับตัวภายใต้การกำกับของอำนาจอื่นเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ อย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจง แต่ต้องเป็นการปรับตัวเพื่อภารกิจของยุคสมัยอย่างต่อเนื่อง”

แค่คำว่า “อัตวินิจฉัยของตัวเอง”  ก็มีปัญหาแล้วละครับ ไม่รู้มันแปลว่าอะไร แล้วประโยคนี้ยิ่งเป็นปัญหาหนัก  “ไม่ใช่เป็นการปรับตัวภายใต้การกำกับของอำนาจอื่นเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ อย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจง แต่ต้องเป็นการปรับตัวเพื่อภารกิจของยุคสมัยอย่างต่อเนื่อง” ใครที่มีความรู้ในการตีความภาษาช่วยอธิบายหน่อยเถิดว่ามันมีความหมายว่าอะไร “ภารกิจของยุคสมัย” ที่ฟังดูโก้เก๋นั้นหมายถึงอะไร?

“ธีรยุทธ  บุญมี” อธิบายต่อไปว่าด้านหลัก ๆ ของตุลาการภิวัฒน์มีอะไรบ้าง มีข้อหนึ่งที่เขาบอกว่า

“การรักษาหลักความเสมอภาคเท่าเทียมกันให้กับประชาชน โดยเฉพาะในเรื่องความเสมอภาคของคนกลุ่มน้อย ความเสมอภาคทางเพศ สิทธิสตรี สิทธิเด็ก คนชรา การดูแลความเสมอภาคในโอกาสการทำงานของสตรี คนกลุ่มน้อย”

อ่านแล้วอยากจะอาเจียนจริง ๆ ผมอยากจะถามคนอ่านว่า คนที่มีความคิดแบบ “ชนชั้นนำนิยม” ที่ยกอภิสิทธิ์การตัดสินใจต่าง ๆ ให้อยู่ในวิจารณญาณของคนบางกลุ่มซึ่งในที่นี้คือตุลาการนั้นจะเชื่อเรื่องความเท่าเทียม ? ช่างน่าสงสัยว่าความเท่าเทียมที่ “ธีรยุทธ บุญมี”  พูดถึงนั้น คงจะเป็นความเท่าเทียม “ภายในชนชั้น” คือระหว่าง “พวกไพร่ด้วยกันเอง” มากกว่าจะเป็นความเท่าเทียมระหว่างคนที่เป็นตุลาการกับคนที่เป็นชาวนาหรือกรรมกร

“ธีรยุทธ  บุญมี” ยังด้นต่อไปว่า “ถ้าพิจารณาเหตุการณ์ในประเทศไทยที่ผ่านมา มีคดีความที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของตุลาการภิวัตน์ไม่มากนัก อาทิเช่น การตัดสินคดีการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ปตท. ซึ่งขัดแย้งกับองค์กรผู้บริโภค การตัดสินคดียุคพรรคไทยรักไทย ในข้อหาสร้างความเสียหายให้กับการปกครองระบอบประชาธิปไตย และคดีอื่นๆ อีกไม่มากนัก จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจบทบาทของตุลาการภิวัตน์ให้ชัดเจน เพื่อสนับสนุนให้ตุลาการภิวัตน์ได้มีบทบาทที่เป็นคุณกับประชาชนและประเทศต่อไป”

ชัดนะครับ “ธีรยุทธ บุญมี” บอกว่าการยุบพรรคไทยรักไทยเป็นตุลาการภิวัฒน์ ซึ่งที่จริงเหตุการณ์นี้นำความเสื่อมมาสู่สถาบันตุลาการมากกว่าอะไรอื่น สถาบันตุลาการถูกด่าทั้งในที่ลับและที่แจ้ง ประชาชนสูญศรัทธา หนำซ้ำยังทำอะไรที่ขัดกับคำตัดสินนั่นคือเลือกไทยรักไทยในคราบของพลังประชาชนกลับเข้ามาอีก

ยิ่งอ่านบทความของ “ธีรยุทธ  บุญมี” แล้วก็ยิ่งรู้สึกสลดอดสู แล้วพอได้เห็นพาดหัวของเนชั่นสุดสัปดาห์ก็รู้สึกดีขึ้นมาหน่อย แต่อยากจะแย้งเนชั่นสุดสัปดาห์ว่า

“ตุลาไม่ได้ตอแหลหรอก แต่มันเป็นปัญหาตัวของบุคคลเสียมากกว่า”
                                            


 

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ท่ามกลางเสียงตะเบ็งเซ็งแซ่จากนักวิชาการสายพันธมิตร, สื่อสายพันธมิตร, 40 สว. ลากตั้งสายพันธมิตร, พรรคการเมืองสายพันธมิตร, นักสิทธิมนุษยชนสายพันธมิตร, คนกลางสายพันธมิตร, คนดีสายพันธมิตร, ตุลาการสายพันธมิตร และอะไรต่อมิอะไรสายพันธมิตรนั้น เราพอจะได้ยินได้อ่านอะไรที่แตกต่างสร้างสรรค์ เป็นถ้อยคำรื่นหูที่ได้ยินแล้วสบายใจอยู่บ้างแม้จะเป็นส่วนน้อยก็ตาม เสียงส่วนน้อยเหล่านี้ควรค่าแก่การจดจำตอกย้ำหรือเก็บไว้เป็นหลักฐานอ้างอิง เป็นเสียงแห่งความกล้าหาญที่ช่วยดึงรั้งไม่ให้สังคมเตลิดไปกับความหลงผิด เป็นเสียงแห่งเหตุผลและความถูกต้อง เชื่อว่าหลายคนคงผ่านหู ผ่านตามาแล้ว แต่ขอนำเสนอซ้ำอีกครั้งหนึ่ง 1.…
เมธัส บัวชุม
พวกกบโง่....เห็นนกกระยาง....เป็นนางฟ้า...สมน้ำหน้า....หลงบูชา....ดุจนางแถน...นางประแดะ.....แสร้งเมตตา...อย่างแกนๆฝูงกบแสน....ดีใจ....ได้นายดี......๚ะ๛                                                ๏..ตรังนิสิงเห...๚ะ๛( http://www.prachatai.com/webboard/wbtopic.php?id=733477 )========================================= ปฏิเสธไม่ได้ว่ากลุ่มพันธมิตรฯ…
เมธัส บัวชุม
ตายเป็นตาย เจ๊งเป็นเจ๊ง ละเลงเลือดแผ่นดินเดือด ถ่อยเถื่อน สะเทือนไหมเหล่าแกนนำ อำมหิต คงสะใจประเทศไทย ใกล้พังยับ นับวันรอพันธมิตร ป่วนเมือง ระส่ำสุดเตรียมอาวุธ รบกับใคร กระไรหนอกองทัพธรรม กำมีดพร้า ฆ่าให้พอทำเพื่อ "พ่อ" สนธิลิ้ม และจำลอง ละอองดาว ( http://www.prachatai.com/05web/th/home/comment.php?mod=mod_ptcms&ContentID=13977&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai ) พอฝุ่นควันจากเหตุการณ์สลายหายไป ภาพปรากฏก็เริ่มชัดเจนขึ้น ข้อเท็จจริงค่อย ๆ แสดงตัวออกมาทีละส่วน ๆ ก่อนจะกลายเป็นภาพรวมใหญ่ ทำให้การใส่ความและการโฆษณาชวนเชื่อของแกนนำพันธมิตรฯ…
เมธัส บัวชุม
นายแพทย์ประเวศ วะสี ผู้ซึ่งรู้จักกันโดยทั่วไปภายใต้โลโก้ “ราษฎรอาวุโส” เป็น “ผู้ใหญ่” ที่ใครต่อใครรู้จักกันดี เพราะคำพูดคำอ่านหรือแนวคิดของท่าน ตกเป็นข่าวพาดหัวอยู่เสมอทางหน้าหนังสือพิมพ์และได้รับการขานรับจากกลุ่มคนน้อยใหญ่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ นักเคลื่อนไหว นักกิจกรรม แม้กระทั่งข้าราชการ บทบาทของนายแพทย์ประเวศ วะสี ในหลาย ๆ วาระและโอกาส มีความสำคัญและมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมการเมืองไทยอย่างสูง จนคว้ารางวัลต่างๆ มามากมาย ไม่ว่าจะเป็นรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น บุคคลดีเด่นของชาติ รางวัลแมกไซไซ รางวัลจากยูเนสโก เหรียญเชิดชูเกียรติจาก WHO เป็นที่ยอมรับโดยไม่มีข้อกังขาว่า…
เมธัส บัวชุม
นอกจากจะรู้จักใช้ “สี” ให้เป็นประโยชน์แล้ว ลัทธิพันธมิตรยังมีความสามารถพิเศษในการ ”เปลี่ยนสี” ให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป หรือ “เลือกสี” ให้เหมาะกับกาละเทศะ เพราะจะใช้ “สีเดียว” ทุกเวลาและสถานที่คงไม่ได้ การรู้จัก “เปลี่ยนสี” นี้เป็นการปรับตัวเช่นเดียวกับที่เราได้เห็นในสัตว์หลายชนิดที่สามารถสร้างสีให้เกิดความกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมหรือสื่อสารกับสัตว์ตัวอื่นๆ ไม่ว่าสัตว์นั้นจะเป็นผู้ล่าหรือผู้ถูกล่า หรือจะเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีหรือไม่มีกระดูกสันหลังต่างก็มีความสามารถในการเปลี่ยนสีด้วยกันทั้งนั้น
เมธัส บัวชุม
ตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน ปี 49 กระทั่งปัจจุบัน  อันธพาล-ลัทธิพันธมิตร ได้ผลิต ตอกย้ำนำเสนอ วาทกรรมทางการเมืองต่าง ๆ จำนวนมาก ผ่านเครือข่ายการสื่อสารที่กว้างขวางและร่วมด้วยช่วยกันกับองค์กรอันหลากหลายไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา บุคคลที่มีชื่อเสียง สว. ลากตั้ง ดารา ฯลฯ  ทั้งที่เป็นวาทกรรมเพื่อมุ่งทำลายฝ่ายตรงข้ามและใช้ในการยกยอปอปั้นลัทธิตนเอง วาทกรรมบางอย่าง ลัทธิพันธมิตรประดิษฐ์ขึ้นโดยตรงสำหรับการกรรโชกข่มขู่รัฐบาลและสังคม แต่บางวาทกรรมไม่ได้คิดขึ้นเองหากแต่นำมาจากประธานองคมนตรี นักวิชาการ ราษฎรอาวุโส สื่อมวลชน และจากบรรดาบุคคลที่เทิดทูนระบอบอมาตยาธิปไตยไว้เหนือหัว…
เมธัส บัวชุม
กลุ่มอันธพาลการเมือง หรือแก๊งมาเฟียเป็นปัญหาเสมอมาสำหรับการสถาปนากติกาการปกครองและระเบียบการเมือง ทั้งนี้เพราะเป็นกลุ่มที่กฎหมายและการจัดระเบียบทางสังคมไม่สามารถควบคุมจัดการได้ คุกคามต่อสวัสดิภาพความเป็นอยู่ปกติของคนโดยทั่วไปเพราะกลุ่มอันธพาลการเมือง หรือแก๊งมาเฟียดำรงชีพอยู่ได้ก็ด้วยการขู่เข็ญกรรโชกกระทั่งใช้กำลัง หรือใช้กฎหมู่เพื่อให้มาในสิ่งที่ตนเองต้องการ นอกจากจะไม่ผลิตอะไรออกมาแล้ว กลุ่มอันธพาลการเมืองยังคอยรีดไถเงินจากน้ำพักน้ำแรงของคนอื่น ซึ่งก็เป็นเช่นเดียวกับการข่มขู่รีดไถหรือล็อบบี้อย่างชาญฉลาดของกลุ่มอันธพาลการเมืองที่เรียกตนเองว่าพันธมิตรอย่างสมบูรณ์แบบที่กลุ่มพันธมิตร…
เมธัส บัวชุม
ไม่ต้องเป็นผู้ฉลาดหลังเหตุการณ์เราก็จินตนาการได้ไม่ยากว่าการชุมนุมก่อน 19 กันยายน 2549 ของกลุ่มพันธมิตร ฯ นั้นเป็นการออกบัตรเชิญให้ทหารทำรัฐประหารแม้ว่าบางคนอาจคิดว่าเป็นไปไม่ได้ การชุมนุมของพันธมิตร ฯ หลังพรรคพลังประชาชนได้เป็นรัฐบาลก็เช่นเดียวกัน ไป ๆ มา ๆ ก็เหมือนเดิมคือการออกบัตรเชิญให้ทหารล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอีกคำรบหนึ่ง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลพลังประชาชนได้บทเรียนมาแล้วก่อนหน้านี้ และได้รู้ว่าความผิดพลาดในรายละเอียดเพียงนิดเดียวอาจเป็นเงื่อนไขนำไปสู่การยึดอำนาจรอบสองได้ รัฐบาลจึงระมัดระวังอย่างยิ่งในการจัดการกับม็อบพันธมิตร ฯ แต่โอกาสที่จะเกิดการรัฐประหารขึ้นก็ใช่ว่าจะไม่มี…
เมธัส บัวชุม
บทความที่แล้วพยายามจะให้ความหมายของ “กวีเกรียน” ว่ามีลักษณะอย่างไร แล้วเมื่อลองมาวิเคราะห์ พิจารณา สามารถสรุปรวบยอดได้ว่า กวีเกรียน นั้นเดินทางล้าหลัง อยู่ถึง 3 ก้าวด้วยกัน ก้าวที่ 1 คือ ขาดการทบทวนอดีต ไม่สามารถนำอดีตมาเป็นบทเรียนได้ ไม่สามารถสกัดเก็บซับเอาข้อดี ข้อเสียในอดีตมาเป็นฐานคิดในการวิเคราะห์สังคมการเมือง จะว่าไปบทเรียนในอดีตของสังคมไทยก็มีให้ศึกษาเรียนรู้อยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลง 2475, การต่อสู้ของเสรีไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง การต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการในอดีตหรือกระทั่งการต่อสู้อยู่ในป่าของพคท.ฯลฯ…
เมธัส บัวชุม
ตอนแรกตั้งใจจะตั้งชื่อบทความว่า “กวีพันธมิตร ฯ” แต่เห็นชื่อที่โดนใจวัยรุ่นกว่าในเวบบอร์ด “ฟ้าเดียวกัน” ว่า “กวีเกรียน” โดยคุณ Homo erectus (ซึ่งเคยเข้ามาวิพากษ์เชิงด่าผมอยู่เป็นประจำจนเลิกไปเอง) จึงตัดสินใจเปลี่ยนชื่อเพื่อให้เข้ากับสมัยนิยม “กวีเกรียน” ในความหมายของผมคือกวีที่ล้าหลัง คิดอ่านไร้เดียงสาเหมือนเด็กที่อ่อนต่อโลก วิเคราะห์สังคมไม่ออกเพราะไม่มีหลักคิดที่มั่นคง อ่านการเมืองไม่เป็นเพราะมัวแต่คิดว่านักการเมืองชั่วร้ายเลวทรามในขณะที่ประชาชนและข้าราชการ และพวกอภิสิทธิชนนั้นมีคุณธรรม จริยธรรม หรืออย่างน้อยก็มีมากกว่านักการเมือง…
เมธัส บัวชุม
-1- พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ตัวละครการเมืองที่ไม่ยอมลงจากเวที กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง "ภาษาไทย พ.ศ.พอเพียง" เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ วันที่ 26 กรกฎาคม ที่จัดขึ้นโดย ราชบัณฑิตยสถาน มูลนิธิรัฐบุรุษฯ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่า "ภาษาไทยทำให้คนรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ สื่อสารที่ดีต่อกัน ทำให้คนเข้าใจกัน ทำให้คนรักกัน โกรธ หรือเกลียดกัน ทำลายกันก็ได้ พวกเราคนไทยจึงต้องตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย ต้องไม่ให้ขาดตกบกพร่อง ไม่ฟุ้งเฟื้อจนเกินไป ต้องรักษาและพัฒนาให้ลูกหลานอย่างพอเหมาะ" (มติชน, 27 ก.ค. 51, หน้า 13) จากคำกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่าพลเอกเปรม ติณสูลานนท์…
เมธัส บัวชุม
ดา ตอร์ปิโด เขย่ารากฐานความศรัทธาของคนไทยอีกคำรบหนึ่งด้วยการพูดปราศรัยต่อหน้าสาธารณะที่ท้องสนามหลวงเมื่อคืนวันที่ 18 กรกฎาคม อย่างตรงไปตรงมา และไม่เกรงกลัวหน้าอินทร์หน้าพรหม จากข่าวที่ปรากฏออกมาตามสื่อแขนงต่าง ๆ บอกให้รู้ว่าการปราศรัยของเธอนั้นเกี่ยวพันกับสถาบันเบื้องสูง ต้องยอมรับว่า ดา ตอปิโดร์ เป็นคนกล้าและแกร่งอย่างที่หลายคนทำไม่ได้ในแง่ที่ว่ากล้าพูด กล้าทำในสิ่งที่ตนเองคิดโดยไม่ต้องพะวงว่าจะเกิดผลร้ายตามมา ทราบจากที่เป็นข่าว สนธิ ลิ้มทองกุล นำคำพูดของ ดา ตอร์ปิโด มาเล่าซ้ำออกอากาศผ่าน ASTV ไปทั่วประเทศ คำปราศรัยของดา ตอร์ปิโด…