Skip to main content

 

             วันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ผมทำอะไรอยู่
 

              ผมนึกย้อนกลับไปเมื่อสามปีก่อน ในตอนนั่นผมลืมตาตื่นขึ้นในช่วงเช้าภายหลังจากนั่งอ่านข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นใน Facebook ตลอดทั้งคืน ในช่วงบ่ายของวันนั่นผมต้องพาแม่ไปหาหมอที่โรงพยาบาลด้วยกัน ท่ามกลางข่าวที่ไหลออกมาจากสื่อของรัฐบาลถึงการสลายการชุมนุมที่พูดให้ดูสวยหรูว่า การกระชับพื้นที่หรือ ขอคืนพื้นที่ ที่ที่หลายคนพร้อมใจกันเอาใจช่วยรัฐบาลให้กำจัดผู้ก่อการร้ายในกลุ่มผู้ชุมนุมไปให้ได้ โดยไม่ได้แยแสมีคนตายจากเหตุการณ์นี้พุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทุกที

 
             เวลาเที่ยงเกือบบ่ายโมง ผมพาแม่ไปที่โรงพยาบาลเพื่อตรวจรักษาเมื่อทุกครั้ง ในขณะที่กำลังเดินออกจากโรงพยาบาล ผมเงยหน้าขึ้นมองจอโทรทัศน์ของโรงพยาบาลที่ผมได้เห็นภาพของแกนนำอย่าง ณัฐวุฒิ ใสเกื้อและจตุพร พรหมพันธ์ยืนอยู่กลางเวทีที่ล้อมรอบไปด้วยผู้คุมกันหนาแน่นประกาศยุติการชุมนุมและขอมอบตัวเพื่อรักษาชีวิตของผู้ชุมนุมเอาไว้ ความรู้สึกแรกที่ผมเห็นก็คือ
 
              นี่ยังไม่ใช่จุดสิ้นสุด
 
               และอย่างที่หลายคนทราบมีคนตายอีกมากมายหลังจากนั่นเช่นเดียวกับข้อหาที่ฝ่ายรัฐในตอนนั่นโยนให้ได้แก่ ผู้ก่อการร้ายและเผาบ้านเผาเมืองนำไปสู่การตายของคนนับร้อยและบาดเจ็บอีกนับพันรวมทั้งมีผู้ถูกคุมขังจำนวนมาก หลายคนมองไม่เห็นกระทั่งว่าจะพิสูจน์ความจริงให้ประจักษ์แก่สายตาของชาวโลกได้อย่างไรว่า
 
             คนเสื้อแดงไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย ไม่ใช่พวกเผาบ้านเผาเมืองอย่างที่รัฐในตอนนั้นกล่าวหา
 
             และเหมือนฟ้าหลังฝน ภายหลังการชนะเลือกตั้งอย่างถล่มทลายของรัฐบาลเพื่อไทย โดยการนำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นั่นได้ทำให้มีการสืบสวนเรื่องราวที่เกิดขึ้นกันว่า วันนั่นเกิดอะไรขึ้นจนกระทั่งสามารถนำไปสู่การแจ้งข้อหาแก่รัฐบาลผู้มีอำนาจในตอนนั่นได้ในที่สุด
 
             แต่กระนั่นก็มีหลายคน ๆ อยากจะให้เรื่องที่เกิดขึ้นนี้ถูกลืม ๆ ไปเสียแบบเดียวกับประวัติศาสตร์ของประเทศไทยหลายเรื่องที่หลายคนลืมไปแล้วว่า มันเคยเกิดขึ้นจริง
 
             อย่างวันที่ 6 ตุลาคม 2519 เป็นต้น
 
 
             ภาพยนตร์เรื่องผู้ก่อการร้าย
 
            อาจจะไม่ใช่ภาพยนตร์ที่สามารถฉายได้ทั่วไปตามโรงภาพยนตร์หรือหาซื้อได้ตามร้านดีวีดีทั่วไปในประเทศไทย อันที่จริงแล้วสังคมไทยบางส่วนยังไม่รู้เลยว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้มีตัวตนอยู่ในประเทศไทยนี้ด้วยเพราะ จะเรียกว่ามันเป็นภาพยนตร์ใต้ดินหรืออินดี้นอกกระแสเรื่องหนึ่งที่หากไม่ใช่แฟนผลงานของผู้กำกับท่านนี้คงยากจะที่รู้ถึงการมีอยู่ของมันได้
 
            เสมือนประวัติศาสตร์ของประเทศนี้นั่นเอง
 
            ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับโดย ผู้กำกับอินดี้อย่าง ธัญสก พันสิทธิวรกุล ที่สื่อสารทัศนคติทางการเมืองและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ผ่านมุมมองในภาพยนตร์ของตนเองที่ต้องบอกได้ว่า นี่คือ ภาพยนตร์ที่เปิดเผยตีแผ่บางอย่างที่ซ่อนอยู่ด้วยอารมณ์เกรี้ยวกราดชนิดที่ว่า ไม่มีภาพยนตร์เรื่องใดกล้าทำเช่นนี้มาก่อน
 
             เรื่องราวของผู้ก่อการร้ายนั่นดำเนินไปเป็นภาพยนตร์ในรูปแบบสารคดีที่เล่าผ่านตัวละครที่เป็นเกย์ในชนชั้นอาชีพต่าง ๆ รวมทั้งบอกเล่าถึงสิ่งผิดปกติในสังคมของไทยอาทิ คนงานต่างด้าว เกย์ ไปจนถึงประวัติศาสตร์ แทรกผ่านภาพฟุตเตจที่เกิดขึ้นในสองช่วงเวลาผ่านเรื่องราวต่าง ๆ ที่ถูกบอกเล่าผ่านราวกับสายลมที่จางหายไป
 
             บอกให้เรารับรู้ว่า มีอะไรที่เราหลงลืม และ มีอะไรที่เราจำสิ่งที่เราไม่ได้จดจำกันบ้าง
 
              หนังมีฉากเผยอวัยวะเพศอย่างโจ่งครึ้ม และมีฉากร่วมเพศของเพศเดียวกัน รวมทั้งฉากโชว์อวัยวะเพศภายในป่ามากมายจนหากเป็นคนที่มีจริตก้านอาจจะถึงกับรับไม่ได้เลยทีเดียว
 
              บางคนอาจจะถามว่า ทำไมถึงเอาฉากนี้มาขึ้นจอ
 
              หรือแม้แต่ตัวผมเองที่นั่งคิดไปชั่ววูบหนึ่งว่า เอาอันนี้ขึ้นมันจะดีเหรอ
 
              ซึ่งตัวหนังได้ถามย้อนเรากลับไปว่า แล้วมีใครห้ามเหรอว่า ห้ามเอาฉากเซ็กซ์ อวัยวะเพศ หรือกระทั่งเกย์ขึ้นจอ
 
               อืม...ผมมานั่งคิดแล้วมันก็ไม่มีจริง ๆ แหะ นั่นเองที่ทำให้ผมฉุกคิดขึ้นมาว่า หรือเพราะเราอยู่ในสังคมที่เซ็นเซอร์ตัวเองมาจนชินแล้วกันแน่ที่ทำให้เรามีกระบวนการเซ็นเซอร์ตัวเองอยู่ในหัวเช่นนี้ว่า สามารถรับอะไรได้หรือไม่ได้
 
              สิ่งที่ผมสนใจนั่นก็คือ ทุกวันนี้เราอยู่ในสังคมที่เรียกได้ว่า เต็มไปด้วยความข้อมูลข่าวสารมากมายที่พร้อมจะทำให้เราเชื่อในสิ่งที่ข่าวได้บอกเล่าออกมาโดยไม่ได้สนใจว่า บางครั้งสิ่งที่เราได้ยินหรือเล่านั่นอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นจริงก็ได้หรือถูกกระบวนการบางอย่างที่ทำให้ถูกลืมไป
 
             ดังนั่นหากเรามานั่งตีความคำว่า ผู้ก่อการร้ายเสียใหม่ เราจะเห็นว่า มันไม่ใช่คำที่เลวร้ายอะไรเลย แต่เป็นคำที่ใช้เรียกบุคคลที่มีความแตกต่างทั้งเชื้อชาติ รสนิยมทางเพศ ไปจนกระทั่งความคิดของสังคมนั่นน่ะเอง
 
              แน่นอนว่า เราถูกปลูกฝังให้เกลียดชาวต่างด้าวอย่างพม่า เขมร(อันมีผลมาจากประวัติศาสตร์ชาติไทยอันไกลโพ้น) เรารู้สึกดูถูกชนชาวลาวถึงกับเอาชื่อเรียกชาติเขามาใช้เรียกคนที่แตกต่างตัวเชย เราดูถูกฝรั่งชาติต่าง ๆ ด้วยเหตุผลทางชาตินิยมที่ถูกสร้าง
 
               เรารังเกียจเพศที่สามด้วยมูลเหตุที่ถูกปลูกฝังทางปิตาธิปไตยทางศาสนา วัฒนธรรม ทำให้เรารังเกียจพวกเขาราวกับปีศาจ
 
 
               และนั่นเองก็ไม่ได้ต่างไปกับการที่หลายคนในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ที่ถูกปลุกระดมฝังความกลัวเรื่องคอมมิวนิสต์ลงไปในหัวจนส่งผลให้มีการฆ่านักศึกษามือเปล่าในธรรมศาสตร์มากมายจนทำให้วลีที่ว่า ฟาดด้วยเก้าอี้ กลายเป็นวลีฮิต รวมทั้งภาพการฟาดด้วยเก้าอี้ในวันนั่นกลายเป็นภาพที่น่าสยดสยองที่สุดครั้งหนึ่งบนโลก
 
                และน่าแปลกที่เหตุการณ์สุดสยองครั้งนี้กลับไม่อยู่ในความทรงจำของใครหลายคนเลย
 
                บางคนถึงกับถามว่า ภาพนี่เกิดขึ้นที่ประเทศไทยจริง ๆ หรือ ไม่ก็บอกว่า พวกเขาไม่เคยได้ยินแบบนั่นมาก่อนเลย
 
                 ครับ จะไปโทษพวกเขาก็ไม่ได้ครับ เพราะหนังสือแบบเรียนของประเทศไทยไม่ได้ให้ความสำคัญตรงนี้เลยแม้แต่น้อย เรามัวเสียเวลาไปนั่งศึกษาประวัติศาสตร์อันไกลโพ้นของสุโขทัย และ อยุธยา เราถูกให้เชิดชูการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 มากเพียงใด ภาพความทรงจำของวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ก็จางหายไปมากเท่านั่น
 
               ราวกับมันไม่มีอะไรเกิดขึ้นในวันนั่น
 
               วันที่คนไทยฆ่ากันเองอยางบ้าคลั่งที่สุดในประวัติศาสตร์
 
                นี่เองที่หนังตบหน้าเราว่า เพราะเราไม่เคยเรียนรู้สิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต ดังนั่นจึงเกิดเหตุการณ์แบบนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าราวกับไม่มีวันจบสิ้น จากพฤษภาทมิฬ ปี 2535 มาจนถึงพฤษภาเลือด 2553 แค่กลับตัวเลขเท่านั่นทุกอย่างก็กลับคืนมาเช่นเดิม
 
 
                เหมือนสังคมไทยนั่นไม่ได้เรียนรู้อะไรเลยจากประวัติศาสตร์
 
                 ในหนังมีการเปรียบเทียบเรื่องเล่าหนึ่งออกมาว่า เมื่อสมัยเขาเป็นเด็ก แม่บอกเขาว่า เขาชอบนั่งรถราง แต่ที่จริงแล้วรถรางยกเลิกไปก่อนที่เขาจะเกิดเสียอีก ทว่าเขายังจำได้ว่า เขาเคยนั่ง
 
                เรื่องเล่านี่เป็นเสมือนการเปรียบเปรยถึงการจดจำในสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง รวมทั้งหลงลืมสิ่งต่าง ๆ ไปอย่างง่าย 
 
                เหมือนเช่นกับที่เราได้หลงลืมว่า มีการยิงนักศึกษาในธรรมศาสตร์ในวันที่ 6 ตุลาคม 
 
                เราลืมการต่อสู้ในวันเสียงปืนแตก 
 
                เราลืมกระทั่งชายชราที่ผูกคอตายต้านรัฐประหารในวันที่คนเกือบทั้งประเทศดีใจกับการเป็นเผด็จการขับไล่ทักษิณ ชินวัตร 
 
                เราลืมกระทั่งว่า มีการยิงคนตายที่ราชประสงค์ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
 
                เราลืมว่า มีชายชราคนหนึ่งเสียชีวิตในคุกด้วยข้อหาที่เขาไม่ได้ทำ
 
                เราลืมว่า มีผู้ต้องขังอีกมากมายที่ถูกจับกุมและคุมขังด้วยความผิดที่พวกเขาไม่ได้ก่อ
 
                หลังจากวันนั้นเราได้ยินเสียงเพลงขอความสุขกลับคืนมา เราได้ยินข่าวช่องฟรีทีวีเสนอข่าวตึกที่ถูกเผาไหม้ แต่ไม่มีใครนำเสนอภาพของคนที่ตาย คนที่ถูกจับกุม คนที่ถูกละเมิดสิทธิอีกนับพัน ๆ เลยแม้แต่ช่องเดียว อารมณ์ของการพยายามให้ลืมคุ้งไปทั่วประเทศ
 
               หลายคนถูกพยายามให้จำสิ่งที่รัฐบอกมาและเชื่อว่า มันคือความจริง
 
               และนี่เองที่ทำให้หนังพาเราไปให้เห็นภาพอีกด้านของความจริง ที่ไม่เคยถูกเปิดเผยและหลายคนไม่เคยได้รับรู้ หรือ
 
 
               รู้แต่ไม่สนใจ
 
               เพราะสังคมนี้พร้อมผลักไสให้ใครสักคนเป็นผู้ก่อการร้ายได้ทั่งนั้น หากคุณมีบางอย่างแตกต่างจากสิ่งที่สังคมต้องการ
 
               ทั้งเรื่องเพศวิถี เซ็กซ์ ความคิดไปจนกระทั่งประวัติศาสตร์ที่พร้อมถูกตราหน้าเป็นผู้ก่อการร้ายได้เสมอ
 
               นั่นเองที่ทำให้ความจริงถูกลบเลือนหายไปจากความทรงจำของผู้คน
              
               เราเดินในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในตอนนี้โดยไม่รู้ว่า ที่นี่มีคนตาย
 
               เหมือนที่หลายคนเดินสนุกสนาน ช๊อบปิ้งกันที่ราชประสงค์ และหลงลืมไปว่า
 
               ที่นี่ก็มีคนตายเหมือนกัน
 

บล็อกของ Mister American

Mister American
ถ้าเอ่ยชื่อของไมเคิ่ล ฮานาเก้ ถ้าไม่ใช่แฟนหนังจริงๆหลายคนอาจจะไม่รู้จักเขาเท่ากับผู้กำกับคนอื่นๆอย่าง ไมเคิ่ล เบย์ สปีลเบิร์กหรือคาเมร่อนก็ตาม แต่ถ้าพูดถึงสิ่งที่หลายคนมารู้จักผู้กำกับจากยุโรปได้ก็คงไม่พ้นนิยามหนังของเขาที่หลายให้คำว่า โหดเหี้ยม เลือดเย็น และน่าขนลุก โดยหนังที่หลายคนมักจะ
Mister American
(เนื้อหาบทความนี้อาจะเปิดเผยความลับของภาพยนตร์)  ผมเชื่อว่าทุกคนเคยมีความฝัน ครั้งหนึ่งเมื่อสมัยที่ฮีโร่ของญี่ปุ่นอย่าง อุลตร้าแมน ไอ้มดแดง ขบวนการห้าสีบุกจอโทรทัศน์ หลายคนในตอนนั้นยังเป็นเด็กตัวน้อยๆที่เฝ้ารอคอยหน้าจอที่สัปดาห์เพื่อจะได้ชมฮีโร่ของตัวเองปราบปรามเหล่าร้ายในหน้าจอที่หวังยึดครองโลก เราได้สนุกสนานกับการผจญภัยของพวกเขา บางคนอาจจะถึงขั้นอยากเป็นฮีโร่กับเขาบ้างเลยทีเดียว หรือบางคนอาจจะใฝ่ฝันที่จะได้เห็นฮีโร่ตัวจริงด้วยสายตาของตัวเอง  ซึ่งเด็กชายที่ชื่อ ฟิล โคลสัน คือหนึ่งในนั้น
Mister American
ครั้งหนึ่งเมื่อภาพยนตร์เรื่อง เฉือน ของผู้กำกับก้องเกียรติ โขมศิริ ได้ลงโรงฉายชนกับภาพยนตร์รัก Feel Good อย่างรถไฟฟ้ามาหานะเธอนั้นหลายคนที่ไปชมเรื่องนี้ต่างอึ้งกับภาพความโหดร้าย ของฆาตกรต่อเนื่องของไทยที่คาดว่าจะเป็นภาพยนตร์ฆาตกรต่อเนื่องที่น่าสนใจ เรื่องหนึ่ง และมีคำถามขึ้นมาว่า