Skip to main content

            ถ้าพูดประธานาธิบดีที่คนอเมริกันรักที่สุด และ เนื้อหอมที่สุดในฮอลลีวู้ดตอนนี้คงจะเป็นใครไปไม่ได้นอกจากประธานาธิบดีคนที่ 16 ของสหรัฐอเมริกานาม อัมบราฮัม ลินคอล์น ผู้ซึ่งดำเนินการแผนเลิกทาสขึ้นครั้งใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกาจนก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า เสรีภาพขึ้นในประเทศนี้และเป็นแรงกระเพื่อมไปยังทั่วโลกให้มีการเลิกทาส ทว่าผลการเลิกทาสนั้นได้ส่งผลให้เกิดการแบ่งแยกประเทศขึ้นโดยแบ่งเป็นอเมริการัฐทางเหนือและอเมริการัฐทางใต้ที่ไม่สนับสนุนรัฐธรรมนูญฉบับเลิกทาสนี้จนส่งผลให้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นและมีผู้เสียชีวิตไปจำนวนมากก่อนที่ฝ่ายเหนือจะเอาชนะสงครามได้

                รัฐธรรมนูญที่แก้ไขแล้วจึงมีผล

                และทำให้การเลิกทาสเกิดขึ้น

                ทว่าท่ามกลางความยินดีของเหล่าประชาชนจำนวนมากนั้นก็มีคนบางกลุ่มไม่พอใจและวางแผนสังหารประธานาธิบดีคนนี้รวมทั้งโค่นล้มรัฐบาลสหรัฐอเมริกาไปพร้อม ๆ กันด้วย

                ในวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1865

                แน่นอนว่าชีวประวัติและเรื่องราวของลินคอล์นอยู่ในความสนใจของประชาชนรวมทั้งคนทั่วโลกในฐานะประธานาธิบดีผู้ต่อสู้เพื่ออิสรภาพของคนผิวสีและทาสที่ทำให้สิ่งที่เรียกว่า “ประชาธิปไตยนั้นได้เป็น ประชาธิปไตยเป็นการปกครองโดยประชาชนเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง” เรื่องราวของลินคอล์นถูกนำมาถ่ายทอดลงบนแผ่นฟิลม์หลายต่อหลายครั้งในหลายปีที่ผ่านมา ทั้งในรูปแบบหนังบล็อกบัสเตอร์แนวแฟนตาซีอย่าง abraham lincoln vampire hunter ที่นำชีวประวัติของลินคอล์นมายำรวมกับตำนานแวมไพร์ได้สะแด่วแห้วดีแท้ หรือกระทั่งหนังประวัติของ Lincoln ที่นำเรื่องราวของเขาในช่วงสุดท้ายมากล่าวถึง ซึ่งกำกับโดยพ่อมดแห่งฮอลลีวู้ด สตีเว่น สปีลเบิร์ก ที่รังสรรค์เรื่องราวออกมาแถมได้นำนักแสดงในตำนานอย่าง เดเนี่ยล เดย์ ลูอิส มารับบทลินคอล์นได้อย่างยอดเยี่ยมจนคว้ารางวัลออสการ์สาขาการแสดงกลับไปอีกหน แต่ทว่าเรื่องราวของลินคอล์นก็ไม่ได้มีเพียงแง่มุมด้านผลงานเท่านั้น เรื่องราวในคืนวันสังหารหรือการลอบสังหารของเขาก็ถูกนำมาเล่าเช่นกันโดยเฉพาะภาพยนตร์กึ่งสารคดีเรื่องนี้อย่าง Killing Lincoln ของช่องโทรทัศน์ national geographic ที่เผยให้เราเห็นว่า ในวันที่ 14 เมษายนนั้นไม่ได้มีเพียงลินคอล์นเพียงคนเดียวที่อยู่ในแผนลอบสังหาร แต่รวมไปถึงรองประธานาธิบดีแอนดรูว์ จอห์นสัน และ รัฐมนตรีต่างประเทศของเขาด้วย ทว่ามีเพียงลินคอล์นเพียงคนเดียวที่เสียชีวิตในวันนั้น

                และลินคอล์นนั้นเสียชีวิตลงด้วยฝีมือของนักแสดงละครเวทีชื่อดังผู้ฝักใฝ่ฝ่ายใต้อย่าง จอห์น วิล บูธ

                ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้พาเราไปสำรวจเรื่องราวที่เกิดขึ้นก่อนหน้าหกเดือนในแผนลอบสังหารลินคอล์น ที่หนังได้ให้ข้อมูลเราว่า ก่อนการสังหารที่เกิดขึ้นในวันที่ 14 เมษายนนั้นมีความพยายามลักพาตัว จับกุม หรือกระทั่งทำร้ายประธานาธิบดีคนที่ 16 คนนี้อยู่เนื่อง ๆ โดยบูธและพรรคพวกที่พยายามอย่างยิ่งที่จะจับตัวลินคอล์นให้ได้เพื่อแลกกับการแลกตัวเชลยศึกชาวใต้คนอื่น ๆ ที่ถูกจับกุมตัว ทว่าหลังการล้มเหลวหลายครั้งเข้า จนกระทั่งฝ่ายใต้ที่ทำสงครามกับฝ้ายเหนือนั้นเริ่มเพลี่ยงพล้ำและพ่ายแพ้ การลักพาตัวก็เริ่มแปรเปลี่ยนไปเป็นการลอบสังหารแทน ซึ่งมีการบันทึกเอาไว้หลายครั้งถึงแผนสังหารประธานาธิบดีลินคอล์น ที่มีแต่ลอบยิงไปจนถึงวางระเบิด ซึ่งไม่รู้เหตุผลกลใดที่ลินคอล์นก็รอดไปได้ทุกครั้ง

                จนมาถึงแผนสังหารในวันที่ 14 เมษายนนี้เอง

                อันที่จริงลินคอล์นก็รับรู้อยู่แล้วถึงการลอบสังหารเขา แต่กระนั้นเขาก็ไม่ได้จัดวางกำลังหรือหน่วยคุ้มกันเพิ่มเติมใด ๆ เนื่องจากเขารู้ว่า ถ้าเกิดมีการจัดกำลังเพิ่มเติมล่ะก็บรรยากาศของบ้านเมืองที่เขากำลังพยายามสมานฉันท์ให้สองฝ่ายกลับมารวมตัวกันได้นั้นจะต้องสูญเปล่า

                เพราะในตอนนั้นมีแต่บรรยากาศของความเกลียดชังเกิดขึ้นไปทั่วแผ่นดินสหรัฐอเมริกา

                คนฝ่ายใต้ประกาศแยกดินแดนเนื่องจากไม่พอใจรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ประกาศเลิกการค้าทาส ซึ่งแน่นอนว่ามันส่งผลกระทบต่อธุรกิจปลูกยาฝิ่น ธุรกิจไร่เกษตรกรรมของชาวใต้ผู้มีมั่งมีจำนวนมากที่ใช้แรงงานทาสผิวสีที่พวกเขาจับมาจากแผ่นดินอื่น การมีกฎหมายฉบับนี้ย่อมหมายความว่า พวกเขาจะไม่สามารถกดขี่แรงงานทาสเหล่านี้ในราคาที่ถูกแบบนี้ได้นั่นเอง และต้องไปจ้างแรงงานที่มีราคาแพงกว่าแทน

                ซึ่งย่อมหมายถึงกำไรหดหายไปนั่นเอง (ไม่ได้ขาดทุนนะ แค่กำไรหด)

                ส่งผลให้กลุ่มคนมั่งมีชาวใต้ตัดสินใจรวมตัวกันและก่อตั้งสมาพันธรัฐขึ้น โดยมีการลงขันทั้งด้านกำลังพล อาวุธ และเสบียงเพื่อโค่นล้มสหรัฐอเมริกา โดยจุดมุ่งหมายคือ โค่นล้มรัฐธรรมนูญฉบับนี้นั่นเอง

                และนั่นเองที่ทำให้ความเกลียดชังเกิดขึ้นไปทุกย่อมหญ้า

                คนผิวสีหรือทาสที่ได้รับอิสรภาพต่างชื่นชอบและชื่นชมลินคอล์นกันมากมาย และนั่นเองที่เป็นกุญแจความสำเร็จของเขาในการเอาชนะสงครามด้วยกำลังพลผสมผิวสีและขาวที่ช่วยกันจนสามารถเอาชนะฝ่ายใต้ได้สำเร็จ

                แน่นอนว่า ตรงนี้เองที่หนังได้พาเราไปสำรวจภาพของความเกลียดชังที่เกิดขึ้นผ่านตัวของบูธ ผู้สังหารประธานาธิบดีคนนี้ว่า เขานั้นคิดอย่างไร เขาคิดว่า ประเทศนี้เป็นของคนขาวมิใช่ของพวกผิวสี เขาอ้างถึงศาสนาว่า ไม่ได้กำหนดให้คนเท่าเทียมกัน และมองว่า การกระทำของลินคอล์นขัดต่อประสงค์ของพระเจ้า

                เขาจึงมองว่า ลินคอล์นคือปีศาจร้ายที่ควรจะถูกกำจัดนั่นเอง

                โดยที่เขาคงลืมไปว่า ก่อนคนขาวจะขึ้นมาครองประเทศนี้ ดินแดนของอเมริกานั้นเป็นของชาวอินเดียแดงไม่ใช่หรือ ?

                หนังให้เราเห็นทัศนคติของบูธและนิสัยของเขาว่า บูธเป็นคนอย่างไร เอาจริงแล้ว บูธเป็นคนที่เรียกว่า ดีคนหนึ่งก็ว่าได้ เขาไม่ถือโทษโกรธรุ่นน้องในวงการที่ทำผิดพลาดในการแสดง โอบอ้อมอารีแก่เพื่อนฝูง เรียกว่า เขาคือ คนดีก็ว่าได้

                ทว่าทัศนคติทางการเมืองกลับทำให้เขาเปลี่ยนไป บูธแสดงให้เห็นถึงความรังเกียจลินคอล์นอย่างเห็นชัด เขาคลั่งศาสนา และคลั่งความเป็นชาวใต้อย่างบ้าคลั่ง รวมทั้งทัศนคติเหยียดผิวที่แสดงให้เห็นออกมาตลอดย่อมแสดงให้เราเห็นว่า นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นจากความแตกแยกและความเกลียดชัง

                ความเกลียดชังนี้เองที่ทำให้บูธ ผู้ล้มเหลวในการลอบสังหารหรือลักพาตัวหลายครั้งวางแผนสังหารลินคอล์นอีกครั้งในโรงละครในวอชิงตัน ดีซี

                กระนั้นเองหนังได้แสดงให้เห็นถึงภาพของลินคอล์นในเชิงประธานาธิบดีที่พยายามสมานรอยร้าวนี้ให้ได้ เพราะตอนนั้นสังคมของเขา ทั้งฝ่ายเหนือใต้แทบจะเรียกว่า อยู่ร่วมโลกกันไม่ได้ คนฝ่ายใต้ต้องการฆ่าคนฝ่ายเหนือ คนฝ่ายเหนือต้องการกระทำกับคนฝ่ายใต้ราวกับพวกเขาไม่ใช่ชาติเดียวกันมาก่อน นั่นเองที่ทำให้ลินคอล์นต้องใช้นโยบายที่อ่อนลงและไม่แข็งกร้าวนัก เขาเลือกปล่อยตัวนักโทษฝ่ายใต้กลับบ้าน โดยไม่ตั้งความผิดใด ๆ แม้ว่าจะมีการเสี้ยมโดยสื่อเลว ๆ บางประเภทที่ต้องการให้สงครามเกิดขึ้นอีกด้วยการปล่อยข่าวลือหรือออกข่าวแย่ ๆ ออกมาก็ตาม

                ซึ่งจะว่ามันก็เหมือนสถานการณ์ของบางประเทศดีนะครับ

                ลินคอล์นได้ไปยังเมืองหลวงของฝ่ายใต้และได้รับการต้อนรับจากคนผิวสีที่ได้รับอิสรภาพที่นั้นรวมทั้งคำขอบคุณ แต่ลินคอล์นกลับไม่รับคำขอบคุณนั้น แต่ให้คนผิวสีขอบคุณพระเจ้าแทนที่สร้างพวกเขาเป็นคนแบบเดียวกัน

                และมนุษย์ไม่ควรแบ่งแยกสี หรือ มีทาส

                ทุกคนมีสิทธิในชีวิตของตัวเองเหมือนกัน

                ทว่าการกระทำของลินคอล์นที่พยายามจะสมานฉันท์ประเทศกลับไม่ทำให้บูธแปรเปลี่ยนความเกลียดลงเลย เขากลับคิดว่า ถ้าจะพลิกสถานการณ์ให้ฝ่ายใต้ที่พ่ายแพ้ไปประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์แล้วกลับมาชนะได้ก็จำเป็นต้องฆ่าลินคอล์นและล้มรัฐบาลให้ได้เท่านั้น

                และแล้วแผนการสังหารก็เกิดขึ้น

                จะพูดได้ว่า สิ่งที่สังหารลินคอล์นนั้นไม่ใช่ กระสุนปืนที่ยิงออกมาจากปลายกระบอกปืนของบูธ แต่เป็น ความเกลียดชังต่างหากที่ฆ่าเขา

                ถ้ามีคนได้เจอลินคอล์นแล้วถามเขาว่า สิ่งที่เขาทำลงไปนั้นคุ้มค่าหรือไม่กับการตายลินคอล์นคงหัวเราะแล้วบอกเราว่า

                “The true rule, in determining to embrace, or reject any thing, is not whether it have any evil in it; but whether it have more of evil, than of good. There are few things wholly evil, or wholly good.Almost everything, especially of governmental policy, is an inseparable compound of the two; so that our best judgment of the preponderance between them is continually demanded” (กฎที่แท้จริง ในการตัดสินใจว่าจะเลือกรับหรือไม่รับอะไรก็ตาม ไม่ใช่เพียงเพราะว่า "มันไม่ดี" แต่ต้องดูว่า "ส่วนที่ไม่ดี" นั้น มากกว่า"ส่วนที่ดี"หรือเปล่า "จุดที่ดี"หรือ"ไม่ดี"มีกี่จุด กฎนี้ใช้ได้กับทุกอย่าง โดยเฉพาะนโยบายรัฐบาล ทุกอย่างประกอบด้วยสององค์ประกอบที่แยกกันไม่ออก เพราะฉะนั้นเราก็ต้องชั่งน้ำหนักเอาเอง)

อัมบราฮัม ลินคอล์น.

                นั่นคือคำตอบที่ประธานาธิบดีคนนี้ได้เลือกทำลงไปและผลของมันคือ แม้ว่ามันจะทำให้คนตายในสงครามไปมากมาย แต่อย่างน้อยมันก็ทำให้ประเทศแห่งนี้ไม่สิ อาจจะโลกใบนี้ได้รู้จักซึ่งคำว่า เสรีภาพ น่ะเอง

                แต่หนังก็ยังไม่ได้จบเพียงเท่านี้ หนังพาเราไปดูจุดจบสุดท้ายของชายผู้ได้ชื่อ มือสังหารลินคอล์นอย่าง บูธ ว่าจะมีจุดจบอย่างไร หลังการสังหารลินคอล์นนั้น บูธ ได้รับบาดเจ็บที่ขาและหนีไปพร้อมกับพรรคพวกลงไปยังรัฐทางใต้ด้วยจิตใจหมายมั่นว่า การกระทำของเขาจะช่วยพลิกสถานการณ์ให้ฝ่ายใต้ได้

                และเขาจะถูกยกย่องให้เป็นวีรบุรุษผู้สังหารทรราชผู้ชั่วร้ายไปตลอดกาล

                แบบเดียวกับที่ บรูตัส สังหารซีซาร์ในบทละครเช็คสเปียร์ที่เขาชื่นชอบ

                โดยเขาคงลืมไปว่า

                จุดจบของบรูตัสเป็นแบบใด ?

                และบูธก็ถูกทีมไล่ล่าของประธานาธิบดีแอนดรูว์ จอห์นสันออกไล่ล่าและสังหารลงในที่สุดก่อนที่เขาจะตายอย่างทรมานในอีกไม่กี่วันต่อมา

                ไม่ต่างกับที่ลินคอล์นตายเลยแม้แต่น้อย

                สิ่งที่เราได้รับรู้อีกอย่างเกี่ยวกับความเกลียดชังในยุคนั้นว่า เรื่องราวเกี่ยวกับบูธและวันสังหารส่วนมากนั้นถูกเขียนขึ้นอย่างไม่ครบถ้วนและมีอคติอย่างรุนแรงทำให้ไม่อาจจะเชื่อถือได้เลยด้วยซ้ำไป ซึ่งบ่งบอกบรรยากาศของความแตกแยกในสังคมได้ดี

                ก็ไม่น่าแปลกใจที่บูธในหนังหลายเรื่องจะมีสภาพเป็นไอ้ขี้ขลาดหรือปีศาจ ต่างจากประธานาธิบดีลินคอล์นผู้เปรียบเสมือนพระเจ้าคนนี้

                ราวกับสีขาวและดำ

                เอาจริงแล้วเมื่อเรามานั่งวิเคราะห์ดูอีกครั้งจะพบว่า ถ้าฝ่ายใต้ชนะจริง บูธอาจจะเป็นวีรบุรุษที่ยกย่องและมีชื่อเสียงมาก ๆ ในฐานะผู้ฆ่าทรราชก็เป็นได้ ดีไม่ดี ลินคอล์นเสียเองอาจจะเป็นคนที่ถูกใส่สีตีไข่เสียจนไม่เหลือชิ้นดีและกลายเป็นปีศาจร้ายไปก็ได้กระมัง

                บูธก็แค่มนุษย์คนหนึ่งที่มีความรัก โลภ โกรธ หลง เป็นธรรมดาของเรา การกระทำของเขาอาจจะชั่วร้ายในการฆ่าประธานาธิบดีคนนี้ แต่ถามจริงว่า บูธก็เป็นคนที่แสดงให้เห็นว่า เขารักชาติของเขามากเพียงใด เขาอาจจะคิดไม่เหมือนกับเราเท่านั้น

                แต่ถามว่า ถ้าคุณจะมองหาใครสักคนที่ผิดในเรื่องนี้ล่ะก็ ผมตอบได้ว่าไม่มีใครผิดทั้งนั้น

                แต่ถ้าจะหาความผิดให้ใครสักคนล่ะก็ สิ่งที่ผิดในเรื่องนี้คือ ความเกลียดชัง ความไม่เท่าเทียมกันของมนุษย์ และ การกดขี่ข่มเหงกันของมนุษย์ด้วยกันต่างหาก

                ที่ผิด

…..

                “When I do good, I feel good. When I do bad, I feel bad. That's my religion.”

                (เมื่อข้าพเจ้าทำดี ข้าพเจ้าจะรู้สึกดี เมื่อทำเลว ก็จะรู้สึกไม่ดี นั่นแหละ ศาสนาของข้าพเจ้า)

อัมบราฮัม ลินคอล์น.

บล็อกของ Mister American

Mister American
          ท่ามกลางควันสีขาวที่โพยพุ่งออกมาจากปล่องของเมรุแห่งหนึ่งในอำเภอเล็กๆ ที่แสนสงบสุข ชายชราคนหนึ่งนั่งอยู่ตรงเก้าอี้หน้าเมรุนั้นพลางทำสีหน้าที่ยากจะบรรยายได้ว่า เขากำลังคิดอะไรอยู่ภายในใจหลังจากที่คู่ชีวิตของเขาได้จากลาลับไปเสียก่อนแล้ว สีหน้าที่นิ่งเฉยของชายชราพร้
Mister American
  ในที่สุดมหกรรมกีฬาแห่งมวลมนุษยชาติอย่าง โอลิมปิค 2012 ก็ได้จบลงไปแล้ว ซึ่งถือได้ว่าเป็นโอลิมปิคที่หลายคนจดจำและลุ้นกันอย่างเต็มที่ว่า ทัพนักกีฬาของประเทศไทยจะคว้าเหรียญทองกลับมาได้หรือไม่ นอกจากยังมีควันหลงมากมายที่เกิดขึ้นในกีฬา
Mister American
             ช่วงนี้การเมืองของประเทศไทยดูค่อนข้างสงบเรียบร้อยดีนะครับ ไม่ค่อยมีเหตุการณ์ที่ชวนให้เสียวบั่นท้ายแบบเมื่อเดือนที่แล้วหรือเมื่อหลายปีก่อนเท่าไหร่นักราวกับ พายุฝนได้พัดผ่านไปแล้ว ทว่า ความสงบนี้เองกลับเป็นความรู้สึกที่ไม่เป็นมิตรเท่าใด เพราะมีคำกล่าวไว้ว่า  น้ำนิ่งย่อมไหลลึก หรือ ความสงบสุขก่อนพายุลูกใหม่จะมาถึง   
Mister American
          ก่อนอื่นขอแสดงความเสียใจแก่เหตุโศกนาฏกรรมในโรงหนังในรัฐโคโลลาโด้ นี่เป็นอีกครั้งที่สังคมอเมริกาได้รับรู้ว่า ภัยที่น่ากลัวที่สุดไม่ใช่การก่อการร้ายแต่เป็นระบบการซื้อขายปืนที่ง่ายดายอย่างยิ่งราวกับขนมของประเทศตัวเอง ซึ่งในความเห็นของผมแล้ว ควรจะมีการทบทวนกฎหมายนี้ให้มีความรัดกุมมากยิ่งขึ้นเสียที หลายคนถามผมว่ามันเกิดจากอิทธิพลของหนังหรือเปล่า ผมส่ายหน้าว่า หนังไม่มีทางทำให้คนลุกขึ้นยิงใครแบบนั้นแน่นอน  ซึ่งต้องอยู่ที่การสืบสวนของทางเจ้าหน้าที่ว่าจะออกมาอย่างไร  
Mister American
               กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว เด็กชายตัวเล็กๆในครอบครัวคนรวยอันแสนอบอุ่นนามว่า บรูซ เวย์น ต้องเปลี่ยนไปตลอดกาลเมื่อพ่อและแม่ของเขาถูกฆ่าด้วยโจรกระจอกคนหนึ่งส่งผลให้โลกของเขาล่มสลายไปในทันตาแถมกฎหมายยังไม่สามารถเอาผิดโจรคนนั้นได้นั้นทำให้ตั
Mister American
             เชื่อว่า หลายคนคงได้รับทราบสิ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยกันไปแล้วนะครับ และผมเชื่อว่า มีปฏิกิริยาหลายอย่างเกิดขึ้นแน่ๆในสังคมไทยแห่งนี้ แต่ที่แน่ๆก็คือ ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทยยังไม่ยุติ แต่กำลังเริ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง มีหลายคนถามผมว่า เพราะอะไรประเทศไทยถึงเป็นเช่นนี้ แน่นอนว่า หลายคนก็คงมีคำตอบเป็นของตัวเองกันอยู่แล้ว แต่สำหรับทัศนะของผมแล้ว การที่ประเทศไทยเป็นอย่างทุกวันนี้นั้นก็เพราะ การที่มีการเล่นนอกเกมกนั้นเอง ดังนั้นหากเปรียบการเมืองเป็นอะไรสักอย่างล่ะก็คงไม่พ้น กีฬานั้นเอง
Mister American
         “การเป็นเกย์ กระเทย เป็นเรื่องวิปริต”
Mister American
                      เมื่อวันที่ 24 มิถุนายนที่ผ่าน คนไทยหลายคนคงงุนงงว่า มันเป็นวันอะไรเพราะไม่ได้มีวันหยุดราชการ ไม่ได้มีนายกรัฐมนตรีออกมาพูดเรื่องวันนี้ราวกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในวันนี้ได้ถูกลืมไปแล้วในสังคมไทย ซึ่งที่จริงแล้วก็มีกลุ่มค
Mister American
           เมื่อหลายวันที่ผ่านมา หลายคนคงได้ทราบข่าวเหตุการณ์สะเทือนขวัญกลางกรุงนั้นก็คือ เหตุการณ์ที่เด็กช่างกลโรงเรียนหนึ่งได้สาดกระสุนเข้าไปในรถเมล์ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึงสองคน ซึ่งข่าวนี้ได้สร้างความตื่นตะลึงและน่าตกใจอย่างยิ่งแก่สังคม และเป็นอีกครั้งที่คนก่อเหตุ
Mister American
             ท่ามกลางความวุ่นวายในช่วงสามสัปดาห์ที่ผ่านมาทั้งในรัฐสภา ทั้งบนท้องถนน เราได้เห็นภาพที่ไม่น่าเชื่อปรากฏขึ้นต่อสายตาของใครหลายคน ภาพเหล่านั้นทำให้ใครหลายคนต่างเริ่มรู้สึกเบื่อหน่ายกับระบอบที่ถูกเรียกประชาธิปไตยว่า ช่างไม่มีความสงบสุขเลยแม้แต่น้อย หล
Mister American
   (บทความตอนนี้จะเป็นเรื่องเบาๆเพื่อให้เตรียมตัวกันให้พร้อมก่อนชมภาพยนตร์เรื่อง Prometheus)
Mister American
ก่อนอื่นต้องขอแสดงความยินดีอีกครั้งกับป๋าไมเคิ่ล ฮานาเก้ที่ได้รางวัลปาล์มทองอีกครั้งหนึ่งจากเทศกาลหนังเมืองคานส์ Ffpภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของเขาอย่าง Amour ที่เรียกได้ว่าเป็นบทพิสูจน์อีกครั้งว่า ฝีมือการทำหนังของผู้กำกับคนนี้เป็นของจริงที่ยิ่งเวลาผ่านไปรสชาติการทำหนังของเขาก็ยิ่งเข้มข้นทุกทีไม่เหมือนผู้กำกับอีกหลายรายที่มือตกไปอย่างไม่น่าอภัย กระนั้นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับชายที่ชื่อว่า ไมเคิ่ล ฮานาเก้นี้ก็คือ แค่หนังเรื่องแรกของเขานั้นก็ปรากฏแววเก่งมาในทันที  และหนังเรื่องแรกของเขาก็คือ The Seven Continent นั้นเอง