Skip to main content

ในช่วงชีวิตคนๆ หนึ่ง ว่ากันโดยส่วนใหญ่ตามประสบการณ์ที่เห็นอยู่  คงมีช่วงเวลาหนึ่งที่ชีวิตก้าวลงสู่ช่วงตกต่ำ  ในแง่นี้อาจจะหนักกว่าคำว่า “ขาลง”  ว่าก็คือชีวิตเริ่มล้มเหลว ทุกข์แสนสาหัส  ดูเหมือนช่วงเวลานั้นไม่ว่าจะพยายามเพียงใด  ทุ่มเทเพียงใด  มันก็ยังไม่มีอะไรดีขึ้น ยังคงแย่ลงๆ เรื่อยๆ  บางครั้งมันก็หนักหนาเกินกว่าจะทนไหว  ซึ่งแน่นอนว่าคนส่วนหนึ่งทนไม่ได้กับสภาวะนั้น  กรณีฆ่าตัวตายจึงเกิดขึ้น  เพราะเมื่อคนยิ่งแย่ลง  ต่ำลง  มันก็ได้เข้าสู่จุดศูนย์ของความเปราะบางมากที่สุด  บริเวณจุดศูนย์ของความเปราะบางนี้เองที่มันก็มีความข้น – จางต่างไปของแต่ละคนตามแต่วิถีของชีวิต  บ้างก็เข้าสู่ภาวะนั้นยาวนาน  บ้างก็สั้นต่างกันไป 

ความสำคัญของจุดศูนย์นั้น  ว่าที่สุดแล้วมันก็เป็นทางผ่านอันหนึ่งที่ชีวิตจำเป็นต้องก้าวผ่าน  หากเราใช้ทางที่ดิ่งลงนั้นหรือใช้จุดศูนย์นั้นเป็นกระบวนการเรียนรู้  แน่นอนว่าเราก็จะเห็น  อันหมายถึงการเฝ้ามองภาวะนั้นตามที่มันเป็น  และดูเหมือนว่าไม่มีอะไรมากไปกว่าการทำความเข้าใจเท่านั้นที่จะทำให้เราก้าวผ่านมันไปได้อย่างมั่นคง  หรือแม้จะโงนเงนไปบ้าง  แต่ที่สุดเราก็จะผ่านมันได้อยู่ดี  ปัญหาก็คือว่า  เราจะก้าวและดำรงอยู่ในภาวะนั้นด้วยความเข้าใจได้อย่างไร  หากมองลึกลงไปอย่างแท้จริงในใจมนุษย์  ภาวะที่เป็นหลักการว่ามองมันอย่างเข้าใจจึงจะพบหนทาง  อย่างนี้เข้าใจได้ไม่ยากนัก  รับรู้ได้ไม่ยากนัก  แต่จะทำอย่างไรให้เข้าใจลึกลงไปในแง่การปฏิบัติ  นี่จึงเป็นเรื่องยากลึกลงไปกว่านั้น

ลองว่ากันดู…  ทางกายภาพคงต้องเปลี่ยนบางอย่างในชีวิต  เช่น  ถ้าการทำ ยิ่งทำยิ่งล้มเหลว  ก็อาจเปลี่ยนเป็นทำให้น้อยลง  แต่หันมาลงลึกกับสิ่งที่ทำให้มากขึ้น  ทำให้ช้าลง  และเรียนรู้เฝ้ามองกระบวนการนั้นโดยตลอดและละเอียด  หรือถ้าหนักหนาสาหัสนักก็อาจถึงขั้นหยุดทำทั้งหมด  แล้วรอ  เฝ้าดูกระบวนการที่ทำมาทั้งหมดว่ามันจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางใด  ในแง่นี้แน่นอนอยู่ว่า  ทั้งหมดมันมีกระบวนการเคลื่อนไหวของมัน  วิธีนี้ในขั้นแรกอาจต้องยอมรับผลกระทบที่เกิดขึ้น  ดังเช่น  คนป่วยที่ดื้อยา  เมื่อหยุดให้ยาก็อาจมีสภาพลงแดง  อันเป็นผลกระทบจากการหยุดยานั้นเอง  ซึ่งต้องใช้ความอดทนพอสมควร 

อีกวิธี… คือการเปลี่ยนทั้งขบวน  คือการเคลื่อนย้ายกระบวนการทั้งหมดของชีวิต  เปลี่ยนทุกสิ่งที่ทำ  ปล่อยให้ชีวิตก้าวลงสู่จุดศูนย์แล้วเริ่มต้นวิถีใหม่ทั้งหมด  อันนี้อาจยากกว่าแต่ก็เป็นไปได้  ในแง่นี้ก็คือการพาตัวเองมาจากสนามพลังอันนั้น  แล้วหันกลับไปมองมันอีกครั้ง  การเรียนรู้ก็จะผุดโผล่ขึ้นมา  ขณะเดียวกันก็อาจจะต้องเผื่อใจยอมรับว่า  ที่สุดแล้วมันจะไม่ได้เปลี่ยนในทันทีทันใด  ความอดทนเป็นปัจจัยสำคัญ  ในวาระนี้กัลยาณมิตรจึงสำคัญและมีส่วนไม่น้อยในการเปลี่ยนแปลง 

วิธีหนึ่ง…  ที่นำพาชีวิตสู่การเรียนรู้แบบใหม่ที่ง่ายที่สุดในภาวะก้าวลงสู่จุดศูนย์นี้  คือการเริ่มต้นวันใหม่ด้วยกิจกรรมแบบใหม่  อาจเริ่มจากการปรับเวลาตื่นนอนให้เช้าขึ้น  แล้วออกไปเดิน  หรือออกกำลังกาย  หรือเดินแล้วค่อยออกกำลังกาย  เดินอย่างปราศจากจุดมุ่งหมาย  เดินช้าๆ  ไม่ต้องมีกระบวนวิธีอะไร  เพียงแค่เดิน  แค่เดินจริงๆ  วิธีนี้มีผู้คนใช้ได้ผลมาพอสมควรแล้ว  และถ้าว่าตามประวัติศาสตร์  ปราชญ์โบราณหลายคนล้วนเป็นนักเดินกันทั้งนั้น…เพียงแค่เดิน

นี่อาจเป็นวิธี…อาจตอบสนองต่อหลักการ (หรือเปล่า มั้ง) หรืออย่างไร…เชิญร่วมวงสนทนาหาทางร่วมกันเถิด

บล็อกของ นาโก๊ะลี

นาโก๊ะลี
เมื่อกว่าสามสิบปีที่แล้ว มีหนังฝรั่งเรื่องหนึ่ง  เข้าใจว่าในช่วงเวลานั้นมีคนกล่าวขวัญถึงหนังเรื่องนี้กันพอสมควร  ด้วยมันเป็นหนังที่คาดการณ์ความเป็นไปในช่วงล่วงเข้าสู่ศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ด นั่นก็คือ 2001A Space Odyssey  เนื้อหาของหนังคงไม่ได้เอามาเล่า ณ ที่นี้  แต่ในภาคแรกของหนังเรื่องนี้นั้นมีประเด็นที่น่าสนใจยิ่ง นั่นก็คือ  เรื่องราวเริ่มขึ้นในโลกมนุษย์ ช่วงเวลาที่ยังไม่มีมนุษย์เกิดขึ้นมา  ลิงฝูงหนึ่ง ซึ่งตัวหนังเล่าว่า ลิงพันธุ์นี้เองที่กำลังจะวิวัฒนาการมาเป็นมนุษย์ ช่วงเวลานั้น ลิงฝูงนี้ก็เริ่มมีปัญหากับลิงพันธ์อื่น  เค้าลางแห่งความขัดแย้ง ปรากฏชัดเจน…
นาโก๊ะลี
เมื่อมีโอกาสมองเข้าไปในการรับรู้ของผู้คน ในภาวะหรือในประเด็นของความขัดแย้งทั้งหลาย ดูเหมือนว่าโดยธรรมชาติ เราทั้งหลายถูกครอบงำจากวัฒนธรรมของตัวเองบางส่วน มันคล้ายเป็นความทรงจำของชนชาติ ว่าก็น่าจะประมาณนั้น นั่นคือว่า เรามีแนวโน้มที่เกลียดชังบางชนชาติที่ต่างไปจากเรา โดยว่าอันที่จริง เมื่อแรกที่เราเริ่มรู้สึกเกลียดนั้น เราก็อาจจะยังไม่ได้รู้จักกับผู้คนในชนชาตินั้นๆ เลยด้วยซ้ำไป มันมีแต่เพียงข้อมูลที่เราไม่รู้แน่ชัด เป็นแต่เพียงการได้ยินได้ฟังมาเท่านั้นเอง และนั่นเอง เราก็ปักใจ เชื่อ และมันก็กลายเป็นความเชื่อที่ฝังแน่นเหลือเกิน จนเมื่อเติบโตขึ้น เราก็พบว่า ความรู้สึกนั้นมันแน่นหนา…
นาโก๊ะลี
อยู่บนโลกใบนี้สักกี่นานที่ประสบพบผ่านบนยุคสมัยกี่คลื่นลมทะเลคลั่งเป็นอย่างไรกี่ขอบฟ้าภูไพรเคยผ่านมาเพื่อจะได้บอกกล่าวเล่าความเพื่อจะนำเสนอนิยามแห่งคุณค่าเพื่อจะเขียนชีวิตธรรมดาเป็นหนทางแห่งกาลเวลาที่ทอดทอความจะคมเป็นคำโครงคอยขับเคลื่อนกระบวนการอันตอกเตือนเป็นทางต่อพบอยู่ใช่ไหมบางถ้อยที่คอยรอเป็นคำที่ชูช่อต่อยอดความลึกตื้นก็ตื่นตาเต็มรู้สึกหรือก่อร่างตกผลึกครุ่นไถ่ถามเรียนรู้เรียบเรียงต่อติดตามทั้งหมดในการพยายามของชีวิต………………………..ดิ่งด่ำสู่ผลึกรู้สึกเมื่อนั่งอยู่ตรงหน้าบทกวีมากมาย  ทั้งกวีรุ่นใหม่ กวีรุ่นเก่า  เห็นอะไรอยู่บ้างเล่าในบทกวีเหล่านั้น …
นาโก๊ะลี
ไม่ว่ายุคสมัยใด ตลอดช่วงเวลาของมนุษยชาติบนโลกใบนี้มีเรื่องราวมากมาย  แน่นอนว่าหลายเรื่องราวนั้นได้รับการบอกเล่ากล่าวขาน  บางเรื่องราวก็กลายเป็นตำนาน  ขึ้นอยู่กับว่าเรื่องราวเหล่านั้นถูกใครนำมาบอกเล่า หรือถูกนำมาบอกเล่าในช่วงเวลาที่พอเหมาะพอดี  มีเรื่องที่คล้ายกันนี้มากมายนัก  สมัยหนึ่งมีเพื่อนบอกว่า มีคนหน้าตาดีอีกมากมายที่ไม่ได้เป็นดารา  แม้ในยุคที่ดาราเกิดขึ้นมามากมายเท่าไหร่ก็ตาม  และมีคนที่ร้องเพลงเพราะมากมายที่ไม่ได้ประกอบอาชีพนักร้อง  หรือมีคนที่ประกอบอาชีพนักร้องมากมายที่ไม่ได้มีชื่อเสียง  เช่นกันว่า เรื่องราวที่นักเขียนบางคนนำมาบอกเล่า…
นาโก๊ะลี
เพื่อนคนหนึ่งเคยเชื้อเชิญให้พวกเราได้มีเวลาสำรวจบาดแผลของชีวิต  เบื้องแรกหลายคนคิดว่าให้สำรวจบาดแผลของจิตใจ  ความเจ็บปวดที่ต้องเผชิญในช่วงเวลาที่ผ่านมา  แต่เพื่อนคนนั้นยืนยันว่า ให้สำรวจบาดแผลทางร่างกายจริงๆ  นั่นก็อาจหมายความว่า ให้เราได้กลับมาสำรวจ และเรียนรู้บาดแผล เพราะนั่นมันอาจเป็นความทรงจำอันดี  เพราะบาดแผลแต่ละครั้ง มันคือการเรียนรู้  มันเป็นประสบการณ์ของชีวิต แผลคือการจารึกเรื่องราว  เพราะทั้งหมดนั้นวันหนึ่งมันจะกลายเป็นทรงจำที่อาจประทับใจใช่แต่บาดแผลเท่านั้นกระมัง  การเผชิญเรื่องราวอันตื่นเต้น  ความเจ็บปวดร้าวในแต่ละครั้ง  ณ…
นาโก๊ะลี
จอมยุทธผู้หนึ่งกล่าวกับขุนศึกผู้ท้อแท้ทอดอาลัยต่อการศึกและการฆ่าฟันในสมรภูมิที่ยังไม่สิ้นศึกว่า      “ท่านสามารถเลือกได้ว่าท่านจะใช้กระบี่เพื่อปกป้องหรือเพื่อทำลาย”  ด้วยคำพูดนี้ ขุนศึกก็กลับสู่สมรภูมิอีกครั้ง ชายหนุ่มปกาเกอะญอเล่าเรื่องการเรียนดาบว่า  เมื่อเริ่มเรียน ทุกคนเข้าไปอยู่ร่วมกันในป่า ผู้เรียนทุกคนต้องร่วมพิธีกรรมบางอย่าง นั่นก็คือการเรียนรู้กันและกัน สืบค้นความเมตตาในใจ เปิดเผยตัวตนของตัวเองต่ออาจารย์และเพื่อน ปลดเปลือยตัวเอง เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการเล่าเรียนวิถีดาบ ในกระบวนการเรียนรู้นั้นห้ามคนนอกเข้าไปเพื่อให้ผู้เรียนทุกคนได้ไว้วางใจกันและกัน…
นาโก๊ะลี
เมื่อการกลับมาครั้งที่หนึ่งกวีหนุ่มเล่าว่า....หลังจากเดินทางไปเมืองไกลหลากหลายเมือง หลากหลายชนบท  หลากถิ่นฐาน พานพบผู้คนมากมายทั้งในระหว่างทาง และในจุดหมายมากมายหลายแห่งนั้น  หลายคราวก็มักมีเรื่องราวให้เรียนรู้ ใคร่ครวญ  บางคราวก็พบเรื่องราวเล่าขาน  และบางคราวเหล่านั้นก็ได้เก็บสะสมเรืองราว อารมณ์ ความรู้สึกจากหลากที่ถิ่นทางเหล่านั้นนั่นเอง  และการเดินทางทั้งหมดนั้น....นานแสนนานกว่าจะได้กลับมา  และในคราวนั้นเอง เขาเล่าเอาไว้ว่า  ปั่นจักรยานออกจากบ้าน   ถึงร้านรวงหลายแห่ง  ผ่านถนนหลายสาย  ล้วนร้านรวง และถนนที่เขาเคยผ่านในวัยเยาว์ …
นาโก๊ะลี
ในตอนหนึ่งของ “จดหมายถึงกวีหนุ่ม” รินเค บอกว่า “หากเธอสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องเขียนบทกวี เธอก็ไม่ต้องเขียนมันหรอก แต่หากว่าเมื่อไหร่ที่เธอรู้สึกว่าอยู่ไม่ได้ถ้าไม่ได้เขียน เมื่อนั้นก็จงเขียนมันซะ” ......... หลายวันก่อน กวี คนหนึ่งบอกว่า “อย่าขวนขวายที่จะพิมพ์บทกวีรวมเล่มเลย เพราะมันจะไปอยู่ในซอกที่มองไม่ค่อยเห็นในร้านหนังสือ”ดูเหมือน บทกวี จะเป็นงานศิลปะที่เคลื่อนไหวอยู่ในยุคโลกตลาดเสรี น้อยที่สุด แต่กระนั้นกวีก็ยังไม่เคยหายไป ตราบที่ยังมีมนุษย์อยู่บนโลก หลายคนว่าไว้อย่างนั้น
นาโก๊ะลี
เรื่องราวของเด็กคนที่หนึ่งครูสั่งให้เด็กทำงานฝีมือ เป็นงานพวกเย็บปักถักร้อย  เด็กหญิงคนนี้ก็เย็บตุ๊กตา ด้วยฝีมือที่ปรานีต ด้วยความตั้งใจอย่างที่สุด  และเธอก็ได้ตุ๊กตาที่สวยสมใจ  และเป็นความภาคภูมิใจที่เธอทำมันขึ้นมาด้วยตัวเอง   และเมื่อถึงเวลาส่งงาน ครูก็กล่าวหาว่าเธอให้แม่ทำให้  และคาดคั้นให้เธอยอมรับว่า งานนี้แม่เธอทำให้ เธอไม่ได้ทำด้วยตัวเอง  เด็กหญิงยืนยันว่าเธอทำมันเองด้วยความตั้งใจ  แต่ครูก็ไม่เชื่อ  แล้วก็ยังคาดคั้นให้เธอยอมรับให้ได้อยู่นั่นเอง ทั้งขู่ว่า ถ้าไม่ยอมรับ จะเรียกผู้ปกครองมาพบ  ไม่ว่าเด็กหญิงจะพูดอย่างไร ครูก็ไม่มีทางเชื่อ…
นาโก๊ะลี
นานมาแล้วกระมังที่เราทั้งหลายได้ยินได้ฟังคำกล่าวที่ว่า ความหลากหลายคือความงดงาม  หมายถึงความหลากหลายในแง่ไหนบ้างเล่าที่ผู้คนกล่าวถึง  ว่าก็คือ ความคิด อุดมคติ อุปนิสัย พื้นเพ ที่มา  วิธีคิด สติปัญญา  ว่าก็คือทุกอย่างมันก็ต่างกันทั้งนั้น  และนั่นก็อาจหมายถึงความหลากหลายด้วย  นั่นก็ใช่ ใช่หรือไม่  ตามคำกล่าวที่ว่า ความหลากหลายนั้นงดงาม  ว่ากันไป เปรียบเปรยถึงป่าเขาลำเนาไพร  หากมีต้นไม้เพียงอย่างเดียว มันก็ไม่งาม เท่านั้นยังไม่พอ มันยังทำให้ผืนดินตรงนั้นสูญเสียความสมดุลไปด้วย  ก็ด้วยป่าที่งามนั้นมันมีต้นไม้นานาพันธ์  ใหญ่น้อย สูง ต่ำว่ากันไป…
นาโก๊ะลี
เคยได้ฟังมาว่า  ครั้งหนึ่งเออเนส เฮมมิงเวย์ได้เคยกล่าวเอาไว้ว่า ภาวะที่ดีที่สุดสำหรับนักเขียน คือภาวะที่เปลี่ยวเหงาโดดเดี่ยว  เมื่อไรก็ตามที่นักเขียนเป็นที่รู้จักของมหาชนมากขึ้น ยื่งมากขึ้นเท่าใด พลังแห่งการสร้างสรรค์ของนักเขียนก็จะยิ่งเหือดหายไป.....................  เมื่อคราวแรกที่ดูหนังเรื่อง Finding Forester  ก็สงสัยว่า ตัวละครหลักของเรื่องคือ William Forester  ซึ่งเป็นนักเขียนมีชื่อเสียง เขียนหนังสือเล่มเดียวแล้วก็ไปเก็บตัวอยู่โดดเดี่ยวในห้องเช่าเล็กๆ ในเขตคนผิวดำ  แล้วก็ไม่มีผลงานตีพิมพ์อีกเลย  เมื่อดูหนังเรื่องนี้หลายรอบเข้า  ว่าก็ปาเข้าไป…
นาโก๊ะลี
โลกกำลังนำพาข้าฯไปข้างหน้า....บอกข้าฯว่า“จงก้าวหน้า” ไม่รู้หรือ…?ที่สุดแล้ว...ผองชนล้วนค้นหาวันวานแห่งตน………………………………………………………………………………………