Skip to main content

เมื่อกว่าสามสิบปีที่แล้ว มีหนังฝรั่งเรื่องหนึ่ง  เข้าใจว่าในช่วงเวลานั้นมีคนกล่าวขวัญถึงหนังเรื่องนี้กันพอสมควร  ด้วยมันเป็นหนังที่คาดการณ์ความเป็นไปในช่วงล่วงเข้าสู่ศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ด นั่นก็คือ 2001A Space Odyssey 

เนื้อหาของหนังคงไม่ได้เอามาเล่า ณ ที่นี้  แต่ในภาคแรกของหนังเรื่องนี้นั้นมีประเด็นที่น่าสนใจยิ่ง นั่นก็คือ  เรื่องราวเริ่มขึ้นในโลกมนุษย์ ช่วงเวลาที่ยังไม่มีมนุษย์เกิดขึ้นมา  ลิงฝูงหนึ่ง ซึ่งตัวหนังเล่าว่า ลิงพันธุ์นี้เองที่กำลังจะวิวัฒนาการมาเป็นมนุษย์ ช่วงเวลานั้น ลิงฝูงนี้ก็เริ่มมีปัญหากับลิงพันธ์อื่น  เค้าลางแห่งความขัดแย้ง ปรากฏชัดเจน จนในที่สุดก็เกิดการต่อสู้  จากการใช้เขี้ยวเล็บในการต่อสู้ ลิงฝูงนี้ก็เริ่มคิดเป็น และสิ่งแอรกที่มันคิดได้ก็คือ จับไม้มาเป็นอาวุธในการต่อสู้  นั่นหมายความว่า สิ่งที่อยู่ลึกลงไปถึงก้นบึ้งของหัวใจมนุษย์นั้น มันคือการทำลาย ฆ่า หรือเอาชนะ  อย่างนั้นหรือเปล่า  แล้วหนังก็ตัดไปในปี ค.ศ. 2001

ตั้งแต่เริ่มจำความได้  ดูเหมือนชีวิตเราถูกสอนให้แข่งขัน  มันดำรงอยู่ตลอดเวลา พ่อ แม่ มักพอใจที่เรา พูดได้ก่อนเด็กคนอื่น  ในรุ่นเดียวกัน หรือเราเดินได้ก่อนคนอื่นๆ ในเด็กรุ่นเดียวกัน  หรือจะดีใจเป็นพิเศษ หากว่าเราสามารถสร้างปรากฏการณ์เหล่านี้ก่อนเด็กที่โตกว่า  แต่หากว่า เราพูดหรือ เดินได้ทีหลังเด็กรุ่นเดียวกัน หรือร้ายหน่อยก็หลังเด็กรุ่นน้อง  พ่อ แม่ก็สามารถหาเหตุผลมาอ้าง เพื่อปลอบใจตัวเอง  และพยายามสร้างความรู้สึกที่ไม่ให้ด้อยไปกว่าเขา  หรือไม่ก็หาจัดด้อยของเด็กคนอื่นๆ นั้น  อย่างนั้นหรือเปล่า

โตมาอีกนิด  หากเราสามารถอ่าน หรือเขียน หรือรู้จักหนังสือ ได้ดีกว่าเด็กอื่นๆ ก็  นั่นก็จะเป็นเรื่องให้ได้กล่าวขานดั่งว่านั่นเป็นเรื่องราวอันมหัศจรรย์  เรื่องนี้ดำรงอยู่นาน ตราบใดที่เรายังอยู่ในโรงเรียน  และกว่าจะถึงวันนั้น ไม่ใช่เพียงพ่อ แม่ แต่ครูก็เข้ามามีส่วนอย่างยิ่งในการปลูกฝังการแข่งขันในสามัญสำนึกของเรา  นับวัน นับนานก็ยิ่งติดแน่นมากขึ้น  จนในที่สุด แรงขับเคลื่อนสำคัญของการเข้าสู่สนามการแข่งขันทั้งหมดก็คือ ตัวเราเอง

สังคม ผู้คน โลกทั้งหมดเป็นอย่างนี้  และยิ่งนับวันมันเข้มข้นขึ้นเรื่อย  แข่งเรียน แข่งเก่ง แข่งสวย แข่งหล่อ แข่งใหญ่ แข่งเล็ก แข่งสารพัดแข่ง  แล้วก็ประกาศกันอย่างไม่ได้ใครครวญครุ่นคิดว่า นั่นมันส่งผลอย่างไรต่อคนที่ ไม่ชนะ  ทั้งหมดนี้ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า มันคือสิ่งที่ซ่อนอยู่ลึกลงไปในจิตใต้สำนึก หรือพูดภาชาวบ้านว่ามันเป็นสันดานร่วมของมนุษย์  ในแง่นี้เอง อิสรภาพของมนุษย์จะเกิดขึ้นจริงได้หรือไม่ ในภาวะวิสัยเช่นนี้  นั่นก็ทำให้นึกถึงคำพูดหนึ่งของครูคิตติง แห่งชมรมกวีไร้ชีพว่า “มนุษย์เสรีได้เพียงในฝัน และจะเป็นเช่นนั้นนิรันดร์สมัย”

ทำอย่างไรกันดี  ว่าก็ว่า มีผู้คนมากมายที่คัดค้าน ปฏิเสธการแข่งขัน แม้สังคมจะบอกว่า การแข่งขันก็เป็นไปเพื่อการพัฒนา  แต่เราจะทำให้เกิดการพัฒนาโดยไม่แข่งขันได้หรือเปล่า  และเมื่อเราสามารถเห็นคนอื่นดีกว่า เก่งกว่า อะไรๆ มากกว่าเรา ด้วยความชื่นชมยินดี นั่นคงดีไม่น้อย และนั่นก็คือหลัก มุทิตา นั่นเอง  หรือเรามองคนที่ด้อยกว่าเราอย่างเข้าใจ ให้โอกาส นั่นก็คงเป็นธรรมในหัวข้อ เมตตานั่นเอง  

เราจะแสวงหาโลกแห่งอุดมคติอย่างมีความหวังได้หรือไม่  เพราะวันนี้เมื่อเราสำรวจตัวเองลึกลงไปเรายังพบว่า  เมื่อเราเป็นฝ่ายปฏิเสธการแข่งขันอยู่นั้น เราก็อยากเป็นผู้ที่ไม่แข่งขันมากที่สุดในโลก อย่างนั้นหรือเปล่า...มั้ง....

บล็อกของ นาโก๊ะลี

นาโก๊ะลี
เมื่อกว่าสามสิบปีที่แล้ว มีหนังฝรั่งเรื่องหนึ่ง  เข้าใจว่าในช่วงเวลานั้นมีคนกล่าวขวัญถึงหนังเรื่องนี้กันพอสมควร  ด้วยมันเป็นหนังที่คาดการณ์ความเป็นไปในช่วงล่วงเข้าสู่ศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ด นั่นก็คือ 2001A Space Odyssey  เนื้อหาของหนังคงไม่ได้เอามาเล่า ณ ที่นี้  แต่ในภาคแรกของหนังเรื่องนี้นั้นมีประเด็นที่น่าสนใจยิ่ง นั่นก็คือ  เรื่องราวเริ่มขึ้นในโลกมนุษย์ ช่วงเวลาที่ยังไม่มีมนุษย์เกิดขึ้นมา  ลิงฝูงหนึ่ง ซึ่งตัวหนังเล่าว่า ลิงพันธุ์นี้เองที่กำลังจะวิวัฒนาการมาเป็นมนุษย์ ช่วงเวลานั้น ลิงฝูงนี้ก็เริ่มมีปัญหากับลิงพันธ์อื่น  เค้าลางแห่งความขัดแย้ง ปรากฏชัดเจน…
นาโก๊ะลี
เมื่อมีโอกาสมองเข้าไปในการรับรู้ของผู้คน ในภาวะหรือในประเด็นของความขัดแย้งทั้งหลาย ดูเหมือนว่าโดยธรรมชาติ เราทั้งหลายถูกครอบงำจากวัฒนธรรมของตัวเองบางส่วน มันคล้ายเป็นความทรงจำของชนชาติ ว่าก็น่าจะประมาณนั้น นั่นคือว่า เรามีแนวโน้มที่เกลียดชังบางชนชาติที่ต่างไปจากเรา โดยว่าอันที่จริง เมื่อแรกที่เราเริ่มรู้สึกเกลียดนั้น เราก็อาจจะยังไม่ได้รู้จักกับผู้คนในชนชาตินั้นๆ เลยด้วยซ้ำไป มันมีแต่เพียงข้อมูลที่เราไม่รู้แน่ชัด เป็นแต่เพียงการได้ยินได้ฟังมาเท่านั้นเอง และนั่นเอง เราก็ปักใจ เชื่อ และมันก็กลายเป็นความเชื่อที่ฝังแน่นเหลือเกิน จนเมื่อเติบโตขึ้น เราก็พบว่า ความรู้สึกนั้นมันแน่นหนา…
นาโก๊ะลี
อยู่บนโลกใบนี้สักกี่นานที่ประสบพบผ่านบนยุคสมัยกี่คลื่นลมทะเลคลั่งเป็นอย่างไรกี่ขอบฟ้าภูไพรเคยผ่านมาเพื่อจะได้บอกกล่าวเล่าความเพื่อจะนำเสนอนิยามแห่งคุณค่าเพื่อจะเขียนชีวิตธรรมดาเป็นหนทางแห่งกาลเวลาที่ทอดทอความจะคมเป็นคำโครงคอยขับเคลื่อนกระบวนการอันตอกเตือนเป็นทางต่อพบอยู่ใช่ไหมบางถ้อยที่คอยรอเป็นคำที่ชูช่อต่อยอดความลึกตื้นก็ตื่นตาเต็มรู้สึกหรือก่อร่างตกผลึกครุ่นไถ่ถามเรียนรู้เรียบเรียงต่อติดตามทั้งหมดในการพยายามของชีวิต………………………..ดิ่งด่ำสู่ผลึกรู้สึกเมื่อนั่งอยู่ตรงหน้าบทกวีมากมาย  ทั้งกวีรุ่นใหม่ กวีรุ่นเก่า  เห็นอะไรอยู่บ้างเล่าในบทกวีเหล่านั้น …
นาโก๊ะลี
ไม่ว่ายุคสมัยใด ตลอดช่วงเวลาของมนุษยชาติบนโลกใบนี้มีเรื่องราวมากมาย  แน่นอนว่าหลายเรื่องราวนั้นได้รับการบอกเล่ากล่าวขาน  บางเรื่องราวก็กลายเป็นตำนาน  ขึ้นอยู่กับว่าเรื่องราวเหล่านั้นถูกใครนำมาบอกเล่า หรือถูกนำมาบอกเล่าในช่วงเวลาที่พอเหมาะพอดี  มีเรื่องที่คล้ายกันนี้มากมายนัก  สมัยหนึ่งมีเพื่อนบอกว่า มีคนหน้าตาดีอีกมากมายที่ไม่ได้เป็นดารา  แม้ในยุคที่ดาราเกิดขึ้นมามากมายเท่าไหร่ก็ตาม  และมีคนที่ร้องเพลงเพราะมากมายที่ไม่ได้ประกอบอาชีพนักร้อง  หรือมีคนที่ประกอบอาชีพนักร้องมากมายที่ไม่ได้มีชื่อเสียง  เช่นกันว่า เรื่องราวที่นักเขียนบางคนนำมาบอกเล่า…
นาโก๊ะลี
เพื่อนคนหนึ่งเคยเชื้อเชิญให้พวกเราได้มีเวลาสำรวจบาดแผลของชีวิต  เบื้องแรกหลายคนคิดว่าให้สำรวจบาดแผลของจิตใจ  ความเจ็บปวดที่ต้องเผชิญในช่วงเวลาที่ผ่านมา  แต่เพื่อนคนนั้นยืนยันว่า ให้สำรวจบาดแผลทางร่างกายจริงๆ  นั่นก็อาจหมายความว่า ให้เราได้กลับมาสำรวจ และเรียนรู้บาดแผล เพราะนั่นมันอาจเป็นความทรงจำอันดี  เพราะบาดแผลแต่ละครั้ง มันคือการเรียนรู้  มันเป็นประสบการณ์ของชีวิต แผลคือการจารึกเรื่องราว  เพราะทั้งหมดนั้นวันหนึ่งมันจะกลายเป็นทรงจำที่อาจประทับใจใช่แต่บาดแผลเท่านั้นกระมัง  การเผชิญเรื่องราวอันตื่นเต้น  ความเจ็บปวดร้าวในแต่ละครั้ง  ณ…
นาโก๊ะลี
จอมยุทธผู้หนึ่งกล่าวกับขุนศึกผู้ท้อแท้ทอดอาลัยต่อการศึกและการฆ่าฟันในสมรภูมิที่ยังไม่สิ้นศึกว่า      “ท่านสามารถเลือกได้ว่าท่านจะใช้กระบี่เพื่อปกป้องหรือเพื่อทำลาย”  ด้วยคำพูดนี้ ขุนศึกก็กลับสู่สมรภูมิอีกครั้ง ชายหนุ่มปกาเกอะญอเล่าเรื่องการเรียนดาบว่า  เมื่อเริ่มเรียน ทุกคนเข้าไปอยู่ร่วมกันในป่า ผู้เรียนทุกคนต้องร่วมพิธีกรรมบางอย่าง นั่นก็คือการเรียนรู้กันและกัน สืบค้นความเมตตาในใจ เปิดเผยตัวตนของตัวเองต่ออาจารย์และเพื่อน ปลดเปลือยตัวเอง เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการเล่าเรียนวิถีดาบ ในกระบวนการเรียนรู้นั้นห้ามคนนอกเข้าไปเพื่อให้ผู้เรียนทุกคนได้ไว้วางใจกันและกัน…
นาโก๊ะลี
เมื่อการกลับมาครั้งที่หนึ่งกวีหนุ่มเล่าว่า....หลังจากเดินทางไปเมืองไกลหลากหลายเมือง หลากหลายชนบท  หลากถิ่นฐาน พานพบผู้คนมากมายทั้งในระหว่างทาง และในจุดหมายมากมายหลายแห่งนั้น  หลายคราวก็มักมีเรื่องราวให้เรียนรู้ ใคร่ครวญ  บางคราวก็พบเรื่องราวเล่าขาน  และบางคราวเหล่านั้นก็ได้เก็บสะสมเรืองราว อารมณ์ ความรู้สึกจากหลากที่ถิ่นทางเหล่านั้นนั่นเอง  และการเดินทางทั้งหมดนั้น....นานแสนนานกว่าจะได้กลับมา  และในคราวนั้นเอง เขาเล่าเอาไว้ว่า  ปั่นจักรยานออกจากบ้าน   ถึงร้านรวงหลายแห่ง  ผ่านถนนหลายสาย  ล้วนร้านรวง และถนนที่เขาเคยผ่านในวัยเยาว์ …
นาโก๊ะลี
ในตอนหนึ่งของ “จดหมายถึงกวีหนุ่ม” รินเค บอกว่า “หากเธอสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องเขียนบทกวี เธอก็ไม่ต้องเขียนมันหรอก แต่หากว่าเมื่อไหร่ที่เธอรู้สึกว่าอยู่ไม่ได้ถ้าไม่ได้เขียน เมื่อนั้นก็จงเขียนมันซะ” ......... หลายวันก่อน กวี คนหนึ่งบอกว่า “อย่าขวนขวายที่จะพิมพ์บทกวีรวมเล่มเลย เพราะมันจะไปอยู่ในซอกที่มองไม่ค่อยเห็นในร้านหนังสือ”ดูเหมือน บทกวี จะเป็นงานศิลปะที่เคลื่อนไหวอยู่ในยุคโลกตลาดเสรี น้อยที่สุด แต่กระนั้นกวีก็ยังไม่เคยหายไป ตราบที่ยังมีมนุษย์อยู่บนโลก หลายคนว่าไว้อย่างนั้น
นาโก๊ะลี
เรื่องราวของเด็กคนที่หนึ่งครูสั่งให้เด็กทำงานฝีมือ เป็นงานพวกเย็บปักถักร้อย  เด็กหญิงคนนี้ก็เย็บตุ๊กตา ด้วยฝีมือที่ปรานีต ด้วยความตั้งใจอย่างที่สุด  และเธอก็ได้ตุ๊กตาที่สวยสมใจ  และเป็นความภาคภูมิใจที่เธอทำมันขึ้นมาด้วยตัวเอง   และเมื่อถึงเวลาส่งงาน ครูก็กล่าวหาว่าเธอให้แม่ทำให้  และคาดคั้นให้เธอยอมรับว่า งานนี้แม่เธอทำให้ เธอไม่ได้ทำด้วยตัวเอง  เด็กหญิงยืนยันว่าเธอทำมันเองด้วยความตั้งใจ  แต่ครูก็ไม่เชื่อ  แล้วก็ยังคาดคั้นให้เธอยอมรับให้ได้อยู่นั่นเอง ทั้งขู่ว่า ถ้าไม่ยอมรับ จะเรียกผู้ปกครองมาพบ  ไม่ว่าเด็กหญิงจะพูดอย่างไร ครูก็ไม่มีทางเชื่อ…
นาโก๊ะลี
นานมาแล้วกระมังที่เราทั้งหลายได้ยินได้ฟังคำกล่าวที่ว่า ความหลากหลายคือความงดงาม  หมายถึงความหลากหลายในแง่ไหนบ้างเล่าที่ผู้คนกล่าวถึง  ว่าก็คือ ความคิด อุดมคติ อุปนิสัย พื้นเพ ที่มา  วิธีคิด สติปัญญา  ว่าก็คือทุกอย่างมันก็ต่างกันทั้งนั้น  และนั่นก็อาจหมายถึงความหลากหลายด้วย  นั่นก็ใช่ ใช่หรือไม่  ตามคำกล่าวที่ว่า ความหลากหลายนั้นงดงาม  ว่ากันไป เปรียบเปรยถึงป่าเขาลำเนาไพร  หากมีต้นไม้เพียงอย่างเดียว มันก็ไม่งาม เท่านั้นยังไม่พอ มันยังทำให้ผืนดินตรงนั้นสูญเสียความสมดุลไปด้วย  ก็ด้วยป่าที่งามนั้นมันมีต้นไม้นานาพันธ์  ใหญ่น้อย สูง ต่ำว่ากันไป…
นาโก๊ะลี
เคยได้ฟังมาว่า  ครั้งหนึ่งเออเนส เฮมมิงเวย์ได้เคยกล่าวเอาไว้ว่า ภาวะที่ดีที่สุดสำหรับนักเขียน คือภาวะที่เปลี่ยวเหงาโดดเดี่ยว  เมื่อไรก็ตามที่นักเขียนเป็นที่รู้จักของมหาชนมากขึ้น ยื่งมากขึ้นเท่าใด พลังแห่งการสร้างสรรค์ของนักเขียนก็จะยิ่งเหือดหายไป.....................  เมื่อคราวแรกที่ดูหนังเรื่อง Finding Forester  ก็สงสัยว่า ตัวละครหลักของเรื่องคือ William Forester  ซึ่งเป็นนักเขียนมีชื่อเสียง เขียนหนังสือเล่มเดียวแล้วก็ไปเก็บตัวอยู่โดดเดี่ยวในห้องเช่าเล็กๆ ในเขตคนผิวดำ  แล้วก็ไม่มีผลงานตีพิมพ์อีกเลย  เมื่อดูหนังเรื่องนี้หลายรอบเข้า  ว่าก็ปาเข้าไป…
นาโก๊ะลี
โลกกำลังนำพาข้าฯไปข้างหน้า....บอกข้าฯว่า“จงก้าวหน้า” ไม่รู้หรือ…?ที่สุดแล้ว...ผองชนล้วนค้นหาวันวานแห่งตน………………………………………………………………………………………